Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
Antenatal care : ANC (การฝากครรภ์), นางสาวปรียานุช วิเชียรชูตระกูล …
Antenatal care : ANC (การฝากครรภ์)
อาการไม่พึงประสงค์ขณะตั้งครรภ์
แพ้ท้อง คลื่นไส้อาเจียน มักพบในช่วง 1-3 เดือนแรกองการตั้งครรภ์ เกิดจากการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมน อาการหลักๆ คือ คลื่นไส้ อาเจียนง่าย เวียนศีรษะ มีอาการกระวนกระวาย หงุดหงิดง่าย โดยทั่วไปอาการแพ้ท้องถือเป็นเรื่องธรรมดา หากเป็นมากจนรับประทานอาหารและดื่มน้ำไม่ได้เลย น้ำหนักลดลงมากกว่าร้อยละ 5 ของน้ำหนักเดิม อาเจียนเป็นเลือด อ่อนเพลียมาก นอนไม่หลับ ไม่มีแรง ไม่สามารถทำงานที่เคยทำได้ ควรไปพบแพทย์ เพราะอาจเกิดอันตรายต่อสุขภาพของคุณแม่และทารกในครรภ์ได้
อาการปวด ในช่วงเดือนที่ 4-6 ของการตั้งครรภ์ คุณแม่ส่วนใหญ่จะยังคล่องตัวมีบ้างในบางคนที่รู้สึกไม่สบายส่วนใหญ่เกี่ยวข้องกับการปวด เช่น ปวดหลัง เมื่อตั้งครรภ์หลายเดือนมากขึ้น จะมีอาการปวดหลัง เนื่องจากน้ำหนักของทารกและมดลูกถ่วงที่ด้านหน้า ทำให้ความสมดุลของร่างกายเปลี่ยน ทำให้หลังต้องรับน้ำหนักแอ่นกว่าธรรมดา จึงทำให้เกิดอาการปวดร้าวและปวดเกร็ง
ตะคริวที่ขา น่องและมือ มักจะเริ่มเป็นเมื่ออายุครรภ์เลย 3 เดือนขึ้นไป เกิดจากความล้าของกล้ามเนื้อ หรือร่างกายอาจขาดแคลเซียม ควรดื่มนมวัว และรับประทานอาหารที่มีแคลเซียมสูง หรือแคลเซียมเสริมในรูปแบบเม็ด
มือ เท้า ข้อเท้าบวม เกิดจากอิทธิพลของฮอร์โมนขณะตั้งครรภ์ทำให้มีน้ำในอวัยวะต่างๆ ของร่างกายมากขึ้น มักเป็นส่วนที่ห้อยลงต่ำทำให้น้ำไหลลงมากองบริเวณนั้น เช่น ที่ปลายมือ หน้าแข้งและเท้า ยิ่งอายุครรภ์มากขึ้นเท่าไรอาการบวมจะเพิ่มขึ้นตามไปด้วย
เส้นเลือดขอด ระหว่างอายุตั้งครรภ์ 3-4 เดือนขึ้นไป ขนาดมดมูกที่โตขึ้นจะไปกดทับเส้นเลือดดำที่ผ่านจากอุ้งเชิงกรานมาสู่ช่องท้อง ทำให้เลือดไหลเวียนได้ไม่ดี เลือดที่ถูกส่งไปยังหัวใจไหลเวียนได้ยาก ทำให้เลือดคั่งค้างอยู่ในเส้นเลือดฝอยบริเวณขา เมื่อสะสมมากๆ เข้าก็จะกลายเป็นเส้นเลือดขอด
ปัสสาวะบ่อย เกิดจากมดลูกที่ขยายใหญ่ขึ้นไปเบียดกระเพาะปัสสาวะ ทำให้มีปริมาตรรับปัสสาวะได้น้อยลง กลั้นปัสสาวะไม่อยู่ เกิดอาการปัสสาวะเล็ดได้ ประกอบกับการเปลี่ยนแปลงการไหลเวียนโลหิตที่มากขึ้นบริเวณอุ้งเชิงกรานทำให้ รู้สึกปวดปัสสาวะง่ายขึ้นกว่าปกติ
การใช้สมุดชมพู
ประเมินความเสี่ยงของหญิงตั้งครรภ์
เพื่อดูว่ามีภาวะเสี่ยงในการตั้งครรภ์หรือไม่ ส่วนนี้เจ้าหน้าที่จะสอบถามประวัติของคุณแม่และเป็นผู้ประเมินด้วยตัวเอง หากพบว่าคุณแม่ความเสี่ยงในการตั้งครรภ์
ประวัติการตั้งครรภ์ปัจจุบัน
แพทย์จะคำนวณประจำเดือนครั้งสุดท้ายเพื่อเป็นตัวคะเนกำหนดการคลอด เพื่อช่วยให้คุณแม่ได้เตรียมตัวตั้งแต่เนิ่น ๆ โดยคุณแม่สามารถดูได้ว่าจะครบกำหนดคลอดเมื่อไหร่ เกินกำหนดแล้วหรือยัง
บันทึกการตรวจครรภ์
เป็นส่วนที่จะทำให้คุณแม่ทราบข้อมูลในการมาฝากครรภ์ในแต่ละครั้ง เจ้าหน้าที่จะเป็นผู้บันทึกว่า น้ำหนักตัวของคุณแม่เท่าไหร่และเพิ่มขึ้นเท่าไหร่ในแต่ละครั้ง เป็นการดูการเจริญเติบโตของทารกในครรภ์
แบบตรวจสอบความครบถ้วนของบริการตามช่วงอายุครรภ์
ครั้งแรกเมื่อรู้ว่าตั้งท้อง โดยครั้งแรกที่มาฝากครรภ์ควรมาก่อน 12 สัปดาห์
ครั้งที่ 2 เมื่ออายุครรภ์ 20 สัปดาห์
ครั้งที่ 3 เมื่ออายุครรภ์ 26 สัปดาห์
ครั้งที่ 4 เมื่ออายุครรภ์ 32
ครั้งที่ 5 เมื่ออายุครรภ์ 38 สัปดาห์
การนับลูกดิ้น จะต้องนับการดิ้นของลูกทุกวัน จะเริ่มนับตั้งแต่อายุครรภ์ 6 เดือนขึ้นไป
วิธีการนับคือวันละ 3 เวลา เช้า กลางวัน ก่อนนอน ส่วนมากมักนับเวลาหลังทานอาหารโดยสังเกตภายใน 1 ชั่วโมง ลูกควรดิ้นอย่างน้อย 3 ครั้ง หากลูกดิ้นน้อยกว่านี้ควรรีบพบแพทย์เพื่อตรวจทันที
โภชนาการสำหรับมารดา
รับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่
หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ของดอง เครื่องดื่มมีคาเฟอีน
อาหารปรุงสุก งดอาหารรสจัด
ดื่มนํ้าและพักผ่อนให้เพียงพอ
การตรวจครรภ์
ท่าที่1 Fundal grib
คลำเพื่อหาระดับยอดมดลูกและส่วนของทารกที่อยู่ยอด
ท่าที่2 Umblilical grib
คบำเพื่อหาส่วนหลังของทารก
ท่าที่3 Pawlik‘s grib
ตรวจหาส่วนนำของทารกและส่วนนำเข้าสู่อุ้งเชิงกรานหรือยัง
ท่าที่4 Bilateral inguinal grib
หาระดับของส่วนนำและการก้มหรือเงยของหัวทารก
นางสาวปรียานุช วิเชียรชูตระกูล
62111301048