Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
กระบวนทัศน์หลักทางการพยาบาล - Coggle Diagram
กระบวนทัศน์หลักทางการพยาบาล
มโนทัศน์ และทฤษฎีทางการพยาบาล
ความหมาย
ทฤษฎีทางการพยาบาล ( Nursing Theory )
หมายถึง แก่นสาระความรู้ของวิชาชีพพยาบาล ซึ่งมุ่งอธิบายธรรมชาติของคน สิ่งแวดล้อมที่มีอิทธพลต่อบุคคล ภาวะสุขภาพ ความเจ็บป่วยของบุคคล
กระบวนทัศน์ ( Paradigm )
หมายถึง กรอบการมองหรือกรอบเค้าโครงแนวคิด หรือแบบอุดมคติ หรือปรัชญาที่เป็นที่ยอมรับในกลุ่มวิชาชีพ
Metaparadigm
โครงสร้างความสัมพันธ์
Person = คน
Health = สุขภาพ
Environment = สิ่งแวดล้อม
Nursing = การพยาบาล
หมายถึง กรอบ ขอบเขต หรือโครงสร้างทางความคิดหรือมโนมติในภาพรวม กว้างๆของศาสตร์สาขาต่างๆ
กรอบแนวคิด
(Conceptual framework / Model )
หมายถึง กลุ่มของมโนทัศน์ที่สัมพันธ์กันเป็นภาพรวมของปรากฏการณ์ หรือความจริงที่ช่วยให้เห็นจุดเน้นของความคิด
ลักษณะพื้นฐานของทฤษฎี
ควรง่ายแก่การสรุปอ้างอิงและครอบคลุม
ให้สมมติฐานที่สามารถทดสอบได้
ต้องแสดงลำดับของเหตุผลตามหลักตรรกวิทยา
สามารถนำไปใช้ในการปรับปรุงแนวทางปฏิบัติได้
ทฤษฎีที่น่าเชื่อถือจะต้องสอดคล้องกับทฤษฏีอื่นที่ได้รับการพิสูจน์แล้ว
สามารถแสดงความสัมพันธ์ระหว่างมโนทัศน์ให้เข้าใจได้
การจำแนกทฤษฎีตามลักษณะการนำไปใช้
ทฤษฎีเชิงนิรนัย
เป็นการพัฒนาทฤษฎีจากการนำศาสตร์ต่างๆมาขยายมโนมติเดิมให้เกิดมโนมติใหม่ เช่น ทฤษฎีการพยาบาลของคิง ทฤษฎีการพยาบาลของรอย เป็นต้น
ทฤษฎีเชิงอุปนัย
เป็นการพัฒนาทฤษฎีที่เกิดจากการปฏิบัติการพยาบาลมาประมวลเพื่อสรุปเป็นทฤษฎี
การจำแนกทฤษฎีตามระดับความเป็นนามธรรม
ทฤษฎีอภิทฤษฎี
มีเป้าหมายที่กระบวนการสร้างทฤษฎีจะมีจุดเน้นที่การตั้งคำถามเชิงปรัชยา และหลักเกณฑ์ในการประเมินทฤษฎีมีความเป็นนามธรรมสูง
ทฤษฎีระดับกว้าง
กรอบแนวคิดหรือแบบจำลองมโนมติที่ครอบคลุมเนื้อหาสาระที่กว้าง นำไปทดสอบโดยกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ได้ยาก แต่สามารถนำไปเป็นแนวทางการปฎิบัติและเป็นแนวทางในการสร้างองค์ความรู้ในระดับรองลงมาได้
ทฤษฎีระดับกลาง
มีขอบเขตเนื้อหาสาระแคบลง เกิดจากการวิจัยสามารถนำไปใช้อ้างอิงและขยายต่อได้
ทฤษฎีระดับปฏิบัติ
มีความซับซ้อนน้อยที่สุด มีเนื้อหาสาระและจำนวนมโนมติไม่มากสามารถทดสอบได้ง่ายและนำไปใช้ในการปฎฺบัติการพยาบาลได้โดยตรงและคาดผลที่จะเกิดจากการปฎิบัติได้
ประโยชน์ของทฤษฎีต่อการปฎิบัติการพยาบาล
อธิบายเป้าหมายและเหตุผลของการปฎิบัติกากรพยาบาลต่อผู้รับบริการ
เป็นการนำกระบวนการพยาบาลมาใช้ในการปฎิบัติการพยาบาล
เป็นหลักเกณฑ์ในการวัดคุณภาพทางการพยาบาล
อธิบายคำศัพท์ทางการพยาบาลให้เข้าใจตรงกันในทีมสุขภาพ
แสดงถึงความเป็นเอกสิทธิ์ในวิชาชีพการพยาบาล
แสดงให้เห็นความสัมพันธ์ระหว่างผู้ป่วย/ผู้รับบริการกับพยาบาลและมองเห็นบทบาทของพยาบาลชัดเจนขึ้น
วิวัฒนาการของทฤษฎีการพยาบาล
Fiorence Nightingale
เป็นบุคคลแรกที่พยายามสร้างศาสตร์การพยาบาลและเตรียมพยาบาลอย่างมีรูปแบบชัดเจน
พัฒนาการของทฤษฎีทางการพยาบาล
ระยะก่อนปี ค.ศ 1960
พัฒนาพื้นฐานของทฤษฎีจากแนวคิดจิตวิทยา สังคมศาสตร์ วิทยาศาสตร์สุขภาพมนุษยศาสตร์และพฤติกรรมศาสตร์
เป็นยุคที่พัฒนาต่อเนื่องจากการเขียนและการทำงานของไนติงเกล
ค.ศ. 1952 มีการทำวิจัยทางการพยาบาลและมีวารสารจัดการพยาบาลเกิดขึ้น
ระยะปี ค.ศ 1960-1970
ค.ศ 1960 Faye Abdellah พัฒนากลุ่มปัญหาทางการพยาบาล 21 ปัญหา (กายภาพ+ชีวภาพ+จิตสังคม)
ค.ศ 1961 Jean Orlando สร้างทฤษฎีชื่อ Nursing Process Theory (เน้นการปฎิบัติการพยาบาล)
ค.ศ 1964 Lidia Hall สร้างทฤษฎีชื่อ Core Care and Cure Theory (เน้นปฎิกิริยาระหว่างร่างกายและโรค)
ค.ศ 1968 Dickoff&James ทฤษฎีการพยาบาลต้องเป็นทฤษฎีในระดับสูงสุด
ค.ศ 1970 Martha E.Rogers สร้างทฤษฎี Science of Unitary Human Being
ระยะปี ค.ศ. 1981-ปัจจุบัน
ระยะแรก เน้นการนำเอาทฤษฎีต่าง ๆ ที่ถูกสร้างขึ้นมาทดลองปฏิบัติ/พิสูจน์ ข้อเท็จจริงตามสมมติฐาน
ระยะหลัง เน้นพัฒนาทฤษฎีขึ้นมาใหม่ พัฒนาระบบสารสนเทศทางการพยาบาล เพื่อเผยแพร่ความรู้
ระยะปี ค.ศ. 1971-1980
ค.ศ.1974 Sister Callista Roy สร้างทฤษฎีชื่อ Roy’s Adaptation model
ค.ศ.1978 Madeleine Leininger สร้างทฤษฎีชื่อ Transcultural nursing Theory
ค.ศ.1971 Dorothea E. Orem สร้างทฤษฎีชื่อ Self - care Theory
ค.ศ.1978 Jean Watson สร้างทฤษฎี Transpersonal Caring
ค.ศ.1980 Betty Neuman สร้างทฤษฎีชื่อ System Model
มโนมติพื้นฐานทางการพยาบาล
หมายถึง ความรู้ความคิด ความเชื่อในสิงที่เป็น พื้นฐานของการพยาบาล
ประกอบด้วย
มโนมติของคน (Man)
คน
ประกอบด้วย
จิต หรือจิตใจ จิตใจของคนประกอบด้วย 3 ส่วนย่อย คือ
จิตวิญญาณ (Spirit)
สติปัญญา หรือความคิด
อารมณ์ และความรู้สึก
สังคม คือ ส่วนของคนที่เกี่ยวข้องกับบุคคลอื่น ๆ รอบตัว สัมพันธภาพแต่ละบุคคลบทบาทและสัมพันธภาพ
กาย หรือร่างกาย
คนเป็นระบบเปิด
จะต้องมีจะต้องมีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมตลอดเวลา
การรับและการให้เกิดขึ้นได้ทั้ง ทางด้านร่างกาย จิตใจ และสังคม โดยมีความสัมพันธ์กัน
คนมีความต้องการพื้นฐาน
มีความต้องการทางร่างกาย จิตใจ และสังคม
แบ่งออกได้ 5 ระดับ ตามทฤษฎีความต้องการของมาสโลว์ ดังนี้
ความต้องการความรัก ความผูกพัน (Affiliation)
ความต้องการความภูมิใจ และความมีศักดิ์ศรี (Self-esteem)
ความต้องการความปลอดภัย (Safety and security)
ความต้องการความพอใจตนเอง (Self-actualization)
ความต้องการทางด้านร่างกาย หรือสรีระ (Physical needs)
คนมีพัฒนาการ
พัฒนาการเป็นกระบวนการเปลี่ยนแปลงด้านคุณภาพ หรือคุณลักษณะของบุคคลแต่ละคนในด้านต่างๆ เกิดจนถึงวัยชรา
คนมีความต้องการภาวะสมดุล หรือภาวะปกติ
มีกระบวนการปรับตัว หรือกลไกการต่อสู้ เพื่อสมดุล
ประกอบด้วย
ความต้องการดำรงภาวะสมดุล คือ ความต้องการในระดับที่ไม่รู้ตัว และในระดับที่รู้ตัว
ความต้องการปรับสู่ภาวะสมดุล เป็นกลไกการปรับสู่สภาวะสมดุล
6.คนมีลักษณะพื้นฐานร่วมกันแต่มีความเป็นปัจเจกบุคคล
คือ ความเป็นปัจเจกบุคคล มีระดับการพัฒนาการทั้งทางด้าน ร่างกาย จิตสังคม และประสบการณ์ในชีวิต
คนมีสิทธิของตน
สิทธิในการตัดสินใจ
สิทธิในการคุ้มครองตามกฎหมาย
สิทธิในการรักษาเมื่อเจ็บป่วย
คนมีศักยภาพในการช่วยเหลือตนเอง
คนทุกคนสามารถช่วยเหลือตนเองเองในด้านต่างๆ เช่น การทำกิจวัตรประจำวัน
มโนมติของสุขภาพ (Health)
สุขภาพของคนประกอบด้วย 2 ภาวะ คือ
ภาวะสุขภาพดี (Wellness)
องค์การอนามัยโลก (WHO, 1947) ให้ความหมาย สุขภาพดี ว่าสภาวะร่างกายที่สมบูรณ์ทางร่างกาย จิตใจ สังคม และจิตวิญญาณปราศจากโรค และความพิการใด ๆ
พระราชบัญญัติสุขภาพแห่งชาติ ในมาตราที่ 3 ให้ความหมายว่า สุขภาวะที่สมบูรณ์และเชื่อมโยงกันเป็นองค์รวมอย่างสมดุลทางร่ายกาย จิตใจ สังคม และจิตวิญญาณ
สุขภาพ หมายถึง สภาวะที่ปราศจากโรค และสามารถใช้พละกำลังของตนเองได้เต็มความสามารถ
เจ็บป่วย (Illness)
หมายถึง สภาวะที่มีการเปลี่ยนแปลงหน้าที่ปกติทางด้านร่างกาย จิตใจ สังคม และจิตวิญญาณ
เป็นภาวะที่บุคคลรู้สึกว่ามีสุขภาพไม่ดี
ในโลกนี้น้อยคนนักที่จะมีสุขภาพดีมาก ครบทั้งกาย จิตใจ สังคม และจิตวิญญาณตลอดเวลา
มโนมติของสิ่งแวดล้อม (Environment)
แบ่งได้เป็น 4 ประเภท ได้แก่
สิ่งแวดล้อมทางกายภาพ
หมายถึง สิ่งแวดล้อมภายนอกที่ไม่มีชีวิต เช่น ดิน น้ำ ลม อากาศ เสียง แสง สิ่งแวดล้อมเหล่านี้เบื้องต้นจะมีผลต่อร่างกายคน
สิ่งแวดล้อมทางชีวภาพ
ได้แก่ สิ่งมีชีวิตต่าง ๆ ทั้งพืช และสัตว์ เช่น แบคทีเรีย วัว ควาย สุนัข
สิ่งแวดล้อมทางเคมี
สารเคมีทุกชนิดรวมทั้งอาหาร และยา ซึ่งมาจากสิ่งมีชีวิตหรือไม่มีชีวิต
สิ่งแวดล้อมทางสังคม และเศรษฐกิจ
ประกอบด้วย สิ่งที่เป็นรูปธรรม และนามธรรม
สิ่งแวดล้อมทางสังคมที่เป็นรูปธรรมที่สำคัญ คือ บุคคลที่มีความสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน มีบทบาท และครอบครัวสำคัญที่สุด
สิ่งแวดล้อมทางสังคมที่เป็นนามธรรม ไม่สามารถจะสัมผัสได้ แต่มีผลต่อพฤติกรรมของบุคคลที่อยู่ในสิ่งแวดล้อมนั้นๆ เช่น ความเชื่อ ค่านิยม วัฒนธรรม ประเพณี กฏหมาย ศาสนา
มโนมติของการพยาบาล (Nursing)
แบ่งออกเป็น
การพยาบาลที่จะช่วยเหลือให้คนมีภาวะสุขภาพดี หรือปรับสู่สภาวะสุขภาพดี
ประกอบด้วย
การป้องกันโรค
แบ่งออกเป็น 3 ระดับ ได้แก่
การป้องกันโรคระดับที่ 1 ป้องกันความไม่สุขสบาย บุคคลที่อยู่ในกลุ่มสุขภาพดี-สุขภาพปกติ จะเป็นผู้ที่มีพฤติกรรมการป้องกันในระดับที่ 1
การป้องกันระดับที่ 2 ส่งเสริมการตรวจพบผู้ป่วยตั้งแต่โรคยังไม่ปรากฏอาการ เพื่อให้สามารถให้การรักษาได้ทันท่วงที
การป้องกันระดับที่ 3 สอนให้รู้จักการป้องกันไม่ให้เกิดซ้ำอีก
การดูแลรักษา
จะเป็นไปตามแผนของแพทย์ เป็นกิจกรรมที่มุ่งเน้นการบำบัด
รู้จักใช้ศิลปะในการในการติดต่อสื่อสาร การแสดงออกทางสีหน้า ท่าทาง
การช่วยให้ผู้ป่วย และผู้เกี่ยวข้องได้รับผลกระทบจากการเจ็บป่วยน้อยที่สุด และสามารถที่จะกลับสู่สภาวะปกติโดยเร็ว
การส่งเสริมสุขภาพ
ส่วนใหญ่เป็นการช่วยในการสร้างพฤติกรรมสุขภาพ หรือปรับเปลี่ยนพฤติกรรม
การฟื้นฟูสภาพร่างกาย
เป็นระยะที่บุคคลออกจากภาวะของการเป็นผู้ป่วยกำลังกลับไปอยู่ในบทบาทของคนปกติทั่วไป
พยาบาลจะต้องเข้าถึงจิตใจ และรู้สภาพปัญหาของผู้ป่วยแต่ละคนอย่างถ่องแท้
เป็นผู้ให้กำลังใจ ให้ความหวัง ชื่นชม และยกย่องผู้ป่วย
การพยาบาลโดยใช้กระบวนการในการช่วยเหลือผู้รับบริการ
ประกอบด้วยขั้นตอนต่าง ๆ ดังนี้
การประเมินสภาพ
การวางแผนการพยาบาล
การปฏิบัติการพยาบาล
การประเมินการพยาบาล
การวินิจฉัยการพยาบาล
การพยาบาลเป็นการช่วยเหลือคน
เพื่อให้คนสามารถดำรงภาวะสุขภาพไว้ หรือช่วยให้คนกลับสู่สภาวะสุขภาพดีเมื่อเจ็บป่วย
การพยาบาลเป็นการบริการที่จำเป้นต่อสังคม
ถ้าขาดการพยาบาลที่มีคุณภาพ อาจส่งผลให้คนไข้ไม่สามารถดำรงภาวะสุขภาพดีไว้ได้ หรือการปรับตัวสู่ความมีสุขภาพดี อาจจะทำด้วยความลำบาก
กระบวนทัศน์หลักทางการพยาบาล
คน สิ่งแแวดล้อม สุขภาพ และกาพยาบาล จะมีความสัมพันธ์กัน คือ คยจะอยู่ในสิ่งแวดล้อมโดยมีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมตลอดเวลา
ในการช่วยเหลือคนนั้นจะใช้โดยใช้บทบาทในการส่งเสริมสุขภาพ การป้องกันโรค การดูแลรักษาและการฟื้นฟู
มีจุดมุ่งหมายเพื่อช่วยเหลือคนให้สามารถดำรงภาวะสมดุลหรือภาวะสุขภาพดีได้ และช่วยเหลือคนที่เจ็บป่วยให้ปรับตัวกลับสู่สภาวะสมดุล
ความสำคัญของมโนมติพื้นฐานทางการพยาบาล
เป็นพื้นฐานของการวิจัยทางการพยาบาล
เป็นพื้นฐานการปฏิวัติการพยาบาล
เป็นพื้นฐานของการพัฒนาศาสตร์ทางการพยาบาล
เป็นพื้นฐานของการจัดการศึกษาพยาบาล
พยาบาลจะใช้บทบาทใดนั้นขึ้นอยู่กับภาวะสุขภาพของคนในฐานะของผู้รับบริการ
แนวคิดภาวะสุขภาพ การเจ็บป่วย และการพยาบาล
ภาวะสุขภาพเป็นความต้องการสูงสุดของบุคคล สุขภาพดีจะช่วยให้กระบวนการเจริญเติบโต พัฒนาการทางด้านร่างกาย จิตใจ และสังคมเป็นไปได้ด้วยดี
ความเจ็บป่วย
สภาวะที่มีการเปลี่ยนแปลงหน้าที่ปกติทางด้านร่างกายจิตใจ สังคม และจิตวิญญาณ ซึ่งอาจจะเปลี่ยนแปงด้านใดด้านหนึ่ง หรือหลายๆ ด้านรวมกัน
ความเจ็บป่วยไม่เกี่ยวกับการเป็นโรคก็ได้ อาจมีสาเหตุเริ่มจากความผิดปกติของอวัยวะต่าง ๆ ในร่างกาย หรือความผิดปกติของจิตใจ
ความต่อเนื่องของภาวะสุขภาพ และความเจ็บป่วย
สุขภาพดีมาก
สุขภาพดี
สุขภาพปกติ
เจ็บป่วยเล็กน้อย
เจ็บป่วยรุนแรง
ตาย