Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
11-แบบแผนสุขภาพของกอร์ดอน - Coggle Diagram
11-แบบแผนสุขภาพของกอร์ดอน
1 แบบแผนการรับรู้สุขภาพและการดูแลสุขภาพ
(Health Perception-Health Management Patterns)
แนวทางการประเมินการรับรู้ภาวะสุขภาพและการดูแลสุขภาพ
การซักประวัติ
ประวัติ ความถี่ในการเกิดอาการเจ็บป่วย บ่อยเพียงใด มีความรู้สึกและความคาดหวังเกี่ยวกับปัญหาสุขภาพที่เกิดขึ้นอย่างไร
การดูแลหรือความสนใจเอาใจใส่ของครอบครัวต่อสุขภาพของผู้ป่วย เช่น การพามาพบแพทย์ตามนัด การดูแลเมื่อเจ็บป่วย
การดูแลความสะอาดของร่างกายตนเอง เช่น การอาบน้ำ การแปรงฟัน ขณะอยู่ที่บ้าน
การตรวจร่างกายประจำปี การได้รับภูมิคุ้มกัน การรับประทานยาเป็นประจำและเหตุผลที่รับประทานยา ประวัติแพ้ยาพฤติกรรมติดสารเสพติด
การรับรู้สุขภาพของตนเองหรือบุคคลที่รับผิดชอบทั้งอดีตและปัจจุบันเป็นอย่างไร ถูกต้องหรือไม่
การตรวจร่างกาย
ความสะอาดของร่างกาย เสื้อผ้า เครื่องแต่งกาย
ความร่วมมือในการรักษาพยาบาลของผู้ป่วยหรือครอบครัว
สังเกตการปฏิบัติตนขณะเจ็บป่วยของผู้ป่วย หรือการได้รับการดูแล
จากครอบครัว
ลักษณะทั่วไปและความพิการ เช่น ท่าทางการเดิน การลุกนั่ง การ
เคลื่อนไหวแขนขา การพูดคุย การแสดงสีหน้า
แบบแผนค้านโภชนาการและการเผาผลาญอาหาร
(Nutritional-Metabolism Patterns)
แนวทางการประเมินแบบแผนโภชนาการและการเผาผลาญสารอาหาร
การซักประวัติ
แบบแผนเกี่ยวกับบริโภคนิสัยและแบบแผนการดำเนินชีวิต (life style)
ชอบกินอาหารขณะนั่งดูโทรทัศน์ ชอบนั่งๆ นอนๆ โดยไม่ทำกิจกรรมต่างๆ หรือไม่
ลักษณะอาหารหรือขนมที่ชอบ อาหารที่รับประทานเป็นประจำ อาหารที่ไม่รับประทาน หรืออาหารแส่ลง
อุปนิสัยในการรับประทานอาหาร กินอาหารเป็นเวลาหรือไม่ รับประทานเก่งหรือชอบกินจุบกินจิบหรือไม่
ชนิด เวลา และปริมาณการได้รับอาหารในแต่ละวัน
มีความรู้เกี่ยวกับอาหารและโภชนาการหรือไม่
ประวัติการเป็นโรคเกี่ยวกับระบบทางเดินอาหาร ปัญหาในการรับประทานอาหาร ประวัติการเพิ่มหรือลดของน้ำหนักตัวจากปกติ
ประวัติการเป็นโรคที่เกี่ยวข้องกับการเผาผลาญสารอาหารที่ผิดปกติทั้งของผู้ป่วยและครอบครัว การรับประทานยาที่เกี่ยวข้องกับการเผาผลาญสารอาหาร
การซักประวัติ (น้ำและอิเล็กโทรไลต์)
ชนิค และปริมาณน้ำที่ดีมในหนึ่งวัน
ยาที่ได้รับซึ่งอาจมีผลต่อความสมดุลของน้ำและอิเล็กโทร่ไลต์ในร่างกาย เช่น ยาขับปัสสาว: Lasix จะทำให้มีการขับ Ca ออกมากขึ้น เป็นต้น
โรคหรือภาวะที่เสี่ยงต่อการเกิดภาวะขาดน้ำ ภาวะน้ำเกิน หรือมีปัญหาความไม่สมดุลของอิเล็กโทรไลต์
การตรวจร่างกาย
สังเกตพฤติกรรมการรับประทานอาหาร ปริมาณและลักษณะอาหารที่รับประทาน
เยื่อบุปากและแผลในช่องปาก คอ ฟันผุ เหงือกอักเสบ ทอนซิลแดงโตหรือไม่
ตรวจดูท่าทางว่ามีอาการอ่อนเพลีย กล้ามเนื้อแขนขาลีบหรือไม่ ลักษณะผม เล็บ ขาดสารอาหารหรือไม่
ตรวจลักษณะท้อง ตับ ม้าม ก้อนในท้อง ฟังเสียงการเคลื่อนไหวของลำไส้ (Bowel sound)
ประเมินภาวะโภชนาการว่าอัวน ทัวม ปกติ หรือผอม โดยประเมินจากน้ำหนักและส่วนสูงที่สมดุลกันหรือประเมินจากดัชนีมวลกาย (BMI)
การตรวจร่างกาย (น้ำและอิเล็กโทรไลต์)
ตรวจ ดูจำนวนและสีของน้ำปัสสาวะ
ประเมินอาการขาดน้ำ(Dehydratlon) จากการตรวจร่างกาย
ตรวจริมฝีปาก เยื่อบุปาก และลิ้นว่ามีแตก แห้งหรือไม่
ตรวจดูอาการบวม (Edema)
ผิวหนัง ตรวจดูความยึดหยุ่น (skin turgor) ความอุ่น ความขึ้นของผิวหนัง
การตรวจทางห้องปฏิบัติการและการตรวจพิเศษ
การตรวจเลือดเพื่อประเมินปัญหาเกี่ยวกับอาหารและโภชนาการ ความสมดุลของสารน้ำและเกลือแร่ต่างๆ ในร่างกาย
การตรวจอัลตร้าชาวด์ช่องท้อง (UIt rasound) ประเมินความผิดปกติของอวัยวะภายในช่องท้องและทางเดินอาหาร
แบบแผนการขับถ่ายของเสีย(Elimination Patterns)
แนวทางการประเมินแบบแผนการขับถ่าย
การซักประวัติ
ประวัติการเจ็บป่วยด้วยโรคที่เกี่ยวข้องกับระบบทางเดินปัสสาวะหรือไต เช่น ประวัติการติดเชื้อทางเดินปีสสาวะบ่อยๆ ภาวะเสียเลือดหรือภาวะขาดน้ำมาก
ประวัติการใช้ยาต่างๆ เช่น ยาขับปัสสาวะ ยาลดความดันโลหิต ซึ่งมีผลต่อการทำงานของไต
ปัจจัยส่งเสริม และปัจจัยที่เป็นอุปสรรคต่อแบบแผนการขับถ่ายปัสสาวะปกติ เช่น ความสะดวก หรือลำบากในการไปห้องน้ำ ห้องน้ำสะอาดหรือสกปรก
ซักประวัติเกี่ยวกับแบบแผนการขับถ่ายอุจจาระ ได้แก่ ความถี่ เวลาของการขับถ่ายอุจจาระ
แบบแผนการขับถ่ายปัสสาวะ
ปัสสาวะตอนกลางคืนหรือไม่ จำนวนกี่ครั้ง
ชอบกลั้นปัสสาวะหรือไม่
ปัสสาวะวันละกี่ครั้ง จำนวนมากน้อยเท่าใด
ปัญหาในการขับถ่ายอุจจาระและวิธีการแก้ไข ได้แก่ มีปัญหาท้องผูกแก้ไขโดยการรับประทานยาระบายเป็นประจำ ท้องเสีย ควบคุมการขับถ่ายไม่ได้ อาการเจ็บปวด อุจจาระมีเลือดสดๆ ปน
การตรวจร่างกาย
สังเกตการมีกระเพาะปัสสาวะเต็ม (Full Bladder)
ตรวจร่างกายทั่วไปที่เกี่ยวข้องกับปัญหาของระบบทางเดินปัสสาวะ เช่น ถ้าเป็นนิ้วทางเดินปัสสาวะอาจจะมีอาการปวดเอวด้านหลัง
สังเกตสี ปริมาณ ลักษณะบัสสาวะที่ขับออกมาจากผู้ป่วย และปัญหาการขับถ่ายปัสสาวะว่ามีความผิดปกติหรือไม่
ตรวจดูลักษณะท้อง ตรวจการเคลื่อนไหวของลำไส้ (Bowel sound) ตรวจทวารหนักเพื่อดูแผลตรวจปริมาณ ลักษณะของอุจจาระว่ามีลักษณะผิดปกติหรือไม่
การตรวจทางห้องปฏิบัติการและการตรวจพิเศษ
เอกซเรย์ UI trasound ดูความผิดปกติของไต ท่อไต และการอุดตันทางเดินปัสสาวะ
การตรวจอุจจาระเพื่อประเมินว่าอุจจาระมีเม็ดเลือดแดง เม็ดเลือดขาว พยาธิ หรือมีเลือดปนในอุจจาระหรือไม่
ตรวจเลือดเพื่อดูระดับของยูเรีย ไนโตรเจน และครีเอตินินในเลือดบ่งบอกการทำงานของไต
การส่องกล้องเข้าทางทวารหนักเพื่อตรวจหาความผิดปกติของลำไส้ใหญ่ หรือ เพื่อการถ่ายภาพรังสีทางทวารหนัก
ตรวจปัสสาวะ เพื่อประเมินความผิดปกติของระบบทางเดินปัสสาวะ
แบบแผนด้านการมีกิจกรรมและการออกกำลังกาย
(Activity-Exercise Patterns)
แนวทางการประเมินแบบแผนกิจกรรมและการออกกำลังกาย
การตรวจทางห้องปฏิบัติการและการตรวจพิเศษ
การตรวจเลือดและตรวจเอกซเรย์ปอด เพื่อประเมินภาวะผิดปกติที่เป็นอุปสรรคต่อการปฏิบัติกิจกรรมต่างๆ หรือไม่
การตรวจร่างกาย
ประเมินความสามารถในการเคลื่อนไหวของแขนขา
ตรวจร่างกายระบบต่างๆ เพื่อประเมินความสามารถในการทำกิจกรรมต่างๆ
สังเกตความสามารถในการทำกิจกรรมต่างๆ
สังเกตการทำกิจกรรมต่างๆ ของผู้ป่วย ตรวจคูขนาด รูปร่าง
ตรวจวัดสัญญาณชีพ ประเมินอาการของความดัน
โลหิตสูง เช่น ปวดศีรษะ ตาพร่ามัว แขนขาอ่อนแรง
ตรวจอาการขาดออกซิเจน เช่น สังเกตผิวหนัง ริม
ฝีปาก เล็บมือ เล็บเท้าว่ามีอาการเขียวคล้ำหรือไม่
การซักประวัติ
ความสามารถในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวันว่าสามารถทำอะไรได้บ้าง
แข็งแรงดี สามารถปฏิบัติงานและกิจวัตรต่างๆ ได้ตามปกติ
ทำงานหรือกิจกรรมได้จำกัด สามารถปฏิบัติได้แต่งานเบาๆ
ดูแลกิจวัตรประจำวันของตนเองได้จำกัด ต้องนั่งหรือนอนพักเป็นส่วนใหญ่
ไม่สามารถทำกิจวัตรประจำวันของตนเองได้ ช่วยเหลือตัวเองไม่ได้
กิจกรรมในงานอาชีพหนักเบาอย่างไร
การออกกำลังกาย ชนิดของการออกกำลังกาย ระยะเวลาในการออกกำลังกายสัปดาห์ละกี่ครั้ง แต่ละครั้งใช้เวลานานเท่าไร
ประวัติเกี่ยวกับนันทนาการ งานอคิเรกหรือการใช้เวลาว่า
ประวัติการเป็นโรคที่เป็นอุปสรรคต่อการปฏิบัติกิจวัตรประจำวัน
ปัจจัยที่ทำให้ความสามารถในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวันเปลี่ยนแปลง/ ลดลง
การเป็นโรคที่เกี่ยวข้องกับกระดูก ข้อ กล้ามเนื้อ เช่น กระดูกพรุน ข้อเสื่อม
ความเจ็บป่วยที่เกี่ยวข้องกับระบบทางเดินหายใจ เช่น ประวัติการเป็นโรคหอบหืด
การมีปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดปัญหาระบบทางเดินหายใจ เช่น การสูบบุหรี่ การแพ้อากาศ
การใช้ยาต่างๆ ที่มีผลต่อการหายใจ เช่น ยาขยายหลอดลม ยานอนหลับ
แบบแผนการนอนหลับพักผ่อน (Sleep-rest Pattern)
แนวทางการประเมินแบบแผนการพักผ่อนนอนหลับ
การซักประวัติ
พฤติกรรมการนอน ประวัติเกี่ยวกับอุปนิสัยการนอน
เป็นคนนอนดึกหรือนอนแต่หัวค่ำ ชอบหลับเวลากลางวันตื่นเวลากลางคืน ระยะเวลาที่นอนหลับ นอนวันละกี่ชั่วโมง กลางวันกี่ชั่วโมง กลางคืนกี่ชั่วโมง เพียงพอหรือไม่
พฤติกรรมหรือสิ่งที่ช่วยทำให้นอนหลับได้ง่าย
ก่อนนอนต้องฟังเพลง ฟังธรรมะ ดื่มนมหรือเครื่องดื่มอื่นๆ หรือบรรยากาศ เงียบสงบและไม่มีแสงไฟ หรือต้องเปิดไฟสว่าง เปิดเครื่องปรับอากาศจึงทำให้ นอนหลับสบาย เป็นต้น
ปัญหาเกี่ยวกับการนอน
นอนมากไป นอนน้อย นอนไม่หลับ เป็นคนนอนยาก ตื่นเร็ว นอนหลับๆ ตื่นๆ นอนหลับไม่สนิท นอนฝันร้าย รวมทั้งสาเหตุของปัญหาและแนวทางแก้ไข
พฤติกรรมการผ่อนคลาย ชนิดและความถี่ของกิจกรรมที่ทำเพื่อให้ผ่อนคลาย
การอ่านหนังสือ การคูหนัง ฟังเพลง การนั่งสมาธิ เล่นกีฬ ท่องเที่ยว ฯลฯ
มีการใช้ยานอนหลับหรือไม่ ถ้ามีใช้ยาะไร ตั้งแต่เมื่อไร ความถี่ในการใช้ยา
การตรวจร่างกาย
สังเกตหน้าตาว่านอนหลับพักผ่อนเพียงพอหรือไม่
ความสดชื่นแจ่มใส ซึม อ่อนเพลีย
ง่วงนอน หาวนอนบ่อย
ใต้ตาเป็นรอยเขียวคล้ำ
นอนหลับเวลากลางวันตื่นเวลากลางคืน
แบบแผนสติปัญญาและการรับรู้ (Cognitive-perceptual Pattern)
แนวทางการประเมินแบบแผนสติปัญญาและการรับรู้
การซักประวัติ
ความรู้สึกทั่วไป สุขสบายหรือไม่สุขสบาย
ปัญหาเกี่ยวกับความรู้สึกตัว เช่น มีอาการสับสน ซึม ไม่รู้สึกตัว และระยะเวลาที่มีอาการ
ปัญหาเกี่ยวกับการได้กลิ่น เช่น มีความผิดปกติของจมูก มีสิ่งคัดหลัง ปวดจมูก การได้กลิ่นลดลง
ปัญหาเกี่ยวกับการมองเห็น เช่น เห็นภาพซ้อน ตามัว มองไม่เห็น
ปัญหาเกี่ยวกับการได้ยิน เช่น หูอื้อ ทูตึง ไม่ได้ยิน มีเสียงดังในหู
ปัญหาเกี่ยวกับการรับรส ไม่สามารถรับรสได้ ปากชา ลิ้นชา
การตรวจร่างกาย
ประเมินระดับความรู้สึกตัว เช่น การลืมตา การสื่อภาษา การเคลื่อนไหวของร่างกาย
สังเกตลักษณะทั่วไป เช่น รูปร่าง ลักษณะ หน้าตา ท่าทาง การแต่งกาย การดูแลสุขอนามัย
ประเมินระดับสติปัญญา (IQ) โดยใช้แบบทดสอบ
แบบแผนการรับรู้ตนเองและอัตมโนทัศน์ (Self perceptlon-Self concept Pattern)
แนวทางการประเมินแบบแผนการรับรู้ตนเองและอัตมในทัศน์
การซักประวัติ
ㆍ ความรู้สึกต่อตนเองเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงร่างกายที่มีอุปกรณ์เพิ่มขึ้น เช่น การมีสายสวนปัสสาวะ
ㆍ ความรู้สึกต่อตนเองเกี่ยวกับการสูญเสียอวัยวะจากการเป็นโรค การผ่าตัด หรือการเกิดอุบัติเหตุหน้าเสียโฉม
ความรู้สึกต่อตนเองเกี่ยวกับความสามารถในด้านต่างๆ ได้แก่ ความสามารถในการปฏิบัติงาน
ㆍ ความรู้สึกต่อตนเองเกี่ยวกับความภาคภูมิใจในตนเอง ความพอใจในตนเอง ความรู้สึกสูญเสียความมั่นคงปลอดภัย
ความรู้สึกต่อตนเองเกี่ยวกับภาพลักษณ์โดยทั่วไป รู้สึกว่าอ้วน ผอม สูงหรือเตี้ยเกินไป
การตรวจร่างกาย
สังเกตความสนใจตนเองของผู้ป่วย
การแต่งกาย บุคลิกภาพ
การกล่าวถึงตนเอง
ㆍ การสังเกตปฏิกิริยาตอบสนองหรือพฤติกรรมที่แสดงออกต่อการเปลี่ยนแปลงหรือสูญเสีย
แบบแผนบทบาทและสัมพันธภาพ (Role-relationship Pattern)
แนวทางการประเมินแบบแผนบทบาทและสัมพันธภาพ
การซักประวัติ
ㆍ สัมพันธภาพของผู้ป่วยกับครอบครัว เพื่อนร่วมงาน เพื่อนบ้าน การเปลี่ยนแปลงของสัมพันธภาพโดยเฉพาะในผู้ป่วยโรคเรื้อรัง หรือช่วยตนเองไม่ได้
ㆍ ตำแหน่งความรับผิดชอบต่อหน้าที่ การงาน อาชีพ
การแสดงบทบาทในครอบครัวทั้งในขณะที่มีสุขภาพดีและการเปลี่ยนแปลงบทบาทในขณะเจ็บป่วยมีผลกระทบต่อครอบครัวหรือไม่
ㆍ สิ่งที่เป็นอุปสรรคต่อการสร้างสัมพันธภาพที่ดี เช่น ทัศนคติที่ไม่ดีต่อกัน ความเครียดภายในครอบครัว ปัญหาเศรษฐกิจในครอบครัว
หน้าที่ความรับผิดชอบของผู้ป่วยและสมาชิกคนอื่นๆ ต่อครอบครัว
โครงสร้างครอบครัว เช่น จำนวนสมาชิกในครอบครัวมีใครบ้าง หรืออยู่คนเดียว
การตรวจร่างกาย
สังเกตพฤติกรรมต่างๆ หรือท่าทางที่แสดงออกต่อ ครอบครัวและบุคคลในครอบครัวแสคงต่อผู้ป่วย ลักษณะ การโต้ตอบระหว่างผู้ป่วยกับบุคคลในครอบครัว รวมทั้ง เพื่อน ผู้ร่วมงาน การมาเยี่ยมของคนในครอบครัวด้วย
แบบแผนเพศสัมพันธุ์และการเจริญพันธุ์ (Sexuality- reproductive Pattern)
แนวทางการประเมินแบบแผนเพศและการเจริญพันธุ์
การซักประวัติ
การมีเพศสัมพันธ์ ปัญหาเพศสัมพันธ์ ความเจ็บป่วยที่เกี่ยวข้องกับการมีเพศสัมพันธ์
ㆍ การมีพฤติกรรมเสี่ยงต่อการเกิดโรคที่ติดต่อกันได้ทางเพศสัมพันธ์ การมีพฤติกรรมทางเพศที่ไม่เหมาะสม
การเจริญพันธ์ และการทำงานของระบบสืบพันธุ์
เพศหญิงควรซักประวัติเกี่ยวกับการตั้งครรภ์ การแท้ง การมีบุตร การคุมกำเนิด
การตรวจร่างกาย
สังเกตพฤติกรรมทางเพศจากลักษณะท่าทางที่แสดงออก ปฏิสัมพันธ์กับบุคคลอื่น การใช้ภาษาและคำพูด รวมทั้งการแต่งกายว่าเหมาะสมกับเพศหรือไม่
เพศหญิง ตรวจเต้านม ต่อมน้ำเหลือง อวัยวะเพศหญิง เพศชาย ตรวจอวัยวะเพศชาย ตรวจ อาการและอาการแสดงของการติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์ เช่น โรคเอดส์ จะพบลักษณะผอมมาก มีเชื้อราในปาก มีรอยโรคตามผิวหนัง ท้องเสียเรื้อรัง
แบบแผนการเผชิญความเครียดและความทนต่อความเครียด
(Coping -stress tolerance Pattern)
แนวทางการประเมินแบบแผนการปรับตัวและการเผชิญความเครียด
การซักประวัติ
ซักถามสิ่งที่ทำให้เกิดความเครียด ไม่สบายใจ วิตกกังวล กลัว เครียด คับข้องใจ
อาการต่างๆ เมื่อเกิดความเครียด นอนไม่หลับ เบื่ออาหาร เหนื่อยหอบ
สัมภาษณ์เกี่ยวกับลักษณะอุปนิสัยหรืออารมณ์พื้นฐานของผู้ป่วย
วิธีการจัดการความเครียด เช่น การระบายความเครียดกับบุคคลใกล้ชิด
ข้อมูลทั่วไป เช่น อายุ การศึกษา อาชีพ รายได้ สถานภาพสมรส ความสัมพันธ์ในครอบครัว
ซักถามความต้องการการช่วยเหลือและบุคคลที่สนับสนุนให้กำลังใจช่วยแก้ปัญหา
การตรวจร่างกาย
สีหน้าหมกมุ่น ขมวดคิ้ว กระวนกระวาย ซึม
เงียบเฉย ร้องไห้ นอนไม่หลับ
สังเกตอาการต่างๆ เช่น เหงื่อออกมาก หน้า
ขีดหรือหน้าแคง มือสั่น หายใจเร็ว
แบบแผนค่านิยมและความเชื่อ (Value - bellef Pattern)
แนวทางการประเมินแบบแผนคุณค่าและความเชื่อ
การซักประวัติ
ความหวังหรือเป้าหมายในชีวิต
การปฏิบัติกิจกรรมต่างๆ ความเชื่อทางศาสนา ขนบธรรมเนียม ประเพณี และวัฒนธรรม
ค่านิยม ขนบธรรมเนียมประเพณี และวัฒนธรรม
ㆍ ความเชื่อเกี่ยวกับสุขภาพ เช่น ความเชื่อเกี่ยวกับสาเหตุของการเกิดโรค ความเชื่อเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล
ㆍ สิ่งสำคัญในชีวิต หรือสิ่งยึดเหนียวทางจิตใจ อาจเป็นบุคคล วัตถุ สิ่งของ ศาสนา คุณงามความดี
ความเชื่อ ความผูกพัน ความศรัทธาที่มีต่อสิ่งต่างๆ เช่น ความดีงาม ความถูกต้อง ศาสนา
การตรวจร่างกาย
สังเกตคำพูดของผู้ป่วยและญาติที่แสดงถึงการให้คุณค่าและการมีความเชื่อในด้านต่างๆ
สังเกตการแสดงออกที่แสดงถึงความเชื่อต่างๆ เช่น การมีพระพุทธรูป สร้อยพระ หรือมีวัตถุมงคลบูชา
ㆍ สังเกตพฤติกรรมที่แสดงออกทางสีหน้า กริยาท่าทาง รวมทั้งการแสดงออกทางอารมณ์