Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
แบบแผนสุขภาพ (Functional health patterns) - Coggle Diagram
แบบแผนสุขภาพ
(Functional health patterns)
ความหมายของแบบแผนสุขภาพ
•แบบแผน
พฤติกรรมของบุคคลที่ต่อเนื่องกันในช่วงเวลาหนึ่ง
•แบบแผนสุขภาพ
พฤติกรรมด้านสุขภาพของบุคคลซึ่งเกิดขึ้นในช่วงเวลา
หนึ่ง และมีผลต่อสุขภาพ
กรอบแนวคิดแบบแผนสุขภาพ
พัฒนาโดย มาร์จอรีย์ กอรด์อน (MajoryGordon) ศาสตราจารย์
ทางการพยาบาลท่ีวิทยาลัยบอสตัน (BostonCollegeofNursing) ประเทศสหรฐัอเมริกา
แบบแผนสุขภาพใช้เป็นแนวคิดในการประเมินภาวะสุขภาพของบุคคล ครอบครัวหรือชุมชน(ทั้งในภาวะปกติและภาวะเจ็บป่วย)
แบบแผนสุขภาพของกอร์ดอน
1.แบบแผนการรับรู้สุขภาพและการดูแลสุขภาพ
(Health Perception-Health Management Patterns)
การรวบรวมข้อมูลเพื่อประเมินความคิดและเข้าใจของบุคคลต่อภาวะสุขภาพ ความรู้ในการดูแลตนเอง
การซักประวัติ
การดูแลความสะอาดของร่างกายตนเอง
ความถี่ในการเกิดอาการเจ็บป่วยบ่อยเพียงใด
ประวัติการแพ้สารต่างๆ
การตรวจร่างกาย
ลักษณะทั่วไปและความพิการ
สังเกตการปฏิบัติตนขณะเจ็บป่วยของผู้ป่วย
ความสะอาดของร่างกาย เสื้อผ้า เครื่องแต่งกาย
2.แบบแผนด้านโภชนาการและการเผาผลาญอาหาร (Nutritional-Metabolism Patterns)
ประเมินพฤติกรรมการรับประทานอาหารพิจารณาจากอาหารที่ควรได้รับและน้ำหนักตัว
การซักประวัติ
การรับประทานอาหารเป็นเวลาหรือไม่ ชอบกินจุบกินจิบหรือไม่
อาหารที่ชอบหรือไม่ชอบรับประทาน
ชนิด เวลา และปริมานที่รับประทานในแต่ละวัน
การตรวจร่างกาย
สังเกตพฤติกรรมในการรับประทาน
สังเกตอาการที่เกิดจากการรับประทานอาหาร เช่น
กลืนลำบาก คลื่นไส้ อาเจียน
ประเมินโภชนาการ อ้วน ปกติหรือผอม โดยประเมินจากน้ำหนักและส่วนสูง
3.แบบแผนการขับถ่ายของเสีย (EliminationPatterns)
รวบรวมข้อมูลเพื่อประเมินกระบวนการขับถ่าย ลักษณะ ปริมาณและจำนวนครั้งของของเสียที่ออกจากร่างกาย
การซักประวัติ
จำนวนครั้งในการขับถ่าย
ปัญหาในการขับถ่ายปัสสาวะ
ประวัติการเจ็บป่วยโรคที่เกี่ยวข้องกับระบบทางเดินปัสสาวะหรือไต
การตรวจร่างกาย
สังเกตสี ปริมาณ ลักษณะปัสสาวะของผู้ป่วย
การขับถ่ายมีความผิดปกติหรือไม่และสอดคล้องกับการซักประวัติหรือไม่
ตรวจลักษณะของท้อง การเคลื่อนของลำไส้
แนวทางการประเมินแบบแผนการขับถ่าย
ตรวจปัสสาวะ เพื่อประเมินความผิดปกติของระบบปัสสาวะ
ตรวจเลือดเพื่อดูระดับของยูเรีย ไนโตรเจนหรือครีเอตินิน
เอกซเรย์ดูความผิดปกติของไต ท่อไตและการอุดตันทางเดินปัสสาวะ
4.แบบแผนด้านการมีกิจกรรมและการออกกำลังกาย (Activity-Exercise Patterns)
รวบรวมข้อมูลเพื่อประเมินระดับความสามารถในการทำกิจวัตรประจำวัน
การซักประวัติ
สามารถทำกิจวัตรประจำวันอะไรได้บ้าง
แข็งแรงดี สามารถทำกิจวัตรได้ตามปกติ
ไม่สามารถทำกิจวัตรประจำวันได้ ช่วยเหลือตัวเองไม่ได้
ชนิดการออกกำลังกาย ระยะเวลาในการออกกำลังกายสัปดาห์ละกี่ครั้ง
การตรวจร่างกาย
สังเกตความสามารถในการทำกิจกรรม
ประเมินการเคลื่อนไหวของแขนขา
ตรวจดูขนาด รูปร่างผู้ป่วย ว่ามีความผิดปกติหรือไม่
แนวทางการประเมินกิจกรรม
การตรวจเลือดและตรวจเอกซเรย์ปอดเพื่อประเมินภาวะผิดปกตอที่เป็นอปุสรรคต่อการ ปฏิบัติกิจกรรมต่างๆหรือไม่
5.แบบแผนการนอนหลับพักผ่อน(Sleep-restPattern)
ปัญหาเกี่ยวกับการนอนหลับพักผ่อน ปัจจัยส่งเสริม ปัจจัยเสี่ยงต่อการนอนหลับ
การซ้กประวัติ
พฤติกรรมการนอน ประวัติเกี่ยวกับอุปนิสัยการนอน
พฤติกรรมเสี่ยงหรือสิ่งที่ช่วยทำให้นอนหลับได้ง่าย
ปัญหาเกี่ยวกับการนอน มีการใช้ยานอนหลับหรือไม่
การตรวจร่างกาย
สังเกตหน้าตาว่านอนหลับพักผ่อนเพียงพอหรือไม่
ความสดชื่นแจ่มใส ซึม อ่อนเพลีย
6.แบบแผนสติปัญญาและการรับรู้
(Cognitive-perceptualPattern)
การรับรู้ความรู้สึกและการตอบสนอง
การรับรู้และตอบสนองต่อสิ่งเร้า ทั้ง 5 ทาง
ได้แก่ การมองเห็น การได้ยิน การได้กลิ่น การรับรส การรับรู้สึกทางผิวหนัง และความเจ็บปวด
ความสามารถทางสติปัญญา
พัฒนาการทางด้านสติปัญญา ความคิด ความจำ
การซักประวัติ
ความรู้สึกทั่วไป สุขสบายหรือไม่
ปัญหาเกี่ยวกับการรู้สึกตัว ได้กลิ่น มองเห็น ได้ยิน และการรับรส
การตรวจร่างกาย
ประวัติการเจ็บป่วยหรือโรคประจำตัว
ความเจ็บป่วยที่ทำให้ความสามารถทางสติปัญญาเปลี่ยนแปลง
แนวทางการประเมินแบบแผนสติปัญญาและการรับรู้
7.แบบแผนการรับรู้ตนเองและอัตมโนทัศน์
(Selfperception–SelfconceptPattern)
ความคิดและความรู้สึกต่อตนเอง การมองตนเองเกี่ยวกับรูปร่าง หน้าตา ความพิการ ฯลฯ
การซักประวัติ
ความรู้สึกต่อตนเองกับภาพลักษณ์ทั่วไป
ความรู้สึกเกี่ยวกับความสามารถในด้านต่างๆ
ความภูมิใจ พอใจในตนเอง ความรู้สึกมั่นคงปลอดภัย
การตรวจร่างกาย
การแต่งกาย บุคคลิกภาพ
สังเกตความสนใจตนเองของผู้ป่วย
การกล่าวถึงตนเอง พฤติกรรมที่แสดงออกต่อการเปลี่ยนแปลงหรือสูญเสีย
8.แบบแผนบทบาทและสัมพันธภาพ
(Role-relationshipPattern)
บทบาท หน้าที่ ความรับผิดชอบและการมีสัมพันธภาพกับบุคคลทั้งในครอบครัวและสังคม
การซักประวัติ
สมาชิกในครอบครัว
การแสดงบทบาทในครอบครัว
ต่ำแหน่งการรับผิดชอบต่อหน้าที่ การงาน อาชีพ
การตรวจร่างกาย
สังเกตพฤติกรรมที่แสดงออกต่อครอบครัว และบุคคลในครอบครัว รวมทั้งเพื่อนร่วมงาน
9.แบบแผนเพศสัมพันธุ์และการเจริญพันธ์ุ
(Sexuality-reproductivePattern)
พัฒนาการตามเพศ ลักษณะการเจริญพันธุ์ พฤติกรรมทางเพศ ปัจจัยส่งเสริมหรือปัจจัยเสี่ยง
การซักประวัติ
การมีเพศสัมพันธุ์ ปัญหา ละความเจ็บป่วยที่เกี่ยวข้อง
พฤติกรรมเสี่ยงต่อการเกิดโรค
การตรวจร่างกาย
เพศหญิง ตรวจเต้านม ต่อมน้ำเหลือง อวัยวะเพศ เพศชายตรวจอวัยวะเพศ อาการแสดงของการติดเชื้อ
10.แบบแผนการเผชิญความเครียดและความทนต่อความเครียด
(Coping –stress tolerance Pattern)
ลักษณะอารมณ์ ความเครียด วิธีแก้ไขและการจัดการกับความเครียด ปัจจัยที่ทำให้เกิดความเครียด
การซักประวัติ
ข้อมูลทั่วไป เช่น อายุ การศึกษา อาชีพ รายได้
อาการเมื่อเกิดความเครียด
สิ่งที่ทำให้เกิดความเครียด ไม่สบายใจ วิตกกังวล
การตรวจร่างกาย
ตรวจสอบพฤติกรรมที่บ่งชี้ความเครียด เศร้า วิตกกังวล
สีหน้าหมกมุ่น ขมวดคิ้ว กระวนกระวาย นอนไม่หลับ
11.แบบแผนค่านิยมและความเชื่อ (Value–beliefPattern)
ความเชื่อ ความศรัทธา สิ่งยึดเหนี่ยวทางด้านจิตใจ
ปัจจัยเสริมและปัจจัยที่เป็นอุปสรรคต่อความมั่นคงทางจิตใจ
การซักประวัติ
ความเชื่อ ความผูกพัน ความศรัทธาต่อสิ่งศักดิ์สิทธิ์
สิ่งยึดเหนี่ยวจิตใจหรือสิ่งสำคัญในชีวิต
ค่านิยม ความหวังหรือเป้าหมายชีวิต
การตรวจร่างกาย
สังเกตพฤติกรรมที่แสดงออกทางสีหน้า ท่าทาง อารมณ์
คำพูดของผู้ป่วยและญาติที่แสดงถึงการมีความเชื่อต่างๆ
องค์ประกอบของแบบแผนสุขภาพแต่ละแบบแผน
1.พฤติกรรมภายใน
ไม่สามารถสังเกตเห็นได้ด้วยตาเปล่าหรือใช้เเครื่องมือตรวจสอบได้ เช่น ระบบหายใจ หัวใจและหลอดเลือด ความคิด ความรู้สึกและค่านิยม
2.พฤติกรรมภายนอก
สามารถสังเกตเห็น รับรู้และใช้เครื่องมือตรวจสอบได้
เช่น คำพูด กิริยาท่าทาง การเอกซเรย์ วัดสัญญาณชีพ
3.ปัจจัยส่งเสริมพฤติกรรมและอุปสรรค
พฤติกกรรมภายในจะเป็นตัวกกำหนดพฤติกกรรมภภายนออก
กระบวนารพยาบาล (Nursing Process)
การเก็บรวบรวมข้อมูล
การซักประวัติ ตรวจร่างกาย
ตรวจทางห้องปฏิบัติการ
การจัดระบบข้อมูล
นำข้อมูลจากการเก็บข้อมูลมาจัดเป็นหมวดหมู่
การบันทึกข้อมูล
-ข้อมูลอัตนัย (Subjective data)
-ข้อมูลปรนัย (Objective data)