Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การวิจัยเชิงคุณภาพในการส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร - Coggle Diagram
การวิจัยเชิงคุณภาพในการส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร
แนวคิดการวิจัยเชิงคุณภาพ
ความหมาย ความสำคัญ และการประยุกต์การวิจัยเชิงคุณภาพในการส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร
ความสำคัญ
ทำให้เกิดความเข้าใจสังคมเกษตรกรรม บนพื้นฐานหรือธรรมชาติของปรากฎการณ์นั้น เป็นการมองในภาพรวมและกำหนดแนวทางแก้ไขและการ พัฒนาในด้านการส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรได้เป็นอย่างดี
การประยุกต์
สามารถประยุกต์ในการศึกษาองค์ความรู้ ภูมิปัญญา การจัดการ ดิน น้ำ ป่า ทะเล ระบบการผลิต การจัดการกลุ่ม องค์กร การพัฒนาผู้นำ และประยุกต์ เพื่อความเข้าใจชุมชน สังคมท้องถิ่น และกลุ่มเป้าหมายได้อย่างละเอียดลึกซึ้ง
ความหมาย เป็นการแสวงหาความรู้โดยพิจารณาปรากฎการณ์ทางสังคมกับสภาพแวดล้อมตามความเป็นจริงในทุกมิติ โดยสนใจด้านความรู้สึกนึกคิด ความหมาย ค่านิยม อุดมการณ์ของบุคคล
ลักษณะและแบบแผนการวิจัยเชิงคุณภาพ
ลักษณะการวิจัยเชิงคุณภาพมุ่งเข้าใจ ตีความ ให้ความหมายแก่ปรากฎการณ์ในทัศนะคนใน เน้นการนำเสนอข้อมูลโดยการบรรยาย หลักการรอบด้าน ให้ความสำคัญกับบริบทของปรากฎการณ์ และความสนใจในปฏิสัมพันธ์ของมนุษย์ สนใจในความคิด ทัศนะของกลุ่มคนที่ศึกษา มีความยืดหยุ่น เป็นการศึกษาอย่างลุ่มลึก คุณภาพของงานวิจัยขึ้นอยู่กับกาสะท้อนความเป็นจริงของ ปรากฎการณ์ การตีความ ให้ความหมาย ซึ่งตัวนักวิจัยเองจะเป็นเครื่องมือที่สำคัญ
การออกแบบการวิจัยเชิงคุณภาพในการส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร
การเลือกตัวอย่างในการวิจัยเชิงคุณภาพ
มีทั้งการเลือกชุมชน บุคคลตัวอย่างที่จะศึกษา และการเลือกตัวอย่างใข้หลักการเป็นตัวแทนที่ดี หรือการเลือกแบบเฉพาะเจาะจง เพื่อให้ได้ข้อมูลตามวัตถุประสงค์การวิจัย
วิธีการเก็บข้อมูลในการวิจัยเชิงคุณภาพ
มีหลายวิธี วิธีการสำคัญและนิยมใช้กันมากในการเก็บข้อมูล เช่น การจัดสนทนากลุ่ม และวิธีอื่น ๆ ได้แก่ การสังเกต การสัมภาษณ์แบบเจาะลึก การสัมมนา การจัดเวที การบันทึกประวัติชีวิตบุคคล และวิธีการแบบผสมผสาน
การกำหนดปัญหา วัตถุประสงค์ กรอบแนวคิด และสมมติฐาน การวิจัยเชิงคุณภาพ
การกำหนดปัญหาหรือโจทย์วิจัย คือ ข้อสงสัยที่นักวิจัยต้องการรู้และนำไปสู่การหาทางปฏิบัติเพื่อตอบคำถาม ซึ่งต้องกระทำอย่างมีระบบ ระเบียบ และเชื่อถือได้
วัตถุประสงค์ เป็นส่วนที่จะบอกให้ทราบว่าผู้วิจัยต้องการศึกษาหรือค้นหาคำตอบอะไร
กรอบแนวคิด เป็นการประมวลความคิดรวบยอดของงานวิจัยว่ามีตัวแปรอะไรบ้างที่เกี่ยวข้อง และมีความสัมพันธ์กันอย่างไร
สมมติฐานในการวิจัยเชิงคุณภาพ จะมีหรือไม่ก็ได้
เครื่องมือและอุปกรณ์ที่ใช้ในการวิจัยเชิงคุณภาพ
ได้แก่ แบบสัมภาษณ์ แบบบันทึก และเครื่องมืออื่น ๆ ส่วนอุปกรณ์ เข่น เครื่องบันทึกการสนทนา เครื่องบันทึกเสียง
การวิจัยเชิงคุณภาพจะใช้เครื่องมือแบบผสมผสานเพื่อให้ได้ข้อมูลที่ครอบคลุมและรอบด้าน
การวิเคราะห์และเสนอผลการวิจัยเชิงคุณภาพในการส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร
การวิเคราะห์ข้อมูลในการวิจัยเชิงคุณภาพ
ขั้นตอนการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ
การกำหนดกรอบแนวคิดสำหรับการวิเคราะห์
การตรวจสอบข้อมูล
การจดบันทึกข้อมูล
การจัดแฟ้มข้อมูล
การทำดัชนีข้อมูล
การทำข้อสรุปชั่วคราว และการกำจัดข้อมูล
การสร้างบทสรุปและการพิสูจน์บทสรุป
วิธีการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ
การจำแนกประเภทข้อมูล
การเปรียบเทียบข้อมูล
การวิเคราะห์ส่วนประกอบ
การวิเคราะห์จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส อุปสรรค
การสร้างข้อสรุปแบบอุปนัย
การตีความข้อมูล
การอธิบายสาเหตุ และการเชื่อมโยงข้อมูล
การนำเสนอผลการวิจัยเชิงคุณภาพ
มักจะนำเสนอผลด้วยการพรรณนา เพื่ออธิบายให้เห็นภาพที่เป็นอยู่หรือปรากฎการณ์ต่าง ๆ ที่ค้นพบ ตลอดจนปฏิกิริยา ความรู้สึกนึกคิดของบุคคล กลุ่ม หรือชุมชน
ผู้วิจัยสามารถออกแบบการนำเสนอให้สอดคล้องกับประเด็น เนื้อหา การวิจัย ความน่าสนใจ และสามารถสื่อให้ผู้อ่านสามารถเข้าใจได้โดยง่าย ซึ่งควรออกแบบให้เหมาะสมในแต่ละกรณี