Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
บทที่ 6 แนวคิดแบบแผนสุขภาพ - Coggle Diagram
บทที่ 6 แนวคิดแบบแผนสุขภาพ
แบบแผนการรับรู้สุขภาพและการดูแลสุขภาพ
(Health Perception-Health Management Patterns)
การซักประวัติ
▪ การรับรู้สุขภาพของตนเองหรือบุคคลท่ีรับผิดชอบทั้งอดีตและปัจจุบันเป็นอย่างไร ถูกต้องหรือไม่
▪ประวัติ ความถี่ในการเกิดอาการเจ็บป่วยบ่อยเพียงใด
▪มีความรู้เกี่ยวกับโรคที่เป็นหรือสาเหตุของโรคถูกต้องหรือไม่ อย่างไร และวิธีการแพ้ไขเมื่อเจ็บป่วย
▪มีความรู้สึกและความคาดหวังเกี่ยวกับปัญหาสุขภาพท่ีเกิดขึ้นอย่างไร
▪มีความต้องการความช่วยเหลือจากทีมการพยาบาลหรือผู้รักษาอย่างไร
การตรวจร่างกาย
▪ ลักษณะทั่วไปและความพิการ เช่น ท่าทางการเดิน การลุกนั่ง การเคลื่อนไหวแขนขา การพดูคุย การแสดงสีหน้า
▪ ความสะอาดของร่างกาย เสื้อผ้า เครื่องแต่งกาย
▪ ความร่วมมือในการรักษาพยาบาลของผู้ป่วยหรือครอบครัว
▪ สังเกตการปฏิบัติตนขณะเจ็บป่วยของผู้ป่วย หรือการได้รับการดูแลจากครอบครัว
ตัวอย่างคำถาม
▪ ทราบไหมว่าเป็นโรคอะไร ทราบวิธีการดูแลตนเองหรือไม่ ถ้าทราบดูแลตนเองอย่างไร
▪ เมื่อเจ็บป่วย/บาดเจ็บ ผู้ป่วยปฏิบัติอย่างไร
▪ เคยรักษาแบบพื้นบ้านหรือไม่ เคยรักษาด้วยวิธีการใดบ้าง
▪ รับรู้ผลกระทบของภาวะเจ็บป่วยต่อสุขภาพและคุณภาพชีวิตเป็นอย่างไร
▪ เคยดื่มสุราหรือเครื่องดื่มมึนเมาเป็นประจำหรือไม่ หากเคยดื่มหรือยังดื่มอยู่ให้ระบายละเอียดของชนิด จำนวน อะไรเป็นปัจจัยส่งเสริม/อปุสรรคในการหยุดดื่มหรือกลับมาดื่มใหม่
▪ เคยสูบบุหรี่หรือไม่ ถ้าเคยให้ซักถามรายละเอียดเกี่ยวกับชนิด จำนวน ระยะเวลาที่สูบ
▪ เคยใช้ยาหรือสารเสพติดอะไรเป็นประจำ
แบบแผนโภชนาการและการเผาผลาญสารอาหาร
การซักประวัติ
แบบแผนเกี่ยวกับบริโภคนิสัยและแบบแผนการดำเนินชีวิต (lifestyle)
▪ อุปนิสัยในการรับประทานอาหาร กินอาหารเป็นเวลาหรือไม่ รับประทานเก่งหรือชอบกินจุบกินจิบหรือไม่
▪ ชอบกินอาหารขณะนั่งดูโทรทัศน์ ชอบนั่งๆ นอนๆ โดยไม่ทำกิจกรรมต่างๆ หรือไม่
▪ ลักษณะอาหารหรือขนมที่ชอบ อาหารที่รับประทานเป็นประจำ อาหารที่ไม่รับประทาน หรืออาหารแสลง
▪ ชนิด เวลา และปริมาณการได้รับอาหารในแต่ละวัน
มีความรู้เกี่ยวกับอาหารและโภชนาการหรือไม่
▪ ประวัติการเป็นโรคเกี่ยวกับระบบทางเดินอาหาร เช่น มีแผลหรือโรคภายในช่องปาก ฟันผุ โรคกระเพาะอาหารหรือลำไส้อักเสบ โรคตับ ตับอ่อน ถุงน้ำดี และโรคอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับระบบทางเดินอาหาร
▪ ปัญหาในการรับประทานอาหาร เช่น รับประทานอาหารแล้วมีอาการแน่นท้อง ท้องอืด เบื่ออาหาร คลื่นไส้ อาเจียน ปัญหาเรื่องฟัน การเคี้ยว การกลืนอาหาร การย่อยและการดูดซึมอาหารผิดปกติ วิธีการแก้ไขเมื่อเกิดปัญหาในการรับประทานอาหาร
▪ ประวัติการเพิ่มหรือลดของน้ำหนักตัวจากปกติ
การตรวจร่างกาย
▪ ตรวจลักษณะท้อง ตับ ม้าม ก้อนในท้อง ฟังเสียงการเคลื่อนไหวของลำไส้ (Bowelsound)
▪ ประเมินภาวะโภชนาการว่าอ้วน ท้วม ปกติ หรือผอม โดยประเมินจากน้ำหนักและส่วนสูงที่สมดุลกันหรือประเมินจากดัชนีมวลกาย (BMI)
▪ ค่าดัชนีมวลกาย เท่ากับ น้ำหนัก(ก.ก.)/ส่วนสูงเป็นเมตร2
การตรวจทางห้องปฏิบัติการและการตรวจพิเศษ
▪ การตรวจเลือดเพื่อประเมินปัญหาเกี่ยวกับอาหารและโภชนาการ ความสมดุลของสารน้ำและเกลือแร่ต่างๆ ในร่างกาย
▪ การตรวจอัลตร้าซาวด์ช่องท้อง (Ultrasound) ประเมินความผิดปกติของอวัยวะภายในช่องท้อง และทางเดินอาหาร
ตัวอย่างคำถาม
ปกติอาหารที่รับประทานคืออะไร (มื้อเช้า กลางวัน เย็น)
น้ำที่ดื่มเป็นประจำมีอะไรบ้าง ปริมาณเท่าใด
ในช่วง 1 เดือนที่ผ่านมามีน้ำหนักตัวเปลี่ยนแปลง (เพิ่ม-ลด) ไหม
มีเบื่ออาหารไหม
มีปัญหาปาก เหงือกอักเสบ ฟันปลอม ฟันผุไหม
แบบแผนการขับถ่าย (Elimination)
การซักประวัติ
▪แบบแผนการขับถ่ายปัสสาวะ เช่น ปัสสาวะวันละกี่ครั้ง จำนวนมากน้อยเท่าใด ชอบกลั้นปัสสาวะหรือไม่ ปัสสาวะตอนกลางคืนหรือไม่ จำนวนกี่ครั้ง
▪ ปัญหาการขับถ่ายปัสสาวะและวิธีการแก้ไข เช่น ปัสสาวะแสบขัดปัสสาวะลำบาก กระปริดกระปรอย ปัสสาวะน้อย ไม่มีการขับถ่ายปัสสาวะหรือปัสสาวะบ่อย ปัสสาวะมาก กลั้นปัสสาวะไม่ได้ ปัสสาวะมีเลือดออกปัสสาวะขุ่น มีกลิ่นเหม็นมีหนองปน
▪ ปัจจัยส่งเสริม และปัจจัยที่เป็นอุปสรรคต่อแบบแผนการขับถ่ายปัสสาวะปกติ เช่น ความสะดวก หรือลำบากในการไปห้องน้ำ ห้องน้ำสะอาดหรือสกปรก อุปกรณ์ในการช่วยเหลือการขับถ่ายปัสสาวะต่างๆ
การตรวจร่างกาย
▪ สังเกตสี ปริมาณ ลักษณะปัสสาวะที่ขับออกมาจากผู้ป่วย และปัญหาการขับถ่ายยปัสสาวะว่ามีความผิดปกติหรือไม่ สอดคล้องกับการซักประวัติหรือไม่
▪ สังเกตการมีกระเพาะปัสสาวะเต็ม (FullBladder)
▪ ตรวจดูลักษณะท้อง ตรวจการเคลื่อนไหวของลำไส้ (Bowel sound) ตรวจทวารหนักเพื่อดูแผล ตรวจปริมาณ ลักษณะของอุจจาระว่ามีลักษณะผิดปกติหรือไม่
การตรวจทางห้องปฏิบัติการและการตรวจพิเศษ
▪ ตรวจปัสสาวะเพื่อประเมินความผิดปกติของระบบทางเดินปัสสาวะ
▪ ตรวจเลือดเพื่อดูระดับของยูเรีย ไนโตรเจน และครีเอตินินในเลือดบ่งบอกการทำงานของไต
▪ เอกซเรย์ Ultrasound ดูความผิดปกติของไต ท่อไต และการอุดตันทางเดินปัสสาวะ
▪ การตรวจอุจจาระ เพื่อประเมินว่าอุจจาระมีเม็ดเลือดแดง เม็ดเลือดขาวพยาธิ หรือมีเลือดปนในอุจจาระหรือไม่
ตัวอย่างคำถาม
▪ ถ่ายอุจจาระบ่อยแค่ไหน วันละกี่ครั้งหรือ สัปดาห์ละกี่ครั้ง
▪ ลักษณะของอุจจาระปกติ เป็นก้อนหรือเป็นน้ำ ลักษณะสีเป็นอย่างไร
▪ มีปัญหาในการขับถ่าย เช่น ท้องผูก ปวดท้อง กลั้นอุจจาระไม่ได้ไหม
▪ ถ้ามีปัญหาการขับถ่ายแก้ไขอย่างไร
▪ เหงื่อออกมากตอนไหน
แบบแผนกิจกรรมและการออกกำลังกาย
(Activity and Exercise)
การซักประวัติ
▪ ความสามารถในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวันว่าสามารถทำอะไรได้บ้าง
▪ กิจกรรมในงานอาชีพหนักเบาอย่างไร เช่น อาชีพครู ค้าขาย ชาวนา จะมีกิจกรรมที่แตกต่างกัน
▪ การออกกกลัวกาย ชนิดของการออกกำลังกาย ระยะเวลาในการออกกำลังกายสัปดาห์ละกี่ครั้ง แต่ละครั้งใช้เวลานานเท่าไร
การตรวจร่างกาย
▪ ตรวจวัดสัญญาณชีพ ประเมินอาการของความดันโลหิตสูง เช่น
ปวดศรีษะ ตาพร่ามัว แขนขาอ่อนแรง
▪ ตรวจอาการขาดออกซิเจน เช่น สังเกตผิวหนัง ริมฝีปาก เล็บมือ เล็บเท้าว่ามีอาการเขียวคล้ำหรือไม่ (Cyanosis) ฟังปอดเพื่อประเมินเสียงหายใจว่ามีความผิดปกติหรือไม่
การตรวจทางห้องปฏิบัติการและการตรวจพิเศษ
การตรวจเลือดและตรวจเอกซเรย์ปอด เพื่อประเมินภาวะผิดปกติที่เป็นอุปสรรคต่อการปฏิบัติกิจกรรมต่างๆหรือไม่
ตัวอย่างคำถาม
▪ ในแต่ละวัน ตั้งแต่ตื่นนอน ท่านทำอะไรบ้าง กิจวัตรประจำวัน
▪ ปัญหาในการทำกิจกรรมนั้นๆ หรือไม่
▪ แต่ละกิจกรรมที่ทำใช้เวลานานเท่าใด
▪ มีโรคประจำตัวที่ขัดขวางการทำกิจกรรมไหม
แบบแผนการพักผ่อนนอนหลับ
(Sleep and Rest)
การซักประวัติ
▪ พฤติกรรมการนอน ประวัตเกี่ยวกับอุปนิสัยการนอน
▪ พฤติกรรมหรือส่ิงที่ช่วยทำให้นอนหลับได้ง่าย
▪ ปัญหาเกี่ยวกับการนอน
▪ มีการใช้ยานอนหลับหรือไม่ ถ้ามีใช้ยาอะไร ตั้งแต่เมื่อไร ความถี่ในการใช้ยา
การตรวจร่างกาย
สังเกตหน้าตาว่านอนหลับพักผ่อนเพียงพอหรือไม่
▪ ความสดชื่นแจ่มใส ซึม อ่อนเพลีย
▪ ง่วงนอน หาวนอนบ่อย
▪ ใต้ตาเป็นรอยเขียวคล้ำ
▪ นอนหลับเวลากลางวันตื่นเวลากลางคืน
ตัวอย่างคำถาม
นอนวันละกี่ชั่วโมง นอนกลางวันไหม
หลับสนิท หรือหลับๆตื่นๆ
มีปัญหาการนอนไม่หลับไหม จัดการอย่างไร
แบบแผนการรับรู้ตนเองและอัตมโนทัศน์
(Self perception and Self concept)
การซักประวัติ
▪ ความรู้สึกต่อตนเองเกี่ยวกับภาพลักษณ์โดยทั่วไป รู้สึกว่าอ้วน ผอม สูงหรือเตี้ยเกินไป
▪ ความรู้สึกต่อตนเองเกี่ยวกับความสามารถในด้านต่างๆ ได้แก่ ความสามารถในการปฏิบัติงาน การเรียน การทำกิจกรรมต่างๆ
▪ ความรู้สึกต่อตนเองเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงร่างกายที่มีอปุกรณเ์พิ่มขึ้นเช่น การมีสายสวนปัสสาวะ และถุงรองรับปัสสาวะ การมีสายยางให้อาหาร
การตรวจร่างกาย
▪ สังเกตความสนใจตนเองของผู้ป่วย
▪ การแต่งกาย บุคลิกภาพ
▪ การกล่าวถึงตนเอง
▪ การสังเกตปฏิกิริยาตอบสนองหรือพฤติกรรมที่แสดงออกต่อการเปลี่ยนแปลงหรือสูญเสีย
ตัวอย่างคำถาม
▪ ท่านคิดว่าตัวเองเป็นคนมีนิสัยอย่างไร
▪ รู้สึกอย่างไรต่อสภาพตนเองตอนที่เจ็บป่วย
▪ คิดว่าตัวเองมีจุดเด่น จุดด้อยอะไรบ้าง
▪ คนอื่นมองคุณอย่างไร
▪ พื้นฐานอารมณ์เป็นอย่างไร
แบบแผนสติปัญญาและการรับรู้
(Cognition and Perception)
การซักประวัติ
▪ ความรู้สึกทั่วไป สุขสบายหรือไม่สุขสบาย
▪ ปัญหาเกี่ยวกับความรู้สึกตัว เช่น มีอาการสับสน ซึม ไม่รู้สึกตัว และระยะเวลาท่ีมีอาการ
▪ ปัญหาเกี่ยวกับการได้กลิ่น เช่น มีความผิดปกติของจมูก มีส่ิงคัดหลั่งปวดจมูก การได้กลิ่นลดลง หรือไม่ได้กลิ่น
▪ ปัญหาเกี่ยวกับการมองเห็น เช่น เห็นภาพซ้อน ตามัว มองไม่เห็น
▪ ปัญหาเกี่ยวกับการได้ยิน เช่น หูอื้อ หูตึง ไม่ได้ยิน มีเสียงดังในหู
▪ ปัญหาเกี่ยวกับการรับรส ไม่สามารถรับรสได้ ปากชาล้ินชา
การตรวจร่างกาย
▪ ประเมินระดับความรู้สึกตัว เช่น การลืมตา การสื่อภาษา การเคลื่อนไหวของร่างกายและตรวจดูความผิดปกติของจมูก ตา หู ลิ้น ตรวจประสาทสัมผัสทางผิวหนัง
▪ ประเมินระดับสติปัญญา (IQ)โดยใช้แบบทดสอบ
ตัวอย่างข้อมูล
ตอบคำถามได้ตรงประเด็นคำถาม
มีความจำดี จำเรื่องราวที่ผ่านมาได้ดี
ผู้ป่วยสามารถบอกวัน เวลา สถานที่ และบุคคลได้
แบบแผนบทบาทและสัมพันธภาพ
(Role and Relationship)
การซักประวัติ
▪ โครงสร้างครอบครัว เช่น จำนวนสมาชิกในครอบครัวมีใครบ้าง หรืออยู่คนเดียว
▪ หน้าที่ความรับผิดชอบของผู้ป่วยและสมาชิกคนอื่นๆ ต่อครอบครัว
▪ การแสดงบทบาทในครอบครัวทั้งในขณะที่มีสุขภาพดีและการเปลี่ยนแปลงบทบาทในขณะเจ็บป่วยมีผลกระทบต่อครอบครัวหรือไม่
การตรวจร่างกาย
สังเกตพฤติกรรมต่างๆ หรือท่าทางที่แสดงออกต่อครอบครัวและบุคคลในครอบครัวแสดงต่อผู้ป่วย ลักษณะการโต้ตอบระหว่างผู้ป่วยกับบุคคลในครอบครัว รวมทั้งเพื่อน ผู้ร่วมงาน การมาเยี่ยมของคนในครอบครัวด้วย
ตัวอย่างคำถาม
ครอบครัวคิดอย่างไรกับการเจ็บป่วยของคุณ
ในที่ทำงานมีปัญหาไหม มีเพื่อนสนิทไหม
มีปัญหาในครอบครัวไหม ครอบครัวจัดการปัญหาอย่างไร
รู้สึกโดดเดี่ยวไหม
คุณอยู่กับใคร ครอบครัวมีใครบ้าง
แบบแผนเพศและการเจริญพันธุ์
(Sexuality and Reproduction)
การซักประวัติ
▪ การเจริญพันธ์และการทำงานของระบบสืบพันธุ์
▪ การมีเพศสัมพันธ์ ปัญหาเพศสัมพันธ์ ความเจ็บป่วยที่เกี่ยวข้องกับการมีเพศสัมพันธ์ และการป้องกันโรคติดต่อกันได้ทางเพศสัมพันธ์
▪ การมีพฤติกรรมเสี่ยงต่อการเกิดโรคที่ติดต่อกันได้ทางเพศสัมพันธ์ การมีพฤติกรรมทางเพศที่ไม่เหมาะสม เช่น รักร่วมเพศ
▪ เพศหญิงควรซักประวัติเกี่ยวกับการตั้งครรภ์ การแท้ง การมีบุตร การคุมกำเนิด การติดเชื้อของอวัยวะสืบพันธ์ุ ประวัติเกี่ยวกับการตกขาว อาการคันอวัยวะสืบพันธุ์ ปัสสาวะแสบขัด วิธีการรักษาความสะอาด
การตรวจร่างกาย
▪ สังเกตพฤติกรรมทางเพศจากลักษณะท่าทางที่แสดงออกปฏิสัมพันธ์กับบุคคลอื่นการใช้ภาษา และคำพูด รวมทั้งการแต่งกายว่าเหมาะสมกับเพศหรือไม่
▪เพศหญิง ตรวจเต้านม ต่อมน้ำเหลือง อวัยวะเพศหญิง เพศชาย ตรวจอวัยวะเพศชาย ตรวจอาการและอาการแสดงของการติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์ เช่น โรคเอดส์ จะพบลักษณะผอมมาก มีเชื้อราในปาก มีรอยโรคตามผิวหนัง ท้องเสียเรื้อรัง
ตัวอย่างคำถาม
มีบุตรกี่คน
คุมกำเนิดหรือไม่ ใช้วิธีใด
ประวัติการมีประจำเดือน เริ่มมีอายุกี่ปี แต่ละครั้งมีกี่วัน มีอาการร่วมขณะมีประจำเดือนหรือไม่
ปัญหาเพศสัมพันธ์หรือไม่
แบบแผนการปรับตัวและการเผชิญความเครียด
(Coping and Stress tolerance)
การซักประวัติ
▪ ข้อมูลท่ัวไป เช่น อายุ การศึกษา อาชีพ รายได้ สถานภาพสมรส ความสัมพันธ์ในครอบครัว สิ่งแวดล้อมที่บ้าน เพื่อประเมินสาเหตุที่ทำให้เกิด ความเครียด
▪ สัมภาษณ์เกี่ยวกับลักษณะอุปนิสัยหรืออารมณ์พื้นฐานของผู้ป่วย
▪ ซักถามส่ิงท่ีทำให้เกิดความเครียด ไม่สบายใจ วิตกกังวล กลัว เครียดคับข้องใจ
▪ อาการต่างๆ เมื่อเกิดความเครียด นอนไม่หลับ เบื่ออาหาร เหนื่อยหอบ
▪ ซักถามความต้องการการช่วยเหลือและบุคคลที่สนับสนุนให้กำลังใจช่วยแก้ปัญหา
การตรวจร่างกาย
ตรวจสอบพฤติกรรมที่บ่งชี้ถึงความเครียด ความเศร้า ความวิตกกังวล
สีหน้าหมกมุ่น ขมวดคิ้ว กระวนกระวาย ซึม เงียบเฉย ร้องไห้ นอนไม่หลับ
สังเกตอาการต่างๆ เช่น เหงื่อออกมาก หน้าซีดหรือหน้าแดง มือสั่น หายใจเร็ว
ตัวอย่างคำถาม
ในช่วง 1 ปีที่ผ่านมามีการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญในชีวิตไหม
มีเรื่องไม่สบายใจ เครียดหรือไม่ แก้ไขอย่างไร
แบบแผนคุณค่าและความเชื่อ
(Value and Belief)
การซักประวัติ
▪ ความเช่ือ ความผูกพัน ความศรัทธาที่มีต่อส่ิงต่างๆ เช่น ความดีงามความถูกต้อง ศาสนา พระเจ้า ส่ิงศักดิ์สิทธิ หรือสิ่งเหนือธรรมชาติ
▪ สิ่งสำคัญในชีวิต หรือสิ่งยึดเหนี่ยวทางจิตใจ อาจเป็นบุคคล วัตถุ ส่ิงของศาสนา คุณงามความดี
▪ ค่านิยม ขนบธรรมเนียมประเพณี และวัฒนธรรม
▪ ความหวังหรือเป้าหมายในชีวิต
การตรวจร่างกาย
▪ สังเกตพฤติกรรมท่ีแสดงออกทางสีหน้า กริยาท่าทาง รวมท้ังการแสดงออกทางอารมณ์ เช่น ซึมเศร้า แยกตัว ว้าเหว่ โกรธ หงุดหงิด
▪ สังเกตคำพูดของผู้ป่วยและญาติที่แสดงถึงการให้คุณค่าและการมีความเชื่อในด้านต่างๆ
▪ สังเกตการแสดงออกที่แสดงถึงความเชื่อต่างๆ เช่น การมีพระพุทธรูปสร้อยพระ หรือมีวัตถุมงคลบูชา การใช้เครื่องรางของขลัง การสวดมนต์ การทำสมาธิภาวนา การทำละหมาด การอ่านหนังสือ
ตัวอย่างคำถาม
มีสิ่งยึดเหนี่ยวทางด้านจิตใจคืออะไร
สิ่งที่มีความหมายต่อผู้รับบริการมากที่สุดคืออะไร
มีจุดมุ่งหมายในชีวิตอย่างไร
ความเชื่อเกี่ยวกับการเจ็บป่วยครั้งนี้เป็นอย่างไร
องค์ประกอบของแบบแผนสุขภาพแต่ละแบบแผน
พฤติกรรมภายใน คือ พฤติกรรมที่ไม่สามารถสังเกตเห็นได้ด้วยตาเปล่าหรือใช้เครื่องมือทางวิทยาศาสตร์ตรวจสอบได้โดยตรง
กระบวนการคิด ความรู้ของบุคคลเกี่ยวกับสิ่งต่างๆ
เจตคติ ซึ่งประกอบด้วยความรู้สึก คิดคิดเห็น ค่านิยมของบุคคล
กระบวนการทำงานทางกาย หรือทางชีวภาพในระบบต่างๆ เช่น ระบบหายใจ ระบบหัวใจและหลอดเลือด
พฤติกรรมภายนอก คือ การกระทำที่แสดงออกมาให้สังเกตเห็นได้ รับรู้ได้ หรือใช้เครื่องมือตรวจสอบได้ เช่น
พฤติกรรมที่ไม่ใช่คำพูด เช่น กิริยา ท่าทาง การเดิน การหัวเราะ ร้องไห้
การตรวจโดยใช้เครื่องมือทางการแพทย์ เช่น การตรวจวัดสัญญาณชีพ การเอกซเรย์ เป็นต้น
พฤติกรรมที่เป็นคำพูด
การตรวจทางห้องปฏิบัติการ เช่น การตรวจเลือด การตรวจสิ่งคัดหลั่งต่างๆ
ปัจจัยส่งเสริมพฤติกรรมและอุปสรรค
พฤติกรรมภายนอกและพฤติกรรมภายใน จะมีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกัน
พฤติกรรมภายในเป็นตัวกำหนดพฤติกรรมภายนอก เช่น พฤติกรรมภายในมีความยินดีและพึงพอใจกับสิ่งที่ปรารถนา ก็จะแสดงออกมาเป็นพฤติกรรมภายนอกใหสังเกตเห็นได้จาก สีหน้า แววตา กิริยา ท่าทาง ทางร่างกาย เป็นต้น