Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การวิจัยเชิงประเมินในการส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร - Coggle Diagram
การวิจัยเชิงประเมินในการส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร
แนวคิดเกี่ยวกับการประเมิน
ประเภทของการประเมิน
1) จำแนกตามลำดับเวลาการบริหารแผน/โครงการ
2) จำแนกตามวัตถุประสงค์จองการประเมิน
3) จำแนกตามเนื้อหาการประเมินหรือสิ่งที่ถูกประเมิน
4) จำแนกตามสิ่งที่เป็นหลักยึดในการประเมินเพื่อตัดสินคุณค่า
รูปแบบของการประเมิน
1) เน้นจุดมุ่งหมาย - รูปแบบของไทเลอร์ / ครอนบาค / แบบ BSC
2) เน้นการตัดสินคุณค่า - รูปแบบของสเตค
3) เน้นการตัดสินใจ - รูปแบบของสตัฟเฟิลบีม
ความหมาย ความสำคัญ และขอบเขตของการประเมิน
ขอบเขต - ขึ้นอยู่กับสภาพ ขนาด กิจกรรม และวัตถุประสงค์ของแผน/โครงการที่ต้องการประเมิน
ความหมาย - กระบวนการตัดสินคุณค่าของสิ่งใดสิ่งหนึ่งอย่างเป็นระบบ โดยอาศัยข้อมูลสารสนเทศที่เชื่อถือได้และเป็นประโยชน์ต่อการตัดสินใจของผู้บริหารหรือผู้รับผิดชอบโครงการ
แผนแบบและกระบวนการวิจัยเชิงประเมิน
แผนแบบการวิจัยเชิงประเมิน
การออกแบบการวิจัยเชิงประเมิน
1) การออกแบบการวัดตัวแปรหรือประเด็นการประเมิน
2) การออกแบบการส่มตัวอย่างหรือผู้ให้ข้อมูล
3) การออกแบบการวิเคราะห์ข้อมูล
แบบของแผนแบบการวิจัยเชิงประเมิน
1) โดยใช้แผนการทดลอง
2) โดยใช้แผนแบบไม่ทดลอง
กระบวนการวิจัยเชิงประเมิน มี 9 ขั้นตอน คือ
1) ศึกษารายละเอียดของแผน/โครงการที่จะทำการประเมิน
2) ระบุหลักการและเหตุผล
3) กำหนดวัตถุประสงค์และขอบเขต
4) กำหนดกรอบแนวคิด แผนแบบ และรูปแบบการวิจัยเชิงประเมิน
5) กำหนดตัวชี้วัดและเกณฑ์ที่ใช้ตัดสินหรือเปรียบเทียบ และพัฒนาตัวเครื่องมือเก็บข้อมูล
6) กำหนดวิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลและวิธีการวิเคราะห์ข้อมูล
7) เก็บรวบรวมข้อมูล
8) ประมวลผลและวิเคราะห์ข้อมูล
9) จัดทำรายงานวิจัยเชิงประเมิน
ตัวชี้วัดในการวิจัยเชิงประเมิน
ลักษณะของค่าตัวชี้วัดในการวิจัยเชิงประเมิน
1) ตัวชี้วัดที่เป็นจำนวน
2) ตัวชี้วัดที่เป็นค่าเฉลี่ย
3) ตัวชี้วัดที่เป็นค่าสัดส่วน
4) ตัวชี้วัดที่เป็นค่าร้อยละ
5) ตัวชี้วัดที่เป็นอัตราส่วน
6) ตัวชี้วัดที่กำหนดเป็นคะแนน
การจัดทำตัวชี้วัดในการวิจัยเชิงประเมิน
วัตถุประสงค์การจัดทำตัวชี้วัด
1) เพื่อศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการ
2) เพื่อติดตาม/ประเมินผลแผน/โครงการ
เกณฑ์การพิจารณาค่าตัวชี้วัด
1) เปรียบเทียบกับเป้าหมายที่กำหนดในแต่ละช่วงเวลา
2) เปรียบเทียบกับเกณฑ์ที่กำหนดหรือมาตรฐานสากลระหว่างประเทศ
3) เปรียบเทียบกับช่วงเวลาที่ผ่านมา หรือดูแนวโน้ม
4) เปรียบเทียบกับพื้นที่อื่น/กลุ่มอื่น
แนวคิดเกี่ยวกับตัวชี้วัดในการวิจัยเชิงประเมิน
ความหมาย - เครื่องมือหรือสิ่่งที่บ่งบอกถึงความก้าวหน้าและความสำเร็จหรือไม่สำเร็จของกิจกรรมหรือกระบวนการดำเนินงานเมื่อเปรียบเทียบกับเกณฑ์ที่กำหนดในมิติต่าง ๆ ทั้งในเชิงปริมาณ คุณภาพ ประสิทธิภาพ หรือประสิทธิผล
คุณลักษณะของตัวชี้วัดที่ดี
1) มีความเที่ยงตรง
2) มีหลักเกณฑ์ที่แน่นอน
3) มีความจำเพาะเจาะจง
4) มีระบบจัดเก็บข้อมูลที่ดี
5) เป็นที่ยอมรับของผู้ที่เกี่ยวข้อง
การดำเนินการวิจัยเชิงประเมิน
การเก็บรวบรวม และวิเคราะห์ข้อมูลในการวิจัยเชิงประเมิน
การเก็บรวบรวมข้อมูล จะต้องเก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างที่เหมาะสมหลาย ๆ กลุ่มอย่างเป็นอิสระจากกันและกัน และอิงกับวิธีการทางสถิติ โดยสามารถใช้วิธีเก็บรวบรวมข้อมูลมากกว่า 1 วิธี
การวิเคราะห์ ควรวางแผนวิเคราะห์ข้อมูลไว้ตั้งแต่เริ่มคิดข้อเสนอโครงการวิจัย และจัดทำเครื่องมือเก็บรวบรวมข้อมูล โดยคำนึงถึงวัตถุประสงค์ ที่มาของข้อมูลและตัวชี้วัด คุณสมบัติของตัวชี้วัด และสถิติที่ใช้ในการพรรณนาและวิเคราะห์ข้อมูล
การเขียนรายงานผลการวิจัยเชิงประเมิน
มีความแตกต่างจากการเขียนรายงานการวิจัยประเภทอื่น เนื่องจากการวิจัยเชิงประเมินมุ่งที่จะนำผลจากการวิจัยไปใช้ประโยชน์ในการบริหารจัดการ และผู้ใช้ประโยชน์จะเป็นผู้บริหาร ดังนั้น ผู้วิจัยต้องเรียบเรียงผลงานที่ได้จากการวิจัยให้เข้าใจความเป็นมาของการประเมิน ขอบเขต วิธีการประเมิน ผลการประเมิน และข้อเสนอแนะจากการประเมิน