Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ข้อที่ 4 : พร่องความรู้ในการดูแลสุขภาพ เนื่องจาก ไม่ตระหนักถึงความสำคัญของ…
ข้อที่ 4 : พร่องความรู้ในการดูแลสุขภาพ เนื่องจาก ไม่ตระหนักถึงความสำคัญของการมีพฤติกรรมสุขภาพที่ถูกต้อง
-
ข้อมูลสนับสนุน
SD : ผู้ป่วยบอกว่า “ชอบรับประทานอาหารรสเค็ม มื้อละ 2 จาน”
SD : ผู้ป่วยบอกว่า “ดื่มน้ำวันละ 6-8 แก้ว”
SD : ผู้ป่วยบอกว่า “เวลาที่เจ็บป่วย ไม่ชอบนอนเฉยๆ ชอบไปทำงานเพราะกลัวขาดรายได้”
-
เกณฑ์การประเมิน
1.ผู้ป่วยตอบคำถามเกี่ยวกับความรู้ในการดูแลตนเองได้อย่างถูกต้อง
2.ผู้ป่วยปฏิบัติตัวและดูแลตนเองอย่างต่อเนื่องเกี่ยวกับการดูแลตนเองได้อย่างถูกต้อง 3 ใน 5 ข้อ
กิจกรรมการพยาบาล
1.ประเมินความรู้ ความเข้าใจของผู้ป่วยทั้งด้านร่างกายและจิตใจเพื่อจะได้เสริมสร้างความรู้ได้อย่างถูกต้อง
2.ให้ความรู้เกี่ยวกับวิธีการปฏิบัติตัวก่อนและหลังการล้างไต
การเตรียมตัวก่อนการล้างไต
- หลีกเลี่ยงการเจาะเลือด วัดBP ให้น้ำเกลือ หรือฉีดยาแขนข้างที่จะทำเส้นฟอกไตหรือล้างไต เพราะอาจทำให้เส้นเลือดดำเสียหาย
- แนะนำให้ผู้ป่วยบริหารเส้นเลือดข้างที่จะทำเส้นฟอกไตหรือล้างไตด้วยการบีบและคลายลูกบอลสลับไปมาครั้งละ 10 – 15 นาทีเพื่อเพิ่มความแข็งแรงของเส้นเลือด
การดูแลหลังทำการล้างไตหรือฟอกไต
- แนะนำให้ผู้ป่วยดูแลแผลให้สะอาด ไม่แกะเกาบริเวณแผล ห้ามแผลโดนน้ำล้างแผลสัปดาห์ละ 1 – 2 ครั้ง และจะตัดไหมประมาณ
2 – 3 สัปดาห์
- หลีกเลี่ยงการสวมแหวน นาฬิกา กำไล ยกของหนัก การกระแทก ถูกของมีคม นอนทับแขน
- แนะนำให้ผู้ป่วยนอนยกแขนสูงกว่าหัวใจเพื่อลดอาการบวม
- หากมีอาการผิดปกติ เช่น เลือดไหลซึมจากแผลมากผิดปกติ มีอาการบวมแดง ปวด ชา มีไข้ ควรรีบพบแพทย์ทันที
3.แนะนำให้ผู้ป่วยปรับพฤติกรรมการบริโภคอาหารให้เหมาะสม เพื่อควบคุมโรคแทรกซ้อนที่มีผลกระทบต่อไต
ได้แก่ การลดหวาน ลดมัน ลดเค็ม
4.แนะนำให้หลีกเลี่ยงการรับประทานโปรตีนมากเกินไป ควรควบคุมปริมาณเนื้อสัตว์ เนื่องจากเนื้อสัตว์มีปริมาณโปรตีนสูง จะทำให้ไตทำงานหนักและเกิดปริมาณของเสียสะสมในร่างกายเพิ่มขึ้น
ผลการประเมิน
1.ผู้ป่วยสามารถตอบคำถามเกี่ยวกับความรู้ในการดูแลตนเองได้อย่างถูกต้อง
2.ผู้ป่วยปฏิบัติตัวและดูแลตนเองอย่างต่อเนื่องเกี่ยวกับการดูแลตนเองได้อย่างถูกต้อง 4 ข้อ
5.โรคไตระยะที่ 4-5 มักเกิดปัญหาโพแทสเซียมเกิน จึงควรจำกัดการบริโภคโพแทสเซียม แนะนำผักที่มีปริมาณโพแทสเซียมไม่สูงนัก ได้แก่ ฟักเขียว บวบ แตงกวา มะเขือยาว เป็นต้น
6.โรคไตระยะที่ 4-5 ควรจำกัดปริมาณการบริโภคฟอสฟอรัส แนะนำอาหารที่ฟอสฟอรัสต่ำ เช่น ไข่ขาว หลีกเลี่ยงอาหารที่มีฟอสฟอรัสสูง ได้แก่ ไข่แดง นมทุกรูปแบบรวมถึงผลิตภัณฑ์จากนม อาหารที่ใช้ยีสต์และใช้ผงฟู เพราะมีฟอสเฟตสูง เช่น ขนมปังปอนด์ ซาลาเปา
7.แนะนำควรรับประทานอาหารไขมันต่ำ เพราะอาหารที่มีไขมันสูงทำให้กรดยูริกนั้นขับถ่ายออกมาทางปัสสาวะได้ไม่ดี หลีกเลี่ยงอาหารที่มีพิวรีนมาก เช่น เครื่องในสัตว์ทุกชนิด ปีกสัตว์ น้ำสกัดจากเนื้อสัตว์ ยอดผักอ่อน
8.แนะนำในกรณีที่ผู้ป่วยต้องจำกัดปริมาณโซเดียมต่ำมาก แนะนำให้ใช้เครื่องเทศ และสมุนไพร เป็นตัวแต่งกลิ่นอาหารเพื่อให้อาหารมีกลิ่น และรสชาติที่น่ารับประทานมากขึ้น หลีกเลี่ยงการใช้เครื่องปรุงรสที่มีโซเดียมสูง เพื่อให้ความต้องการอาหารมากขึ้น
10.แนะนำน้ำเปล่า หรือดื่มน้ำสมุนไพร ต้องไม่หวานจัด หลีกเลี่ยงหากเป็นไตวายระยะสุดท้ายที่มีปัสสาวะออกลดลงหรือมีอาการบวม ต้องจำกัดน้ำดื่ม ไม่ให้เกิน 700 – 1,000 ซีซี/วัน เพราะอาจกระตุ้นอาการบวมน้ำและน้ำท่วมปอดได้