Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การเขียนโครงร่างงานวิจัย, นางสาวภานุมาศ สิทธิเม่ง 6312436001 - Coggle…
การเขียนโครงร่างงานวิจัย
บทที่ 1 บทนำ (Introduction)
ขอบเขตการวิจัย
เป็นการกำหนดสาระความครอบคลุมครบถ้วนของการวิจัยในประเด็นที่เกี่ยวกับประชากร ตัวแปรที่ศึกษา เนื้อหาสาระ และระยะเวลาในการวิจัยจะดำเนินการภายหลังได้กรอบแนวคิดการวิจัย
ตัวแปร
ให้ระบุตัวแปรอิสระ/ต้นที่เป็นสาเหตุของการเปลี่ยนแปลง และตัวแปรตาม/ผลที่เป็นผลจากการเปลี่ยนแปลงของตัวแปรอิสระ/ต้นว่าประกอบด้วยตัวแปรย่อยอะไรบ้าง อย่างไร
พื้นที่
กำหนดสถานที่ในการรวบรวมข้อมูลหรือส่งแบบสอบถามไปยังกลุ่มตัวอย่าง
ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง
ให้ระบุว่าประชากร/กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยครั้งนี้คือกลุ่มใด มีลักษณะอย่างไร มีจำนวนเท่าไรใช้วิธีการสุ่มอย่างไร
ระยะเวลา
ให้ระบุช่วงเวลาที่ดำเนินการวิจัยตั้งแต่เริ่มต้นจนกระทั่งเสร็จสิ้นด้วยการเขียนรายงานการวิจัย
นิยามศัพท์เฉพาะ
เป็นการกำหนดความหมายเพื่อให้เกิดการสื่อความหมายที่สอดคล้องกันระหว่างผู้วิจัยกับผู้สนใจที่อาจได้จากแนวคิด ทฤษฏีหรืองานวิจัยที่เกี่ยวข้องแต่มีลักษณะที่เฉพาะเจาะจงในงานวิจัยแต่ละเรื่อง โดยเฉพาะตัวแปรที่มุ่งศึกษาจะต้องกำหนดนิยามในลักษณะของนิยามศัพท์เชิงปฏิบัติการที่สามารถวัด และสังเกตได้โดยมีรายละเอียดที่ต้องศึกษา
(กระชับ กะทัดรัด สั้น คอบคลุม และชัดเจน)
วัตถุประสงค์ของการวิจัย (ถ้าเป็นวิจัยเชิงปริมาณ จะมีสมมติฐานการวิจัยต่อท้าย)
วัตุประสงค์
เป็นการเขียนประโยคบอกเล่าแสดงความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรหรือปรากฏการณ์ที่ต้องการศึกษา ที่มีความสอดคล้องกับประเด็นปัญหาการวิจัย/คำถามการวิจัยที่อาจจะเป็นจุดประสงค์ย่อย ๆ หลาย ๆ จุดประสงค์ หรือมีจุดประสงค์หลักแล้วจึงกำหนดจุดประสงค์ย่อย ๆ
สมุติฐาน
เป็นข้อความที่ระบุการคาดคะเนคำตอบของประเด็นปัญหาการวิจัยไว้ล่วงหน้า ที่ได้จากการศึกษาแนวคิด ทฤษฏี และงานวิจัยที่เกี่ยวข้องอย่างมากมายและมีความสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของการวิจัย
ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
เป็นประโยชน์ที่จะได้รับจากผลการวิจัยหลังจากสิ้นสุด/ได้คำตอบปัญหาการวิจัย และต้องสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของการวิจัย เรียงตามลำดับข้อ
ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา
เป็นการบรรยายที่มาของประเด็นัญหาการวิจัย ทำไมต้องทำวิจัยในประเด็นนี้ ประเด็นปัญหาการวิจัยที่ชัดเจน หรือวิธีการที่ใช้แก้ปัญหา (ถ้ามี) แล้วเมื่อดำเนินการวิจัยจนกระทั่งสำเร็จแล้วคาดว่าจะได้ประโยชน์อย่างไร
ส่วนประกอบของโครงร่างงานวิจัย
ส่วนเนื้อหา
บทที่ 2 เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
บทที่ 3 วิธีดำเนินการวิจัย
บทที่1 บทนำ
ส่วนประกอบท้ายเรื่อง
เอกสารอ้างอิง
เป็นรายการของเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องที่ผู้วิจัยได้ศึกษาค้นคว้าแล้วน ามาใช้อ้างอิงในรายงานการวิจัยของตนเอง มิใช่น ามาวิธีการมาใช้เท่านั้น(คู่มือการเขียนวิทยานิพนธ์/ปริญญานิพนธ์) ที่จะเป็นแหล่งข้อมูลสำหรับการตรวจสอบถูกต้องของการศึกษาค้นคว้าหรือใช้เป็นแนวทางในการสืบค้นข้อมูลที่ต้องการต่อไป
ภาคผนวก
เป็นส่วนที่ใช้เพิ่มเติมจากในส่วนที่ 2 เพื่อให้รายงานการวิจัยมีความสมบูรณ์เพิ่มมากขึ้น ดังนั้นเอกสารที่นำมาใส่ในภาคผนวกจะต้องเป็นเอกสารที่จะช่วยส่งเสริมให้รายงานการวิจัยมีคุณค่าเพิ่มมากขึ้น อาทิ เครื่องมือในการวิจัย ผลการวิเคราะห์ข้อมูลที่สำคัญ หรือรายชื่อผู้เชี่ยวชาญเป็นต้น
ส่วนนำ
ปก / ปกนอก ปกใน
สารบัญ/ สารบัญเนื้อหา สารบัญภาพ สารบัญตาราง :
บทที่ 2 เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง (Literature Review)
เป็นส่วนของการศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง โดยมีการเรียงลำดับความสำคัญตามตัวแปรที่ศึกษาแล้วนำมาสรุปเป็นกรอบแนวความคิดเชิงทฤษฏี แล้วจึงนำมากำหนดเป็นกรอบแนวคิดการวิจัย
ประเด็นอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับงานวิจัย
ความเป็นมา
ประวัติองค์กร
เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
เป็นการศึกษางานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับงานวิจัย และพูดถึงความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปร และสรุปออกมาเป็นผลของการวิจัย
แนวคิดและทฤษฎีที่ 1/แนวคิดและทฤษฎีที่ 2
แนวคิด
ทฤษฎี
ความหมาย
กรอบแนวคิดการวิจัย
เขียนเป็นรูปภาพและอธิบายความหมายของรูปให้ชัดเจน
บทที่ 3 วิธีดำเนินการวิจัย
การเก็บรวบรวมข้อมูล
เป็นการกำหนดวิธีการในการด าเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลว่าใช้วิธีการใด มีขั้นตอน/แผนการอย่างไรที่จะทำให้ได้รับข้อมูลอย่างครบถ้วนมากที่สุดเพื่อให้ผลการวิเคราะห์ข้อมูลมีความสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของการวิจัยที่กำหนดไว้
การวิเคราะห์ข้อมูล
เป็นการจัดประเภท จัดระเบียบ จัดกระทำหรือคำนวณ และการสรุปย่อข้อมูล เพื่อให้ได้คำตอบของปัญหาการวิจัยที่ต้องการ ซึ่งเป้าหมายที่สำคัญของการวิเคราะห์ข้อมูล คือ การสรุปรวมข้อมูลให้พร้อมที่จะแปลความหมาย เพื่อตอบปัญหาการวิจัย
การพัฒนาและตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือ
การพัฒนาเครื่องมืองานวิจัย
การตรวจสอบเครื่องมือวิจัย
สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล
สถิติเชิงพรรณนา เป็นการนําเสนอข้อมูลทีเก็บรวบรวมมา โดยนํามาบรรยายถึงลักษณะของข้อมูลทีเก็บมาได้
สถิติเชิงอุปนัยหรือสถิติที่ใช้ทดสอบสมมติฐาน
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเพื่อนำมาวิเคราะห์ข้อมูล อาทิแบบทดสอบ แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์ แบบสังเกต ฯลฯ ที่จะต้องระบุลักษณะ เนื้อหาสาระจำนวนข้อ การสร้างและพัฒนา วิธีการใช้ และแสดงดัชนีคุณภาพของเครื่องมือนั้น ๆ อย่างชัดเจนรวมทั้งถ้าได้นำเครื่องมือของผู้อื่นมาใช้จะต้องอ้างอิง ขออนุญาตเจ้าของเครื่องมือและตรวจสอบคุณภาพของเครื่องมือนั้น ๆ
ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง
ให้ระบุจำนวนประชากรเหมือนกับบทที่ 1แต่จะต้องเพิ่มเติมว่าจะศึกษาจากประชากรหรือกลุ่มตัวอย่าง ถ้าในการวิจัยศึกษาจากกลุ่มตัวอย่างจะต้องระบุรายละเอียดของวิธีการสุ่มตัวอย่าง ขั้นตอนการสุ่ม และขนาดกลุ่มตัวอย่าง
นางสาวภานุมาศ สิทธิเม่ง 6312436001