Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
หน่วยที่ 12 การวิจัยแบบผสมผสาน ในการส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร - Coggle…
หน่วยที่ 12 การวิจัยแบบผสมผสาน
ในการส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร
1.แนวคิดเกี่ยวกับการวิจัยแบบผสมผสาน
ในการส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร
ความเป็นมา กระบวนทัศน์ ความหมาย
และจุดมุ่งหมายของการวิจัยแบบผสมผสาน
ความเป็นมา
ระยะก่อร่างแนวคิด เป็นระยะแรกที่มีการกล่าวถึง
แนวคิดเกี่ยวกับการผสมผสานวิธีการเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพเข้าด้วยกัน เพื่อใช้ดำเนินงานวิจัยและประเมิน
ระยะโต้แย้งทางกระบวนทัศน์
ระยะพัฒนาแนวทางการดำเนินงาน เป็นระยะของการแสวงหาและใช้แนวทางเชิงผสมผสานสำหรับการดำเนินงานวิจัยและประเมิน
กระบวนทัศน์
ภววิทยา การมองธรรมชาติของความจริง
ญาณวิทยา การมองธรรมชาติของความรู้
วิธีวิทยา ขั้นตอนวิธีแบบแผน กระบวนการของการหาความรู้และความจริงที่
เชื่อถือได้เพื่อที่จะเชื่อมโยงไปยังรูปแบบการศึกษา (design) และวิธีการ (method)
ความหมาย
การใช้เทคนิควิธีการเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพมาร่วมกันศึกษา
หาคำตอบของงานวิจัยในขั้นตอนใดขั้นตอนหนึ่งหรือในระหว่างขั้นตอน
ภายในเรื่องเดียวกัน การผสมผสานกันสำหรับดำเนินงานวิจัยจึงเป็น
แค่เพียงการผสมผสานในทางเทคนิควิธีการที่ใช้สำหรับการกำหนด
ปัญหาวิจัย วัตถุประสงค์วิจัย เก็บรวบรวมข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูล
และสรุปตีความผลการวิเคราะห์ข้อมูลร่วมกันเท่านั้น
จุดมุ่งหมาย
เพื่อเป็นการตรวจสอบสามเส้า
เพื่อเป็นการเสริมให้สมบูรณ์หรือเติมให้เต็ม
เพื่อเป็นการริเริ่ม
เพื่อเป็นการพัฒนา
เพื่อเป็นการขยาย
ความสำคัญ ลักษณะสำคัญ ประเภท ข้อดี
และข้อควรคำนึง ของการวิจัยแบบผสมผสาน
ความสำคัญ
ผลการวิจัยสามารถเติมต่อกันได้
ผลการวิจัยจากวิธีหนึ่งช่วยพัฒนาการวิจัยอีกวิธีหนึ่ง
มีจุดเด่นในตนเอง
มีจุดด้อยในตนเอง
สามารถนำผลผลิตจากการวิจัยมาสร้างความรู้
ลักษณะสำคัญ
ใช้วิธีเก็บรวบรวมและวิธีวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อตอบคำถามวิจัย
รวมหรือผสมผสานข้อมูลทั้งเขิงปริมาณและเชิงคุณภาพ
ใช้แนวคิดเชิงปรัชญาหรือกระบวนทัศน์หลากหลายร่วมกัน
เน้นความหลากหลายในทุกระดับของกระบวนการวิจัย
ยึดคำถามหรือปัญหาวิจัยเป็นหลักในการ
กำหนดวิธีการที่จะนำมาใช้ในการศึกษา
ใช้วิธีรวบรวมข้อมูลหลายๆ วิธี เพื่อเสริมซึ่งกันและกัน
ประเภท
การวิจัยแบบผสมผสานแบบแผนสามเส้า
การวิจัยแบบผสมผสานแบบขั้นตอนเชิงอธิบาย
ข้อดี
สามารถตอบคำถามการวิจัยได้ละเอียด
ธรรมชาติของข้อมูลพึ่งพาวิธีการซึ่งกันและกัน
อาศัยการวิจัยแบบผสมผสานเป็นการริเริ่มในการค้นหา
ประเด็นที่ผิดธรรมดา ประเด็นขัดแย้ง ทัศนะคติใหม่ๆ
ข้อควรคำนึง
นักวิจัยต้องมีความรู้และประสบการณ์
ต้องใช้เวลาและทรัพยากร
อาจมีการใช้การวิจัยแบบผสมผสานตามสมัยนิยม
กระบวนการวิจัยแบบผสมสผสาน
พิจารณาความเหมาะสมของการใช้การวิจัยแบบผสมผสาน
พิจารณาจุดมุ่งหมายของการออกแบบการวิจัยแบบผสมผสาน
เลือกออกแบบการวิจัย
เก็บรวบรวมข้อมูลตามกระบวนการวิจัย
วิเคราะห์ข้อมูล
ยืนยันความเชื่อถือของข้อมูลที่ได้รับ
ตีความข้อมูลที่ได้รับ
เขียนรายงานการวิจัย
2.การวิจัยแบบผสมผสานแบบแผนสามเส้า
ในการส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร
การวิจัยแบบแผนสามเส้ารูปแบบลู่เข้า
เป็นการใช้วิธีการทั้งเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพในการหาคำตอบ
ในเรื่องเดียวกัน ในเวลาพร้อมๆ กัน แต่แยกการดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูล
วิเคราะห์ข้อมูล หลังจากนั้นจึงนำผลการวิจัยที่ได้มาเปรียบเทียบความเหมือน
หรือแตกต่างกัน
การวิจัยแบบแผนสามเส้ารูปแบบแปลงข้อมูล
เป็นการดำเนินงานวิจัยที่คล้ายกับแบบแผนสามเส้า : รูปแบบลู่เข้า ในแง่ที่ใช้วิธีการ
ทั้งเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพแยกจากกันในการดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูล
วิเคราะห์ข้อมูล แต่มีความแตกต่างเมื่อวิเคราะห์ข้อมูลขั้นต้นเสร็จแล้วจะแปลงข้อมูล
ที่ได้จากวิธีการวิจัยแบบหนึ่งไปสู่ข้อมูลการวิจัยอีกแบบหนึ่ง หลังจากนั้นจึงวิเคราะห์
ข้อมูลทั้ง 2 ชุดใหม่อีกครั้ง เพื่อทำการเปรียบเทียบและหาความสัมพันธ์ระหว่างข้อมูล
2 ชุดนั้น แล้วตีความผลการวิจัยที่ได้ภายหลังการ่วิเคราะห์ข้อมูล 2 ชุดนี้
การวิจัยแบบแผนสามเส้ารูปแบบ
การตรวจสอบความตรงของข้อมูล
เป็นการดำเนินงานวิจัยที่ใช้ทั้งเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ โดยในการดำเนินการ
เก็บรวบรวมข้อมูลเชิงปริมาณจะใช้แบบสำรวจ หรือแบบสอบถามหรือแบบสัมภาษณ์
ในส่วนที่เป็นคำถามปลายปิด แล้วข้อมุูลเชิงคุณภาพจะใช้ส่วนที่เป็นคำถามปลายเปิด
แล้วนำข้อมูลที่ได้จากแต่ละส่วนไปวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณและคุณภาพ
การวิจัยแบบแผนสามเส้ารูปแบบพหุระดับ
เป็นการดำเนินงานวิจัยที่ใช้วิธีการแตกต่างกัน ทำการเก็บข้อมูลใน
ประเด็นเดียวกันไปพร้อมๆ กันแต่ผู้ให้ข้อมูลจะเกี่ยวข้องกับหน่วยงานหรือ
องค์กรลดหลั่นกันไปตามระยะต่างๆ ของการปฏิบัติงาน ทั้งนี้เพื่อพิจารณาว่า
หากใช้วิธีการเก็บข้อมูลที่แตกต่างกันจากผู้ให้ข้อมูลที่ต่างกันนั้น ข้อมูลที่ได้ทั้งหมด
เมื่อนำมาวิเคราะห์ ตีความสรุปแล้วจะทำให้ได้ข้อค้นพบหรือความจริงของประเด็นที่ศึกษา
มีความลึกซึ่งรอบด้านมากขึ้น
3.การวิจัยแบบผสมผสานแบบขั้นตอนเชิงอธิบาย
แบบขั้นตอนเชิงสำรวจ และแบบรองรับภายใน
ในการส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร
การวิจัยแบบผสมผสานแบบขั้นตอนเชิงอธิบาย
เป็นแบบแผนกา่รวิจัยแบบ 2 ระยะต่อเนื่องกัน
ที่เริ่มต้นการศึกษาด้วยวิธีการวิจัยเชิงปริมาณก่อนเสมอ
แล้วตามด้วยวิธีการเชิงคุณภาพ
รูปแบบการเลือกผู้เข้าร่วมการวิจัย
รูปแบบอธิบายติดตาม
การวิจัยแบบผสมสานแบบขั้นตอนเชิงสำรวจ
เป็นแบบแผนการวิจัยแบบ 2 ระยะต่อเนื่องกัน โดยเริ่มต้นการศึกษา
ระยะแรกด้วยวิธีการเชิงคุณภาพก่อนเสมอแล้วตามด้วยวิธีการ
เชิงปริมาณ การวิจัยแบบแผนขั้นตอนเชิงสำรวจนิยมใช้ค้นหา
ตัวแปรหรือสร้างกรอบทฤษฎีสำหรับการวิจัย ตลอดจนพัฒนา
เครื่องมือสำหรับวัดตัวแปร
รูปแบบการพัฒนาสารบบ
รูปแบบการพัฒนาเครื่องมือ
การวิจัยแบบผสมผสานแบบรองรับภายใน
เป็นแบบแผนการวิจัยทั้งแบบที่เป็นการศึกษา
ระยะเดียวและ 2 ระยะต่อเนื่องกัน
รูปแบบการทดลองระยะเดียว
รูปแบบการทดลอง 2 ระยะ วิธีการเชิงคุณภาพเป็นหลัก
รูปแบบการทดลอง 2 ระยะ วิธีการเชิงปริมาณเป็นหลัก
รูปแบบสหสัมพันธ์