Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับพืชสมุนไพร - Coggle Diagram
ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับพืชสมุนไพร
ความหมาย
พืชสมุนไพร หมายถึง พืชทุกชนิดที่ใช้ทําเครื่องยา เพื่อเป็นยาบํารุงและยารักษาโรค แปรรูปเป็น ผลิตภัณฑ์อาหารบริโภคในชีวิตประจําวัน อาหารเสริมบํารุงสุขภาพหรือผลิตเป็นเครื่องสําอาง โดยอาจใช้พืช สมุนไพรเพียงชนิดเดียว หรือหลายชนิดผสมกัน ตามความเหมาะสม และตรงกับความต้องการของการนำไปใช้ประโยชน์
สมุนไพร หมายถึง การนําส่วนประกอบหรือส่วนต่างๆ ของพืช สัตว์ แร่ธาตุจากธรรมชาตินํามาผลิต ตามกรรมวิธี นํามาใช้เป็นยารักษาโรคต่างๆ และบํารุงร่างกายได
ส่วนประกอบของพืชสมุนไพร
ใบ
ดอก
ลำต้น
ผล
ราก
หลักการทั่วไปในการเก็บสมุนไพร
. ประเภทเปลือกต้นและเปลือกราก
ประเภทดอก
ประเภทใบหรือเก็บทั้งต้น
ประเภทผลและเมล็ด
ประเภทรากหรือหัว
รูปแบบของยาสมุนไพร
ยาดอง
ยาปั้นลูกกลอน
ยาชง
ยอตำคั้นเอาน้ำกิน
ยาต้ม
ยาพอก
สมุนไพรสดๆ
ข้อควรในการใช้ยาสมุนไพร
ไม่ควรใช้ยาสมุนไพรนานเกินความจําเป็น ถ้าใช้ยาสมุนไพรแล้ว 3-5 วันอาการยังไม่ดีขึ้นควร ปรึกษาแพทย์ ทั้งนี้อาจเนื่องจาก ใช้ยาไม่ถูกกับโรค
เมื่อใช้ยาสมุนไพรควรสังเกตอาการผิดปกติที่อาจเกิดขึ้น ถ้ามีอาการผิดปกติควรรีบปรึกษาแพทย์ แผนปัจจุบัน
ควรใช้ยาตามหลักการรักษาของแพทย์แผนโบราณอย่างเคร่งครัด เพราะการดัดแปลงเพื่อความ สะดวกของผู้ใช้อาจทําให้เกิดอันตรายได้
อย่าใช้ยาเข้มข้นเกินไป เช่น ยาที่บอกว่าให้ต้มกิน อย่านําไปเคี่ยวจนแห้งเพราะจะทําให้ยาเข้มข้น เกินไปจนทําให้เกิดพิษได้
ขนาดที่ระบุไว้ในตํารับยามักเป็นขนาดของผู้ใหญ่ ในเด็กจะต้องลดขนาดลง
ควรระวังความสะอาดของสมุนไพร สมุนไพรที่ซื้อมาจากร้านบางครั้งอาจเก่ามากถ้าสังเกตเห็นรา หรือแมลงชอนไช ไม่ควรใช้ ทั้งนี้เนื่องจากสารสําคัญอาจมีการเปลี่ยนแปลงไปแล้ว ทําให้ใช้ไม่ได้ผล และยังอาจ ได้รับพิษจากแมลงหรือเชื้อรานั้นอีกด้วย
คําแนะนําและการป้องกันอันตรายจากการใช้ยาสมุนไพร
ต้องได้รับการวินิจฉัยโรคที่ถูกต้องเสียก่อน ให้รู้ว่าเป็นโรคอะไรจะได้เลือกใช้ยา ให้ถูกกับโรค ถ้ายา ใดไม่เคยกินมาก่อนเลย ควรเริ่มกินในขนาดน้อยๆ ก่อน รอดูว่ามีสิ่งผิดปกติเกิดขึ้นในร่างกายหรือไม่ ถ้าไม่จึง ค่อยกินต่อไป
ศึกษาใช้ยาสมุนไพรให้ถูกชนิด เพราะยาสมุนไพรมีชื่อท้องถิ่นแตกต่างกัน และยังมีชื่อพ้องและซ้ํา อีก คือสมุนไพรชื่อเดียวกันแต่เป็นคนละชนิด การรู้จักชื่อแต่ไม่รู้จักลักษณะของต้นไม้เหล่านี้จะทําให้เกิดความ ผิดพลาด และอาจเกิดอันตรายจากการใช้ยาผิดชนิดได้
ต้องใช้สมุนไพรให้ถูกส่วน หรือถูกอายุ เช่น ผลฝรั่ง ใช้รับประทานรักษาอาการท้องเดิน ผลฝรั่งสุก เป็นยาระบาย เปลือกผลทับทิมรักษาโรคท้องเดิน เปลือกรากหรือเปลือกทับทิมใช้ถ่ายพยาธิ เด็กและคนชรา ห้ามใช้ยามากเพราะมีกําลังต้านทานน้อย
ใช้ให้ถูกขนาด ขนาดยามีความสําคัญมาก เพราะถ้าใช้น้อยไปก็ไม่ได้ผล ใช้มากไปก็อาจจะเป็นพิษ
ต้องใช้ให้ถูกวิธี ถ้าผิดวิธีอาจเกิดพิษ เช่น ใบชุมเห็ดเทศใช้เป็นยาระบาย ต้องปิ้งไฟก่อนนําไปชงน้ํา ถ้าไม่ปิ้งไฟอาจทําให้เกิดอาการคลื่นไส้อาเจียนได้ ควรรู้พิษของยาก่อนใช้ เพื่อที่จะได้ระมัดระวังการใช้มากขึ้น
การใช้ยาครั้งแรก ไม่ว่ายานั้นจะเป็นยาภายนอกหรือยารับประทาน ให้ทดลองใช้แต่น้อยก่อน ถ้า เป็นยาทาก็ทา เฉพาะบริเวณแคบๆ ถ้าเป็นยารับประทานก็ลดขนาดลงครึ่งหนึ่ง เพราะถ้าแพ้ยา อาการจะได้ไม่ รุนแรงมากนัก
การรับประทานยาสมุนไพรนี้ ไม่ควรรับประทานติดต่อกันเป็นเวลานานๆ โดยปกติรับประทานยา 2 - 3 วัน อาการไม่ดีขึ้นควรปรึกษาแพทย์แผนโบราณ เพราะอาจต้องเปลี่ยนยา เพราะยานั้นไม่ถูกกับโรค และ การรับประทานยาติดต่อกันเป็นเวลานานอาจเกิดการสะสมสิ่งที่เป็นพิษแก่ร่างกายได
อาการแพ้ที่อาจพบได้จากการใช้ยาสมุนไพร
ผื่นขึ้นตามผิวหนังอาจเป็นตุ่มเล็กๆ ตุ่มโตๆ เป็นปื้นหรือเป็นเม็ดแบนอาจบวมที่ตาหรือริมฝีปาก
ประสาทรับความรู้สึกทํางานไวเกินปกติ เช่น เพียงแตะผิวหนังก็รู้สึกเจ็บ ฯลฯ
ใจสั่น ใจเต้น หรือรู้สึกวูบวาบคล้ายหัวใจจะหยุดเต้น และเป็นบ่อยๆ
ตัวเหลือง ตาเหลือง ปัสสาวะสีเหลือง เขย่าเกิดฟองสีเหลือง (เป็นอาการของดีซ่าน) อาการนี้แสดง
เบื่ออาหาร คลื่นไส้ อาเจียน (หรืออย่างใดอย่างหนึ่ง)