Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ, จิราวรรณ ศิริวัฒน์ 647190124 - Coggle Diagram
การจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ
ความหมายของการจัดการเรียนรู้
แบบบูรณาการ
การจัดการเรียนรูแบบบูรณาการ หมายถึง การจัดการเรียนรูที่มีการผสมผสานเนื้อหาสาระวิชาต่าง ๆ โดยการเชื่อมโยงให้เป็นความรู้ในลักษณะองค์รวมที่มีความสัมพันธ์และสอดคลองกันกับวัตถุประสงคและกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อให้ผู้เรียนเกิดความเข้าใจอย่างเป็นระบบจากการได้ใช้ความคิดที่หลากหลาย และสามารถนำความรู้ไปใช้ในการแก้ปัญหาในชีวิตประจำวันได้
จุดมุ่งหมายของการจัดการเรียนรู้
บูรณาการ
เพื่อให้นักเรียนเกิดความตระหนักว่า การเรียนรูทุกสิ่งมีความสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน ในชีวิตคนเราทุกสิ่งทุกอยางจะเกี่ยวของกันอยูเสมอ
เพื่อให้นักเรียนเป็นผู้ที่สามารถแก้ปัญหาได้ด้วยตนเอง ซึ่งในการแก้ปัญหานักเรียนจะต้องอาศัยความรู้จากหลายสาขาวิชาในเวลาเดียวกัน
เพื่อให้นักเรียนได้มีสวนรวมในการเรียนโดยตรงอย่างมีจุดหมายและมีความหมายต่อนักเรียน
เพื่อตอบสนองความสนใจของนักเรียนแต่ละคนโดยการเรียนรู้ตามเอกัตภาพ ออกแบบกิจกรรมใหนักเรียนได้เรียนรู้ตามที่ต้องการจะรู้บรรยากาศในชั้นเรียนจะไม่เครียด
มีการถ่ายโอนและคนหาความสัมพันธ์ระหวางเนื้อหาสาระ ความคิด ทักษะ และเจตคติ
ส่งเสริมการเรียนรู้ที่จะทำงานร่วมกัน ให้นักเรียนรู้สึกปลอดภัย มีความพึงพอใจ มีความรู้สึกเป็นสวนหนึ่งของหมู่คณะและยอมรับผู้อื่น
ช่วยพัฒนาค่านิยม คุณธรรม จริยธรรม มาตรฐานการทำงาน วินัยในตนเอง ส่งเสริมความสามารถในการทำงาน
ความสำคัญของการจัดการเรียนรู้
บูรณาการ
ผู้เรียนได้เชื่อมโยงสิ่งที่เรียนรู้เข้ากับวิถีชีวิตจริงได้เพราะสิ่งที่เกิดขึ้นในชีวิตจริงไม่ได้จำกัดว่าจะเกี่ยวข้องกับศาสตร์ใดศาสตร์หนึ่งจำเป็นจะต้องใช้ความรู้และทักษะหลากหลาย
ผู้เรียนเกิดความสัมพันธ์เชื่อมโยงระหว่างความคิดรวบยอดในศาสตร์ต่าง ๆ ทำให้เกิดการเรียนรู้ที่มีความหมาย
ช่วยให้ผู้เรียนเข้าใจถึงความสัมพันธ์ระหว่างวิชาต่าง ๆ กับชีวิตจริง
ช่วยขจัดความซ้ำซ้อนของการสอนตามเนื้อหาวิชา ต่าง ๆ ในหลักสูตร
เพื่อให้ผู้เรียนสามารถสร้างความรู้ด้วยตนเองที่เกิดจากกระบวนการเรียนการสอนที่ใช้เป็นหลักสูตรบูรณาการ
เป็นการเรียนรู้ที่มีบรรยากาศเป็นธรรมชาติสอดคล้องกับชีวิตจริง
ความหมายของบูรณาการ
กระบวนการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ที่เชื่อมโยงศาสตร์สาขาวิชาต่าง ๆ หรือเนื้อหาที่มีความสัมพันธ์กันเข้ามาไว้ด้วยกัน และจัดกิจกรรมการเรียนรู้ให้ผู้เรียนเกิดความรู้ความเข้าใจในลักษณะที่เป็นองค์รวมสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตจริงได้
การประเมินผล
ประเมินการปฏิบัติ เกิดจากการที่ผู้เรียนนำความรู้มาบูรณาการให้เกิดการปฏิบัติและได้ผลงานระหว่างปฏิบัติ ผู้เรียนจะแสดงพฤติกรรมต่าง ๆ
2.ประเมินจากการปฏิบัติในข้อแรก ผูเรียนสามารถนำไปเชื่อมโยงกับประสบการณเดิมหรือประยุกตใช้ในสถานการณ์ใหม่
ประเมินจากการเรียนรู้ที่ผู้เรียนเปนศูนย์กลาง การเรียนรูแบบรวมมือ คิดอย่างเป็นอิสระ ปฏิบัติตามความถนัดและความสนใจ ปฏิบัติเต็มตามศักยภาพ
ประเมินจากการบูรณาการ กระทำได 3 ลักษณะคือ
การบูรณาการต่างวิชากัน
แต่ละวิชาประเมินวิชาของตนเอง
การบูรณาการแบบผสมผสาน ประเมินภาพรวมแล้วเฉลี่ยตามอัตราสวนเนื้อหา
การบูรณาการภายในวิชาเดียวกัน โดยประเมินในภาพรวม
รูปแบบการเรียนรู้แบบ
บูรณาการ
การบูรณาการภายในกลุ่มสาระการเรียนรู้
การบูรณาการภายในกลุ่มสาระการเรียนรู้เป็นการนำเนื้อหาสาระการเรียนรู้ในวิชาเดียวกันหรือกลุ่มสาระการเรียนรู้เดียวกัน มาเชื่อมโยงหรือสัมพันธ์กันภายใต้หัวเรื่อง(Theme) เดียวกันในการจัดการเรียนรู้
การบูรณาการระหว่างกลุ่มสาระการเรียนรู้
การบูรณาการแบบสอดแทรก (Infusion) การเรียนรู้แบบนี้ผู้สอนจะนำเนื้อหาของวิชาต่าง ๆ มาสอดแทรกในรายวิชาของตนเอง
การบูรณาการแบบคู่ขนาน (Parallel) การเรียนรู้แบบนี้ผู้สอนตั้งแต่ 2 คนขึ้นไปต่างคนต่างสอนวิชาของตนเอง แต่จะมาวางแผน ตัดสินใจร่วมกันว่าจะจัดแผนการเรียนรู้และจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยมุ่งสอนในหัวเรื่อง ความคิดรวบยอด และปัญหาเดียวกันในส่วนหนึ่ง
การบูรณาการแบบสหวิทยาการ (Multidiscipline) การเรียนรู้แบบนี้คล้ายกับแบบคู่ขนาน ผู้สอนตั้งแต่ 2 คนขึ้นไปต่างคนต่างสอนวิชาของตน จัดกิจกรรมการเรียนรู้ของตนเองเป็นส่วนใหญ่ ผู้สอนมาวางแผนการสอนร่วมกัน สอนหัวเรื่อง ความคิดรวบยอดและปัญหาเดียวกัน
การบูรณาการแบบข้ามวิชา (Trans disciplinary) หรือแบบการสอนเป็นทีม การเรียนรู้แบบนี้ผู้สอนในรายวิชาต่าง ๆ จะมาร่วมกันสอนเป็นคณะร่วมกันวางแผนกำหนดหัวเรื่อง ความคิดรวบยอดและปัญหาเดียวกัน จัดทำแผนการสอนร่วมกัน รวมชั่วโมงที่เคยแยกสอนมาไว้ด้วยกัน
ขั้นตอนการจัดการเรียนรู้แบบ
บูรณาการ
กำหนดเรื่องที่จะสอน โดยการศึกษาหลักสูตรและวิเคราะห์หาความสัมพันธ์ของเนื้อหาที่มีความเกี่ยวของกัน
กำหนดจุดประสงค์การเรียนรู้โดยการศึกษาจุดประสงค์วิชาหลัก และวิชารองที่จะนำมาบูรณาการ
กำหนดเนื้อหาย่อย เป็นการกำหนดเนื้อหาย่อย ๆ สำหรับการเรียนรู้ให้สนองกับจุดประสงค์การเรียนรูที่กำหนดไว้
วางแผนการสอนเป็นการกำหนดรายละเอียดของการสอนตั้งแต่ต้นจนจบ โดยการเขียนแผนการสอน
ปฏิบัติการสอน เป็นการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่กำหนดไว้ในแผนการสอน รวมทั้งมีการสังเกตพฤติกรรมการเรียนรู้ของผู้เรียน
การประเมิน ปรับปรุงและพัฒนา เปนการนำผลที่ได้จากการบันทึกรวบรวมไว้ในขณะปฏิบัติการสอนมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงพัฒนาแผนการสอนแบบบูรณาการ
ประโยชน์
ใช้วิธีการและศาสตร์ที่หลากหลายมาช่วยแก้ปัญหาชีวิต สิ่งที่เกิดขึ้นในชีวิตจริงไม่ได้จำกัดวาเกี่ยวของกับสาขาวิชาใดวิชาหนึ่งโดยเฉพาะ
เกิดความคิดรวบยอดซึ่งช่วยเสริมความเข้าใจในบทเรียนได้ดีขึ้น ช่วยให้เกิดความสัมพันธ์ระหวางความคิดรวบยอดในศาสตร์ต่าง ๆ
ช่วยให้เกิดการถ่ายโอนการเรียนรู้การสอนที่สัมพันธ์เชื่อมโยงความคิดรวบยอดจากหลาย ๆ สาขาวิชาเข้าด้วยกัน
ช่วยแก้ปัญหาความซ้ำซอนของเนื้อหาและลดภาระงาน
ช่วยใหนักเรียนเปน “นักจัดการ-ประสานประโยชน์” การที่ครูสอนใหนักเรียนมีความคิดแบบอง์ครวม
จิราวรรณ ศิริวัฒน์ 647190124