Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
แบบแผนสุขภาพ (Functional health patterns) - Coggle Diagram
แบบแผนสุขภาพ (Functional health patterns)
กรอบแนวคิดแบบแผนสุขภาพ
แบบแผนสขุภาพใช้เป็นแนวคดิในการประเมินภาวะสุขภาพของบุคคล ครอบครัวหรือชุมชนทั้งในภาวะปกติและภาวะเจ็บป่วย
ประเมินจากพฤติกรรมทั้งภายนอกและภายใน
พัฒนาโดยมาร์จอรีย์กอร์ดอน(MajoryGordon)ศาสตราจารย์ ทางการพยาบาลท่ีวิทยาลัยบอสตัน(BostonCollegeofNursing) ประเทศสหรฐัอเมริกา
ความหมายของแบบแผนสุขภาพ
แบบแผน : พฤติกรรมของบุคคลที่ต่อเนื่องกันในช่วงเวลาหนึ่ง
แบบแผนสุขภาพ : พฤติกรรมด้านสุขภาพของบุคคลซึ่งเกิดขึ้นในช่วงเวลาหนึ่ง และมีผลต่อสุขภาพ
องค์ประกอบของแบบแผนสุขภาพแต่ละแบบแผน
พฤติกรรมภายนอก คือการกระทำที่แสดงออกมาให้สังเกตเห็นได้ รับรู้ได้หรือใช้เครื่องมือ ตรวจสอบได้ เช่น
พฤติกรรมที่เป็นคำพูด
พฤติกรรมที่ไม่ใช่คำพูด เช่นกิริยาท่าทาง การเดิน การหัวเราะ ร้องไห้ฯลฯ
3.ปัจจัยส่งเสริมพฤติกรรมและอุปสรรค
1.พฤติกรรมภายในคือพฤติกรรมที่ไม่สามารถสังเกตเห็นได้ด้วยตาเปล่าหรือใช้เครื่องมือทางวิทยาศาสตร์ตรวจสอบได้โดยตรง
กระบวนการคิดความรู้ของบคุคลเกี่ยวกับสิ่งต่างๆ
กระบวนการทำงานทางกายหรือทางชีวภาพในระบบต่างๆ เช่น ระบบหายใจ ระบบหัวใจ และหลอดเลือด
กระบวนการพยาบาล (Nursing Process)
การเก็บรวบรวมข้อมูล
ได้จากการซักประวัติ ตรวจร่างกาย การตรวจสองห้องปฏิบัติการ การตรวจพิเศษต่างๆ
การจัดระบบข้อมูล
เป็นการนำข้อมูลที่เก็บรวบรวมได้มาจัดให้เป็นหมวดหมู่ ตามกรอบแนวคิดหรือทฤษฎีทางการพยาบาล
การบันทึกข้อมูล
ข้อมูลอัตนัย(Subjectivedata)
ข้อมูลปรนัย (Objective data)
การรวบรวมข้อมูล
การประเมินทางการพยาบาลในผู้ป่วยโดยใช้กรอบแนวคิดแบบแผนสุขภาพของกอรด์อน(Gordon, 1994)เป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลสามารถทำได้โดยการซักประวัติการสังเกตการ ตรวจร่างกายการตรวจทางห้องปฏิบัติการและการตรวจพิเศษ
วิธีการได้มาซึ่งข้อมูล
ข้อมูลอัตนัย(Subjectivedata)คือการซักประวัติจากผู้รับบริการหรือญาติ(ในกรณีที่ผู้รับบริการไม่สามารถให้ข้อมูลได้หรือให้ข้อมูลได้ไม่ครอบคลุม)
ข้อมูลปรนัย(Objectivedata)คือข้อมูลที่ได้จากการสังเกต/การตรวจร่างกายการตรวจทางห้องปฏิบัติการและการตรวจพิเศษ
11 - แบบแผนสุขภาพของกอร์ดอน
6.แบบแผนสติปัญญาและการรับรู้(Cognitive-perceptualPattern)
2.ความสามารถทางสติปัญญา
แบบแผนเกี่ยวกับความสามารถและพัฒนาการทางสติปัญญาเกี่ยวกับความคิด ความจำ ความสามารถในการตัดสินใจการแก้ปัญหาและการสื่อภาษาต่างๆรวมทั้งปัจจัยส่งเสริม
การซักประวัติ
ปัญหาเกี่ยวกับการมองเห็น เช่น เห็นภาพซ้อน ตามัว มองไม่เห็น
ปัญหาเกี่ยวกับการรับรู้ความรู้สึกทางผิวหนัง เช่น อาการชา คัน ความเจ็บปวด
ความรู้สึกทั่วไป สุขสบายหรือไม่สุขสบาย
ประวัติการได้รับยาบางชนิดซึ่งมีผลต่อความคิด ความจำ หรือทำให้มีอาการสับสน
การรับรู้ความรู้สึกและการตอบสนอง
แบบแผนเกี่ยวกับความสามารถของบุคคลในการรับรู้สิ่งเร้าและการตอบสนองต่อสิ่งเร้า ด้านการรับความรู้สึก (sensation) ทั้ง 5 ทาง ได้แก่ การมองเห็น การได้ยิน การได้กลิ่น การรับรสการรับรู้สึกทางผิวหนังและการการรับรู้เกี่ยวกับความเจ็บปวด
การตรวจร่างกาย
ประเมินระดับความรู้สึก เช่น การลืมตา การสื่อภาษาการเคลื่อนไหวของร่างกาย และตรวจดูความผิดปกติของจมูก ตา หู ลิ้น ตรวจประสาทสัมผัสทางผิวหนัง
ประเมินระดับสติปัญญา (IQ)โดยใช้แบบทดสอบ
7.แบบแผนการรับรู้ตนเองและอัตมโนทัศน์(Selfperception–SelfconceptPattern)
แบบแผนที่เกี่ยวกับความคิดความรู้สึกของบุคคลที่มีต่อตนเอง(อัตมโนทัศน์)การมองตนเอง เกี่ยวกับรูปร่างหน้าตาความพิการ(ภาพลักษณ์)ความสามารถคุณค่าเอกลักษณ์และ ความภูมิใจในตนเองตลอดจนปัจจัยส่งเสริมปัจจัยเสี่ยงและปัจจัยอุปสรรคที่มีผลตอ่การรับรู้ ตนเองและอัตมโนทัศน์
การซักประวัติ
ความรู้สึกต่อตนเองเกี่ยวกับความภาคภูมิใจในตนเอง ความพอใจในตนเอง ความรู้สึกสูญเสียความมั่นคงปลอดภัย ท้อแท้ สิ้นหวัง เป็นต้น
ความรู้สึกต่อตนเองเกี่ยวกับภาพลักษณ์โดยทั่วไป รู้สึกว่าอ้วน ผอม สูงหรือเตี้ยเกินไป
การตรวจร่างกาย
สังเกตความสนใจตนเองของผู้ป่วย
การกล่าวถึงตนเอง
8.แบบแผนบทบาทและสัมพันธภาพ(Role-relationshipPattern)
การซักประวัติ
โครงสร้างครอบครัวเช่นจำนวนสมาชิกในครอบครัวมีใครบ้างหรืออยู่คนเดียว
หน้าที่ความรับผิดชอบของผู้ป่วยและสมาชิกคนอื่นๆต่อครอบครัว
การตรวจร่างกาย
สังเกตพฤติกรรมต่างๆหรือท่าทางที่แสดงออกต่อครอบครัวและบคุคลในครอบครัวแสดงต่อผู่ป่วยลักษณะการโต้ตอบระหว่างผู้ป่วยกับบุคคลในครอบครัวรวมท้ัง เพื่อนผู้ร่วมงานการมาเยี่ยมของคนในครอบครัวด้วย
แบบแผนเกี่ยวกับบทบาทหน้าที่ความรับผิดชอบการติดต่อสื่อสารและการมีสัมพันธภาพกับบุคคลทั้งภายในครอบครัวและสังคมรวมทั้งปัจจัยส่งเสริมปัจจัยเสี่ยงหรอืปัจจัยอุปสรรคต่อการปฏิบัติตามบทบาทหน้าที่และการสร้างสัมพันธภาพ
4.แบบแผนด้านการมีกิจกรรมและการออกกำลังกาย (Activity-Exercise Patterns)
ความรู้สึกที่ความรู้สึกที่เกิดขึ้นเมื่อไม่สามารถทำกิจกรรมที่ตนเองต้องการหรือไม่สามารถปฏิบัติตามคำแนะนำได้เลือกด้วยข้อจำกัดต่างๆ
การซักประวัติ
ความสามารถในการปฏิบัติความสามารถในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวันว่าสามารถทำอะไรได้บ้าง
การออกกำลังกายการออกกำลังกาย ชนิดของการออกกำลังกาย ระยะเวลาในการออกกำลังกายสัปดาห์ละกี่ครั้ง แต่ละครั้งใช้เวลานานเท่าไหร่
เอาไว้ประวัติเกี่ยวกับนันทนาการ งานอดิเรกการใช้เวลาว่าง
ข้อจำกัดหรือเงื่อนไขในการดำเนินชีวิตที่มีผลต่อการทำกิจกรรมแล้วออกกำลังกาย เช่น หอบเหนื่อย แน่นหน้าอก ไม่มีเวลา
การตรวจร่างกาย
ประเมินความสามารถในการเคลื่อนไหวของแขนขา (Range of motion : ROM)
ตรวจร่างกายระบบต่างๆเพื่อประเมินความสามารถในการทำกิจกรรมต่างๆ
สังเกตความสามารถในการทำกิจกรรมต่างๆ
ตรวจวัดสัญญาณชีพประเมินอาการของความดัน
โลหิตสูงเช่นปวดศรีษะตาพร่ามัวแขนขาอ่อนแรง
9.แบบแผนเพศสัมพันธุ์และการเจริญพันธ์ุ(Sexuality-reproductivePattern)
การซักประวัติ
การเจริญพันธ์ุและการทำงานของระบบสืบพันธุ์
การมีเพศสัมพันธ์ ปัญหาเพศสัมพันธ์ ความเจ็บปวดที่เกี่ยวข้องกับการมีเพศสัมพันธ์และการป้องกันโรคติดต่อกันได้ทางเพศสัมพันธ์
การตรวจร่างกาย
สังเกตพฤติกรรมทางเพศจากลักษณะท่าทางที่แสดงออก ปฏิสัมพันธ์กับบุคคลอื่น การใช้ภาษาและคำพูดรวมทั้งการแต่งกายว่าเหมาะสมกับเพศหรือไม่
เพศหญิง ตรวจเต้านม ต่อมน้ำเหลือง อวัยวะเพศหญิง เพศชาย ตรวจอวัยวะเพศชาย ตรวจอาการและอาการแสดงของการติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์ุเช่นโรคเอดส์
เป็นแบบแผนเกี่ยวกับพัฒนาการตามเพศซึ่งมีอิทธิพลมาจากพัฒนาการด้านร่างกายและอิทธิพลของสังคม สิ่งแวดล้อม การเลี้ยงดู รวมทั้งการเปลี่ยนแปลงของแบบแผนอันหนึ่งมาจากความเจ็บป่วย
3.แบบแผนการขับถ่ายของเสีย(EliminationPatterns)
การซักประวัติ
ประวัติการใช้ยาต่างๆเช่นยาขับปัสสาวะยาลดความดันโลหิต ซึ่งมีผลต่อการทำงานของไต
ปัญหาในการขับถ่ายอจุจาระและวิธีการแก้ไ้ขได้แก่มีปัญหาท้องผูกแก้ไ้ขโดยการรับประทานยา ระบายเป็นประจำท้องเสียควบคมุการขับถ่ายไม่ได้อาการเจ็บปวดอุจจาระมีเลือดสดๆปนหรือ ถ่ายดำ หรืออุจจาระมีพยาธิ
แบบแผนการขับถ่ายปัสสาวะเช่นปัสสาวะวันละกี่ครั้งจำนวนมากน้อยเท่าใดชอบกลั้นปัสสาวะหรือไม่ปัสสาวะตอนกลางคืนหรือไม่จำนวนกี่ครั้ง
การตรวจร่างกาย
สังเกตสีปริมาณลักษณะปัสสาวะที่ขับออกมาจากผู้ป่วยและปัญหาการขับถ่ายปัสสาวะว่ามีความผิดปกติหรือไม่สอดคล้องกับการซักประวัติหรือไม่
สังเกตการมีกระเพาะปัสสาวะเต็ม(FullBladder)
เป็นการรวบรวมข้อมูลเพื่อประเมินกระบวนการขับถ่าย ลักษณะ ปริมาณ จำนวนครั้งของของเสียทุกประเภทที่ออกจากร่างกายทั้งอุจจาระ ปัสสาวะ น้าและอิเลคโตรไลท์
การตรวจทางห้องปฏิบัติการและการตรวจพิเศษ
ตรวจปัสสาวะเพื่อประเมินความผิดปกติของระบบทางเดินปัสสาวะ
เอกซเรย์Ultrasoundดูความผิดปกติของไตท่อไตและการอุดตันทางเดินปัสสาวะ
10.แบบแผนการเผชิญความเครียดและความทนต่อความเครียด
(Coping –stress tolerance Pattern)
การซักประวัติ
ข้อมูลทั่วไปเช่นอายุการศึกษาอาชีพรายได้สถานภาพสมรสความสัมพันธ์ในครอบครัวสิ่งแวดล้อมที่บ้าน เพื่อประเมิน สาเหตุที่ทำให้เกิด ความเครียด
ซักถามความต้องการการช่วยเหลือและบุคคลที่สนับสนุนให้กำลังใจช่วยแก้ปัญหา
การตรวจร่างกาย
ตรวจสอบพฤติกรรมที่บ่งชี้ถึงความเครียดความ
เศร้าความวติกกังวล
เป็นแบบแผนเกี่ยวกับการรับรู้ลักษณะอารมณ์พื้นฐานการรับรู้เกี่ยวกับความเครยีด ปฏิกิริยาของร่างกายเมื่อเกิดความเครียดวิธีการแก้ไขและการจัดการกับความเครียดปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดความเครียด
แบบแผนด้านโภชนาการและการเผาผลาญอาหาร (Nutritional-Metabolism Patterns)
ประเมินการทำงานของร่างกายที่เกี่ยวข้องกับภาวะโภชนาการได้แก่ การเคี้ยว การกลืน การย่อย การดูดซึมและการเผาผลาญ
การซักประวัติ
แบบแผนเกี่ยวกับบริโภคนิสัยและแบบแผนการดำเนินชีวิต (lifestyle)
ชอบกินอาหารขณะนั่งดูโทรทัศน์ ชอบนั่งๆ นอนๆ โดยไม่ทำกิจกรรมต่างๆ หรือไม่
ลักษณะอาหารหรือขนมที่ชอบอาหารที่รับประทานเป็นประจำอาหารที่ไม่รับประทานหรืออาหารแสลง
มีความรู้เกี่ยวกับอาหารและโภชนาการหรือไม่
ประวัติการเป็นโรคเกี่ยวกับระบบทางเดินอาหารเช่นมีแผลหรือโรคภายในช่องปากฟันผุ โรคตับ ตับอ่อน ถุงน้ำดี และโรคอื่นๆ
ปัจจัยต่างๆ ที่มีอิทธิพลต่อ การได้รับ สารอาหาร น้ำ เกลือแร่ ค้นหาสิ่งที่บ่งชี้ที่ก่อให้เกิดความเสี่ยงของภาวะทุพโภชนาการเช่นความอยากอาหาร ลดลง
การตรวจร่างกาย
สังเกตพฤติกรรมการรับประทานอาหารปริมาณและลักษณะอาหารที่รับประทาน
เยื่อบปุากและแผลในช่องปากคอฟันผุเหงือกอักเสบทอนซิลแดงโตหรือไม่
ตรวจลักษณะท้อง ตับ ม้าม ก้อนในท้อง ฟังเสียงการเคลื่อนไหวของลำไส้(Bowelsound)
11.แบบแผนค่านิยมและความเชื่อ(Value–beliefPattern)
การซักประวัติ
ความเชื่อความผูกพัน ความศรัทธาที่มีต่อสิ่งต่างๆเช่นความดีงามความถูกต้องศาสนาพระเจ้าสิ่งศักดิ์สิทธิหรือสิ่งเหนือธรรมชาติ
ความหวังหรือเป้าหมายในชีวิต
การตรวจร่างกาย
สังเกตพฤตกิรรมที่แสดงออกทางสีหน้ากริยาท่าทางรวมท้ังการแสดงออกทางอารมณ์เช่น ซึมเศรา้ แยกตัว ว้าเหว่ โกรธ หงุดหงิด
เป็นแบบแผนเกี่ยวกับความเชื่อ ความศรัทธา ความมั่นคงเข้มแข็ง ทางด้านจิตใจ สิ่งที่มีคุณค่า มีความหมายต่อชีวิต สิ่งยึดเหนี่ยว ทางด้านจิตใจ เป้าหมายในการดำเนินชีวิต ความเชื่อทางด้าน สุขภาพและการปฏิบัติตนตามความเชื่อ
1.แบบแผนการรับรู้สุขภาพและการดูแลสุขภาพ
(Health Perception-Health Management Patterns)
เป็นการรวบรวมข้อมูลเพื่อประเมินความคิด ความเข้าใจของบุคคลต่อภาวะสุขภาพ โดยทั่วไปของตนเองและของผู้ที่ตนรับผิดชอบ ว่าถูกต้องเหมาะสมหรือไม่ และมีความคาดหวังต่อภาวะสุขภาพหรือการรักษาอย่างไร
รวบรวมโดยการซักประวัติและการตรวจร่างกาย
การตรวจร่างกาย
ความร่วมมือในการรักษาพยาบาลของผู้ป่วยหรือครอบครัว
สังเกตการปฏิบัติตนขณะเจ็บป่วยของผู้ป่วยหรือการได้รับการดูแลจากครอบครัว
ลักษณะทั่วไปและความพิการเช่นท่าทางการเดินการลุกนั่งการ
เคลื่อนไหวแขนขาการพูดคุยการแสดงสีหน้า
การซักประวัติ
การตรวจร่างกายประจำปี
ประวัติการแพ้สารต่างๆเช่นการแพ้ยาอาหารสารเคมีหรือสารอื่นๆรวมทั้งอาการแพ้ และการแก้ไขเมื่อเกิดอาการแพ้
มีความรู้เกี่ยวโรคที่เป็นหรือสาเหตุของโรคถูกต้องหรือไม่อย่างไรและวิธีการแก้ไขเมื่อเจ็บป่วย
การดูแลความสะอาดของร่างกายตนเองเช่นการอาบน้ำ การแปรงฟันขณะอยู่ที่บ้าน
5.แบบแผนการนอนหลับพักผ่อน(Sleep-restPattern)
การซักประวัติ
ปัญหาการนอน
นอนมากไป นอนน้อย นอนไม่หลับ เป็นคนนอนยาก ตื่นเร็ว นอนหลับๆ ตื่นๆ นอนหลับไมส่นิทนอนฝันร้ายรวมท้ังสาเหตขุองปญัหาและแนวทางแกไ้ข
พฤติกรรมการผ่อนคลายชนิดและความถี่ของกิจกรรมที่ทำเพื่อให้ผ่อนคลาย
การอ่านหนังสือ การดูหนัง ฟังเพลง การนั่งสมาธิ เล่นกีฬา ท่องเที่ยว ฯลฯ
การตรวจร่างกาย
นอนวันละกี่ชั่วโมง นอนกลางวันไหม
หลับสนิท หรือหลับๆตื่นๆ
สังเกตหน้าตาว่านอนหลับพักผ่อนเพียงพอหรือไม่
เป็นแบบแผนเกี่ยวกับการนอนหลับ การพักผ่อน ปัญหาเกี่ยวกับการนอนปัจจัยส่งเสริม ปัจจัยเสี่ยง และอุปสรรคต่อแบบแผนการนอน กิจกรรมที่บุคคลปฏิบัติเพื่อให้ผ่อนคลาย
ตัวอย่างการบันทึกข้อมูล การประเมินภาวะสุขภาพตามแบบแผนสุขภาพ(Functional health patterns)
แบบแผนสติปัญญาและการรับรู้
ข้อมูลอัตนัย (Subjective Data)
หน้าที่ในการรับสัมผัสและการรับรู้
คุณมีความผิดปกติเกี่ยวกับการรับรู้หรือไม่ อย่างไร
การได้กลิ่น: สามารถรับรู้ถึงกลิ่นต่างๆได้ดี
การสัมผัส : ผู้ป่วยรับรู้ถึงการรับสัมผัสได้ดี
ความเจ็บปวด ความไม่สุขสบายของผู้ป่วย (ความเจ็บปวด ร้อน หนาว คัน ระคายเคือง) : ผู้ป่วยมีอาการปวดขาทั้ง 2 ข้าง
ข้อมูลปรนัย (Objective Data)
การตรวจร่างกาย
ลักษณะการโต้ตอบ/การใช้ภาษา/การอ่าน/การพูด : ผู้ป่วยสามารถพูดโต้ตอบได้ ใช้ภาษาได้ดีอ่านหนังสือออกและเขียนหนังสือได้ดี
ความจำ : ผู้ป่วยมีความจำดี และจ าเรื่องราวที่ผ่านมาได้ดี
ลักษณะสีหน้า และการแสดงออกถึงความไม่สุขสบาย : สีหน้าที่แสดงออกถึงความเจ็บปวด
แบบแผนแผนการรับรู้ตนเองและอัตมโนทัศน์
ข้อมูลอัตนัย (Subjective Data)
คุณรู้สึกเกี่ยวกับความสามารถของตนเองอย่างไร
ก่อนการเจ็บป่วย : ทำงานเองได้ทุกอย่าง เช่น ให้อาหารปลา ขุดดินปลูกผัก
ขณะเจ็บป่วย : ทำงานหนักไม่ได้เลย รู้สึกเหนื่อยง่าย
คุณรู้สึกต่อรูปร่างหน้าตาตนเองอย่างไร
ก่อนการเจ็บป่วย : รู้สึกว่าหน้าตาตนเองสดใส มีน้ ามีนวล
ขณะเจ็บป่วย : รู้สึกว่าหน้าตาเศร้าหมอง ไม่มีชีวิตชีวา ผมไม่ได้หวี เหนื่อย อ่อนเพลีย
ข้อมูลปรนัย (Objective Data)
พฤติกรรมแสดงความสนใจในรูปร่าง หน้าตาต่อตนเอง : ผู้ป่วยไม่ได้มีพฤติกรรมที่แสดงความสนใจในรูปร่างหน้าตา
ลักษณะพฤติกรรมที่แสดงออกขณะสนทนา : ผู้ป่วยให้ความสนใจขณะซักถามดี มีการสบตาและพูดด้วยน้ าเสียงที่ดี
แบบแผนการพักผ่อนนอนหลับ
ข้อมูลอัตนัย (Subjective Data)
การนอนหลับ
วิธีการแก้ไข : พยายามนอนให้หลับและไม่สนใจเสียงรอบข้าง
ปัญหาเกี่ยวกับการนอนหลับ : นอนไม่หลับ เสียงดัง
ขณะอยู่โรงพยาบาลนอนหลับกลางวัน วันละ 2 ชั่วโมง นอนกลางคืน วันละ 4 ชั่วโมง
การพักผ่อนหย่อนใจและงานอดิเรกที่มักปฏิบัติ : ทำอาหาร เลี้ยงสัตว์ ทำสวน ทุกๆวัน
ข้อมูลปรนัย (Objective Data)
อาการแสดงของการนอนหลับพักผ่อนไม่เพียงพอ (อ่อนเพลีย หน้าตาอิดโรย ขอบตาคลำ หาวนอนบ่อย หงุดหงิด : ผู้ป่วยมีท่าทางอ่อนเพลีย หน้าตาไม่สดชื่น หาว
แบบแผนบทบาทและสัมพันธภาพ
ข้อมูลอัตนัย (Subjective Data)
ความสัมพันธ์กับผู้ร่วมงาน : มีความสัมพันธ์กับผู้ร่วมงานดี
บทบาทและความรับผิดชอบในงาน/อาชีพ/การศึกษา : เกษียณอายุราชการแล้ว
ความรู้และสมรรถนะการดูแล ภาวะสุขภาพ และภาระที่ต้องรับผิดชอบ : ผู้ดูแลได้รับความรู้ในการดูแลผู้ป่วยจากแพทย์และพยาบาล คอยก าชับเกี่ยวกับเรื่องอาหาร และการลุกเดิน
ข้อมูลปรนัย (Objective Data)
สัมพันธภาพของผู้ใช้บริการกับบุคลากรในทีมสุขภาพ : มีสัมพันธภาพดี
พฤติกรรมในการดูแลของครอบครัวและผู้ดูแล : คนในครอบครัวดูแลเอาใจใส่ดี
สัมพันธภาพของผู้ใช้บริการกับครอบครัว/เพื่อน/ผู้ร่วมงาน : มีสัมพันธภาพดี
แบบแผนกิจกรรมและการออกกำลังกาย
ข้อมูลอัตนัย (Subjective Data)
ความทนต่อการทำกิจกรรม (กิจกรรมที่ทำ/ความเหนื่อยเมื่อทำกิจกรรม)
ก่อนการเจ็บป่วยครั้งนี้ : ทำกิจกรรมต่างๆ เล็กๆน้อยๆ จะรู้สึกเหนื่อยง่าย
ขณะอยู่ในโรงพยาบาล : ทำกิจกรรมต่างๆไม่ได้ รู่สึกเหนื่อย
ลักษณะงานที่ทำในปัจจุบัน : เกษียณอายุราชการ ไม่ได้ทำงาน อยู่บ้านเลี้ยงหลาน
ตามปกติคุณออกกำลังกายเป็นประจำ หรือไม่ อย่างไร : ออกกำลังกายโดยการเดินรอบหมู่บ้านทุกวัน
ข้อมูลปรนัย (Objective Data)
การออกกำลังกายขณะอยู่โรงพยาบาล : ออกกำลังกายบนเตียงโดยกายบริหารทุกเช้า
การตรวจร่างกาย
ท่าทาง การทรงตัว การเดิน การเคลื่อนไหวของร่างกาย การทำงานประสานกันของกล้ามเนื้อ : ท่าทางการเดินการทรงตัวไม่ดี
แบบแผนเพศและการเจริญพันธุ์
ข้อมูลอัตนัย (Subjective Data)
การตรวจเต้านมด้วยตนเอง : 1-2 เดือน/ครั้ง
มีประจำเดือนครั้งแรก 13 ปี ระยะห่างของการมีประจำเดือน 20 วัน
ข้อมูลปรนัย (Objective Data)
การตรวจร่างกาย
ลักษณะทางเพศ ชาย : ลูกกระเดือก หนวด ขนตามร่างกาย
หญิง : เต้านม สะโพก : มีเต้านม มีสะโพกผาย
สิ่งที่ขับออกทางอวัยวะสืบพันธุ์ภายนอก : ปัสสาวะ 1,000 ml.
แบบแผนการขับถ่าย
ข้อมูลอัตนัย (Subjective Data)
แบบแผนการขับถ่ายปัสสาวะ ก่อนการเจ็บป่วยครั้งนี้
วิถีทาง : ปัสสาวะเอง
ความถี่ : กลางวัน 4 ครั้ง กลางคืน 3 ครั้
ลักษณะปัสสาวะในแต่ละครั้ง : 250 cc
อาการผิดปกติของการขับถ่ายปัสสาวะ เช่น กลั้นปัสสาวะไม่ได้ ปัสสาวะไม่สะดุด/คั่ง หรือเจ็บปวดเวลาปัสสาวะ : เมื่ออยู่บ้าน ปัสสาวะแสบขัด กลั้นปัสสาวะไม่ค่อยได้
วิธีแก้ไข : ถ้ารู้สึกปวดปัสสาวะต้องรีบไปเข้าห้องน้ำทันที
ข้อมูลปรนัย (Objective Data)
ลักษณะปัสสาวะ : สีเหลือง ใส
จำนวนและลักษณะอุจจาระ : -
จำนวนปัสสาวะใน 24 ชม. : ปัสสาวะประมาณ 900 cc . /วั
จำนวนและลักษณะของอาเจียน : ไม่มีอาเจียน
แบบแผนการปรับตัวและการเผชิญความเครียด
ข้อมูลปรนัย (Objective Data)
ลักษณะพฤติกรรมการแสดงออกทางสีหน้า ท่าทาง การแต่งกาย ที่บ่งชี้ถึงความเครียด วิตกกังวล ไม่สบายใจ เช่น สีหน้าหมกมุ่น กระวนกระวาย ร้องไห้ ซึม นอนไม่หลับ รับประทานอาหาไม่ได้ :ผู้ป่วยมีสีหน้าวิตกกังวลไม่สบายใจ
ข้อมูลอัตนัย (Subjective Data)
ขณะนี้มีความเครียด ไม่สบายใจ หรือกังวลใจในเรื่องใด : คิดถึงหลานที่บ้าน
ผลที่ได้รับ : สบายใจขึ้น
ตามปกติมีอุปนิสัย และอารมณ์อย่างไร : เป็นคนชอบพูด ร่าเริง อารมณ์ดี
แบบแผนโภชนาการและการเผาผลาญสารอาหาร
ข้อมูลอัตนัย (Subjective Data)
อาหารที่ไม่รับประทานและเหตุผล : ของหมักดอง
เครื่องดื่มที่ชอบ / ไม่ชอบรับประทาน : ดื่มกาแฟร้อนและปาท่องโก๋ทุกวันตอนเช้า
ตามปกติรับประทานอาหารวันละ : 3 มื้อ ตรงเวลา ปริมาณ 1 ทัพพีต่อครั้ง
ตามปกติคุณมีปัญหาในการรับประทานอาหารหรือไม่ อย่างไร : ไม่มีปัญหาในการรับประทานอาหาร
ข้อมูลปรนัย (Objective Data)
การได้รับสารอาหาร : ผู้ป่วยรับประทานอาหารเอง ทางปาก
แบบแผนคุณค่าและความเชื่อ
ข้อมูลอัตนัย (Subjective Data)
ความเชื่อเกี่ยวกับสุขภาพและความเจ็บป่วย (อาหารแสลง/การปฏิบัติตน) : เชื่อว่าถ้ารับประทานกาแฟเยอะๆจะทำให้นอนไม่หลับ
ขณะอยู่โรงพยาบาลคุณต้องการปฏิบัติความเชื่อหรือไม่ : ต้องการทำตามความเชื่อ สวดมนต์ก่อนนอนและขอพรสิ่งศักดิ์สิทธิ์ให้หายจากอาการป่วย
สิ่งที่มีค่าหรือมีความสำคัญในชีวิต : สามี ลูกหลาน
ข้อมูลปรนัย (Objective Data)
การนำสิ่งที่นับถือบูชามาโรงพยาบาล ( ห้อยพระ ใส่เครื่องรางของขลัง ฯลฯ ) : ผู้ป่วยไม่ได้นำสิ่งที่บูชานับถือมาโรงพยาบาลด้วย
การปฏิบัติกิจกรรมทางศาสนาและไสยศาสตร์ ( สวดมนต์,อธิษฐาน, ละหมาด, รดน้ำมนต์ ) :สวดมนต์
แบบแผนการรับรู้ภาวะสุขภาพและการดูแลสุขภาพ
ข้อมูลอัตนัย(SubjectiveData)
เมื่อเจ็บป่วยคุณดูแลสุขภาพตนเองอย่างไร
การได้รับการดูแลจากผู้อื่น : ญาติต้องพยุงเวลาลุกเดินไปเข้าห้องน้ า แต่ไม่สะดวก
พฤติกรรมการดูแลของผู้ดูแล : ญาติของผู้ป่วยดูแลเอาใจใส่เป็นอย่างดี ยิ้มแย้ม
พฤติกรรมเสี่ยงและปัจจัยเสี่ยง
สูบบุหรี่ : ผู้ป่วยปฏิเสธการสูบบุหรี่
สิ่งเสพติด : ผู้ป่วยปฏิเสธการติดสารเสพติด
การแพ้สารต่างๆ
อาหาร/ยา/ สารที่แพ้ : ผู้ป่วยปฏิเสธการแพ้ยาแพ้อาหารและสารอื่นๆ
ข้อมูลปรนัย (Objective Data)
ความร่วมมือในการรักษา : ผู้ป่วยให้ความร่วมมือในการรักษาดี
การดูแลของผู้ดูแล : ผู้ดูแลเอาใจใส่ ยิ้มแย้มดี
สภาพร่างกาย อารมณ์ และจิตใจโดยทั่วไป : ผู้ป่วยรู้สึกตัวดี ท่าทางอ่อนเพลีย เป็นคนอารมณ์ดี จิตใจดี ชอบช่วยเหลือผู้อื่น