Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
หน่วยที่ 8 วิธีการช่วยเหลือการพยาบาลมารดาที่ทำสูติศาสตร์หัตถการ,…
หน่วยที่ 8 วิธีการช่วยเหลือการพยาบาลมารดาที่ทำสูติศาสตร์หัตถการ
การชักนำการคลอด(Induction of labor)
ข้อห้ามในการชักนำให้เจ็บครรภ์คลอด
ภาวะศีรษะทารกไม่ได้สัดส่วนกับช่องทางคลอด (cephalopelvic disproportion)
ทารกอยู่ในท่าผิดปกติ เช่น ท่าขวาง
ภาวะรกเกาะต่ำ (placenta previa)
ภาวะสายสะดือย้อย (prolapsed cord)
มีประวัติผ่าตัดมดลูก
มีเนื้องอกในอุ้งเชิงกรานขัดขวางการคลอด
การชักนำการคลอดโดยใช้หัตถการ (surgical induction of labor)
การเซาะแยกถุงน้ำคร่ำ
การสอดนิ้วเข้าไปเซาะแยกถุงน้ำคร่ำ (chorionic membrane)ออกจากปากมดลูก และ decidua ของมดลูกส่วนล่าง การเซาะแยกถุงน้ำคร่ำจะกระตุ้นให้มีการหลั่งphospholipase A2 enzyme จาก endocervix
การเจาะถุงน้ำคร่ำ (artificial ruptured of membrance : AROM)
เป็นการใช้เครื่องมือใส่เข้าไปในช่องคลอด แล้วสอดเข้าไปในปากมดลูกเจาะถุงน้ำคร่ำให้แตก
การเจาะถุงน้ำจะทำให้การเร่งคลดสำเร็จมากยิ่งขึ้นต้องทำหลังจากประเมิน ค่าคะแนน Bishop’s
score ได้ค่าคะแนนที่ระดับ 7 เป็นต้นไป
ภาวะแทรกซ้อนจาการชักนำการคลอดโดยการเจาะถุงน้ำคร่ำ
ภาวะแทรกซ้อนต่อทารก
ทารกคลอดก่อนกำหนด
ภาวะแทรกซ้อนต่อมารดา
การติดเชื้อในโพรงมดลูก
ตกเลือดก่อนคลอดจากรกลอกตัวก่อนกำหนด
การช่วยคลอดด้วยคีม (Forceps Extraction)
หน้าที่ของคีม
Extraction ใช้คีบและดึงศีรษะทารก ออกจากช่องทางคลอดแทนแรงเบ่งของมารดา
Rotation เป็นการใช้คีมจับศีรษะทารกและหมุนให้อยู่ในตำแหน่งที่เหมาะสม
Compression ใช้คีมดึงศีรษะทารก แต่ในขณะดึงจะมีแรงส่วนหนึ่งบีบศีรษะทารกด้วย บางกรณีใช้คีมเพื่อบีบศีรษะทารก
Vectis เป็นการใช้คีมเพียงข้างเดียวในการช้อนหรือยกศีรษะทารกจากช่องคลอด
ข้อบ่งชี้ของการคลอดโดยใช้คีม
ด้านมารดา
ระยะที่สองของการคลอดยาวนานกว่าปกต
ไม่มีความก้าวหน้าของการคลอดในระยะที่ 2
. มารดาไม่ให้ความร่วมมือในการคลอด (lack of cooperation of mother)
การหดรัดตัวของมดลูกไม่ดี (dimination of expulsive contraction)
ด้านทารก
ทารกขาดออกซิเจน (fetal distress) หัวใจทารกเต้นช้าลงน้อยกว่า 100 ครั้ง /นาที มี latedeceleration
ทารกอยู่ในท่าผิดปกติ (abnormal position)
ส่วนนำของทารกเป็นก้น (after coming head)
การหมุนเวียนของศีรษะผิดปกติ (arrest of rotation of head)
ภาวะแทรกซ้อนจากการคลอดโดยใช้คีม
ภาวะแทรกซ้อนต่อมารดา
การฉีกขาดของช่องคลอด
อันตรายต่อกระเพาะปัสสาวะ
เกิดการหย่อนของกล้ามเนื้ออุ้งเชิงกราน พังผืด
เกิดการแยกของกระดูกหัวหน่าว (symphysis pubis) และ sacroiliac joint ทำให้ปวดหัวหน่าว
การตกเลือดหลังคลอดจากการฉีกขาดของช่องทางคลอดหรือมดลูกไม่หดรัดตัว
ภาวะแทรกซ้อนต่อทารก
อันตรายต่อกระโหลกศีรษะทารก
บาดเจ็บบริเวณหนังศีรษะ
อันตรายต่อเส้นประสาท
หูหนวก จากบาดแผลหรือมีเลือดออกในอวัยวะเกี่ยวกับการได้ยิน
กระบอกตาถูกบีบ ทำให้มีเลือดออก (retrobulba hematoma)
บาดเจ็บต่อผิวหนัง
การคลอดด้วยเครื่องสุญญากาศ (vacuum extraction)
ข้อบ่งชี้ในการคลอดด้วยเครื่องสุญญากาศ
ด้านมารดา
การคลอดระยะที่ 2 ยาวนาน หรือช้ากว่าปกติหรือไม่ก้าวหน้า และ/หรือการหดรัดตัวของมดลูกน้อยจะใช้เครื่องดูดสุญญากาศร่วมกับให้ออกซิเจนทางหลอดเลือดดำ
มารดาอ่อนแรงจากการคลอดที่ยาวนานหรือแรงเบ่งไม่ดี
มารดาที่โรคประจำตัวที่ไม่ควรให้เบ่งคลอด เช่น โรคหัวใจ โรคความดันโลหิตสูง
ด้านทารก
การหมุนเวียนของศีรษะทารกผิดปกติ เช่น occiput posterior และ occiput transverse
ทารกอยู่ในภาวะ fetal distress ที่ไม่รุนแรง
ข้อห้ามในการช่วยคลอดด้วยเครื่องดูดสุญญากาศ
มีการผิดสัดส่วนระหว่างศีรษะทารกกับช่องเชิงกรานมารดาจากชัดเจน
การคลอดทารกก่อนกำหนด
มีการพลัดต่ำของสายสะดือ
ทารกอยู่ในภาวะ fetal distress โดยที่ปากมดลูกยังเปิดไม่หมด
ทารกท่าผิดปกติ เช่น ท่าหน้า ท่าก้น และท่าขวาง เป็นต้น
ภาวะที่ต้องมีให้ครบก่อนการทำคลอดด้วยเครื่องดูดสุญญากาศ (condition fulfilled)
ปากมดลูกเปิดหมดไม่มีการผิดสัดส่วนระหว่างศีรษะทารกกับเชิงกรานของมารดา
ส่วนนำเป็นท่าศีรษะเข้าสู่อุ้งเชิงกรานแล้ว
ถุงน้ำคร่ำแตก
ไม่มีก้อนเนื้องอกมาขวางช่องทางคลอด
สวนปัสสาวะและอุจจาระให้ว่าง
ได้รับยาระงับความรู้สึกเฉพาะที่
ภาวะแทรกซ้อนจากการทำคลอดโดยใช้เครื่องสุญญากาศ
ภาวะแทรกซ้อนต่อมารดา
การฉีกขาดของปากมดลูก ช่องทางคลอด
การตกเลือดหลังคลอด เกิดขึ้นได้กรณีการฉีกขาดของปากมดลูกและช่องทางคลอด
ภาวะแทรกซ้อนต่อทารก
มีก้อนเลือดใต้ชั้นเยื่อหุ้มกระดูกกระโหลกศีรษะ (cephalhematoma)
การบวมของหนังศีรษะบริเวณที่ cup จับกับศีรษะทารก (caput succedaneum)
มีรอยถลอก และเขียวช้ำบริเวณศีรษะ (ulceration and echymosis)
subgaleal hematoma ถ้าเป็นรุนแรงอาจทำให้ทารกตายได้
การผ่าตัดคลอดทางหน้าท้อง (cesarean section)
ข้อบ่งชี้ในการผ่าตัดคลอดทางหน้าท้อง
ข้อบ่งชี้สมบูรณ์ (absolute indication) เป็นข้อบ่งชี้ที่ต้องทำการผ่าตัดอย่างแน่นอน
การคลอดติดขัด (mechanical obstruction or mechanical dystocia)
รกเกาะต่ำ (placenta previa)
กระดูกเชิงกรานหัก หรือมีความผิดปกติของช่องคลอด
มะเร็งปากมดลูกที่พบภายหลังตั้งครรภ์ได้ 12 สัปดาห์ไปแล้ว
ตั้งครรภ์ภายหลังผ่าตัดตกแต่งช่องคลอด
ข้อบ่งชี้สัมพัทธ์ (relative indication) เป็นข้อบ่งชี้ที่อาจจะผ่าตัด
มารดาที่เคยมีการผ่าตัดที่ผนังมดลูก
ตกเลือดก่อนคลอดที่อาจมีอันตรายต่อมารดาหรือทารก ถ้าให้คลอดทางช่องคลอด
โรคแทรกซ้อนทางอายุรศาสตร์ที่สำคัญ เช่น เบาหวาน
ทารกในครรภ์อยู่ในภาวะอันตราย
ครรภ์แฝดที่ทารกไม่ได้อยู่ในท่าศีรษะเป็นส่วนนำทั้งคู่
ผู้คลอดมีประวัติคลอดยาก ทารกตาย
ข้อห้ามในการผ่าตัดคลอดทางหน้าท้อง
ทารกตายในครรภ์ ยกเว้นมีข้อบ่งชี้ทางฝ่ายมารดา เช่น ตกเลือดก่อนคลอด
ทารกมีความพิการแต่กำเนิดอย่างมาก และไม่สามารถมีชีวิตอยู่ได้หลังคลอด (incompatible
with life)
เกิดภาวะเลือดไม่แข็งตัว แต่ถ้าจำเป็นต้องผ่าตัด ต้องแก้ไขภาวะนี้ให้ปกติเสียก่อน
ภาวะแทรกซ้อนจากการผ่าตัดคลอดทางหน้าท้อง
ภาวะแทรกซ้อนขณะทำการผ่าตัด
มารดา
ภาวะแทรกซ้อนจากยาระงับความรู้สึก เช่น การกดการหายใจ ความดันโลหิตต่ำ
เกิดการฉีกขาดต่อแผลผ่าตัดบนตัวมดลูก
เกิดการตกเลือดจากตัดถูกเส้นเลือดที่มดลูกเส้นใหญ่ๆ
ทารก
เกิดภาวะ asphyxia
เกิดการบาดเจ็บต่อทารกจากการผ่าตัด หรือจากการทำคลอดโดยเฉพาะทารกท่าขวาง
ภาวะแทรกซ้อนภายหลังผ่าตัด
เกิดการตกเลือดภายในช่องท้อง
เกิดภาวะท้องอืด (paralytic ileus)
เกิดการติดเชื้อภายในช่องท้อง (peritonitis)
เกิดการติดเชื้อของแผลผ่าตัด
การพยาบาลเพื่อเตรียมผ่าตัดคลอดบุตรทางหน้าท้อง
สวนอุจจาระเช้าวันที่จะทำการผ่าตัด
เตรียมหน้าท้อง และใส่สายสวนปัสสาวะในวันที่จะทำการผ่าตัด
เจาะเลือดและจองเลือดชนิด whole blood 2 unit
NPO อย่างน้อย 8 ชั่วโมง
การช่วยคลอดท่าก้น ( Breech assisting )
ปัจจัยส่งเสริมให้ทารกในครรภ์อยู่ในท่าก้น
เคยคลอดบุตรมาหลายครั้ง (grand multipara)
ครรภ์แฝด
ครรภ์แฝดน้ำ น้ำคร่ำน้อย
เด็กหัวบาตร
รกเกาะต่ำ หรือเกาะที่บริเวณ cornu
เชิงกรานแคบ
ทารกเติบโตช้าในครรภ์
มดลูกรูปร่างผิดปกติ
ทารกรูปร่างผิดปกติ
การคลอดก่อนกำหนด (Prematurely)
การคลอดทางช่องคลอดของท่าก้นมี 3 วิธีคือ
Spontaneous breech deliveryเด็กท่าก้นที่คลอดได้เอง ส่วนมากพบในเด็กที่มีขนาดเล็กและเป็นครรภ์หลัง มดลูกหดรัดตัวดี มารดามแรงเบ่งดี การคลอดสิ้นสุดภายใน 8-10 นาที นับจากสะดือของเด็กพ้นปากช่องคลอดออกมา
Partial breech extraction
การปล่อยให้ทารกคลอดออกเองตามธรรมชาติจนถึงระดับสะดือแล้วจึงช่วยคลอดส่วนที่เหลือ
Total breech extraction เป็นการดึงตัวทารกออกมาทางช่องคลอดตั้งแต่ส่วนก้นยังอยู่ในระดับ Pelvic floor หรือสูงกว่านี้การทำ Total breech extraction เป็นการทำสูติศาสตร์หัตถการที่ยากและมีอันตรายมาก
หลักการพยาบาลหลังช่วยคลอดท่าก้น
วัดสัญญาณชีพผู้คลอดทุก 2 - 4 ชั่วโมง เพื่อประเมินการตกเลือดหลังคลอด
สังเกตเลือดที่ออกทางช่องคลอด เนื่องจากอาจมีการฉีกขาดของช่องทางคลอด
สังเกตการหดรัดตัวมดลูกเป็นระยะๆโดยการคลำที่ยอดมดลูก
สังเกตอาการและอาการแสดงของการตกเลือดหลังคลอด
ดูแลมารดาให้ได้รับเครื่องดื่มหรืออาหารอ่อนในระยะ 2 ชั่วโมงแรกหลังคลอด เพื่อทดแทนพลังงาน
ที่สูญเสียไปในระยะคลอด
6.ดูแลให้มารดาได้รับการพักผ่อนอย่างเพียงพอในระยะ 2 ชั่วโมงแรกหลังคลอดโดยจัดสิ่งแวดล้อมให้
สงบ
นางสาวสุธีมา เครือเครา รหัสนักศึกษา 621001401486 เลขที่ 19