Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การบริหารและใช้ทรัพยากรทางการศึกษา, หลักการ ระบบ และกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับ…
การบริหารและใช้ทรัพยากรทางการศึกษา
ความหมายทรัพยากรทางการศึกษา
ทรัพยากร หมายถึง สิ่งที่เป็นตัวกลางซึ่งอาจจะอยู่ในรูปของคน วัสดุ เงิน หรืออี่นๆที่จะเป็นเครื่องช่วยในการดำเนินงานขององค์การสำเร็จได้
ทรัพยากรในการบริหาร ที่สำคัญคือ 4 Ms ได้แก่ คน (Man) เงิน (Money) วัสดุสิ่งของ ( Material) และการจัดการ ( Management)
ทรัพยากรทางการศึกษา ก็คือ คนเงิน วัสดุสิ่งของ และ การจัดการ ที่นำมาใช้ในการจัดการศึกษา
การบริหารทรัพยากรทางการศึกษา (Educational Resource Management) คือ การจัดการใช้ทรัพยากรทางการศึกษา ซึ่งได้แก่ บุคลากรทางการศึกษา งบประมาณเพื่อการศึกษา ทรัพยากรในท้องถิ่น สื่อทางการศึกษา อาคาร สถานที่ และเวลา อย่างมีประสิทธิภาพและเกิด ประสิทธิผลสูงสุดในการจัดการศึกษา
ความสำคัญของทรัพยากรการศึกษา
1.ทำให้สถานศึกษาดำเนินการเรียนการสอนหรือพัฒนาคนให้มีคุณภาพ และได้ผลตาม ความมุ่งหมายของการจัดการศึกษา
2.เป็นการช่วยส่งเสริมงานวิชาการให้มีคุณภาพ
3.ส่งเสริมการดำเนินงานด้านอื่นๆใน สถานศึกษา
4.เป็นตัวกลางที่กระตุ้นทำให้กิจกรรมของสถานศึกษาดำเนินไปได้
5.มีบทบาทต่อการดำเนินภารกิจของ สถานศึกษาทั้งด้านปริมาณและคุณภาพ
การบริหารทรัพยากรทางการศึกษา
การบริหารบุคลากรทางการศึกษา จะเกิดประสิทธิภาพสูงสุดได้จะต้องเริ่มจากการวางแผนและกำหนดอัตรากำลังก่อน จากนั้นจึงสรรหาและเลือกสรรบุคลากรทางการศึกษา ที่มีความรู้ความสามารถมาทำงาน เมื่อได้มาแล้วก็นิเทศงานหรือสอนการทำงานให้ เมื่อได้เวลาพอสมควรจะต้องมีพัฒนาด้วยการฝึกอบรมและอื่นๆ ท้ายที่สุดจะต้อง มีการประเมินผล เมื่อพบปัญหาหรือข้อบกพร่องจะได้แก้ไขต่อไป เมื่อดำเนินการได้เช่นนี้ การบริหารบุคลากรทางการศึกษา ก็จะเกิดประสิทธิภาพสูงสุด
การบริหารทรัพยากรทางการศึกษา จะทำให้สถานศึกษาดำเนินการเรียนการสอนหรือพัฒนาคนให้มีคุณภาพและได้ผลตามความมุ่งหมายของการจัดการศึกษา เป็นการช่วยส่งเสริมงานวิชาการช่วยส่งเสริมการดำเนินงานด้านอื่นๆ ในสถานศึกษาเป็นตัวกลางหรือตัวกระตุ้นที่ทำให้กิจกรรมของสถานศึกษาดำเนินไปได้ และมีบทบาทต่อกิจกรรมหรือการดำเนินภารกิจของสถานศึกษาทั้งด้านของปริมาณและคุณภาพ
การบริหารทรัพยากรทางการศึกษา จะมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงสุดได้จะต้องครอบคลุมการบริหารทรัพยากร
ทางการศึกษาทุกด้านเพื่อให้มีบุคลากรที่มีความรู้ ความสามารถ
มีงบประมาณมาใช้จ่ายเพียงพอ มีอาคารสถานที่เพียงพอ
มีสื่อทางการศึกษาหลากหลาย รู้จักนำทรัพยากรในท้องถิ่นมาใช้ให้เป็นประโยชน์ในการศึกษา และรู้จักใช้เวลาให้คุ้มค่าเกิดประโยชน์
หลักการ ระบบ และกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการบริหารทรัพยากรบุคคล
การบริหารทรัพยากรบุคคลเป็นการจัดการบุคลากรในองค์การ โดยให้ความสำคัญในศักดิ์ศรีแห่งความเป็นคนและต้องทำให้บุคลากรเหล่านั้นได้รับประโยชน์นอกจากนั้นจะต้องดูแลเอาใจใส่เรื่องความต้องการของบุคคล เพื่อจะทำให้มีขวัญกำลังใจในการทำงาน ซึ่งก่อให้เกิดผลสำเร็จและความเจริญก้าวหน้าอย่างเหมาะสม
ความสำคัญของการจัดการทรัพยากรบุคคล
1.ช่วยให้บุคคลที่ปฏิบัติงานในองค์การมีขวัญและกำลังใจในการปฏิบัติงานเกิดความจงรักภักดีต่อองค์การที่ตนปฏิบัติงาน
2.ช่วยพัฒนาให้องค์การเจริญเติบโตเพราะการจัดการทรัพยากรบุคคลเป็นสื่อกลางในการประสานงานกับแผนกต่างๆ เพื่อแสวงหาวิธีการให้ได้บุคคลที่มีคุณสมบัติเหมาะสมเข้ามาทำงานในองค์การให้เกิดประโยชน์สูงสุดทำให้องค์การเจริญเติบโตและพัฒนายิ่งขี้น
3.ช่วยเสริมสร้างความมั่นคงแก่สังคม
การบริหารงานทรัพยากรบุคคล แบ่งเป็น 3 ยุค
ยุคคลาสสิก (CLASSIC THEORY)
ยุคนิโอคลาสสิก (NEO CLASSIC THEORY)
ยุคสมัยใหม่ ( MODEM THEORY)
ทรัพยากรบุคคล แบ่งออกเป็น 4 กลุ่ม
กลุ่มที่ 1 “คนดี คนเก่ง” เป็นคนที่มีจิตคุณธรรมที่ดี มีมนุษย์สัมพันธ์
กลุ่มที่ 2 “คนดี คนไม่เก่ง”
กลุ่มที่ 3 “คนไม่ดี แต่เป็นคนเก่ง”
กลุ่มที่ 4 “คนไม่ดี คนไม่เก่ง”
ระบบการบริหารทรัพยากรบุคคล
การบริหารทรัพยากรบุคคล
แบ่งออกเป็น 2 ระบบ คือ
1.ระบบคุณธรรม
2.ระบบอุปถัมภ์
ประโยชน์การบริหารทรัพยากรบุคคล
ทำให้ระบบและวิธีการปฏิบัติงานมีสมรรถภาพ
และการติดต่อประสานงานดียิ่งขึ้น
ทำให้เกิดการประหยัด
และลดความสิ้นเปลืองในการปฏิบัติงาน
ทำให้ช่วยลดระยะเวลา
ของการเรียนรู้งานให้น้อยลง
4.ทำให้ช่วยแบ่งเบาภาระหน้าที่ของผู้บังคับบัญชา
ในการตอบคำถาม แนะนำ/สอนงานแก่ผู้บังคับบัญชา
5.ทำให้ช่วยกระตุ้นบุคลากรให้ปฏิบัติงาน
เพื่อความเจริญก้าวหน้าในหน้าที่การงาน
6.ทำให้บุคลากรได้รับความรู้แนวคิดใหม่ๆ ทำให้ทันต่อเทคโนโลยี
กฎหมายที่เกี่ยวข้อง
กับการบริหารทรัพยากรบุคคล
พรบ.การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 4) พ.ศ.2562
“ผู้สอน” หมายความว่า ครูและบุคลากรทางการศึกษาระดับต่างๆ
“ครู” หมายความว่า บุคลากรวิชาชีพซึ่งทำหน้าที่หลักทางด้าน
การเรียนการสอนและการส่งเสริมการเรียนรู้ของผู้เรียนด้วย
วิธีการต่าง ๆ ในสถานศึกษาทั้งของรัฐและเอกชน
“คณาจารย์” หมายความว่า บุคลากรซึ่งทำหน้าที่หลัก
ทางด้านการสอนและการวิจัยในสถานศึกษา
ระดับอุดมศึกษาระดับปริญญาของรัฐและเอกชน