Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ผู้ป่วยเพศหญิง อายุ 88 ปี MCA stroke w HT w DM w DLP w CKD อาการสำคัญ…
ผู้ป่วยเพศหญิง อายุ 88 ปี MCA stroke w HT w DM w DLP w CKD อาการสำคัญ หายใจเหนื่อย ไอ มีน้ำมูก 2 วันก่อนมาโรงพยาบาล
MCA stroke
ปัจจัยเสี่ยงสาเหตุ/ปัจจัยเสี่ยง : อายุ เนื่องจากอายุมากขึ้นหลอดเลือดจะมีการแข็งตัวมากขึ้น และมีไขมันเกาะหนาตัวทําให้เลือดไหลผ่านได้ลำบากมากขึ้น เพศ พบว่าเพศชายมีความเสี่ยงมากกว่าเพศหญิง พันธุกรรม และประวัติครอบครัวเป็นโรคหลอดเลือดสมองหรือโรค หลอดเลือดหัวใจ โดยเฉพาะในขณะที่มีอายุน้อยมักมีความเสี่ยงเป็นโรคหลอดเลือดสมองตามมามากกว่าคนปกติ ปัจจัยที่เกิดจากรูปแบบการดําเนินชีวิต โดยส่วนมากสามารถ ปรับเปลี่ยนได้ ไม่ว่าจะด้วยการปรับเปลี่ยนทางพฤติกรรมหรือการใช้ยา ได้แก่ ภาวะความดันโลหิตสูงเป็นปัจจัยเสี่ยงสําคัญรองจากอายุ โรคเบาหวาน ไขมันในเลือดสูง การสูบบุหรี่ โรคหัวใจ ทั้งโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ หรือโรคลิ้นหัวใจต่างๆ ความเครียด ขาดการออกกําลังกาย การรับประทานอาหารทีไม่เหมาะสม ดื่มสุรา การใช้ยาคุมกําเนิด โรคอ้วน รวมถึงการพักผ่อนไม่เพียงพอเป็น ต้น
พยาธิสภาพ : สามารถแบ่งได้เป็น 2 ลักษณะ คือ เกิดการตีบตันของหลอดเลือดขนาดใหญ่และหลอดเลือดขนาดเล็กในสมอง และเกิดจากการอุดตันของลิ่มเลือดที่ไหลเวียนอยู่ในกระแสเลือด
1.1 การตีบตันของหลอดเลือดในสมองส่วนใหญ่ มักจะมีความสัมพันธ์กับภาวะหลอดเลือดแข็งตัวและความดันโลหิตสูงเป็นเวลานาน โดยภาวะหลอดเลือดแข็งตัวจะทำให้รูของหลอดเลือดแดงในสมองมีขนาดเล็กลง จนเลือดไม่สามารถไหลเวียนไปเลี้ยงสมองได้อย่างเพียงพอ การตีบตันหลอดเลือดสามารถเกิดขึ้นได้ทุกแห่งของหลอดเลือดสมองโดยจะพบมากที่บริเวณหลอดเลือดแดงส่วนกลาง
1.2 การอุดตันของหลอดเลือดสมองที่เกิดจากลิ่มเลือดที่ไหลเวียนอยู่ในกระแสเลือดต้นกำเนิดของลิ่มเลือดดังกล่าวมักเกิดจากหัวใจ ภาวะหรือโรคหัวใจที่ทำ ให้เกิดลิ่มเลือดในกระแสเลือด ได้แก่ ภาวะหัวใจเต้นพลิ้ว โรคลิ้นหัวใจ หรือจากการใส่ลิ้นหัวใจเทียม และภายหลังการผ่าตัดหัวใจ การอุดตันของหลอดเลือดสมองที่เกิดจากสิ่งอุดกั้นอื่น ๆ ที่ลอยในกระแสเลือด เช่น ฟองอากาศ ชิ้นส่วนของไขมันที่เกิดภายหลังจากการได้รับบาดเจ็บ หรือกระดูกหัก เป็นต้น
อาการแสดง : อาการโดยทั่วไปของ ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดในสมองมักจะแสดงอาการเกิดขึ้นอย่างรวดเร็วสามารถพบอาการได้หลากหลายรูปแบบขึ้นกับตําแหน่งของสมองที่เกิดการขาดเลือดหรือถูกทําลาย โดยอาการที่พบได้บ่อย ได้แก่ อาการอ่อนแรง หรือมี อาการอัมพฤกษ์ที่ส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกาย โดยมากมักเกิดกับร่างกายข้างใดข้างหนึ่ง เช่น ครึ่งซีกด้านซ้ายเป็นต้น อาการชา หรือสูญเสียความรู้สึกของร่างกายส่วนใด ส่วนหนึ่ง เช่นเดียวกันกับอาการอ่อนแรงที่มักเกิดกับร่างกายครึ่งซีกใดครึ่งซีกหนึ่ง ปัญหาเกี่ยวกับการพูด เช่น พูดไม่ได้ พูดติด เสียงไม่ชัด หรือไม่เข้าใจคําพูด ปัญหาเกี่ยวกับการทรงตัว เช่นเดินเซ หรือมีอาการเวียนศีรษะ เฉียบพลัน การสูญเสียการมองเห็นบางส่วน หรือเห็นภาพซ้อน อาการเหล่านี้มักเกิดขึ้นอย่างเฉียบพลัน ในบางกรณีอาจเกิดเป็นอาการเตือนเกิดขึ้นชั่วขณะหนึ่งแล้วหายไปเอง หรือเกิดขึ้นได้หลายครั้งก่อนมีอาการสมองขาดเลือดแบบถาวร เรียกว่าภาวะมีสมองขาดเลือดชั่วคราว (transient ischemic attack)
-
การวินิจฉัย
-
สามารถแสดงภาพสมองส่วนที่ขาดเลือดและสามารถบอกสาเหตุของโรคหลอดเลือดสมองได้ว่าเกิดจากการตีบ อุดตัน หรือแตก ซึ่งเป็นข้อมูลที่สำคัญมากในการตัดสินใจถึงวิธีการรักษา
-
การฉีดสารทึบรังสีเพื่อตรวจหลอดเลือดสมองสามารถทำได้โดยการสอดใส่สายสวนหลอดเลือดแดงที่บริเวณขาหนีบไปที่หลอดเลือดคอ แล้วจึงฉีดสารทึบรังสี เพื่อดูการอุดตันของหลอดเลือดสมองโดยตรง
จะให้ยาที่มีฤทธิ์ในการละลายเลือด คือ ยากลุ่ม thrombolytic ภายใน
3-4.5 ชั่วโมง จะทําให้ผู้ป่วยมีอาการดีขึ้น นอกจากนี้ยังมีการใช้ยาในกลุ่มอื่นร่วมด้วย เช่น ยาต้านเกล็ดเลือดแอสไพรินเป็นยาที่ช่วยป้องกันการก่อตัวของเกล็ดเลือด ทําให้การอุดตันลดลง การรักษาทีช่วยลดความพิการในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองคือ การรับเข้ารักษาในหอผู้ปวยโรคหลอดเลือดสมอง(stroke unit) การให้ยาละลายลิ่มเลือดทางหลอดเลือดดําภายใน 4.5 ชัวโมงในผู้ที่มีข้อบ่งชี้และไม่มีข้อห้ามการให้ยาต้านเกล็ดเลือดภายใน
48 ชั่วโมง การรักษาด้วยการเปิดหลอดเลือดโดยใช้สายสวนและการผ่าตัดเปิดกะโหลก ศีรษะเพื่อระบายความดันภายในสมองเมื่อมีข้อบ่งชี้
-
-
-
4.เสี่ยงเกิดภาวะแทรกซ้อน (อ่อนแรง ชาครึ่งซีกของร่างกายทันที ตามัวหรือมองไม่เห็น
พูดตะกุกตะกัก พูดไม่ชัด) หลอดเลือดสมองตีบเนื่องจากความดันโลหิตสูงจากไขมันในเลือดสูง
-
-
-
-