Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.), นายกานต์ดนัย ปาระบับ 6440216141 …
สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.)
สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.)
• เป็นองค์กรของรัฐ ตาม พ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2545 ภายใต้การกำกับดูแลของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ในฐานะประธานคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ
• สปสช. ทำหน้าที่เป็นสำนักงานเลขานุการของคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ และคณะกรรมการควบคุมคุณภาพและมาตรฐานบริการสาธารณสุข
• สปสช. มีภารกิจหลักในการบริหารจัดการเงินกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด รวมทั้งพัฒนาระบบบริการสาธารณสุขเพื่อให้ประชาชนเข้าถึงบริการที่มีคุณภาพได้มาตรฐาน
• และด้วยการบริหารจัดการเงินกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติได้อย่างมีประสิทธิภาพ โปร่งใส สามารถตรวจสอบได้ และเกิดประโยชน์สูงสุดต่อประชาชน สปสช. จึงได้รับรางวัลทุนหมุนเวียนดีเด่น จากกระทรวงการคลังมาอย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่ปี 2551
• สปสช. ได้พัฒนาโครงสร้างการบริหารระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าระดับพื้นที่ โดยจัดตั้งสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติเขตครอบคลุมทั่วประเทศ
• เพื่อดำเนินงานร่วมกับสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดด้วยความสัมพันธ์แบบ partnership ในฐานะสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติสาขาจังหวัด
• ทั้งนี้เพื่อก้าวไปให้ถึงจุดมุ่งหมายตามวิสัยทัศน์ขององค์กร คือ มีระบบหลักประกันสุขภาพที่ประชาชนเข้าถึงด้วยความมั่นใจและผู้ให้บริการมีความสุข
งบเหมาจ่ายรายหัวสำหรับผู้ป่วยบัตรทองปี 2565
งบประมาณสำหรับเหมาจ่ายผู้ป่วยสิทธิบัตรทองทั้งหมด 158,294.42 ล้านบาท (คิดเป็น 3,329.22 บาทต่อคน)
สำหรับดูแลผู้ป่วยสิทธิบัตรทองจำนวน 47.55 ล้านคน
การเปลี่ยนแปลงของปัญหาสุขภาพในระดับโลกและภูมิภาค
• สมัยก่อน มีปัญหาสุขภาพเดิมเกิดจากความด้อยพัฒนา ได้แก่ เรื่องอนามัยแม่และเด็ก โรคติดเชื้อต่างๆ พยาธิ เช่น การขาดสารอาหาร การขาดการสุขาภิบาลและสุขอนามัยที่ดี
• ปัจจุบันมีปัญหาสุขภาพใหม่ ได้แก่ การแพร่ระบาดของโรคติดต่ออุบัติใหม่ เช่น โรคเอดส์ ไข้หวัดนก อีโบลา ไวรัสเมอร์ส และโรคโควิด
• ปัจจุบันมีการแพร่ระบาดของเชื้อจุลชีพ ดื้อยาปฏิชีวนะ
• แนวโน้มโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง เช่น โรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง โรคไตเรื้อรัง อัมพฤกษ์ อัมพาตเพิ่มมากขึ้น มีความพิการที่เพิ่มมากขึ้น และมีผลกระทบด้านสุขภาพจากภาวะโลกร้อน
ระบบสาธารณสุขไทยที่เข้มแข็งสามารถ เผื่อแผ่และเป็นแบบอย่างไปปรับใช้ในประเทศอื่น
องค์การอนามัยโลกและธนาคารโลก ยกย่องประเทศไทยอยู่ในแนวหน้าของโลกในการพัฒนาระบบสุขภาพที่เข้มแข็งและมีความเป็นธรรม และมีนวัตกรรมทางสุขภาพอย่างต่อเนื่องล้วน ประสบผลสำเร็จด้วยดี เช่น
• การสาธารณสุขมูลฐาน
• การควบคุมและแก้ปัญหาโรคเอดส์
• ระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า
• สมัชชาสุขภาพ
• กองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ
กรอบยุทธศาสตร์สุขภาพโลกของประเทศไทยพ.ศ. 2559 – 2563เน้นการดำเนินงานใน 5 ด้านหลัก ได้แก่
การส่งเสริมความมั่นคงด้านสุขภาพ
การเสริมสร้างระบบสุขภาพให้เข้มแข็ง ยุติธรรม และมีความเสมอภาค
ส่งเสริมบทบาทนำและความรับผิดชอบของไทยในประชาคมโลก
4) เสริมสร้างความสอดคล้องระหว่างนโยบายสุขภาพโลก
5) เสริมสร้างขีดความสามารถด้านสุขภาพโลก
ประวัติการจัดตั้ง สปสช.
• สปสช. จัดตั้งขึ้นภายใต้พระราชบัญญัติหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2545 ดำเนินการสร้างหลักด้านประกันสุขภาพครอบคลุมคนไทยกว่าร้อยละ 99 หรือ 47 ล้านคน
• โดยรัฐบาลจัดสรรงบเหมาจ่ายรายหัว ครอบคลุมการรักษา ส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรค และฟื้นฟูสมรรถภาพ
• พ.ศ. 2546 ก่อตั้งสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ
• พ.ศ. 2548 ผลักดันสิทธิประโยชน์การเพิ่มยาต้านไวรัสเอชไอวีเข้าระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า
• พ.ศ. 2549 ประกาศยกเลิกการจ่ายค่าธรรมเนียม 30 บาท
• พ.ศ. 2551 ผลักดันการเพิ่มสิทธิประโยชน์ให้กับผู้ป่วยโรคไต
• พ.ศ. 2551 เพิ่มสิทธิประโยชน์บำบัดรักษาและฟื้นฟูผู้ติดยาและสารเสพติดให้ได้รับสารทดแทนยาเสพติด (เมทาโดน - MMT)
• พ.ศ. 2555 กลับมา "ร่วมจ่ายค่าธรรมเนียม 30 บาท" แต่ยกเว้นการร่วมจ่ายในกลุ่มบุคคล 21 กลุ่ม
นายกานต์ดนัย ปาระบับ 6440216141