Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
แบบแผนสุขภาพของกอร์ดอน, ตัวอย่างการบันทึกข้อมูลการประเมินภาวะสุขภาพตามแบบแ…
แบบแผนสุขภาพของกอร์ดอน
1 แบบแผนการรับรู้สุขภาพและการดูแลสุขภาพ
(Health Perception-Health Management Patterns)
เป็นการรวบรวมข้อมูลเพื่อประเมินความคิด ความเข้าใจของบุคคลต่อภาวะสุขภาพโดยทั่วไปของตนเองและของผู้ที่ตนรับผิดชอบ ว่าถูกต้องเหมาะสมหรือไม่ และมีความคาดหวังต่อภาวะสุขภาพหรือการรักษาอย่างไร
แนวทางการประเมินการรับรู้ภาวะสุขภาพและการดูแลสุขภาพ
การซักประวัติ
การรับรู้สุขภาพของตนเองหรือบุคคลที่รับผิดชอบทั้งอดีตและปัจจุบันเป็นอย่างไร ถูกต้องหรือไม่
ประวัติ ความถี่ในการเกิดอาการเจ็บป่วย บ่อยเพียงใด
การตรวจร่างกายประจำปี
มีความต้องการความช่วยเหลือจากทีมการพยาบาลหรือผู้รักษาอย่างไร
การดูแลความสะอาดของร่างกายตนเอง เช่น การอาบน้ า การแปรงฟัน
การตรวจร่างกาย
ลักษณะทั่วไปและความพิการ
ท่าทางการเดิน การลุกนั่ง การ
เคลื่อนไหวแขนขา การพูดคุย การแสดงสีหน้า
ความสะอาดของร่างกาย เสื้อผ้า เครื่องแต่งกาย
ความร่วมมือในการรักษาพยาบาลของผู้ป่วยหรือครอบครัว
สังเกตการปฏิบัติตนขณะเจ็บป่วยของผู้ป่วย หรือการได้รับการดูแลจากครอบครัว
ตัวอย่างคำถามแบบแผนการรับรู้ภาวะสุขภาพและการดูแลสุขภาพ
ทราบไหมว่าเป็นโรคอะไร ทราบวิธีการดูแลตนเองหรือไม่ ถ้าทราบดูแลตนเองอย่างไร
เมื่อเจ็บป่วย/บาดเจ็บ ผู้ป่วยปฏิบัติอย่างไร
เคยรักษาแบบพื้นบ้านหรือไม่ เคยรักษาด้วยวิธีการใดบ้าง
รับรู้ผลกระทบของภาวะเจ็บป่วยต่อสุขภาพและคุณภาพชีวิตเป็นอย่างไร
ตัวอย่างข้อมูลแบบแผนการรับรู้ภาวะสุขภาพและการดูแลสุขภาพ
“ไม่เคยมีใครบอกว่าเป็นโรคอะไร จะหายหรือไม
“ไม่อยากรู้ กลัวเป็นโรคที่รักษาไม่หาย”
เมื่อเจ็บป่วยเล็กน้อยจะไปสถานีอนามัยและซื้อยากินเอง
2 เดือนก่อนเคยมารับยา กินยาแล้วดีขึ้น ไม่ได้มาพบแพทย์ตามนัดเพราะแม่ติดเกี่ยวข้าว
2.แบบแผนด้านโภชนาการและการเผาผลาญอาหาร(Nutritional-Metabolism Patterns)
ประเมินพฤติกรรมการรับประทานอาหารโดยพิจารณาความสอดคล้องกับอาหารที่ควรได้รับและน้ำหนักตัว
แนวทางการประเมินแบบแผนโภชนาการและการเผาผลาญสารอาหาร
การซักประวัติ
แบบแผนเกี่ยวกับบริโภคนิสัยและแบบแผนการดำเนินชีวิต (life style)
อุปนิสัยในการรับประทานอาหาร กินอาหารเป็นเวลาหรือไม่รับประทานเก่งหรือชอบกินจุบกินจิบหรือไม่
ประวัติการเป็นโรคเกี่ยวกับระบบทางเดินอาหาร
มีแผลหรือโรคภายในช่องปาก
ฟันผุ
โรคกระเพาะอาหารหรือลำไส้อักเสบ
ปัญหาในการรับประทานอาหาร
รับประทานอาหารแล้วมีอาการแน่นท้อง
ท้องอืด เบื่ออาหาร คลื่นไส้ อาเจียน
การรับประทานยาที่เกี่ยวข้องกับการเผาผลาญสารอาหาร
ยาลดระดับน้ำตาลในเลือด ยาฉีดอินซูลิน
ยาลดไขมันในเส้นเลือด ยารักษาโรคไทรอยด์ เป็นต้น
การตรวจร่างกาย
สังเกตพฤติกรรมการรับประทานอาหาร ปริมาณและลักษณะอาหารที่รับประทาน
ตรวจสภาพของผิวหนังและเยื่อบุว่าซีดหรือไม่
โดยสังเกตสีของผิวหนัง ริมฝีปาก เยื่อบุตา
(Conjunctiva) ตาขาว ฝ่ามือ ฝ่าเท้า
เยื่อบุปากและแผลในช่องปาก คอ ฟันผุ เหงือกอักเสบ ทอนซิลแดงโตหรือไม่
ตรวจลักษณะท้อง ตับ ม้าม ก้อนในท้อง ฟังเสียงการเคลื่อนไหวของลำไส้ (Bowel sound)
ตัวอย่างข้อมูลแบบแผนโภชนาการและการเผาผลาญสารอาหาร
ชอบกินข้าวเหนียววันละ 3 มื้อ ชอบกินอาหารรสจัดโดยเฉพาะส้มตำ
ดื่มน้ำประมาณวันละ 6-8 แก้ว/วัน
2 เดือนมานี้กินได้มื้อละ 5-6 คำ เนื่องจากเบื่ออาหารและแน่นท้อง
3. แบบแผนการขับถ่ายของเสีย(Elimination Patterns
)
เป็นการรวบรวมข้อมูลเพื่อประเมินกระบวนการขับถ่าย ลักษณะ ปริมาณ จำนวนครั้งของของเสียทุกประเภทที่ออกจากร่างกายทั้งอุจจาระ ปัสสาวะ น้ำและอิเลคโตรไลท์
แนวทางการประเมินแบบแผนการขับถ่าย
การซักประวัติ
แบบแผนการขับถ่ายปัสสาวะ
ปัสสาวะวันละกี่ครั้ง จำนวนมากน้อยเท่าใด ชอบกลั้นปัสสาวะ
ปัญหาการขับถ่ายปัสสาวะและวิธีการแก้ไข
ปัสสาวะแสบขัด ปัสสาวะล ำบาก กระปริดกระ
ปรอย ปัสสาวะน้อย
ประวัติการใช้ยาต่างๆ
ยาขับปัสสาวะ ยาลดความดันโลหิต ซึ่งมีผลต่อการทำงานของไต
การตรวจร่างกาย
สังเกตสี ปริมาณ ลักษณะปัสสาวะที่ขับออกมาจากผู้ป่วย และปัญหาการขับถ่ายปัสสาวะว่ามีความ
ผิดปกติหรือไม่ สอดคล้องกับการซักประวัติหรือไม่
สังเกตการมีกระเพาะปัสสาวะเต็ม (Full Bladder)
การตรวจทางห้องปฏิบัติการและการตรวจพิเศษ
ตรวจปัสสาวะ เพื่อประเมินความผิดปกติของระบบทางเดินปัสสาวะ
ตรวจเลือดเพื่อดูระดับของยูเรีย ไนโตรเจน และครีเอตินินในเลือดบ่งบอกการท างานของไต
การตรวจอุจจาระเพื่อประเมินว่าอุจจาระมีเม็ดเลือดแดง เม็ดเลือดขาว พยาธิ หรือมีเลือดปนใน
อุจจาระหรือไม
ตัวอย่างคำถามแบบแผนการขับถ่าย
ถ่ายอุจจาระบ่อยแค่ไหน วันละกี่ครั้งหรือ สัปดาห์ละกี่ครั้ง
ลักษณะของอุจจาระปกติ เป็นก้อนหรือเป็นน้ำ ลักษณะสีเป็นอย่างไร
มีปัญหาในการขับถ่าย เช่น ท้องผูก ปวดท้อง กลั้นอุจจาระไม่ได้ไหม
ตัวอย่างข้อมูลแบบแผนการขับถ่าย
ปกติถ่ายอุจจาระทุกเช้า ไม่เคยมีปัญหาท้องผูก
ถ่ายอุจจาระ 2-3 วันต่อครั้ง อุจจาระเป็นก้อนแข็ง ต้องออกแรงเบ่ง มีอาการแน่นอึดอัด
ท้องเล็กน้อย
ปกติปัสสาวะ 4 ครั้งต่อวัน ไม่มีแสบขัด
ขณะที่ป่วยใส่สายสวนปัสสาวะค้างไว้ ปัสสาวะออก 800 C.C. สีเหลืองใส
4. แบบแผนด้านการมีกิจกรรมและการออกกำลังกาย
(Activity-Exercise Patterns)
เป็นการรวบรวมข้อมูลเพื่อประเมินระดับความสามารถในการประกอบกิจกรรมต่างๆในชีวิตประจำวันการทำกิจวัตรประจำวัน การดูแลบ้าน การประกอบอาชีพ การใช้เวลาว่าง
และนันทนาการ การออกกำลังกาย หรือ การทำกิจกรรมที่มีเหงื่อออก
แนวทางการประเมินแบบแผนกิจกรรมและการออกกำลังกาย
การซักประวัติ
ความสามารถในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวันว่าสามารถทำอะไรได้บ้าง
แข็งแรงดี สามารถปฏิบัติงานและกิจวัตรต่างๆ ได้ตามปกติ
ทำงานหรือกิจกรรมได้จำกัดสามารถปฏิบัติได้แต่งานเบาๆ
ดูแลกิจวัตรประจำวันของตนเองได้จำกัด ต้องนั่งหรือนอนพักเป็นส่วนใหญ
กิจกรรมในงานอาชีพหนักเบาอย่างไร
อาชีพครู ค้าขาย ชาวนา จะมีกิจกรรมที่
แตกต่างกัน
ประวัติการเป็นโรคที่เป็นอุปสรรคต่อการปฏิบัติกิจวัตรประจำวัน
โรคอัลไซเมอร์ โรคพากินสัน โรคหัวใจ ภาวะโลหิตจาง
การได้รับบาดเจ็บหรือเกิดอุบัติเหตุต่อกระดูก ข้อ และกล้ามเนื้อ
การหกล้ม ถูกรถชน การบาดเจ็บจากการทำงานหรือการเล่นกีฬา
การตรวจร่างกาย
สังเกตความสามารถในการทำกิจกรรมต่างๆ
ประเมินความสามารถในการเคลื่อนไหวของแขนขา
(Range of motion : ROM)
ตรวจร่างกายระบบต่างๆ เพื่อประเมินความสามารถในการทำกิจกรรมต่างๆ
ตรวจวัดสัญญาณชีพ ประเมินอาการของความดัน
โลหิตสูง
ปวดศีรษะ ตาพร่ามัว แขนขาอ่อนแรง
ตรวจอาการขาดออกซิเจน
สังเกตผิวหนัง ริมฝีปาก เล็บมือ
การตรวจทางห้องปฏิบัติการและการตรวจพิเศษ
การตรวจเลือดและตรวจเอกซเรย์ปอด เพื่อประเมินภาวะผิดปกติที่เป็นอุปสรรคต่อการปฏิบัติกิจกรรมต่างๆ หรือไม่
ตัวอย่างคำถามแบบแผนกิจกรรมและการออกกำลังกาย
ในแต่ละวันตั้งแต่ตื่นนอนท่านทำอะไรบ้างกิจวัตรประจำวัน
ปัญหาในการทำกิจกรรมนั้นๆ หรือไม่
แต่ละกิจกรรมที่ทำใช้เวลานานเท่าใด
ตัวอย่างข้อมูลแบบแผนกิจกรรมและการออกกำลังกาย
ปกติออกกำลังกายโดยการเดินรอบหมู่บ้านตอนเช้าทุกวัน วันละ 1 ชั่วโมง
ขณะเจ็บป่วยมีภรรยาช่วยเหลือเกี่ยวกับการทำกิจวัตรประจำวัน
ผู้ป่วยให้ประวัติว่าเป็นโรคความดันโลหิตสูง
เวลาเดินการทรงตัวไม่ดี เนื่องจากขาข้างขวาบวม กำลังกล้ามเนื้อเกรด 4
5. แบบแผนการนอนหลับพักผ่อน (Sleep-rest Pattern)
เป็นแบบแผนเกี่ยวกับการนอนหลับ การพักผ่อน ปัญหาเกี่ยวกับการนอน ปัจจัยส่งเสริม ปัจจัยเสี่ยง และอุปสรรคต่อแบบแผนการนอน กิจกรรมที่บุคคลปฏิบัติเพื่อให้ผ่อนคลาย รวมทั้งการเปลี่ยนแปลงของแบบแผนอันเนื่องมาจากความเจ็บป่วย
แนวทางการประเมินแบบแผนการพักผ่อนนอนหลับ
การซักประวัติ
พฤติกรรมการนอน ประวัติเกี่ยวกับอุปนิสัยการนอน
เป็นคนนอนดึกหรือนอนแต่หัวค่ำ ชอบหลับเวลากลางวันตื่นเวลากลางคืนระยะเวลาที่นอนหลับ นอนวันละกี่ชั่วโมง กลางวันกี่ชั่วโมง กลางคืนกี่ชั่วโมง
เพียงพอหรือไม
ปัญหาเกี่ยวกับการนอน
นอนมากไป นอนน้อย นอนไม่หลับ เป็นคนนอนยาก ตื่นเร็ว นอนหลับๆ ตื่นๆ นอนหลับไม่สนิท นอนฝันร้าย รวมทั้งสาเหตุของปัญหาและแนวทางแก้ไข
มีการใช้ยานอนหลับหรือไม่ ถ้ามีใช้ยาอะไร ตั้งแต่เมื่อไร ความถี่ในการใช้ยา
การตรวจร่างกาย
สังเกตหน้าตาว่านอนหลับพักผ่อนเพียงพอหรือไม่
ความสดชื่นแจ่มใส ซึม อ่อนเพลีย
ง่วงนอน หาวนอนบ่อย
ใต้ตาเป็นรอยเขียวคล้ำ
นอนหลับเวลากลางวันตื่นเวลากลางคืน
ตัวอย่างคำถามแบบแผนการพักผ่อนนอนหลับ
นอนวันละกี่ชั่วโมง นอนกลางวันไหม
หลับสนิท หรือหลับๆตื่นๆ
เมื่อตื่นนอนรู้สึกอย่างไร (สดชื่น ง่วง ไม่กระปรี้กระเปร่า)
มีปัญหาการนอนไม่หลับไหม จัดการอย่างไร
ตัวอย่างข้อมูลแบบแผนการพักผ่อนนอนหลับ
ปกติเข้านอนตั้งแต่เวลา 22.00-06.00 น. หลับสนิททั้งคืน ไม่เคยนอนกลางวัน
ขณะเจ็บป่วยนอนกลางคืนวันละ 4 ชั่วโมง ต้องตื่นนอนบ่อยเพราะผู้ป่วยข้างเตียงร้องเสียงดัง
ผู้ป่วยมีท่าทางอ่อนเพลีย หน้าตาไม่สดชื่น หาวบ่อย
6. แบบแผนสติปัญญาและการรับรู้ (Cognitive-perceptual Pattern)
แนวทางการประเมินแบบแผนสติปัญญาและการรับรู้
การซักประวัติ
ปัญหาเกี่ยวกับความรู้สึกตัว เช่น มีอาการสับสน ซึม ไม่รู้สึกตัว และระยะเวลาที่มีอาการ
ปัญหาเกี่ยวกับการมองเห็น เช่น เห็นภาพซ้อน ตามัว มองไม่เห็น
ความรู้สึกทั่วไป สุขสบายหรือไม่สุขสบาย
การตรวจร่างกาย
ประเมินระดับความรู้สึกตัว
การลืมตา การสื่อภาษา การเคลื่อนไหวของร่างกาย และ
ตรวจดูความผิดปกติของจมูก ตา หู ลิ้น ตรวจประสาทสัมผัสทางผิวหนัง
สังเกตลักษณะทั่วไป
รููปร่าง ลักษณะ หน้าตา ท่าทาง การแต่งกาย การดูแลสุขอนามัยทั่วๆ ไป พฤติกรรมที่แสดงออก
ประเมินระดับสติปัญญา (IQ) โดยใช้แบบทดสอบ
ตัวอย่างข้อมูลแบบแผนสติปัญญาและการรับรู้
ผู้ป่วยสามารถบอกวัน เวลา สถานที่ และบุคคลได้
ตอบคำถามได้ตรงประเด็นที่ถาม
สามารถพูดโต้ตอบได้ ใช้ภาษาได้ดี อ่านหนังสือออกและเขียนหนังสือได้
มีความจำดีจำเรื่องราวที่ผ่านมาได้ดี
การรับรู้ทางการสัมผัสได้ดี
7. แบบแผนการรับรู้ตนเองและอัตมโนทัศน์(Self perception–Self concept Pattern)
แนวทางการประเมินแบบแผนการรับรู้ตนเองและอัตมโนทัศน์
การซักประวัติ
ความรู้สึกต่อตนเองเกี่ยวกับภาพลักษณ์โดยทั่วไป รู้สึกว่าอ้วน ผอม สูงหรือเตี้ยเกินไป
ความรู้สึกต่อตนเองเกี่ยวกับความสามารถในด้านต่างๆ ได้แก่ ความสามารถในการปฏิบัติงานการเรียน การทำกิจกรรมต่างๆ
ความรู้สึกต่อตนเองเกี่ยวกับความภาคภูมิใจในตนเอง ความพอใจในตนเอง ความรู้สึกสูญเสียความ
มั่นคงปลอดภัย ท้อแท้ สิ้นหวัง เป็นต้น
การตรวจร่างกาย
สังเกตความสนใจตนเองของผู้ป่วย
การแต่งกาย บุคลิกภาพ
การสังเกตปฏิกิริยาตอบสนองหรือพฤติกรรมที่แสดงออกต่อการเปลี่ยนแปลงหรือสูญเสีย เช่น อาการอาย
มีพฤติกรรมปิดบังอวัยวะของร่างกายเพราะไม่ต้องการให้ใครเห็นสภาพของตนเองความวิตกกังวล
แบบแผนแผนการรับรู้ตนเองและอัตมโนทัศน์
ตัวอย่างคำถาม
ท่านคิดว่าตัวเองเป็นคนมีนิสัยอย่างไร
รู้สึกอย่างไรต่อสภาพตนเองตอนที่เจ็บป่วย
คิดว่าตัวเองมีจุดเด่น จุดด้อยอะไรบ้าง
ตัวอย่างข้อมูล
ก่อนการเจ็บป่วยครั้งนี้รู้สึกว่าตนเองมี
ความสำคัญกับครอบครัวก่อนการเจ็บป่วยครั้งนี้รู้สึกว่าตนเองมีความสำคัญกับครอบครัว
ขณะเจ็บป่วย รู้สึกว่าหน้าตาเศร้าหมอง
รู้สึกเหนื่อยง่ายต้องพึ่งพาครอบครัวทำให้
ญาติลำบากเดินทางมาดูแล
ผู้ป่วยมีความสนใจขณะซักถามดี มีการ
สบตา พูดด้วยน้ำเสียงที่ดี
8. แบบแผนบทบาทและสัมพันธภาพ (Role-relationship Pattern
)
แนวทางการประเมินแบบแผนบทบาทและสัมพันธภาพ
การซักประวัติ
โครงสร้างครอบครัว
จำนวนสมาชิกในครอบครัวมีใครบ้าง หรืออยู่คนเดียว
หน้าที่ความรับผิดชอบของผู้ป่วยและสมาชิกคนอื่นๆ ต่อครอบครัว
สิ่งที่เป็นอุปสรรคต่อการสร้างสัมพันธภาพที่ดี
ทัศนคติที่ไม่ดีต่อกัน ความเครียดภายใน
ครอบครัว ปัญหาเศรษฐกิจในครอบครัว
การตรวจร่างกาย
สังเกตพฤติกรรมต่างๆ หรือท่าทางที่แสดงออกต่อ
ครอบครัวและบุคคลในครอบครัวแสดงต่อผู้ป่วย ลักษณะ
การโต้ตอบระหว่างผู้ป่วยกับบุคคลในครอบครัว
ตัวอย่างคำถามแบบแผนบทบาทและสัมพันธภาพ
ตัวอย่างคำถาม
คุณอยู่กับใคร ครอบครัวมีใครบ้าง
มีปัญหาในครอบครัวไหม ครอบครัวจัดการ
ปัญหาอย่างไร
ในที่ทำงานมีปัญหาไหม มีเพื่อนสนิทไหน
ตัวอย่างข้อมูล
สมาชิกในครอบครัวมี 5 คน ตัวผู้ป่วยเอง
สามี ลูกชาย ลูกสะใภ้ และหลาน
มีสัมพันธภาพที่ดีในครอบครัว
คนในครอบครัวดูแลเอาใจใส่ดี
9.แบบแผนเพศสัมพันธุ์และการเจริญพันธุ์ (Sexuality- reproductive Pattern)
แนวทางการประเมินแบบแผนเพศและการเจริญพันธุ์
การซักประวัติ
การเจริญพันธ์ และการทำงานของระบบสืบพันธุ์
การมีเพศสัมพันธ์ ปัญหาเพศสัมพันธ์ ความเจ็บป่วยที่เกี่ยวข้องกับการมีเพศสัมพันธ์ และการป้องกันโรคติดต่อกันได้ทางเพศสัมพันธ์
การมีพฤติกรรมเสี่ยงต่อการเกิดโรคที่ติดต่อกันได้ทางเพศสัมพันธ์ การมีพฤติกรรมทางเพศที่ไม่เหมาะสม เช่น รักร่วมเพศ
การตรวจร่างกาย
สังเกตพฤติกรรมทางเพศจากลักษณะท่าทางที่แสดงออก ปฏิสัมพันธ์กับบุคคลอื่น การใช้ภาษาและคำพูดรวมทั้งการแต่งกายว่าเหมาะสมกับเพศหรือไม่
เพศหญิง ตรวจเต้านม ต่อมน้ำเหลือง อวัยวะเพศหญิง เพศชาย ตรวจอวัยวะเพศชาย ตรวจอาการและอาการแสดงของการติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์ เช่น โรคเอดส์
ตัวอย่างข้อมูลแบบแผนเพศและการเจริญพันธ์
ตัวอย่างคำถาม
ประวัติการมีประจำเดือน เริ่มมีเมื่ออายุกี่ปี
แต่ละครั้งมีกี่วันมีอาการร่วมขณะมี
ประจำเดือนหรือไม่
มีบุตรกี่คน คุมกำเนิดหรือไม่ ใช้วิธีใด ปัญหาเพศสัมพันธ์หรือไม่
ตัวอย่างข้อมูล
มีประจำเดือนครั้งแรกอายุ 13 ปี ครั้งละ 3
วัน มาปกติ ไม่มีอาการปวดท้อง
ตรวจเต้านมด้วยตนเอง เดือนละ 1 ครั้ง
คุมกำเนิดโดยกินยาคุมกำเนิด
การดูแลอวัยวะสืบพันธุ์ภายนอก สะอาด ไม่มี
กลิ่นอับ
เปลี่ยนผ้าอนามัยทุก 4 ชั่วโมง
10. แบบแผนการเผชิญความเครียดและความทนต่อความเครียด
(Coping –stress tolerance Pattern)
แนวทางการประเมินแบบแผนการปรับตัวและการเผชิญความเครียด
การซักประวัติ
ข้อมูลทั่วไป เช่น อายุ การศึกษา อาชีพ รายได้ สถานภาพสมรส ความสัมพันธ์ในครอบครัวสิ่งแวดล้อมที่บ้าน เพื่อประเมินสาเหตุที่ทำให้เกิดความเครียด
สัมภาษณ์เกี่ยวกับลักษณะอุปนิสัยหรืออารมณ์พื้นฐานของผู้ป่วย
ซักถามสิ่งที่ทำให้เกิดความเครียด ไม่สบายใจ วิตกกังวล กลัว เครียด คับข้องใจ
การตรวจร่างกาย
ตรวจสอบพฤติกรรมที่บ่งชี้ถึงความเครียด ความ
เศร้า ความวิตกกังวล
สีหน้าหมกมุ่น ขมวดคิ้ว กระวนกระวาย ซึม
เงียบเฉย ร้องไห้ นอนไม่หลับ
สังเกตอาการต่างๆ เช่น เหงื่อออกมาก หน้า
ซีดหรือหน้าแดง มือสั่น หายใจเร็ว
ตัวอย่างข้อมูลแบบแผนการปรับตัวและการเผชิญความเครียด
ตัวอย่างคำถาม
ในช่วง 1 ปีที่ผ่านมามีการเปลี่ยนแปลงครั้ง
สำคัญในชีวิตไหม
มีเรื่องไม่สบายใจ เครียดหรือไม่ แก้ไขอย่างไร
ตัวอย่างข้อมูล
เป็นคนอารมณ์ดี ร่าเริง พูดเก่ง
ขณะนี้เครียดเรื่องใกล้สอบ
วิธีผ่อนคลายความเครียด คือ ฟังเพลง
อ่านหนังสือ ทำให้สบายใจขึ้น
11. แบบแผนคุณค่าและความเชื่อ (Value and Belief)
แนวทางการประเมินแบบแผนคุณค่าและความเชื่อ
การซักประวัติ
ความเชื่อ ความผูกพัน ความศรัทธาที่มีต่อสิ่งต่างๆ เช่น ความดีงาม ความถูกต้อง ศาสนา พระเจ้า สิ่งศักดิ์สิทธิ หรือสิ่งเหนือธรรมชาต
สิ่งสำคัญในชีวิต หรือสิ่งยึดเหนี่ยวทางจิตใจ อาจเป็นบุคคล วัตถุ สิ่งของ ศาสนา คุณงามความดี
ค่านิยม ขนบธรรมเนียมประเพณี และวัฒนธรรม
การตรวจร่างกาย
สังเกตพฤติกรรมที่แสดงออกทางสีหน้า กริยาท่าทาง รวมทั้งการแสดงออกทางอารมณ์ เช่นซึมเศร้า แยกตัว ว้าเหว่ โกรธ หงุดหงิด
สังเกตคำพูดของผู้ป่วยและญาติที่แสดงถึงการให้คุณค่าและการมีความเชื่อในด้านต่างๆ
ตัวอย่างข้อมูลแบบแผนคุณค่าและความเชื่อ
ตัวอย่างคำถาม
มีจุดมุ่งหมายในชีวิตอย่างไร
มีสิ่งยึดเหนี่ยวทางด้านจิตใจคืออะไร
สิ่งที่มีความหมายต่อผู้รับบริการมากที่สุด
คืออะไร
ความเชื่อทางด้านสุขภาพ ของแสลง : เชื่อว่าการกินไข่ท าให้แผลหายช้า
เชื่อว่าการทำบุญเยอะๆ ตายไปจะได้ขึ้นสวรรค์
ตัวอย่างการบันทึกข้อมูลการประเมินภาวะสุขภาพตามแบบแผนสุขภาพ(Functional health patterns)
1. แบบแผนการรับรู้ภาวะสุขภาพและการดูแลสุขภาพ
ข้อมูลอัตนัย (Subjective Data)
ภาวะสุขภาพของตนเองก่อนการเจ็บป่วยครั้งนี้เป็นอย่างไร
สุขภาพร่างกายแข็งแรงดี
สามารถเดินไปท ากิจวัตรประจำวันได้ปกติ
ขณะนี้สุขภาพของคุณเป็นอย่างไร
การทำกิจวัตรประจำวันไม่สะดวก เดินไม่สะดวกปวดขา
ทั้งสองข้าง
เมื่อเจ็บป่วยคุณดูแลสุขภาพตนเองอย่างไร
การปฏิบัติตัวเมื่อเจ็บป่วยขณะอยู่โรงพยาบาล:
ปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์ พยาบาลและ
บุคลากรในทีมสุขภาพของโรงพยาบาล
การดูแลความสะอาดของร่างกาย
เช็ดตัว อาบน้ำและ แปรงฟันทุกเช้าและเย็น และบ้วน
ปากหลังรับประทานอาหารทุกครั้ง แต่สระผมไม่ได้
ข้อมูลปรนัย (Objective Data)
สภาพร่างกาย อารมณ์ และจิตใจโดยทั่วไป
ผู้ป่วยรู้สึกตัวดี ท่าทางอ่อนเพลีย เป็นคนอารมณ์ดี
จิตใจดี ชอบช่วยเหลือผู้อื่น
ลักษณะทั่วไปและความพิการหรือภาวะทุพพลภาพ
ผู้ป่วยไม่มีความพิการและทุพพลภาพ
การดูแลตนเองและพึ่งพา
ช่วยเหลือตนเองได้บนเตียง ยังเดินไปเข้าห้องน้ าเองไม่ได้ รับประทานอาหารเอง
ได้ทำกิจวัตรประจำวันได้บนเตียง
สรุปข้อมูลที่เป็นปัญหา
ท่าทางอ่อนเพลีย
ปวดขาทั้ง 2 ข้าง
ลุกเดินไปเข้าห้องน้ำเองไม่ได้
มีเล็บยาว ผมมันเนื่องจากไม่ได้สระผม
2. แบบแผนโภชนาการและการเผาผลาญสารอาหาร
ข้อมูลอัตนัย (Subjective Data)
ตามปกติรับประทานอาหารวันละ
3 มื้อ ตรงเวลา ปริมาณ 1 ทัพพีต่อครั้ง
อาหารที่รับประทานเป็นประจำ
ข้าว อาหารอีสาน เช่น น้ าพริก ปลา ผักต่างๆ
อาหารที่ไม่รับประทานและเหตุผล
ของหมักดอง
ตามปกติคุณมีปัญหาในการรับประทานอาหารหรือไม่ อย่างไร
ไม่มีปัญหาในการรับประทานอาหาร
ข้อมูลปรนัย (Objective Data)
การได้รับสารอาหาร
ผู้ป่วยรับประทานอาหารเอง ทางปาก
การตรวจร่างกาย
น้ าหนัก 68 กิโลกรัม ส่วนสูง 160เซนติเมตร BMI = 26.56 กก/ มม.อุณหภูมิร่างกายในระหว่าง 24 ชม. ที่ผ่านมาอยู่ในช่วง : 36.8-37.3 องศาเซลเซียส
สรุปข้อมูลที่เป็นปัญหา
ไม่พบปัญหาในแบบแผนนี้
3. แบบแผนการขับถ่าย
ข้อมูลอัตนัย (Subjective Data)
แบบแผนการขับถ่ายปัสสาวะ ก่อนการเจ็บป่วยครั้งนี้
วิถีทาง : ปัสสาวะเอง
ความถี่ : กลางวัน 4 ครั้ง กลางคืน 3 ครั้ง
ลักษณะปัสสาวะในแต่ละครั้ง : 250 cc
อาการผิดปกติของการขับถ่ายปัสสาวะ เช่น กลั้นปัสสาวะไม่ได้ ปัสสาวะไม่สะดุด/คั่ง หรือ
เจ็บปวดเวลาปัสสาวะ : เมื่ออยู่บ้าน ปัสสาวะแสบขัด กลั้นปัสสาวะไม่ค่อยได้
วิธีแก้ไข : ถ้ารู้สึกปวดปัสสาวะต้องรีบไปเข้าห้องน้ าทันที
ข้อมูลปรนัย (Objective Data)
จำนวนปัสสาวะใน 24 ชม. : ปัสสาวะประมาณ 900 cc . /วัน
ลักษณะปัสสาวะ : สีเหลือง ใส
จำนวนและลักษณะอุจจาระ : -
จำนวนและลักษณะของอาเจียน : ไม่มีอาเจียน
สรุปข้อมูลที่เป็นปัญหา
ไม่พบปัญหาในแบบแผนนี้
4. แบบแผนกิจกรรมและการออกกำลังกาย
ข้อมูลอัตนัย (Subjective Data)
การออกกำลังกายขณะอยู่โรงพยาบาล
ออกกำลังกายบนเตียงโดยกายบริหารทุกเช้า
ความสามารถช่วยเหลือตนเองในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวัน
การรับประทานอาหาร :รับประทานอาหารได้เอง
การทำความสะอาดปากฟัน : ทำความสะอาดได้เอง
การอาบน้ำและการแต่งตัว : ทำได้เอง
❖ข้อมูลปรนัย (Objective Data)
การตรวจร่างกาย
ท่าทาง การทรงตัว การเดิน การเคลื่อนไหวของร่างกาย การทำงานประสานกันของ
กล้ามเนื้อ : ท่าทางการเดินการทรงตัวไม่ดี
สัญญาณชีพ : อัตราการเต้นของชีพจร 82 ครั้ง/นาทีจังหวะการเต้นของชีพจร สม่ำเสมอ
อัตราการหายใจ : 24 ครั้ง/นาที จังหวะ สม่ำเสมอ
ความดันโลหิต : 138/76 มม.ปรอท ในท่านอน
สรุปข้อมูลที่เป็นปัญหา
อ่อนเพลียง่าย ทำกิจกรรมได้ลดลง
การทรงตัวไม่ดี
ปวดขาทั้ง 2 ข้าง
ให้ประวัติเป็นโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง
5. แบบแผนการพักผ่อนนอนหลับ
ข้อมูลอัตนัย (Subjective Data)
การนอนหลับ
ตามปกตินอนหลับกลางวัน : วันละ 3 ชั่วโมง นอนกลางคืน วันละ 8 ชั่วโมง
กิจกรรมที่ปฏิบัติเป็นประจำก่อนนอน : ดูทีวี
ปัญหาเกี่ยวกับการนอนหลับ : บางครั้งรู้สึกนอนไม่หลับ
วิธีการแก้ไข : พยายามไม่ดูทีวีก่อนนอน นั่งสมาธิก่อนนอน
❖ข้อมูลปรนัย (Objective Data)
อาการแสดงของการนอนหลับพักผ่อนไม่เพียงพอ (อ่อนเพลีย หน้าตาอิดโรย ขอบตาคล่ำ หาวนอน
บ่อย หงุดหงิด : ผู้ป่วยมีท่าทางอ่อนเพลีย หน้าตาไม่สดชื่น หาว
สรุปข้อมูลที่เป็นปัญหา
ขณะอยู่โรงพยาบาลผู้ป่วยมีปัญหานอนไม่หลับ
นอนไม่พียงพอ
มีท่าทางอ่อนเพลีย
6. แบบแผนสติปัญญาและการรับรู้
❖ ข้อมูลอัตนัย (Subjective Data)
หน้าที่ในการรับสัมผัสและการรับรู้
▪ คุณมีความผิดปกติเกี่ยวกับการรับรู้หรือไม่ อย่างไร
การสัมผัส : ผู้ป่วยรับรู้ถึงการรับสัมผัสได้ดี
การมองเห็น : ผู้ป่วยมีตา 2 ข้างมัว ความสามารถในการมองเห็นไม่ชัดเจน
การได้กลิ่น: สามารถรับรู้ถึงกลิ่นต่างๆได้ดี
การรับรส : สามารถรับรู้ถึงรสชาติต่างๆได้ดี เช่น เปรี้ยว หวาน เค็ม เผ็ด
ความเจ็บปวด ความไม่สุขสบายของผู้ป่วย
(ความเจ็บปวด ร้อน หนาว คัน ระคายเคือง) : ผู้ป่วยมี
อาการปวดขาทั้ง 2 ข้าง
❖ข้อมูลปรนัย (Objective Data)
การตรวจร่างกาย
ระดับความรู้สึกตัว การรับรู้วัน เวลา สถานที่ บุคคล : ผู้ป่วยสามารถบอกวัน เวลา วันที่สถานที่ และบุคคลได้
ลักษณะการโต้ตอบ/การใช้ภาษา/การอ่าน/การพูด: ผู้ป่วยสามารถพูดโต้ตอบได้ ใช้ภาษาได้ดีอ่านหนังสือออกและเขียนหนังสือได้ดี
สรุปข้อมูลที่เป็นปัญหา
มีปัญหาปวดขาทั้ง 2 ข้าง และมีปัญหา ตาทั้ง 2 ข้างมัว
7. แบบแผนแผนการรับรู้ตนเองและอัตมโนทัศน์
❖ข้อมูลอัตนัย (Subjective Data)
คุณรู้สึกต่อรูปร่างหน้าตาตนเองอย่างไร
ก่อนการเจ็บป่วย : รู้สึกว่าหน้าตาตนเองสดใส มีน้ำมีนวล
ขณะเจ็บป่วย : รู้สึกว่าหน้าตาเศร้าหมอง ไม่มีชีวิตชีวา ผมไม่ได้หวีเหนื่อย อ่อนเพลีย
คุณรู้สึกเกี่ยวกับความสามารถของตนเองอย่างไร
• ก่อนการเจ็บป่วย : ทำงานเองได้ทุกอย่าง เช่น ให้อาหารปลา ขุดดินปลูกผัก
ขณะเจ็บป่วย : ทำงานหนักไม่ได้เลย รู้สึกเหนื่อยง่าย
❖ข้อมูลปรนัย (Objective Data)
พฤติกรรมแสดงความสนใจในรูปร่าง หน้าตาต่อตนเอง
ผู้ป่วยไม่ได้มีพฤติกรรมที่แสดงความสนใจในรูปร่างหน้าตา
ลักษณะพฤติกรรมที่แสดงออกขณะสนทนา
ผู้ป่วยให้ความสนใจขณะซักถามดี มีการสบตาและพูดด้วยน้ำเสียงที่ดี
สรุปข้อมูลที่เป็นปัญหา
ขณะเจ็บป่วย รู้สึกว่าหน้าตาเศร้าหมอง ไม่มีชีวิตชีวา ผมไม่ได้หวี
เหนื่อย อ่อนเพลีย ท างานหนักไม่ได้เลย รู้สึกเหนื่อยง่าย
8. แบบแผนบทบาทและสัมพันธภาพ
❖ข้อมูลอัตนัย (Subjective Data)
▪ บทบาทและสัมพันธภาพในครอบครัว
จ านวนสมาชิกในครอบครัว : 5 คน
ประกอบด้วยใครบ้าง : ตัวผู้ป่วยเอง, สามี, ลูกสะใภ้, หลาน 2 คน
บทบาทและความรับผิดชอบต่อครอบครัว:ทำอาหาร เลี้ยงสัตว์ทำสวน
ความสัมพันธ์ภายในครอบครัวเป็นอย่างไร:ความสัมพันธ์ใครอบครัวดี
ใครทำหน้าที่แทนขณะเจ็บป่วย : ลูกสะใภ้และสามี
ขณะเจ็บป่วยมีใครมาเยี่ยมบ้าง : สามี, ลูกสะใภ้, น้องสาว, หลาน
❖ข้อมูลปรนัย (Objective Data)
สัมพันธภาพของผู้ใช้บริการกับครอบครัว/เพื่อน/ผู้ร่วมงาน : มีสัมพันธภาพดี
สัมพันธภาพของผู้ใช้บริการกับบุคลากรในทีมสุขภาพ : มีสัมพันธภาพดี
พฤติกรรมในการดูแลของครอบครัวและผู้ดูแล : คนในครอบครัวดูแลเอาใจใส่ดี
สรุปข้อมูลที่เป็นปัญหา
ผู้ป่วยไม่มีปัญหาในแบบแผนนี้
9. แบบแผนเพศและการเจริญพันธ์
ข้อมูลอัตนัย (Subjective Data)
มีประจำเดือนครั้งแรก 13 ปี ระยะห่างของการมีประจำเดือน 20 วัน
ปริมาณประจำเดือน : 2 แผ่น/วัน
อาการผิดปกติขณะมีประจำเดือน : ปวดท้อง
อาการผิดปกติหลังหมดประจำเดือน : ไม่มีอาการผิดปกติ
❖ข้อมูลปรนัย (Objective Data)
ตรวจร่างกาย
ลักษณะทางเพศชาย
ลูกกระเดือก หนวด ขนตามร่างกาย
ลักษณะทางเพศหญิง
เต้านม สะโพก : มีเต้านม มีสะโพกผาย
ลักษณะอวัยวะสืบพันธุ์ภายนอก
ไม่มีความผิดปกติ สะอาด ไม่มีกลิ่นอับชื้น
สิ่งที่ขับออกทางอวัยวะสืบพันธุ์ภายนอก :
ปัสสาวะ 1,000 ml
สรุปข้อมูลที่เป็นปัญหา
ผู้ป่วยไม่มีปัญหาในแบบแผนนี้
10. แบบแผนการปรับตัวและการเผชิญความเครียด
❖ข้อมูลอัตนัย (Subjective Data)
ตามปกติมีอุปนิสัย และอารมณ์อย่างไร : เป็นคนชอบพูด ร่าเริง อารมณ์ดี
เหตุการณ์ที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่ส าคัญในชีวิต ในช่วง 1-2 ปีที่ผ่านมา : ผู้ป่วยปฏิเสธ
การแสดงออกเมื่อมีเหตุการณ์ที่ท าให้ไม่พอใจ และวิธีการแก้ไข : เงียบ ไม่พูดกับใคร ชอบเก็บไว้คนเดียว
วิธีปฏิบัติเมื่อมีความเครียด ไม่สบายใจ หรือกังวลใจ : ดื่มกาแฟร้อน 1-2 แก้ว
ผลที่ได้รับ : สบายใจขึ้น
❖ข้อมูลปรนัย (Objective Data)
ลักษณะพฤติกรรมการแสดงออกทางสีหน้า ท่าทาง การแต่งกาย ที่บ่งชี้ถึงความเครียด วิตกกังวลไม่สบายใจ เช่น สีหน้าหมกมุ่น กระวนกระวาย ร้องไห้ ซึม นอนไม่หลับ รับประทานอาหาไม่ได้ผู้ป่วยมีสีหน้าวิตกกังวลไม่สบายใจ
สรุปข้อมูลที่เป็นปัญหา
ผู้ป่วยวิตกกังวลและไม่สบายใจคิดถึงหลานที่บ้าน
11. แบบแผนคุณค่าและความเชื่อ
❖ข้อมูลอัตนัย (Subjective Data)
ความเชื่อเกี่ยวกับสุขภาพและความเจ็บป่วย(อาหารแสลง/การปฏิบัติตน)
เชื่อว่าถ้ารับประทานกาแฟเยอะๆจะทำให้นอนไม่หลับ
สิ่งที่มีค่าหรือมีความสำคัญในชีวิต
สามี ลูกหลาน
สิ่งที่คุณยึดเป็นที่พึ่งทางใจ ทั้งในขณะปกติและเจ็บป่วยคืออะไร
พระพุทธศาสนา
ขณะอยู่โรงพยาบาลคุณต้องการปฏิบัติความเชื่อหรือไม่
ต้องการทำตามความเชื่อ สวดมนต์ก่อนนอนและขอพรสิ่งศักดิ์สิทธิ์ให้หายจากอาการป่วย
❖ข้อมูลปรนัย (Objective Data)
การนำสิ่งที่นับถือบูชามาโรงพยาบาล ( ห้อยพระใส่เครื่องรางของขลัง ฯลฯ )
ผู้ป่วยไม่ได้นำสิ่งที่บูชานับถือมาโรงพยาบาลด้วย
การปฏิบัติกิจกรรมทางศาสนาและไสยศาสตร์( สวดมนต์,อธิษฐาน, ละหมาด, รดน้ ามนต์ )
สวดมนต์
สรุปข้อมูลที่เป็นปัญหา
ผู้ป่วยไม่มีปัญหาในแบบแผนนี้