Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ภาวะแทรกซ้อนจากกระดูกหักและข้อเคลื่อน - Coggle Diagram
ภาวะแทรกซ้อนจากกระดูกหักและข้อเคลื่อน
ภาวะแทรกซ้อนเฉียบพลัน(Acute complication)
1. ภาวะแทรกซ้อนต่อระบบทางเดินหายใจ (Respiratory system)
1.1 ภาวะอกรวน(Flail chest) คือกระดูกซี่โครงหักอย่างน้อย3ระดับติดกันและในแต่ละซี่หักอย่างน้อยสองหรือสามจุด ซึ่งจะก่อให้เกิดภาวะการเคลื่อนไหวของทรวงอกไมสัมพันธ์กับการหายใจ (paradoxical motion)
1.2 ภาวะโพรงเยื่อหุ้มปอดมีเลือด (hemothorax),
ภาวะโพรงเยื่อหุ้มปอดมีอากาศ(pneumothorax) หรือมีทั้งเลือดและอากาศ (hemopneumothorax) ซึ่งเกิดในกรณีที่มีกระดูกซี่โครงหักแล้วทิ่มทะลุเยื่อหุ้มปอดหรือถูกเนื้อปอดทําให้มีอากาศหรือเลือดอยู่ในโพรงเยื่อหุ้มปอดหรือเกิดจากการกระแทกอย่างรุนแรงบริเวณทรวงอก
2. ภาวะแทรกซ้อนในระบบไหลเวียนเลือด (Circulatory system)
2.1 การบาดเจ็บโดยตรงของระบบหลอดเลือดจากการที่ชิ้นกระดูกหักแล้วไปถูกหลอดเลือดฉีกขาดหรือ กดทับทําให้หลอดเลือดไหลเวียนไม่สะดวก
2.2 ช็อคที่เกิดจากการบาดเจ็บต่อกระดกและข้อมักเกิดการตกเลือด (hemorrhagic or hypovolemic shock)
2.3 ภาวะช็อคที่เกิดร่วมกับกระดูกสันหลังได้รับบาดเจ็บและมีแกนประสาทส่วนกลางได้รับบาดเจ็บ
3. ภาวะแทรกซ้อนต่อระบบประสาทส่วนกลางและส่วนปลาย
3.1การบาดเจ็บต่อระบบประสาทส่วนกลางและ ไขสันหลังเป็นการบาดเจ็บบริเวณศีรษะ หรือมี
บาดแผลที่บริเวณใบหน้าและลําคอ
3.2 ระบบประสาทส่วนปลายและหลอดเลือด ภาวะนี้มักเป็นเส้นประสาทและหลอดเลือดที่อยู่ใกล้กับกระดูกที่ได้รับบาดเจ็บ
4. ภาวะแทรกซ้อนในช่องท้อง
ภาวะนี้ส่วนใหญ่ไม่ใช่ภาวะแทรกซ้อนจากกระดูก หักหากเป็นภาวะที่พบร่วมกับกระดูกหักหรือ ข้อเคลื่อนได้บ่อย
5.ภาวะแทรกซ้อนต่อระบบทางเดินปัสสาวะและสืบพันธุ์
การบาดเจ็บบริเวณนี้ส่วนใหญ่เป็นภาวะที่พบร่วม กับกระดูกสันหลังหรือกระดูกเชิงกรานหัก
6. ภาวะแทรกซ้อนต่อเนื้อเยื่ออ่อนรอบกระดูกหักและข้อเคลื่อน
ภาวะกระดูกหักหรือข้อเคลื่อนนี้มีการบาดเจ็บของ เนื้อเยื่ออ่อนโดยรอบเสมอ มากน้อยตามกลไก
และความรุนแรงของการบาดเจ็บ
7. ภาวะแทรกซ้อนจากกลุ่มอาการละอองไขมันอุด (Fat embolism syndrome)
ภาวะนี้เป็นภาวะแทรกซ้อนที่มักพบในรูปแบบ การหายใจอึดอัดเฉียบพลัน (acute respiratory
distress) พบในผู้ป่วยที่กระดูกหักหลายๆท่อน และมักเป็นกระดูกท่อนใหญ่ เช่นกระดูกต้นขา
8. กลุ่มอาการช่องปิด (Compartment syndrome)
คือภาวะที่ความดันภายในช่องปิดเพิ่มสูงขึ้นมากจนกระทั่งรบกวนต่อระบบไหลเวียนเลือด
อาการและอาการแสดง (7P)
Pain อาการปวด
Pallor อาการซีด
Paresthesia อาการชา
Polar อุณหภูมิผิวหนังเย็น
Paralysis อัมพาต
Puffiness อาการบวม
Pulselessness ไม่มีชีพจร
ภาวะแทรกซ้อนระยะหลัง
(late complication)
1. กระดูกติดผิดรูป (malunion)
ภาวะแทรกซ้อนนี้ทําให้การทํางานของกล้ามเนื้อ และข้อบริเวณนั้นผิดปกติได้
สาเหตุ
ที่ทําให้กระดูกติดผิดรูปคือ ไม่สามารถจัดกระดูกให้เข้าที่ได้ตั้งแต่แรก
ผู้ป่วยถอดเฝือกก่อนระยะเวลาที่กระดูกจะติด
2. กระดูกติดช้าและกระดูกต่อไม่ติด (delayed union and nonunion)
สาเหตุ
เกิดจากกระดูกที่หักขาดเลือดมาเลี้ยงทําให้มีการซ่อมแซมของกระดูกเกิดขึ้นช้า
อาจเกิดจากการยึดตรึงกระดูกไม่มั่นคงทําให้มีการขยับของบริเวณกระดูกหัก
3. กระดูกตายเหตุขาดเลือด (avascular necrosis)
เกิดขึ้นจากการขาดเลอดไปเลี้ยงบริเวณที่เกิด พยาธิสภาพซึ้งทำให้เซลล์กระดูกตายและมีการยุบตัวลงของกระดูก
4. ภาวะข้อยึดหรือเคลื่อนไหวได้ลดลง
สาเหตุภายในข้อต่อ
เนื่องจากกระดูกแตกหรือหักผ่านข้อแล้วมีการ เชื่อมติดผิดรูป
เกิดการขัดขวางการเคลื่อนของข้อ ทําให้เกิดข้อเสื่อม พิสัยการเคลื่อนไหวลดลง หรือข้อยึดติดแข็ง
สาเหตุภายนอกข้อต่อ
เกิดจากบาดแผลที่มีเนื้อเยื่อผิวหนัง และกล้ามเนื้อโดยรอบข้อ
เกิดเป็นแผลเป็นหรือพังผืด(fibrosis) ในกล้ามเนื้อ ทําให้กล้ามเนื้อทำหน้าที่ไม่ดี
ทําให้เกิดการดึงรั้งข้อเคลื่อนไหวได้น้อยลง