Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำเเบบผู้รับใช้เพื่อแก้ไขปัญหาการจัดการกับสถานการณ์
…
แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำเเบบผู้รับใช้เพื่อแก้ไขปัญหาการจัดการกับสถานการณ์
การแพร่ระบาดของโรค COVID-19 ระหว่างพยาบาลกับผู้ป่วย
- ความเหนื่อยล้าการทำงานหนักอย่างต่อเนื่อง
(อุษา คําประสิทธิ์, 2565)
- การฟัง (Listening) รับฟังความคิดเห็น และกำลังใจจากผู้ป่วย เพื่อนำมาเป็นที่พึ่งทางใจในการปฏิบัติงานต่อไป
- การเยียวยา (Healing) พยาบาลควรมีการพักผ่อนร่างกายเพื่อลดความเหนื่อยล้าจากการปฏิบัติงาน และจัดสถานที่พักผ่อนในสถานที่ทำงาน
- การตระหนักรู้ (Awareness) พยาบาลควรมี การตระหนักรู้ในตนเอง ว่าตนเองมีอาการเหนื่อยล้าจาก การทำงานหรือไม่ อย่างไร ถ้าหากพบว่ามีความเหนื่อยล้า แนะนำให้หยุดปฏิบัติงานหรือหาเวลาพักผ่อน เพื่อให้ การดูแลผู้ป่วยได้อย่างมีประสิทธิภาพเต็มความสามารถ
- การโน้มน้าว (Persuasion) พูดคุยให้ความรู้ ส่งเสริมให้ผู้ป่วยตระหนักถึงการดูแลตนเองมากขึ้น เพื่อลดความเหนื่อยล้าจากการปฏิบัติงานของพยาบาลในการดูแลผู้ป่วย
- การคิดแบบรวบยอด (Conceptualization) ควรมีการวางแผนให้การพยาบาล โดยเน้นการพยาบาลแบบรวบยอด นำนวัตกรรมที่มีอยู่มาใช้เพื่อในการพยาบาลเพื่อลดความเหนื่อยล้าจากการทำงานอย่างต่อเนื่อง
- การมองการณ์ไกล (Foresight) ใช้แนวคิดการดูแลในระยะเปลี่ยนผ่าน (transitional care model) ในทุกๆ หน่วยงาน เช่น การส่งเวรอาการของผู้ป่วยให้กับหน่วยงานรับส่งต่อ เพื่อลดภาระงานในแต่ละ station และมีการบริหารจัดการให้ข้อมูลแก่ผู้ป่วยในแต่ละ station เพื่อลดการให้ข้อมูลซ้ำซ้อน
- การพิทักษ์รักษา (Stewardship) ปฏิบัติงานตามมาตรฐานวิชาชีพ และประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการดูแลผู้ป่วย รวมทั้งสหสาขาวิชาชีพอื่นๆ เพื่อลดการปฏิบัติงานที่ไม่เกี่ยวข้องกับการพยาบาล และลดความเหนื่อยล้าจากการทำงาน
- การพัฒนาคน (Commitment to the Growth of People) ส่่งเสริมให้ใช้หลักฐานเชิงประจักษ์มาใช้ในการดูแลผู้ป่วยโรค COVID-19 เป็นการลดขั้นตอนในการปฏิบัติงาน และลดความเหนื่อยล้าจากการปฏิบัติงานที่มากเกินไป
- การพัฒนาชุมชนปฏิบัติ (Building Community) ส่งเสริมให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับการป้องกันการเกิดโรค
- ไม่มีรูปแบบการบริหารการพยาบาลที่ชัดเจนเเละไม่ครอบคลุมการบริหารการพยาบาล ส่งผลให้พยาบาลไม่มีเเนวทางในการดูเเลผู้ป่วยอย่างเป็นองค์รวมได้ (ธีรพร สถิรอังกูร เเละคณะ, 2564) และไม่มีการเตรียมความพร้อมขององค์กร(อุษา คําประสิทธิ์, 2565)
- การฟัง (Listening) เเละความเข้าใจผู้อื่น (Empathy) เมื่อพยาบาลให้การพยาบาลผู้ป่วยเรียบร้อยเเล้ว สอบถามเเละรับฟังรูปแบบการพยาบาลที่ให้กับผู้ป่วย เพื่อนำมาหาเเนวทางในการดูเเลผู้ป่วยอย่างเป็นองค์รวม และเตรียมความพร้อมขององค์กรในการรับมือกับผู้ป่วยโรค COVID-19
- การตระหนักรู้ (Awareness) เเละการพัฒนาคน (Commitment to the Growth of People) พยาบาลมีความตระหนักรู้ในตนเอง พัฒนาตนเอง ร่วมปรึกษาปัญหากับทีมในหน่วยงาน เพื่อทบทวนรูปแบบเเนวทางการพยาบาลจากหลักฐานเชิงประจักษ์ที่มีความน่าเชื่อถือ ในการดูเเลผู้ป่วยโรค COVID-19 และกำหนดเเนวทางในการดูเเลผู้ป่วยอย่างเป็นองค์รวม และเตรียมความพร้อมขององค์กรในการรับมือกับผู้ป่วย
- การโน้มน้าว (Persuasion) นำหลักฐานเชิงประจักษ์ที่ได้จากการศึกษา นำไปใช้กับผู้ป่วยเเละให้เหตุผลที่น่าเชื่อถือ เพื่อให้การพยาบาลอย่างเป็นองค์รวม และเตรียมความพร้อมขององค์กรในการรับมือกับผู้ป่วย
- การคิดแบบรวบยอด (Conceptualization) เเละการมองการณ์ไกล (Foresight) ศึกษาเเละนำหลักฐานเชิงประจักษ์มาใช้เป็นเเนวทางในการดูแลผู้ป่วยโรค COVID-19 เเละสร้างนวัตกรรมเพื่อการดูเเลผู้ป่วยให้มีประสิทธิภาพได้อย่างเป็นองค์รวม และเตรียมความพร้อมขององค์กรในการรับมือกับผู้ป่วย
- การพิทักษ์รักษา (Stewardship) พยาบาลได้รูปแบบการบริหารการพยาบาล เเละนำไปปฏิบัติอย่างได้มาตรฐานวิชาชีพ รวมถึงใช้ในการเตรียมความพร้อมขององค์กรในการรับมือกับผู้ป่วย
- การพัฒนาชุมชน (Building Community) กำหนดเเนวทางในการดูเเลผู้ป่วยโรค COVID-19 ร่วมกับชุมชน เพื่อนำแนวทางไปปฏิบัตใน การดูเเลผู้ป่วยอย่างเป็นองค์รวมเเละต่อเนื่อง
- การขาดเเคลนวัสดุอุปกรณ์ทางการเเพทย์
(อุษา คําประสิทธิ์, 2565; กายสิทธิ์ เเก้วยาศรี เเละคณะ, 2563)
- การฟัง (Listening) เเละความเข้าใจผู้อื่น (Empathy) รับฟังเเละเข้าใจถึงความต้องการของผู้ป่วยเกี่ยวกับปัญหาอุปกรณ์ทางการเเพทย์ เช่น ปรอทวัดไข้ เครื่องวัดออกซิเจนในเลือด เครื่องวัดความดันเเบบดิจิทัล เป็นต้น เพื่อนำมาปรับปรุงและจัดเตรียมอุปกรณ์ให้พร้อมใช้
- การเยียวยา (Healing) ประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อจัดเตรียมวัสดุอุปกรณ์ทางการเเพทย์ให้พร้อมใช้ในการดูเเลผู้ป่วย
- การตระหนักรู้ (Awareness) พยาบาลตระหนักรู้ถึงความสำคัญของการขาดเเคลนวัสดุอุปกรณ์ทางการเเพทย์ โดยใช้อย่างประหยัดเเละเกิดประโยชน์สูงสุด
- การโน้มน้าว (Persuasion) อธิบายให้ผู้ป่วยเข้าใจถึงเหตุผลของการขาดแคลนอุปกรณ์ทางการแพทย์ และในกรณีที่ผู้ป่วยสามารถจัดหาอุปกรณ์ทางการแพทย์ได้ แนะนำให้ผู้ป่วยจัดเตรียมมาเพื่อใช้กับตนเอง
- การคิดแบบรวบยอด (Conceptualization) เเละการมองการณ์ไกล (Foresight) วางแผนในการบริหารจัดการวัสดุอุปกรณ์ทางการแพทย์ที่มีอยู่อย่างจำกัด ให้เกิดประโยชน์สูงสุด
- การพิทักษ์รักษา (Stewardship) พิทักษ์สิทธิ์ผู้ป่วยในการได้รับการพยาบาลที่ได้มาตรฐานวิชาชีพ มีวัสดุอุปกรณ์ทางการแพทย์ที่เพียงพอและพร้อมใช้
- การพัฒนาคน (Commitment to the Growth of People) สร้างหรือนำนวัตกรรมใหม่ๆ และประยุกต์อุปกรณ์ที่มีอยู่ มาใช้ในการดูแลผู้ป่วยโรค COVID-19 เช่น การสร้าง Face shield, Leg cover, Mask ผ้า, เเละฉากกั้น เป็นต้น เพื่อพัฒนาการดูแลผู้ป่วยได้อย่างครอบคลุมมากยิ่งขึ้น
- การพัฒนาชุมชน (Building Community) แนะนำแหล่งสนับสนุนในชุมชน ที่ให้ความช่วยเหลือ ในการให้บริการวัสดุอุปกรณ์ทางการแพทย์ที่มีความจำเป็นสำหรับผู้ป่วยโรค COVID-19
- ความกังวลในองค์ความรู้ ส่งผลให้การพยาบาลผู้ป่วยอาจไม่ได้รับการดูเเลอย่างเป็นองค์รวม (กายสิทธิ์ เเก้วยาศรี เเละคณะ, 2563)
- การฟัง (Listening) และความเข้าใจผู้อื่น (Empathy) รับฟังคำแนะนำผู้ป่วยถึงปัญหาของการปฏิบัติการพยาบาลในการดูแลผู้ป่วย และเข้าใจผู้ป่วยถึงปัญหาที่เกิดขึ้น เพื่อนำไปพัฒนาองค์ความรู้ในการดูแลผู้ป่วยอย่างเป็นองค์รวม
- การตระหนักรู้ (Awareness) และการเยียวยา (Healing) พยาบาลตระหนักรู้ในตนเองถึงองค์ความรู้ที่มีเกี่ยวกับการดูแลผู้ป่วยโรค COVID-19 และพัฒนาองค์ความรู้ของตนเอง ทบทวนเเนวทางปฏิบัติ นำหลักฐานเชิงประจักษ์มาใช้ให้เกิดความมั่นใจ ลดความวิตกกังวลในการให้การพยาบาล และสามารถดูแลผู้ป่วยอย่างเป็นองค์รวมได้
- การโน้มน้าว (Persuasion) พยาบาลต้องมีองค์ความรู้ เเละความมั่นใจในการให้การพยาบาล รวมถึงอธิบายขั้นตอนการพยาบาลเพื่อให้เกิดความน่าเชื่อถือและเป็นที่ยอมรับ เพื่อให้ผู้ป่วยปฏิบัติตามคำแนะนำได้ เเละดูเเลผู้ป่วยอย่างเป็นองค์รวม
- การคิดแบบรวบยอด (Conceptualization) วางแผนในการดูแลผู้ป่วยอย่างเป็นขั้นตอน โดยมีการทบทวนองค์ความรู้อย่างสม่ำเสมอ เเละนำหลักฐานเชิงประจักษ์มาปฏิบัติ เพื่อลดความวิตกกังวลและให้การพยาบาลผู้ป่วยอย่างเป็นองค์รวมได้
- การมองการณ์ไกล (Foresight) ทบทวนองค์ความรู้ เพื่อนำไปวางแผนการพยาบาลผู้ป่วยโรค COVID-19 ในอนาคตได้อย่างเป็นองค์รวม
- การพิทักษ์รักษา (Stewardship) ผู้ป่วยควรได้รับการรักษาพยาบาลและการดูแลด้านสุขภาพที่ดีตามมาตรฐานวิชาชีพ เมื่อป่วยเป็นโรค COVID-19
- การพัฒนาชุมชน (Building Community) พยาบาลมีการพัฒนาองค์ความรู้อยู่เสมอ และเผยแพร่ไปสู่ชุมชน เช่น การให้ความรู้ชุมชนในการป้องกัน และดูแลตนเองเมื่อป่วยเป็นโรค COVID-19 เพื่อให้ชุมชนสามารถดูแลตนเองได้
- การพัฒนาคน (Commitment to the Growth of People) พยาบาลมีความมุ่งมั่นและทุ่มเท ในการพัฒนาองค์ความรู้ นำหลักฐานเชิงประจักษ์มาใช้ มีการทบทวนความรู้อย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้มีองค์ความรู้ที่ทันต่อเหตุการณ์ สามารถนำมาพัฒนาการพยาบาลผู้ป่วยโรค COVID-19 ได้อย่างเป็นองค์รวม
- บุคลากรเกิดปัญหาด้านสุขภาพจิต คือความเครียด ความวิตกกังวล ความกลัว ความรู้สึกต่างๆ จากภาระงานที่เพิ่มมากขึ้น การทำงานภายใต้สถานการณ์ที่มีทรัพยากรจำกัด ความซับซ้อนของระบบงานและการสื่อสาร ปัญหาในชีวิตส่วนตัวที่เป็นผลกระทบจากการระบาดของโรค ต้องเผชิญกับการสูญเสียต่างๆ (ราชวิทยาลัยจิตแพทย์แห่งประเทศไทย, 2563)
- การฟัง (Listening) รับฟังผู้ป่วยเกี่ยวกับปัญหาสุขภาพจิตของพยาบาลที่ให้การพยาบาลผู้ป่วย เช่น พยาบาลพูดจาด้วยน้ำเสียงไม่สุภาพ แสดงสีหน้าท่าทางไม่เป็นมิตร เป็นต้น เพื่อรับฟังและนำปัญหาที่เกิดขึ้นมาหาแนวทางในการแก้ไข ลดความขัดแย้งในการทำงานระหว่างพยาบาลกับผู้ป่วย
- การตระหนักรู้ (Awareness) และความเข้าใจผู้อื่น (Empathy) พยาบาลมีความตระหนักรู้ในตนเอง และให้การดูแลผู้ป่วยด้วยความเข้าใจเกี่ยวกับการเจ็บป่วยด้วยโรค COVID-19 โดยมีการประเมินปัญหา ความสามารถในการดูแลตนเองของผู้ป่วย เพื่อให้การพยาบาลตามความเหมาะสม ลดการสัมผัสผู้ป่วยโดยไม่จำเป็นเเละลดภาระงานที่เพิ่มขึ้น
- การเยียวยา (Healing) พยาบาลให้การดูแลผู้ป่วยโรค COVID-19 อย่างเป็นองค์รวม เพื่อให้ผู้ป่วยได้รับการพยาบาลอย่างครบถ้วน และลดภาระงานที่ซ้ำซ้อน รวมถึงหาวิธีการจัดการปัญหาสุขภาพจิตด้วยตนเอง หรือขอคำปรึกษาจากหน่วยให้คำปรึกษาทางด้านสุขภาพจิต
- การโน้มน้าว (Persuasion) พูดคุยอธิบายให้ผู้ป่วยเข้าใจถึงภาระงานที่มากของพยาบาล เพื่อให้ผู้ป่วยเข้าใจถึงปัญหาที่เกิดขึ้น และให้ความร่วมมือในการรักษาพยาบาลตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ และยอมรับถึงการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในชีวิตจากการเจ็บป่วยด้วยโรค COVID-19
- การคิดแบบรวบยอด (Conceptualization) พยาบาลวางแผนในการดูแลผู้ป่วยอย่างเป็นขั้นตอน สอดคล้องกับแนวทางการรักษา เพื่อลดภาระงานที่ซ้ำซ้อนในการดูแลผู้ป่วยโรค COVID-19
- การมองการณ์ไกล (Foresight) พยาบาลมีการเรียนรู้จากบทเรียนในการดูแลผู้ป่วยโรค COVID-19 ที่ผ่านมา และสามารถปรับเปลี่ยนวิธีการดูแลผู้ป่วยให้มีประสิทธิภาพ เป็นขั้นตอนมากขึ้น เพื่อลดภาระงานจากการปฏิบัติงานที่ซ้ำซ้อน
- การพิทักษ์รักษา (Stewardship) ให้การพยาบาล ตามมาตรฐานวิชาชีพในการดูแลผู้ป่วยและพยาบาล สามารถควบคุมอารมณ์ของตนเองในการทำงานได้
- การพัฒนาคน (Commitment to the Growth of People) พยาบาลต้องมีการจัดการปัญหาทางด้านสุขภาพจิตของตนเอง พัฒนาตนเองให้มีสุขภาพจิตที่ดี มีความพร้อมในการดูแลผู้ป่วยอยู่เสมอ เช่น มีการจัดการความเครียดที่เหมาะสม ทำสมาธิ ฝึกทำจิตใจให้สดชื่น มองโลกในแง่ดี ฝึกสร้างความสัมพันธ์กับผู้อื่น พักผ่อน ออกกำลังกาย รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ ทำงานอดิเรกที่ชอบ รวมทั้งเรียนรู้วิธีเข้าใจอารมณ์ตนเอง และเมื่อเกิดภาวะเครียดแนะนำให้ทำแบบประเมินความเครียด ถ้าหากพบว่ามีความเครียดระดับสูง ควรไปพบจิตแพทย์เพื่อรับการรักษา เป็นต้น
- การพัฒนาชุมชน (Building Community) ฝึกการทำงานเป็นทีม โดยสร้างความผูกพันระหว่างคนในองค์กร ทำให้เกิดความสามัคคีในการดูแลผู้ป่วยโรค COVID-19 เพื่อให้เกิดความร่วมมือกันในการทำงาน ลดปัญหาสุขภาพจิตจากการทำงาน
- พยาบาลมีภาระงานที่มากมาย
(Robert L. Anders and Simon C. Lam., 2021)
- การฟัง (Listening) รับฟังผู้ป่วยอย่างตั้งใจ เพื่อ ตอบสนองได้ตรงตามความต้องการของผู้ป่วย ส่งผลให้ ลดภาระงานเเละลดการทำงานซ้ำซ้อน
- ความเข้าใจผู้อื่น (Empathy) เข้าใจผู้ป่วยถึงความต้องการเเละตอบสนองผู้ป่วย เพื่อให้พยาบาลให้การพยาบาลได้ตรงจุดเเละลดภาระงาน
- การเยียวยา (Healing) ดูเเลผู้ป่วยแแบบองค์รวม ทั้งทางด้านร่างกาย จิตใจ จิตสังคมและจิตวิญญาณ รวมถึงครอบครัวของผู้ป่วยโรค COVID-19 เพื่อให้การพยาบาลได้อย่างครอบคลุมและลดภาระการทำงานซ้ำซ้อน
- การตระหนักรู้ (Awareness) พยาบาลควรมีความตระหนักรู้ในตนเอง เกี่ยวกับการพยาบาลผู้ป่วย โรค COVID-19 มีการประเมินถึงจุดอ่อน จุดแข็งของตนเองและปรับปรุงจุดอ่อนโดยการหาความรู้และสอบถามจากผู้มีประสบการณ์อีกทั้งมีการอ้างอิงจากการทบทวนวรรณกรรม เช่น ในการดูแลผู้ป่วยที่ได้รับ High flow oxygen nasal cannula (HFNC) จะต้องมีการเตรียมความรู้ในการให้การพยาบาลผู้ป่วย ซึ่งจะช่วยให้ปฏิบัติงานได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ ลดภาระงาน
- การโน้มน้าว (Persuasion) ให้คำแนะนำผู้ป่วยในการปฏิบัติตัวขณะเข้ารับการรักษาในหอผู้ป่วยโรค COVID-19 เช่น การวัดไข้ วัด Oxygen sat การสังเกตอาการผิดปกติ เป็นต้น เพื่อให้ผู้ป่วยเกิดความร่วมมือใน การรักษา ลดภาระงานที่ซ้ำซ้อน และพยาบาลควรมีการพูดคุย ให้ข้อมูลที่จำเป็นแก่ผู้ป่วย เพื่อลดความขัดแย้งที่จะเกิดระหว่างบุคลากรกับผู้ป่วย และลดภาระงานในการแก้ไขปัญหาความขัดแย้งต่างๆ
- การคิดแบบรวบยอด (Conceptualization) วางแผนและปฏิบัติการพยาบาลตามแนวทางปฏิบัติเพื่อลดขั้นตอนและภาระงานของพยาบาล
- การมองการณ์ไกล (Foresight) นำนวัตกรรมการดูแลผู้ป่วย เช่น การใช้หุ่นยนต์แจกยา Teleconference หุ่นยนต์ปิ่นโต ในการขนส่งยา เเละการสื่อสารกับผู้ป่วย และ Application ในการสื่อสารผู้ป่วย เป็นต้น อีกทั้งมีการวางแผนการพยาบาลล่วงหน้าตั้งแรกรับถึงจำหน่ายผู้ป่วย
- การพิทักษ์รักษา (Stewardship) ให้ปฏิบัติตามมาตรฐานวิชาชีพพยาบาลเพืื่อให้เกิดความพึงพอใจแก่ผู้ป่วย และเกิดประโยชน์ต่อผู้ป่วยและลดความเสี่ยงจากการทำงานเเละการฟ้องร้อง
- การพัฒนาคน (Commitment to the Growth of People) ส่งเสริมให้ใช้หลักฐานเชิงประจักษ์มาใช้ในการดูแลผู้ป่วยโรค COVID-19 และส่งเสริมทักษะของพยาบาลในการดูแลผู้ป่วย เพื่อลดความผิดพลาดในการทำงานได้
- การพัฒนาชุมชน (Building Community) ติดต่อประสานงานส่งต่อกับหน่วยงานในชุมชนในการดูแลผู้ป่วยเมื่อกลับบ้าน