Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การพยาบาลระยะที่ 2 - Coggle Diagram
การพยาบาลระยะที่ 2
การพยาบาล
ป้องกันภาวะแทรกซ้อน
-
-
น้ำและอาหาร
อาจทําให้เกิด อาเจียน และสําลักได้ ดังนั้น จึงงดอาหารและน้ําทางปาก แต่ถ้าผู้คลอดมีอาการแสดงของการขาดน้ํา แพทย์อาจให้น้ําทางหลอดโลหิตดําได้
-
กระเพาะปัสสาวะ
การเคลื่อนต่ำของศีรษะเด็กจะกดบริเวณ urethra หรือ bladder neck ทําให้ถ่ายปัสสาวะลําบาก ถ้ากระเพาะปัสสาวะเต็มควรกระตุ้นให้ผู้คลอดพยายามถ่ายปัสสาวะ ถ้าถ่ายเองไม่ได้ ควรสวนให้ตามความจําเป็น
แต่การสวนในระยะนี้จะสวนลําบากเพราะศีรษะเด็กลงมากด ควรใช้นิ้วมือสอดเข้าช่องคลอดเพื่อดันศีรษะเด็กให้ก้มต่ำลงจึงจะสอดสายยางเข้าไปง่ายขึ้น
ถ้ากระเพาะปัสสาวะเต็มจะทําให้การคลอดดําเนินไปช้ากว่าปกติและมดลูกจะไปกดกระเพาะปัสสาวะนาน เกินไปทําให้เกิด necrosis ตรงบริเวณที่ถูกกด ซึ่งทําให้เกิด Vesico-Vaginal fistula อันจะเป็นปัญหาใหม่ และเกิดความยุ่งยากแก่ผู้คลอดในระยะหลังคลอดต่อไป
-
-
-
-
-
ท่านอน
ในขณะที่มดลูกคลายตัวจะนอนพักในท่าใดก็ได้ที่สบายที่สุด แต่ในขณะที่มดลูกหดรัดตัวและมีแรงเบ่ง ควรจะนอนหงายชันเข่าขึ้น มือทั้ง 2 ข้างจับขอบเตียงให้แน่น เพื่อช่วยให้เด็กเคลื่อนต่ำได้เร็วขึ้น
-
การตัดฝีเย็บ
การตัดฝีเย็บ หมายถึง การทําให้บริเวณปากช่องคลอดกว้างขวางขึ้น เพื่อสะดวกในการเคลื่อนผ่าน ของตัวเด็ก ซึ่งปัจจุบันนี้นิยมปฏิบัติกันมาก ประโยชน์ของการตัดฝีเย็บมีดังต่อไปนี้
- ลดอันตรายต่อสมองของเด็ก เช่น เลือดออกภายในสมอง จากการที่ศีรษะเด็กกดดันบริเว ณปาก ช่องคลอดเป็นเวลานาน ระหว่างที่ศีรษะเด็กพยายามดันบริเวณฝีเย็บและช่องคลอดให้ถ่างกว้างออก
- ป้องกันการฉีกขาดหรือการหย่อนยานของ pelvic floor ซึ่งมีส่วนสําคัญในการขับถ่ายอุจจาระ และปัสสาวะ รวมทั้งการหดรัดตัวของปากช่องคลอดบางส่วนด้วย
- สะดวกแก่การซ่อมแซมฝีเย็บในรายที่ถ้าปล่อยทิ้งไว้ให้การคลอดดําเนินไปเองต่อไป จะต้องเกิด การฉีกขาดอย่างแน่นอน
- ลดเวลาในระยะที่สองของการคลอด
ข้อบ่งชี้ในการตัดฝีเย็บ
-
- ผู้คลอดครรภ์หลังที่เคยเย็บฝีเย็บมาแล้วหรือมีประวัติการฉีกขาดของฝีเย็บจากการคลอด ครั้งก่อน
- ในการคลอดที่ใช้สูติศาสตร์หัตถการโดยเฉพาะการทําคลอดด้วยคีม
-
- ในรายที่เด็กคลอดก่อนกําหนดเพื่อป้องกันไม่ให้ศีรษะเด็กถูกกดมากเกินไป
6.ในรายที่เด็กอยู่ในทา่ผิดปกติเช่นท่าท้ายทอยอยู่ด้านหลัง(occiputposterior)ท่าหน้า (face presentation)เพราะขนาดของศีรษะเด็กที่ใช้ในการคลอดมักจะมีขนาดใหญ่กว่าปกติ
- ในรายที่มีระยะที่สองของการคลอดยาวนาน หรือมีอาการที่แสดงว่ามีการขาดออกซิเจนของเด็ก ในระยะที่สองของการคลอด
- ในรายที่มี subpubic arch แคบ
- ในรายที่มี rigidity of perineum
- ในรายที่มีการบวมหรือเส้นเลือดขอดบริเวณฝีเย็บ 11. ผิวหนังที่ฝีเย็บเริ่มปริ
ชนิดของการตัดฝีเย็บ
- Medio-lateralเป็นวิธีที่นิยมกันมากการตัดเริ่มจากบริเวณกลางfourchetteลงไปบริเวณ ฝีเย็บข้างใดข้างหนึ่งเป็นแนวเฉียง ประมาณ 45 องศา หรือห่างจาก anus 2-3 เซนติเมตร
มีวิธีการตัดโดยใช้นิ้วชี้และนิ้วกลางของมือซ้ายสอดเข้าไปอยู่ระหว่างศีรษะเด็กและฝีเย็บ มือขวาจับ กรรไกรและสอดไว้ระหว่างนิ้วมือและฝีเย็บเพื่อป้องกันกรรไกรตัดถูกส่วนของศีรษะเด็ก
ผู้ทําคลอดกะแนวของฝีเย็บบริเวณที่จะตัดไว้โดยกะแนวเฉียงออกจากกึ่งกลางของ fourchette ประมาณ 45 องศา หรือให้ปลายกรรไกรอยู่ห่างจาก anus ประมาณ 2.5-3 ซ.ม. เมื่อมดลูกหดรัดตัว ผู้คลอด เบ่งเต็มที่ก็ทําการตัดทันทีโดยตัดยาวประมาณ 3 ซ.ม. การตัดให้ตัดยาวลงไปครั้งเดียวไม่ควรตัดสั้น ๆ หลาย ครั้งเพราะจะทําให้ขอบแผลไม่เรียบยากกว่าการซ่อมแซม การตัดเพียงครั้งเดียวเยื่อบุช่องคลอดจะถูกตัดด้วย แต่ถ้าเยื่อบุช่องคลอดไม่ถูกตัดให้ตัดเยื่อบุช่องคลอดอีกครั้งหนึ่ง เพื่อให้ช่องคลอดกว้างขึ้นมิฉะนั้ นแล้วจะเกิด การฉีกขาดของเยื่อบุช่องคลอดอีก ซึ่งทําให้ขอบแผลกระรุ่งกระริ่ง และการซ่อมแซมจะเป็นไปได้ยากเช่นกัน
- Median เป็นที่นิยมแพร่หลายเช่นกัน การตัดเริ่มจากแนวกลาง fourchette ลงไปตรงๆ ตัด ประมาณ 2.5-3 ซ.ม. ของฝีเย็บ
- J.shaped เริ่มตัดจากตรงกลาง fourchette ลงไปตรงๆ ประมาณ 2 ซ.ม. แล้วเฉียงออกไป ด้านข้างของฝีเย็บเพื่อหลีกเลี่ยงบริเวณทวารหนัก วิธีนี้ไม่นิยมใช้ในปัจจุบัน เพราะเย็บแผลยาก แผลที่ซ่อม แล้วมักมีรอยย่น
- Lateral การตัดจะตัดออกไปตามแนวราบของฝีเย็บข้างใดข้างหนึ่ง วิธีนี้ไม่เป็นที่นิยมใช้ในปัจจุบัน เช่นกัน เนื่องจากมีเลือดออกมากและแผลหายช้า อาจตัดเอาท่อของต่อม Bartholin ซึ่งมีหน้าที่สําคัญในการ ขับเมือกเพื่อช่วยหล่อลื่นบริเวณ vestibule ระหว่างที่มีการกระตุ้นทางเพศ นอกจากนี้ยังทําให้กล้ามเนื้อชั้น ลึกหย่อนและเย็บลําบาก
-
-
-
การซ่อมแซมฝีเย็บ
วัตถุประสงค์
-
-
- เพื่อให้พื้นเชิงกรานกลับสู่สภาพเดิม
-
-
1.เย็บซ่อมแซมผนังช่องคลอด โดยใช้เข็ม noncutting กับ chromic catgut 2/0 เข็มแรก เริ่มตั้งแต่เหนือจุดยอดของแผลในช่องคลอด 1 เซนติเมตร ซึ่งถือว่ามีความสําคัญมาก เพื่อป้องกัน เลือดออกบริเวณนี้ การเย็บจะต้องเย็บถึงก้นแผล พยายามไม่ให้เกิดช่องว่างซึ่งจะทําให้เกิดเลือดขังได้ภายหลัง และจะทําให้แผลไม่ติดหรือมีการอักเสบได้ง่าย เข็มต่อๆมาเย็บเยื่อบุช่องคลอดลงมาถึงปากช่องคลอดโดยเย็บแบบ simple interrupted โดยให้เย็บแต่ละ เข็มห่างกันประมาณ 1 เซนติเมตร
2.เย็บชั้นกล้ามเนื้อของปากช่องคลอดและฝีเย็บ โดยใช้ catgut 2/0 ถ้ากล้ามเนื้อในฝีเย็บ ขาดลึกมาก อาจ ต้องเย็บ 2 ชั้น ชั้นนอกควรเย็บสับหว่างกับชั้นใน เพื่อควบคุมการเสียเลือดได้ดียิ่งขึ้น
- คลึงมดลูกให้แข็งแล้วกดยอดมดลูกเพื่อไล่ก้อนเลือดอีกครั้งหนึ่ง ประเมินการเสียเลือดทั้งหมด ทําความ สะอาดบริเวณช่องคลอดให้สะอาด
- ตรวจดูความเรียบร้อยของแผลหลังการเย็บว่ามีเลือดออกจากแผลหรือมี hematoma หรือไม่
- ใช้มือซ้ายถ่างช่องคลอด มือขวาดึง tampon ออกโดยช้าๆทีละก้อน
- ตรวจทางทวารหนัก เพื่อตรวจสอบว่าไม่ได้เย็บผ่านผนังหน้าของทวารหนัก ถ้าคลําพบเส้น catgut จะต้อง เลาะออกแล้วเย็บใหม่ เพื่อป้องกัน rectovaginal fistula และ Abscess
3.เย็บชั้นของผิวหนังของฝีเย็บเข้าด้วยกัน โดยใช้เข็ม cutting และด้ายดําเบอร์ 40 แบบ Big American หรือ Vertical mattress stitch การผูกให้หลวมหน่อยเพื่อป้องกันไม่ให้แน่นเกินไปเมื่อแผลบวมในระยะหลังคลอด การเย็บแบบนี้ ถ้าแผลหายแล้วต้องตัดเอาด้ายดําที่ผูกออก แต่ถ้าเย็บ subcutaneous tissue ด้วย catgut สอดไปมาระหว่างขอบทั้ง 2 ข้าง ของแผล เมื่อแผลหายแล้ว ไม่ต้องตัด catgut ออก อย่างไรก็ดีการเย็บผิวหนังไม่ควรใช้ catgut เพราะก่อให้เกิดความระคายเคืองแก่ ผิวหนังโดยรอบ catgut มากผิดกับด้าย และจะเห็นบริเวณรอบเส้น catgut เป็นรูกว้างซึ่งอาจเป็นทางนําการ อักเสบลงไปสู่ส่วนลึกของแผลได้
- สอดผ้าซับเลือดไว้เพื่อสังเกตเลือดที่ออกในระยะหลังคลอด ปลดขาผู้คลอดออกจากขาหยั่ง จัดให้นอน หงายเหยียดขาชิดกัน ให้นอนพักเพื่อสังเกตอาการอย่างใกล้ชิด
- ย้ายมารดาไปสังเกตอาการที่ห้องดูแลมารดา 2 ชั่วโมงหลังคลอด
- ทําความสะอาดเตียงคลอดเพื่อใช้ในรายต่อไป ล้างเครื่องมือทําคลอดเพื่อ Pack ส่งนึ่ง บันทึกรายงานการคลอด ตามแบบฟอร์มให้ถูกต้อง ชัดเจน
อาการแสดง
การหดรัดตัวของมดลูก
ในระยะนี้จะมีการหดรัดตัวของมดลูกถี่ขึ้น นานและรุนแรง โดยหดรัดตัวนาน 60-90 วินาทีทุก 2-3 นาที ซึ่งการหดรัดตัวที่รุนแรงและนาน จะมีผลทําให้ส่วนนําของทารก เคลื่อนต่ำลงมา นอกจากนี้ จะทําให้เกิดแรงดันในถุงน้ําทูนหัวส่วนนํา (Hind water) เพิ่มมากขึ้น จึงทําให้ ถุงน้ําแตก ดังนั้น เมื่อพบว่าถุงน้ําแตกก็จัดว่าเป็นอาการที่เข้าสู่ระยะที่ 2 ของการคลอดได้ ยกเว้นในระยะที่มีภาวะแทรกซ้อนคือ ถุงน้ําแตกก่อนกําหนด (Premature rupture of membrane : PROM) ในกรณีที่มดลูกมีการหดรัดตัวที่ไม่ดี จะมีผลทําให้ระยะที่ 2 ของการคลอดยาวนานได้
-
การเปลี่ยนแปลงของรก
ระยะนี้ทารกจะอยู่ในลักษณะก้มมากขึ้น และเคลื่อนผ่านช่อง เชิงกรานลงมาตามกลไกการคลอด ซึ่งจะสังเกตได้จากตําแหน่งการฟังเสียงหัวใจเด็กมีกระบังเคลื่อนลงต่ำ
ลักษณะฝีเย็บ
จะมีลักษณะโป่ง นูนได้ ซึ่งเกิดจากการที่ทารกมีการเคลื่อนต่ำลงมาถ่างขยายช่อง คลอด นอกจากนี้ จะทําให้เกิดการฉีกขาดของเยื่อบุช่องคลอด ทําให้มีเลือดออก (Bloody show) ทางช่องคลอดปรากฎให้เห็น ซึ่งอาการดังกล่าวข้างต้น จะทําให้ผู้คลอดมีอาการและอาการแสดงที่บ่งบอกและ พยาบาลสามารถสังเกตได้ดังนี้
-
-
-
-
-
จากการ PV หรือ PR พบว่าปากมดลูกเปิดหมด 10 เซนติเมตร เมื่อมีอาการหรืออาการแสดงเช่นนี้
ให้ตรวจภายในประเมินการเปิดขยายและความบางของปากมดลูก เพื่อตัดสินใจย้ายเข้าห้องคลอด โดยทั่วไป ในครรภ์แรกย้ายเข้าห้องคลอดเมื่อปากมดลูกเปิดหมด ส่วนครรภ์หลังย้ายเมื่อปากมดลูกเปิด 5-7 เซนติเมตร ขึ้นไป และมารดารู้สึกอยากเบ่งปวดถ่ายอุจจาระ
-
การทำคลอดทารกท่าปกติ
การทำคลอดไหล่
ท่าคลอดไหล่หน้า ใช้มือจับศีรษะให้อยู่ระหว่างอุ้งมือทั้งสองข้างแล้วค่อยๆโน้มศีรษะเด็ก ลงมาข้างล่างตามแนวทิศทางของช่องเชิงกรานส่วนบน เมื่อเห็นไหล่หน้าจนถึงซอกรักแร้จึงหยุด ห้ามเอามือดึงรั้งใต้คาง
ท่าคลอดไหล่หลัง จับศีรษะเด็กให้อยู่ระหว่างอุ้งมือทั้งสองข้างเช่นเดียวกับการทําคลอดไหล่หน้า แล้วยกศีรษะเด็กขึ้นในทิศทางประมาณ 45 องศากับแนวดิ่ง ห้ามสอดนิ้วเข้าไปดึงรักแร้หรือใต้คางเด็ก จนกระทั่งแขนทั้งสองคลอดออกมาแล้วจึงหยุดดึงเด็ก
การทำคลอดลำตัว
เด็กเกิดหมดทั้งตัวแล้วให้วางเด็กลงบนผ้า sterile โดยวาง เด็กให้ตะแคงหันหลังเข้าหาปากช่องคลอดของมารดาและจัดให้สายสะดือวางพาดอยู่บนลําตัว การที่วางเด็ก เช่นนี้ก็เพื่อป้องกันมิให้มือและแขน ขา ของเด็กซึ่งจะเคลื่อนไหวไปมาเวลาเด็กดิ้นไป contarminate บริเวณ anus ได้ และเป็นการป้องกันการสําลักของเมือกต่าง ๆ ที่อยู่ในปากและจมูกของเด็ก ขณะเดียวก็ทําให้มีการ drainage ดีด้วย หลังจากนั้นต้อง clear air way จนกว่าเด็กจะร้องและหายใจเองได้ดี ในรายที่เด็กเขียว มี asphyxia มากๆ ต้องรีบหนีบสายสะดือด้วย cord clamp 2 ตัวและตัดระหว่างกลาง แล้วจึงส่งเด็กไป resuscitate
การทำคลอดศีรษะ
ผู้ทําคลอดใช้มือ ซ้ายแตะไว้ที่ส่วนนํา 3 นิ้ว คือ นิ้วหัวแม่มือ นิ้วชี้และ
นิ้วกลาง เพื่อป้องกันไม่ให้ศีรษะเงยเร็วจนเกินไป ระยะนี้ส่วนใหญ่ของศีรษะโผล่ออกมาแล้ว ผู้คลอดจะรู้สึกเจ็บปวดมากเหมือนฝีเย็บฉีกขาดออกจาก กัน จึงอยากเบ่งให้ศีรษะพ้นออกไปโดยเร็ว ดังนั้น จึงต้องป้องกันมิให้ศีรษะเด็กคลอดเร็วเกินไป โดยให้ผู้คลอด หยุดเบ่งและให้อ้าปากหายใจเข้าออกยาวๆ
-
การตัดสายสะดือ
-
อ้อมชายหนึ่งของเทปรอบสายสะดืออีกครั้ง แล้วผูกเงื่อนกระตุกไว้บนรอยเดิม ภายหลังที่อาบน้ําเด็กแล้ว สายสะดือที่ผูกไว้ตอนแรกอย่างแน่นอาจหลวมลงได้ ทําให้มีเลือดเนื่องจาก Wharton jelly หดตัวลง จากการเสียน้ําไปอย่างรวดเร็ว แล้วจึงผูกให้แน่นด้วยเงื่อนตาย ภายหลังอาบน้ําเด็กเรียบร้อยแล้วอีกครั้งหนึ่ง
ผูกด้ายฟอกเหนือตําแหน่งที่ผูกเทปประมาณ 3 ซ.ม. ให้แน่นด้วยเงื่อนตาย แต่กรณีที่ต้องการเก็บ Cord blood ให้ใช้ arterial clamp แทน
ทําความสะอาดบริเวณระหว่างรอยผูกทั้งสองด้วยสําลีชุบแอลกอฮอล์และทิงเจอร์ไอโอดีน หรือน้ํายาฆ่าเชื้ออย่างอื่น แล้วพาดสายสะดือบนนิ้วกลางและนิ้วนางข้างซ้าย เอานิ้วชี้และนิ้วก้อยทับอยู่บน สายสะดือ สอดสําลีชุบน้ํายาฆ่าเชื้อไว้ใต้สายสะดือตรงตําแหน่งที่จะตัด มือขวาถือกรรไกรสําหรับตัดสาย สะดือ การตัดให้หันปลายกรรไกรเข้าหาอุ้งมือที่พาดสายสะดือไว้ และให้กําอุ้งมือข้างนั้นไว้ขณะที่ทําการตัด ทั้งนี้เพื่อป้องกันมิให้ตัดนิ้วของเด็กที่กําลังเคลื่อนไหวอยู่ตลอดเวลา ควรตัดสายสะดือให้ห่างจากสายเทป ประมาณ 1 ซ.ม. ขณะตัดควรระวังไม่ดึงรั้งสายสะดือมาก เพราะจะทําให้เกิดการฉีกขาดตรงรอยต่อระหว่าง สายสะดือกับผิวหนังหน้าท้องเด็กได้
บีบชายสะดือข้างที่ติดทางหน้าท้องเด็ก บริเวณระหว่างเทปที่ผูกและผนังหน้าท้องเด็ก แล้วใช้สําลีที่รองไว้นั้น เช็ดเลือดที่ปลายสะดือออกให้หมด บีบซ้ำอีกครั้งเพื่อดูว่ามีเลือดไหลซึมออกมาอีกหรือไม่ ซึ่งอาจเกิดขึ้นได้ถ้าผู้ทําคลอดผูกสายสะดือไม่แน่นพอ
การเตรียมคลอด
การเตรียมตัวผู้ทําคลอด
-
เมื่อจะทําการตรวจทางช่องคลอด หรือทําคลอดต้องผูก mask เพื่อป้องกันการติดเชื้อใน ระยะคลอดและหลังคลอด โดยเฉพาะเชื้อ Beta hemolytic streptococci ซึ่งอยู่ตามระบบทางเดินหายใจ และปากของคน และก่อให้เกิดพยาธิสภาพด้วยการติดเชื้อทางน้ําลายได้
-
-
การเตรียมผู้คลอด
ท่านอน
นอนหงายชันเข่า (Dorsal recumbent)
นอนหงาย ชันเข่าขึ้น แยกขากว้าง มือทั้งสองข้างจับข้างเตียงไว้ สําหรับยึดเวลาเบ่งเหมาะสําหรับนักศึกษา
-
ท่าขึ้นขาหยั่ง (Lithotomy position)
การวางขาพาดบน ขาหยั่งนานเกินไป นอกจากจะทําให้ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อและมีอาการชาแล้ว ยังทําให้การไหลเวียนของเลือด ส่วนปลายลดน้อยลงด้วย เกิดการอักเสบของหลอดเลือดดําตามมาภายหลังคลอดได้
-
ปูผ้า
สวมปลอกขาถึงโคนขาทั้ง 2 ข้าง โดยสอดมือเข้าไปใต้ผ้าที่พับตลบกลับด้านโคนขาสวมปลอกขาด้านใกล้ตัวของผู้ทําคลอดก่อนแล้วจึงสวมปลอกขาด้านไกลตัว ปูผ้าสี่เหลี่ยมบริเวณหน้าท้องถึงหัวเหน่าโดยพับเป็น 2 ทบ วางด้านสันไว้ที่บริเวณยอดมดลูกเผื่อหญิงมีครรภ์เอามือมาโดนผ้าชิ้นนี้จะได้สอดมือเข้าไปใช้ด้านในที่สะอาดแทน และปูผ้ารองก้นโดยพับผ้าเข้ามา 1 ใน 4 ส่วนหงายมือทั้งสองข้างสอดเข้าใต้ผ้าที่พับลง แล้วสอดเข้าใต้ก้นของหญิงมีครรภ์ ขณะถอนมือออกมาต้องระมัดระวังไม่ให้มือไปโดนก้นหญิงมีครรภ์
การเตรียม
-
เครื่องมือ
-
-
-
-
-
ถ้วยเล็กสําหรับใส่ Triple dye 1 ใบ สําหรับเช็ดสายสะดือเด็กก่อนและหลังตัด ลูกสูบยาง 1 อัน สําหรับใช้ดูดมูกจากจมูกและในลําคอเด็ก
เครื่องมือ ได้แก่ เสื้อกาวน์ 1 ตัว , ถุงเท้า 1 คู่ ,ผ้ารองคลอดผืนใหญ่ 1 ผืน , ผ้าปูหน้า crib เด็ก 1 ผืน, ผ้า safe perineum 1 ผืน , ผ้าเช็ดตัวเด็ก 1 ผืน , เครื่องใช้ต่าง ๆ