Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
หน่วยที่7การพยาบาลผู้คลอดที่มีภาวะแทรกซ้อนในระยะคลอดที่3, นางสาวจุฬาลักษณ์…
หน่วยที่7การพยาบาลผู้คลอดที่มีภาวะแทรกซ้อนในระยะคลอดที่3
ภาวะทารกในครรภ์ขาดออกซิเจน (Fetal distress)
การที่ทารกในครรภ์ได้รับออกซิเจนไม่เพียงพอต่อความต้องการ อยู่ในภาวะที่ไม่มั่นใจในความปลอดภัยของทารก (non-reassuring fetal status) อาจเกิดเฉียบพลันหรือเรื้อรัง สาเหตุที่พบบ่อยคือ สายสะดือถูกกดหรือรกเสื่อม ถ้าทารกขาดออกซิเจนนานๆ อาจทําให้เกิด Metabolic acidosis และถ้าไม่ให้คลอดโดยเร็วทารกน่าจะ ได้รับอันตราย ตามมาจนทําให้ ทารกเสียชีวิตได้
สาเหตุ
มารดา
อาจเกิดจากการเปลี่ยนแปลงก๊าซในปอดไม่ดี หัวใจล้มเหลว ความดัน โลหิตต่ํา เช่น เป็นลม supine hypotensive syndromes, ได้รับยาระงับความรู้สึกแบบ epidural anesthesia
ภาวะโภชนาการของมารดา หรือมารดาเป็นโรคของตับหรือตับอ่อน ทําให้สารอาหารในเลือดต่ํา
มารดาเสียเลือดมีเลือดออกในช่องคลอดระยะก่อนคลอดหรือ shock
อื่นๆ
ทารก
มีการติดเชื้อ มีความผิดปกติของหัวใจแต่กําเนิด
สายสะดือผูกเป็นปมหรือพันคอทารก
ภาวะตกเลือดหลังคลอด(post partum hemorrhage)
ความหมาย
การเสียเลือดจากช่องทางคลอดภาย หลังทารกคลอดปริมาณตั้งแต่500มิลลิตรขึ้นไปหรือการสูญเสียเลือดมากกว่า1,000มิลลิลติรภายหลัง ทารกเกิดจากการผ่าตัดคลอดทางหน้าท้อง หรอื การเสียเลือดร้อยละ 1 ของน้ําหนักร่างกายขึ้นไป
อาการแสดง
มีเลือดออก ซึ่งอาจไหลออกมาให้เห็นหรือคั่งค้างอยู่ภายในก็ได้ กรณีมีเลือดออกมาให้เห็นอาจมี ลักษณะไหลพุ่งหรือไหลซึม ส่วนเลือดที่ขังอยู่ในโพรงมดลูกหรือช่องคลอดมักจะไม่ไหลออกมาให้เห็น เมื่อ กระตุ้นมดลูกให้แข็ง กดไล่จะมีเลือดออกมา
กรณีที่ระดับมดลูกอยู่เหนือสะดือหรือรู้สึกใหญ่กว่าปกติ มักพบการหดรัดตัวไม่ดีมดลูกใหญ่มีเลือด ขังอยู่ข้างใน ในรายรุนแรงมดลูกจะอ่อนปวกเปียก
มีอาการของการเสียเลือด ซีด ชีพจรเบาเร็ว ความดันโลหิตต่ํา เหงื่อออก ใจสั่น ตัวเย็นรู้สึกกระหาย น้ํา หายใจเร็ว ต่อไปจะหายใจช้า หาวเพราะเลือดไปเลี้ยงสมองน้อย มีอาการรุนแรงอาจช็อคไม่รู้สึกตัวและอาจ เสียชีวิตได้
ภาวะรกค้าง (retained pieces of placenta)
ภาวะที่รกไม่คลอดภายใน 30 นาทีหลังจากทารกคลอด โดยทั่วไปรกจะคลอดภายใน 10 นาที หลังจากที่ทารกคลอดแล้ว และไม่ควรเกิน 30 นาที ส่วนใหญ่ ร้อยละ 90 รกจะคลอดภายใน 15 นาที มีเพียงร้อยละ 2-3 เท่านั้นที่รกคลอดใช้เวลานานเกิน 30 นาที
ชนิดของรกติด(placenta adherens)
รกติด เป็นภาวะที่รกไม่สามารถลอกตัวได้ตามปกติ เนื่องจากมีการฝังตัวของเซลล์ โทรโฟบลาสท์ (trophoblast) ลึกกว่าปกติแบ่งได้ตามความลึกของการฝังตัวเป็น 3 ชนิด ดังนี้
Placenta accreta คือ การที่มี chorionic villi เกาะติดโดยตรงต่อ myometrium ของ มดลูกแทนที่จะยึดเกาะที่ decidua basalis ของโพรงมดลูก
Placenta increta คือ การที่มี chorionic villi แทรกตวั เข้าไปใน myometrium ของมดลูก
Placenta percreta คือ การที่มี chorionic villi แทงทะลุเข้าไปใน myometrium ของมดลูก
การรักษา
ให้ยาช่วยกระตุ้นการหดรัดตัวของมดลูก ซึ่งจะช่วยให้กล้ามเนื้อมดลูกมีการหดรัดตัวและคลายตัว เป็นระยะ ๆ ได้ดีขึ้น ช่วยส่งเสริมกลไกการลอกตัวของรก ทําให้รกลอกตัวออกมาได้
ให้ยาเพื่อให้เกิดการคลายตัวของปากมดลูก ได้แก่- ให้ยาอดรีนาลีน (adrenalin) 1:1,000 จํานวน 0.3-0.5 ซี.ซี. ฉีดเข้ากล้ามเนื้อ- ให้ยา 20% แมกนีเซี่ยม ซัลเฟต (20% magnesium sulphate) 20 ซี.ซี. ฉีดเข้าเส้นโลหิตช้า ๆ
ถ้าให้ยาแล้วไม่อาจช่วยให้รกลอกตัวสมบูรณ์ และรกไม่สามารถคลอดออกมาได้ แสดงว่ารกฝังตัว ลึกต้องช่วยเหลือด้วยการล้วงรก (manual removal of the placenta)
ภาวะมดลูกปลิ้น
ภาวะที่ยอดมดลูกรั้งลงมา ส่วนล่างของโพรงมดลูก ซึ่งอาจพ้นปากมดลูกออกมา หรือโผล่ออกมาถึงปากช่องคลอด
ชนิดของมดลูกปลิ้น
มดลูกปลิ้นแบบไม่สมบูรณ์ (incomplete inversion) ยอดมดลูกเคลื่อนต่ําลง แต่ยังไม่พ้น ปาก มดลูก
มดลูกปลิ้นแบบสมบูรณ์ (complete inversion) ยอดมดลูกเคลื่อนพ้นปากมดลูก แต่ยังไม่ถึงปาก ช่องคลอด
มดลูกปลิ้นแบบสมบูรณ์ และเคลื่อนต่ําลงมานอกปากช่องคลอด (prolapsed of complete inverted uterus)
สาเหตุ
รกเกาะบริเวณส่วนยอดของมดลูก
การดึงสายสะดือแรงเกินไป
ทําคลอดรกในขณะที่รกยังไม่ลอกตัว หรือรกเกาะแน่น
ดันยอดมดลูกที่หน้าท้องมารดามากเกินไป ในการช่วยทําคลอดรก
มดลูกและปากมดลูกอยู่ในภาวะคลายตัว
ภาวะช๊อค ( Shock) ทางสตูิศาสตร์
สภาวะล้มเหลวของระบบไหลเวียนเลือด ทําให้เนื้อเยื่อ ต่างๆ ได้รับเลือดและออกซิเจนไม่เพียงพอ โดยที่อวัยวะนั้นๆ ไม่ตายแต่จะสูญเสียหน้าที่ไป การเปลี่ยนแปลงที่ สําคัญคือ ความดันโลหิตต่ําลง Blood volume ลดลง ปริมาณเลือดที่ไหลกลับเข้าหัวใจลดลง
ชนิดของการ Shock
1.Hypovolemic Shock เกิดจากปริมาณเลือดในร่างกายลดลงแบบสมบูรณ์ มักเกดิ หลังการตกเลือด ขาดน้ํา หรือการบาดเจ็บต่างๆ
Cardiogenic Shock เกิดจากการลดลงของ Cardiac output ร่วมกับ Vasoconstriction จาก กล้ามเนื้อหัวใจตาย
Septic Shock เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียชนิดแกรมลบEnterotoxin เข้าสู่กระแสเลือด
Neurogenic shock เกิดจากการบาดเจ็บของระบบประสาทส่วนกลาง ทําให้เกิด peripheral vasodilation
Anaphylactic shock เกิดจากการแพ้ยาหรือสารก่อภูมิแพ้ส่งผลให้หลอดเลือดขยายตัวจนเกิด ภาวะ Hypovolemia
อาการและอาการแสดง
– อาการทั่วไปจะมีอาการ อ่อนเพลีย ซีด ผิวหนังเย็นชื้น หัวใจเต้นเร็ว ความดันโลหิตต่ําลง - ภาวะ Shock จากการติดเชื้อจะมีไข้หนาวสั่น ก่อนที่ระบบไหลเวียนจะล้มเหลว
Cardiogenic shock จะมีอาการหายใจหอบเหนื่อย เมื่อนั่ง หัวใจเต้นผิดจังหวะและเจ็บหน้าอก รุนแรง ผู้ป่วยจะมีอาการซึมลง กระหายน้ํา หายใจหอบ หวั ใจหยุดเต้น และเสียชีวิต
การรักษาพยาบาล
ให้นอนพัก
ดูแลทางเดินหายใจให้โล่ง ,ให้ออกซิเจน ,ใส่ท่อช่วยหายใจ (endotracheal tube) ถ้าจําเป็น 3. Keep warm
ให้สารน้ําทดแทน เพื่อรักษาปริมาณเลือดให้กลับสู่หัวใจโดยเร็ว
ไม่ควรให้ยาขยายหลอดเลือดจนกว่าอาการ Shock จะดีขึ้น
Observe V/S และบันทกึ น้ําเข้า-ออก (I/O)
นางสาวจุฬาลักษณ์ เที่ยงธรรม เลขที่23