Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การยื่นแบบแสดงรายการ และการชำระภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา - Coggle Diagram
การยื่นแบบแสดงรายการ และการชำระภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
เกณฑ์ของเงินได้พึงประเมินที่ต้องยื่นแบบแสดงรายการ
มีสามีหรือภรรยาและมีเงินได้พึงประเมินในปีภาษีล่วงมาแล้ว เกิน 120,000 บาท
มีสามีหรือภริยาและมีเงินได้พึงประเมินในปีภาษีที่ล่วงมาแล้วเฉพาะประเภทที่ 1 ประเภทเดียวเกิน 220,000 บาท
ไม่มีสามีหรือภรรยา และมีเงินได้พึงประเมินในปีภาษีที่ล่วงมาแล้วเฉพาะประเภทที่ 1 ประเภทเดียวเกิน 120,000บาท
กองมรดกที่ยังมิได้แบ่งมีเงินได้พึงประเมินในปีภาษีที่ล่วงมาแล้วเกิน 60,000 บาท
ไม่มีสามีหรือภรรยา และมีเงินได้พึงประเมินในปีภาษีที่ล่วงมาแล้วเกิน 60,000 บาท
ห้างหุ้นส่วนสามัญหรือคณะบุคคลที่มิใช้นิติบุคคล มีเงินได้พึงประเมินในปีภาษีที่ล่วงมาแล้วเกิน 60,000 บาท
ผู้มีหน้าที่รับผิดชอบในการยื่นแบบแสดงรายการ
ผู้มีเงินได้ที่เป็นบุคคลที่ศาลสั่งให้คนไร้ความสามารถ ให้เป็นหน้าที่ของผู้อนุบาลยื่นในนามผู้มีเงินได้
ผู้มีเงินได้ที่เป็นบุคคลที่ศาลสั่นให้เป็นคนเสมือนไร้ความสามารถ ให้เป็นหน้าที่ของผู้พิทักษ์ในนามผู้มีเงินได้
ผู้มีเงินได้ที่เป็นผู้เยาว์ ให้เป็นหน้าที่ของผู้แทนโดยชอบธรรมยื่นในนามผู้มีเงินได้
ผู้มีเงินได้อยู่ในต่างประเทศ ให้เป็นหน้าที่ของผู้จัดการกิจการอันก่อให้เกินเงินได้พึงประเมินนั้นยื่นในนามผู้มีเงินได้
กรณีปกติ ผูัมีเงินได้ที่เป็นบุคคลธรรมดาจะต้องเป็นผู้มีหน้าที่ยื่นเอง หรือจะมอบอำนาจเป็นหนังสือให้ผู้อื่นยื่นแทนก็ได้
ผู้มีเงินได้ที่ถึงแก่ความตายก่อนที่จะได้ทำการยื่นแบบแสดงรายการ ให้เป็นหน้าที่ของผู้จัดการมรดก หรือทายาท หรือผู้ครอบครองทรัพย์มรดกแล้วแต่กรณีเป็นผู่ชเช้มีหน้าที่ยื่นแบบแสดงรายการ โดยรวมเงินได้พึึงประเมินของผู้ตายและของกองมรดกที่ได้รับตลอดปีภาษีที่นั้นถึงแก่ความตาย เป็นยอดเงินได้พึงประเมินทั้งสิ้นในนามผู้ตาย
ผู้มีเงินได้ที่เป็นกองมรดก ให้เป็นหน้าที่ของผู้จัดการมรดกหือทายาท หรือครอบครองทรัพย์มรดก เป็นผู็ยื่นในนามกองมรดก
ผู้มีเงินได้ที่เป็นห้างหุ้นส่วนสามัญหรือคณะบุคคลที่มิใช้นิติบุคคล ให้เป็นกน้าที่ของผู้อำนวยการหรือผู้จักการของห้างหุ้นส่วนหรือของคณะบุคคลนั้น ยื่นรายการในนามห้างหุ้นส่วนหรือคณะบุคคล.
กรณีสามีหรือภริยาอยู่ร่วมกันตลอดปีภาษีและต่างมีเงินได้ ให้ถือเงินได้ภริยาเป็นเงินได้สามีและให้สามีมีหน้าที่และรับผิดชอบในการยื่นรายการและเสียภาษี อย่างไรก็ดีกฏหมายให้สิทธิ ภริยาที่จะเลือกนำเงินได้ประเภท 1 ไปแยกยื่นรายการคำนวณภาษีต่างหากจากสามีก็ได้ ส่วนเงินได้ประเภทอื่นแยกยื่นรายการคำนวณไม่ได้
กำหนดเวลาการยื่นแบบแสดงรายการ
การยื่นแบบแสดงรายการเงินได้เฉพาะเงินได้พึงประเภทที่ 5 6 7 และ 8 (ไม่ว่าจะมีเงินได้ประเภทอื่นรวมอยู่ด้วยหรือไม่) ที่ได้รับตั้งแต่เดือนมกราคมถึงเดือนมิถุนายน ภายในเดือนกันยายนของปีภาษีนั้น หรือเรียกว่า "ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาครึ่งปี"
ยื่นแบบแสดงรายการเงินได้พึงประเมินที่ได้รับแล้วในระหว่างปีภาษีนี้ ภานในเดือรมีนาคมของปีถัดไป หรือเรียกว่า "ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาสิ้นไป"
สถ่นที่ยื่นแบบแสดงรายการ
สำหรับต่างจังหวัด ให้ยื่น ณ สำนักงานสรรพากรพื้นที่สาขา
อนึ่งผู้สนใจในการยื่นแบบแสดงรายการและชำระภาษีผ่ายเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ให้ดูข้อมูลในเว็บไซด์
http://www.rd.go.th
สำหรับท้องที่กรุงเทพมหานคร ให้ยื่น ณ สำนักงานสรรพากรพื้นที่สาขา
การชำระภาษี
การชำระภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา อาจเลือกวิธีการชำระได้ดังนี้
ชำระเป็นธนาณัติ
ชำระเป็นเช็ค
ชำระเป็นเงินสด
การขอคืนภาษี
การขอคืนภาษีให้ขอคืนได้ภายใน 3 ปี นับแต่วันสุดท้ายกำหนดเวลายื่นรายการภาษี หรือนับแต่วันที่ยื่นรายการ หรือนับแต่วันได้รับแจ้งคำวินิจฉัยอุทธรณ์หรือวันืี่มีคำพิพากษาถึงที่สุด แล้วแต่กรณี
การยื่นคำร้องตาม 1. ให้ยื่นต่ออธิบดีกรมสรรพากร ณ สำนักงานสรรพกรพื้นที่ การใช้แบบแสดงรายการเป็นคำร้องขอคืนเงินภาษี ถ้ายื่น ณ อำเภอภูมิลำเนาจะได้รับเงินคืนเร็วกว่ายื่นที่อื่น
กรณีที่ได้แบบแสดงรายการ ภ.ง.ด.90 , 91 อาจขอคืนโดยกรอกข้อความและลงนามในช่องขอคืนเงินภาษีอีกส่วนหนึ่ง
ให้แนบหลักฐานที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม
สำเนาสูติบัตรของบุตร หนังสือรับรองบุตร หรือหนังสือทะเบียนการรับบุตรบุญธรรมที่ขอหักลดหย่อน หรือสำเนาทะเบียนบ้านที่มีบุตร
สำเนาหนังสือแสดงการเปลี่ยนชื่อตัวชื่อสกุล (ถ้ามีการเปลี่ยนแปลง)
สำเนาสำคัญการสมรส หรือสำเนาใบสำคัญการหย่า หรือสำเนาใบมรณะบัตรของคู่สมรส
หลักฐานอื่นที่เกี่ยวข้องแล้วแต่กรณี
ยื่นคำร้องขอคืนภาษีโดยใช้แบบ ค. 10
ผู้มีอำนาจสั่นคืนเงินภาษี จะพิจารณาคืนให้ภายใน 60 วันนับแต่วันได้คำร้อง โดยแจ้งหนังสือแบบ ค.20 ไปยังผู้ขอคืน ผู้ขอคืนจะไปรับเงินคืนได้ตามระบุในหนังสือแบบ ค.20 ในการไปรับเงินคือจาอำเภอหรือกิ่งอำเภอ ผู้ขอคือจะต้องนำหนังสือแบบ ค.20 และบัตรประชาชนไปแสดงต่อเจ้าหน้าที่ผู้จ่ายเงินคืนด้วย
เบี้ยปรับ เงินเพิ่ม และโทษ
โทษอาญา
กรณีไม่ยื่นแบบแสดงรายการ ภ.ง.ด. 90, 91 หรือ 94 ภายในกำหนดเวลา ต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 2,000 บาท
กรณีจงใจ แจ้งข้อความเท็จ หรือแสดงหลักฐานเท็จหรืแฉ้อโกงฯ เพื่อหลีกเลี่ยงหรือพยายามหลีกเลี่ยงการเสียภาษีอากร ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ 3 เดือนถึง 7 ปี และปรับตั้งแต่ 2,000 บาท ถึง 200,000 บาท
กรณีไม่ทำบัญชีแสดงรายได้หรือรายรับประจำวัน ต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 2,000 บาท
กรณีเจตนาละเลยไม่ยื่นแบบแสดงรายการเพื่อหลีกเลี่ยงการเสียภาษีอากร ต้ิงระวางโทษปรับไม่เกิน5,000 บาท หรือจำคุกไม่เกิน 6 เดือน หรือทั้งจำทั้งปรับ
กรณีไม่ยืนขอมีเลขประจำตัวผู้เสียภาษี ต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 2,000 บาท
เบี้ยปรับ เงินเพิ่ม
กรณีไม่ชำระภาษีภายในกำหนดเวลา จะต้องเสียเงินเพิ่มอีกร้อยละ 1.5 ต่อเดือน หรือเศษของเดือนของเงินภาษีที่ต้องชำระนั้น นับแต่วันพ้นกำหนดเวลาการยื่นรายการจนถึงวันชำระภาษีเว้นแต่กรณีที่ได้รับอนุมัติจากอธิบดีกรมสรรพากร ให้ขยายกำหนดเวลาชำระภาษีได้เงินเพิ่มคงเสียร้อยละ 0.75
กรณีเจ้าหน้าที่พนักงานตรวจสอบออกหมายเรียกและปรากกฏว่ามิได้ยื่นแบบแสดงรายการไว้หรือยื่นแบบแสดงรายการไว้ชำระภาษีขาดหรือตำ่ไป นอกจากจะต้องรับผิดชำระเงินเพิ่มตาม (1) แล้วยังต้องรับผิดเสียเบี้ยปรับอีก 1 เท่า หรือ 2 เท่าของเงินถาษีที่ต้องชำระแล้วแต่กรณีเงินเบี้ยปรับดังกล่าวอาจลดหรืองดได้ตามรัเบียบที่อธิบดีกำหนดโดยอนุมัติรัฐมนตรี