Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การใช้ยาในผู้สูงอายุ - Coggle Diagram
การใช้ยาในผู้สูงอายุ
เภสัชพลศาสตร์ (phamacodynamic) ฤทธิ์ของยาที่มีต่อร่างกายเป็นผลทางเภสัชวิทยาที่เกิด จากยาที่ทําปฏิกิริยาหรือออกฤทธิ์ต่อตัวรับ (receptor) ในบริเวณต่างๆของร่างกาย ซึ่งไม่เพียงแต่เป็นผลหรือ ฤทธิ์ที่ใช้ในการรักษาเท่านั้น แต่รวมถึงพิษ (toxic) และ ฤทธิ์ไม่พึงประสงค์ (adverse effects) ของยาด้วย
-
อาการและอาการไม่พึงประสงค์ แต่ละคนมีอาการแตกต่างกัน บางครั้งอาจใช้เวลานาน บางครั้งอาจพบหลังหยุดยานั้นแล้ว หรืออาจเกิดขึ้นทันทีทันใด แม้ใช้ยามานานโดยไม่มีอาการมาก่อน
-
ยาที่ใช้บ่อยในผู้สูงอายุ
ยาลดความดันโลหิต
Central alpha-agonists: clonidine, guanabenz guanfacine และ methyldopa อาการข้างเคียง คือ ง่วงซึม และสับสน ปากแห้ง ปัสสาวะคั่ง ท้องผูก ภาวะสมองเสื่อมเทียม หัวใจเต้นช้า เจ็บหน้าอก และอาการหัวใจล้มเหลวเลวลง ภาวะซึมเศร้า
Angiotensin-converting enzyme inhibitors (ACEI) และ alpha receptor blocker (ARB): Enalapril, Captopril, Losartan ใช้ในผู้ป่วย HT, CHF, DM, CKD อาการข้างเคียงคือ ไอแห้งๆ วิงเวียนศีรษะ ผื่นแดง และการรับรสผิดปกติ ถ้าไตผิดปกติต้องเฝ้าระวังภาวะไตวาย
Calcium channel blocker: amlodipine, nifedipine, verapamil ทำ ให้หลอดเลือดแดงขยายตัว ใช้ใน ผส. ที่เสี่ยงต่อการเกิดCHD และ DM อาการข้างเคียงคือ ปวดศีรษะ มึนงง น้ำคั่ง ยา nifedipine ทำ ให้เกิด postural hypotension บวมส่วนปลาย และเหงือกบวม ส่วน verapamil พบท้องผูกได้บ่อย
Beta-blocker: propranolol, atenolol, bisoprolol, metoprolol อาการข้างเคียงคือ หัวใจเต้นช้า การส่งกระแสไฟฟ้าหัวใจผิดปกติ พบ CHF ถ้าใช้ขนาดสูง
การพยาบาล
-
สังเกต drug interactions : ฤทธิ์ของยาลดความดันจะลดลงเมื่อรับประทานร่วมกับยาลดกรด ยาแก้แพ้ยาแก้ปวด amphetamine, ยาต้านซึมเศร้าไตรโซคลิก ไม่ควรรับประทานยากลุ่ม calcium channel blocker ร่วมกับ grapefruitเนื่องจากมีผลต่อสัดส่วนของยาที่เข้าสู่กระแสเลือด
ยารักษาโรคจิตประสาท ใช้ในผู้สูงอายุที่มีภาวะสับสนเฉียบพลัน หรือผู้ที่มีภาวะสมองเสื่อม เพื่อช่วยควบคุมอาการ
-
Second-generation: clozapine, rispiridone นิยมใช้ในผู้สูงอายุเนื่องจากผลข้างเคียงน้อยกว่ากลุ่มแรก
การพยาบาล : ค่าครึ่งชีวิตนาน ควรได้ขนาดต่ำ สังเกตอาการปากแห้ง ท้องผูก ปัสสาวะคั่ง ตามัว นอนไม่หลับ มีไข้ สับสน การรับรู้ลดลง เห็นภาพซ้อน เฝ้าระวังการหกล้มจากการเปลี่ยนท่า และง่วงนอน แนะนำให้รับประทานอาหารกากใยสูง
อาการข้างเคียง : นอนหลับมากกว่าปกติ วิงเวียน, สับสนอาการที่เกิดจาก extrapyramidal effect เช่น อาการสั่น เกร็ง เคลื่อนไหวช้า และการทรงตัวไม่ดี
-