Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
โรคอารมณ์แปรปรวนสองขั้ว (Bipolar disorder) - Coggle Diagram
โรคอารมณ์แปรปรวนสองขั้ว (Bipolar disorder)
สาเหตุ
1.ปัจจัยทางชีวภาพ ได้แก่ ความผิดปกติของสารสื่อประสาท ได้แก่ serotonin norepinephrine dopamine
2.ปัจจัยทางจิตสังคม เช่น การไม่สามารถปรับตัวเข้ากับความเครียด หรือปัญหาต่างๆภายในชีวิตได้
3.ปัจจัยทางพันธุศาสตร์ เช่น ผู้ที่มีญาติสายตรงเป็นโรคอารมณ์แปรปรวนสองขั้ว
อาการและอาการแสดง
ช่วงแมเนีย (Manic Episode)
อยากทำอะไรหลาย ๆ อย่างในช่วงเวลานั้น
มีความมั่นใจมากเป็นพิเศษ
เปลี่ยนความสนใจง่าย สมาธิลดลง
พูดเยอะ พูดไม่หยุด เปลี่ยนเรื่องพูดบ่อย
ความต้องการนอนลดลง
หมกมุ่นอย่างมากกับกิจกรรมที่ทำให้เกิดปัญหา
ความคิดแล่นเร็ว
ช่วงซึมเศร้า (Depressive Episode)
เบื่ออาหารหรือรับประทานอาหารมากเกิน
นอนไม่หลับหรือหลับมากไป
ความสนใจในกิจกรรมต่าง ๆ ลดลง
กระสับกระส่ายหรือเชื่องช้ามากขึ้น
ซึมเศร้าเป็นส่วนใหญ่ของวัน แทบทุกวัน
อ่อนเพลีย
รู้สึกตนเองไร้ค่า
สมาธิลดลง
คิดถึงเรื่องการตายอยู่เรื่อย ๆ
ความหมาย
โรคที่มีความผิดปกติทางอารมณ์ โดยมีการเปลี่ยนแปลงของอารมณ์ระหว่างช่วงอารมณ์ซึมเศร้า (Depression) สลับกับช่วงที่อารมณ์ดีหรือหงุดหงิดมากกว่าปกติ (Mania)
ระยะเวลาในแต่ละช่วงอาจอยู่เป็นสัปดาห์หรือเดือนโดยมีช่วงอารมณ์ปกติคั่นกลางได้
เกณฑ์การวินิจฉัยตาม DMS 5
คือ มีอาการซึมเศร้าสลับกับช่วงไฮโปรเมเนีย (hypomania)
A เคยซึม หรือ hypomania อย่างน้อย 1 ครั้ง
B ไม่เคยมีอาการระยะ mania
c อาการไม่ได้เกิดจากโรคจิตชนิดอื่นๆ
D อาการของภาวะซึมเศร้าหรือการเปลี่ยนแปลงระหว่างระยะซึมเศร้าและhypomania ก่อให้เกิดความทุกทรมานอย่างมีนัยสำคัญ
Bipolar disorder
สาเหตุ
ทางชีวภาพ :dopamine สูงขึ้นในระยะ mania และต่ำลงในระยะซึมเศร้า
ทางจิตใจ : ประสบความเครียดในชีวิตก่อนที่จะป่วยครั้งแรกและความเครียดสัมพันธ์กับอัตราการกลับมาเป็นซ้ำ ( relapse rate ) โรคนี้ไม่สัมพันธ์กับบุคลิกภาพแบบใดแบบหนึ่งเป็นพิเศษ
อาการ
สลับกับง่วงซึมเศร้า หรืออาจจะมีอาการ mania เพียงอย่างเดียวก็ได้
ข้อวินิจฉัยทางการพยาบาล
เสี่ยงต่อการทำร้ายตนเองและผู้อื่นเนื่องจากมีความแปรปรวนด้านอารมณ์
วัตถุประสงค์
เพื่อให้ผู้ป่วยปลอดภัยไม่เกิดการทำร้ายตนเองและผู้อื่น
เกณฑ์การประเมิน
ผู้ป่วยปลอดภัยไม่มีการทำร้ายตัวเองและผู้อื่น
กิจกรรมการพยาบาล
สร้างสัมพันธภาพเพื่อการบำบัดด้วยท่าทีที่อบอุ่น เห็นอกเห็นใจผู้ป่วย และมีความสม่าเสมอ เพื่อ ให้ผู้ป่วยรู้สึกว่าไว้วางใจ มั่นใจได้ จะระบายความคับข้องใจออกมา
ประเมินความเสี่ยงต่อการทําร้ายตนเองจากสีหน้าท่าทาง การแสดงทางคาพูด อารมณ์ การ เคลื่อนไหว เพื่อวางแผนการพยาบา บาลที่ช่วยให้ผู้ป่วยปลอดภัย
จัดสิ่งแวดล้อมให้เหมาะสมและปลอดภัย จัดเก็บอุปกรณ์ที่อาจเป็นเครื่องมือในการทําร้ายตนเอง หรือผู้อื่น เช่นอุปกรณ์ที่มีลักษณะเป็นสาย ยางยืด ของแหลมคม น้ายาเคมี เป็นต้น
ฝ้าระวังการฆ่าตัวตาย โดยเฉพาะช่วงที่มีความเสี่ยงต่อการทําร้ายตนเองสูง มีการดูแลและ สังเกตอาการเปลี่ยนแปลงของผู้ป่วยอย่างใกล้ชิดทุก 15 นาที จัดให้ผู้ป่วยอยู่ในที่ที่สามารถ สังเกตเห็นได้ชัดเจน มีการติดตามผู้ป่วยเสมอ เมื่อผู้ป่วยไปทํากิจกรรมต่างๆ เพื่อป้องกันการทา ร้ายตนเอง
จัดให้ผู้ป่วยเข้าร่วมกิจกรรมกลุ่มบำบัดง่ายๆ และเห็นผลสาเร็จในระยะเวลาอันสั้น เช่น กลุ่มวาด ภาพกลุ่มอ่านหนังสือพิมพ์กลุ่มประดิษฐ์สิ่งของเป็นต้น เพื่อช่วยให้เกิดความภาคภูมิใจเสริมสร้าง ความรู้สึกมีคุณค่าในตนเองที่สามารถทํากิจกรรมต่างๆ ได้สาเร็จ
ให้แรงเสริมทางบวกเช่นการชื่นชมให้กำลังใจเมื่อผู้ป่วยทํากิจกรรมต่างๆได้สําเร็จเพื่อส่งเสริมให้ ผู้ป่วยดงพฤติกรรมที่ดีนั้นไว้
ดูแลให้ได้รับยาตามแผนการรักษาพร้อมสังเกตอาการข้างเคียงของยาที่อาจจะเกิดขึ้นเพื่อให้ผู้ ป่วยได้รับยาช่วยในการควบคุมอารมณ์แบบสังเกตอาการเปลี่ยนแปลงเพื่อรายงานอาการ แพทย์และลงบันทึกเพื่อรายงานความก้าวหน้าทางการพยาบาล
บกพร่องสัมพันธภาพกับผู้อื่นเนื่องจากมีพฤติกรรมแยกตัว
วัตถุประสงค์
เพื่อสร้างสัมพันธภาพกับผู้อื่นได้อย่างเหมาะสม
เกณฑ์การประเมิน
ผู้ป่วยพูดคุยกับผู้อื่นมากขึ้น
ผู้ป่วยไม่มีพฤติกรรมการแยกตัว
กิจกรรมการพยาบาล
พยาบาลมีสัมพันธภาพเพื่อการบำบัดที่ดีต่อกัน
กระตุ้นให้ผู้ป่วยได้ระบายความรู้สึก ความทุกข์ใจต่างๆ
ให้แรงเสริมและให้กำลังใจ เมื่อผู้ป่วยแสดงพฤติกรรมที่เหมาะสม
ช่วยให้ผู้ป่วยได้วิเคราะห์พฤติกรรมของตนเอง และหาแนวทางในการปฏิบัติให้เหมาะสม
จัดตารางเวลาในการทำกิจกรรมประจำวันสำหรับผู้ป่วยไม่ให้มากเกินไปและคอยติดตามให้ผู้ป่วยทำกิจกรรมให้สำเร็จ