Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม - Coggle Diagram
การผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม
การพิจารณาผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม
มีอาการปวดที่รุนแรงจนไม่สามารถทำกิจวัตรประจำวันพื้นฐานได้ปกติเช่น ยืน/เดินลำบากลุกนั่งลำบาก จำเป็นตอ้งใชอุ้ปกรณ์ช่วยพยุงเดินตลอด
มีการผิดรูปของข้อเข่า เช่น เข่าโก่งเข้าในหรือโก่งออกนอกอย่างมาก
ข้อเข่ายึด พิสัยการเคลื่อนไหวข้อเข่าลดลง งอและเหยีดเข่าได้ไม่เต็มที่เหมือนเดิม
จำเป็นต้องใช้ยาเพื่อลดอาการปวดทุกวัน หรือเกิดผลข้างเคียงจากยาจนทำให้ไม่
สามารถใช้ยาได้
การพยาบาลก่อนผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม
1.ประเมินสัญญาณชีพ ทุก 4 ชั่วโมง
ฝึกการหายใจให้ผู้ป่วย โดยนอนหงาย หายใจเข้าทางจมูกช้าๆ หายใจออกทางปากเบาๆ ทำซ้ำๆประมาณ 5-10 ครั้ง
ดูแลให้ผู้ป่วยได้อาบน้ำและสระผม เพื่อลดความเสี่ยงของการติดเชื้อภายหลังผ่าตัด และเปลี่ยนเสื้อผ้าเป็นชุดสีเขียวสำหรับไปห้องผ่าตัด ซึ่งจะต้องถอดชุดชั้นใน คอนแทคเลนส์ ฟันปลอม นาฬิกาและเครื่องประดับออกทั้งหมด รวมทั้งต้องล้างยาทาเล็บออกให้หมดด้วย
งดน้ำและอาหารก่อนผ่าตัด 8-12 ชั่วโมง
ในคืนก่อนผ่าตัดควรให้ผู้ป่วยนอนหลับพักผ่อนอย่างเพียงพอ
การพยาบาลหลังผ่าตัดภายใน 24 ชั่วโมงแรก
ประเมินสัญญาณชีพ ได้แก่ ประเมินอุณหภูมิกาย ความดันโลหิต อัตราการเต้นของชีพจร อัตราการ
หายใจ โดยจะประเมินทุก 15 นาที 4 ครั้ง ทุก 30 นาที 2 ครั้ง และทุก 1 ชั่วโมงจนกว่าอาการจะคงที่
ประเมินแผลผ่าตัด ระดับความเจ็บปวดเป็นระดับคะแนน 0 – 10 หากไม่ปวดเลย จะมีระดับคะแนน เท่ากับ 0 หากท่านปวดแผลมากจะมีระดับคะแนนเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ จนถึง 10 คะแนน
ในวันแรกหลังการผ่าตัดจะต้องนอนขาตรง หรือใช้หมอนรองใต้ส้นเท้า ห้ามงอเข่า
สอนวิธีบริหารปอดให้ผู้ป่วยด้วยการหายใจเข้าออกช้าๆ หายใจเข้าจนท้องป่อง และหายใจออกจนท้อง
แฟบลง เพื่อป้องกันภาวะปอดชื้นและติดเชื้อ
การพยาบาลหลังผ่าตัด 2-3 วันแรก
กระตุ้นให้ผู้ป่วยเคลื่อนไหวตัวเอง พลิกตะแคงตัว บ่อยขึ้น เปลี่ยนท่าให้สุขสบาย ทำกิจวัตรประจำวันได้ เริ่มปรับหัวเตียงให้สูงขึ้น 30-90 องศา
ในระยะนี้แผลบริเวณผ่าตัดจะยังคงอุ่นๆ ให้ใช้แผ่นเย็นประคบไว้รอบละประมาณ 15 นาที
ทำการบริหารโดยกระดกข้อเท้าขึ้นลงและเกร็งเข่าด้านหลังกดลงบนเตียง รวมทั้งบริหารกล้ามเนื้อต้นขาและฝึกเหยียดงอเข่าอย่างต่อเนื่อง