Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
วิวัฒนาการ ประเด็นและแนวโน้มทางการพยาบาลจิตเวช (Evolution, Issues and…
วิวัฒนาการ ประเด็นและแนวโน้มทางการพยาบาลจิตเวช
(Evolution, Issues and Trends in Psychiatric Nursing)
วิวัฒนาการของจิตเวชศาสตร์ในต่างประเทศ
เป็นสิ่งที่ช่วยให้เกิดความเข้าใจถึงการเปลี่ยนแปลงและพัฒนาการทางด้านจิตเวช จำแนกได้เป็น 6 ยุค
3.ยุคกลางหรือยุคมืด ( MIDDLE AGES OR DARK AGES)ประมาณ 500-1500 ปีหลังคริสตศักราช
เป็นระยะเริ่มแรกของยุคคริสเตียนความ
เชื่อด้านจิตเวชกลับมาเชื่อเรื่องไสยศาสตร์เหมือนยุคดึกดำบรรพ์อีกมีการทรมานผู้ป่วยด้วยวิธีต่างๆ
คริสต์ศักราช1247 เกิดสถานดูแลผู้ป่วยจิตเวชเป็นแห่งแรกเรียกว่าหรือบ้านบ้าคลั่ง
ยุคก่อนจิตเวชสมัยใหม่
( PRODROMES OF MODERN PSYCHIATRY)
ศตวรรษที่ 17-18 เป็นหัวเลี้ยวหัวต่อของการแพทย์ปัจจุบันและพัฒนาการทางวิทยาศาสตร์เริ่มมีโรงพยาบาลจิตเวชแต่วิธีการรักษายังใช้การกักขังไม่ให้ติดต่อกับใครผู้ป่วยส่วนมากเป็นที่รังเกียจและถูกทอดทิ้ง ดูถูก
ยุควัฒนธรรมกรีกและโรมัน
ระยะที่กรีกเจริญรุ่งเรือง ความเชื่อในเรื่องการเจ็บป่วยทางจิตและการดูแลรักษาผู้ป่วยจิตเวชเปลี่ยนแปลงไปหันไปยึดหลักธรรมชาติ
Plato เป็นนักปราชญ์ชาวกรีกเชื่อว่าคนเจ็บป่วยทางจิตไม่ควรให้อยู่ปะปนกับคนในเมือง ญาติต้องรับผิดชอบการขับร้องเห่กล่อมและพิธีต่างๆจะช่วยในการรักษา
ฝ่ายโรมันยังเชื่อถืออำนาจเหนือธรรมชาติ เชื่อว่าความฝันเป็นลาง
ยุคต้นของจิตเวชสมัยใหม่
( EARLY MODERN PSYCHIATRY)
ช่วงปลายศตวรรษที่ 18-19 วิทยาศาสตร์และการแพทย์เจริญก้าวหน้า
เบนจามิน รัชปี 1745-181บิดาแห่งจิตเวชของสหรัฐอเมริกาเขียน
หนังสือเกี่ยวกับความผิดปกติทางจิตเป็นเล่มแรกเริ่มรับผู้ป่วยไว้รักษาในโรงพยาบาล ปฏิบัติต่อผู้ป่วยอย่างมีมนุษยธรรม ให้ผู้ป่วยทำงานเพื่อการรักษา
ประเทศฝรั่งเศส Philippe Pinel แพทย์สถานรักษาโรคจิตที่ Bicetre Asylumgเป็นผู้ปลดโซ่ตรวนให้ผู้ป่วยที่ถูกกักขัง ถือว่าเป็นสัญลักษณ์ของจิตเวชสมัยใหม่
William Tuke ปี 1732-1822 พ่อค้าชาวอังกฤษ เริ่มเป็นปากเสียงให้ผู้ป่วยจิตเวช จัดหาทุนเพื่อการรักษาก่อตั้งสถานรักษาโรคจิตชื่อ York Retreat ดูแลผู้ป่วยอย่างเข้าอกเข้าใจ
ปี 1802-1887 สหรัฐอเมริกา ครูสตรีชื่อ Dorothea Lynde Dix ร้องต่อรัฐสภาถึงสภาพที่ผู้ป่วยถูกกักขัง เป็นผลให้มีกฎหมายคุ้มครองดูแลผู้ป่วยจิตเวชและการสร้างโรงพยาบาลของรัฐเพื่อให้การรักษาผู้ป่วยจิตเวช
1.ยุคก่อนประวัติศาสตร์หรือยุค
ดึกดำบรรพ์
คนเชื่อในสิ่งศักดิ์สิทธิ์ อำนาจลึกลับ ผีสาง นางไม้ เทวดา เจ้าป่าเจ้าเขา คนเจ็บป่วยทางจิตจึงถูกกล่าวหาว่าถูกวิญญาณ ภูตผีปีศาจ
การรักษาทำโดยพระหรือหมอผี ใช้วิธีรดน้ำมนต์ ปัดเป่า กักขัง
6.จิตเวชสมัยใหม่ ( Modern Psychiatry)
ประมาณปลายศตวรรษที่ 19-20 มีการแสวงหาความรู้ด้วยระเบียบวิธีทางวิทยาศาสตร์ พัฒนาแนวคิดทฤษฎีทางจิตสังคม
ปี 1825-1895 Jean Charcot จิตแพทย์ชาวฝรั่งเศสใช้วิธีการสะกดจิตในการรักษาทางจิต
ปี 1856-1939 Sigmund Freud แพทย์ชาวออสเตรียรักษา
โดยการสะกดจิต คิดค้น และพัฒนาทฤษฏีจิตวิเคราะห์
ปลายศตวรรษที่ 20 ที่สหรัฐอเมริกา ได้มีการเรียกร้องสิทธิในเรื่องต่างๆ เช่นผู้พิการ ให้มีสิทธิ์เท่าเทียมกัน
มีการออกพระราชบัญญัติ และให้ทุนการศึกษา วิจัยเกี่ยวกับประสาทวิทยาและสมอง
วิวัฒนาการของจิตเวชศาสตร์ในประเทศไทย
1.ยุคดั้งเดิม ปีพุทธศักราช 2432 - 2467
สร้างโรงพยาบาลคนเสียจริตแห่งแรกที่ปากคลองสานปัจจุบันคือสถาบันจิตเวชศาสตร์สมเด็จเจ้าพระยา
ให้การรักษาอย่างมีเมตตา กรุณา สิ่งแวดล้อมสวยงาม ร่มรื่น ไม่ทอดทิ้งผู้ป่วยให้อยู่ในชุมชนดูแลตามยถากรรม ผู้ดูแลพูดจาดีกับผู้ป่วยถ้าทำร้ายผู้ป่วยจะได้รับโทษถูกไล่ออกและลงโทษตามกฏหมาย
2.ยุคโรงพยาบาลจิตเวชแผนใหม่ ปีพุทธศักราช 2468 - 2484
หลวงวิเชียรแพทยาคมเป็นผู้อำนวยการคนแรก เปลี่ยนชื่อ
โรงพยาบาลเป็น โรงพยาบาลโรคจิตธนบุรี
นายแพทย์ฝน แสงสิงแก้ว ผู้อำนวยการลำดับต่อมาได้รับสมญา
นามเป็น บิดาแห่งจิตเวชศาสตร์ไทย เปลี่ยนชื่อโรงพยาบาลเป็น โรงพยาบาลสมเด็จเจ้าพระยา
สร้างโรงพยาบาลจิตเวชตามภาคต่างๆ เช่น โรงพยาบาล ศรีธัญญา สวนปรุง สวนสราญรมย์
3.ยุคของงานสุขภาพจิต ปีพุทธศักราช 2485 - 2503
ริเริ่มงานส่งเสริมป้องกันปัญหาสุขภาพจิต เพื่อลดจำนวนผู้ป่วย เปิดคลินิกศูนย์สุขวิทยาจิต
ใช้วิธีการรักษาใหม่ๆแบบตะวันตก เช่นทำจิตบำบัด พฤติกรรมบำบัด บำบัดด้วยยากล่อมประสาท
ดำเนินงานโดยทีมงานสุขภาพจิตประกอบด้วย จิตแพทย์ นักจิตวิทยาคลินิก พยาบาลจิตเวช นักสังคมสงเคราะห์
4.ยุคแรกเริ่มงานสุขภาพจิตชุมชน
ปีพุทธศักราช 2504 - 2514
ดำเนินงานตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ปี2507
จัดให้มีการรักษาแบบ Milieu therapy
มีบ้านกึ่งวิถี Half - way house
มีโรงพยาบาลกลางวัน ( Day hospital)
5.ยุคของการผสมผสานงานสุขภาพจิตเข้ากับระบบบริการสาธารณสุข ปีพุทธศักราช 2515 - 2524
ให้ความสำคัญกับงานด้านสุขภาพจิตและจิตเวชชุมชน
ผสมผสานงานสุขภาพจิตเข้ากับระบบบริกาสาธารณสุขทั่วไป เช่น รพ.สต และฝ่ายจิตเวชในโรงพยาบาลทั่วไป
6.ยุคของการสาธารณสุขมูลฐาน ปีพุทธศักราช 2525 - 2534
ตามแผนพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 5,6
เป้าหมายให้ประชากรทั่วโลกมีสุขภาพดีถ้วนหน้าปี 2543
7.ยุคของงานส่งเสริมป้องกัน ปีพุทธศักราช 2535- ปัจจุบัน
ตามแผนพัฒนาฯฉบับที่ 7 สนับสนุนให้ประชาชนมีส่วนร่วมเน้นการส่งเสริมและป้องกันปัญหาสุขภาพจิตเชิงรุก
ตามแผนพัฒนาฯฉบับที่ 8 ลดการเกิดปัญหาสุขภาพจิต
พัฒนาคุณภาพบริการ ให้ประชาชนพึ่งพาตนเอง
ตามแผนพัฒนาฯฉบับที่ 9 และ 10 ยึดคนเป็นศูนย์กลางของการพัฒนาใช้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
ปีพุทธศักราช 2487 มีการสอนวิชาจิตเวชในโรงเรียนพยาบาล
ปี พุทธศักราช 2497 มีการฝึกปฏิบัติวิชาจิตเวชในโรงพยาบาลจิตเวช
ปีพุทธศักราช 2508 เปิดหลักสูตรวิชาการพยาบาลจิตเวชสำหรับครูพยาบาล
ปีพุทธศักราช 2509 อบรมหลักสูตรวิชาการพยาบาลจิตเวช 1 ปี ปัจจุบันอบรม 4 เดือน
ปีพุทธศักราช 2533 หลักสูตรปริญญาโทสาขาการพยาบาลสุขภาพจิตและจิตเวช
ปีพุทธศักราช 2520 ตั้งชมรมพยาบาลจิตเวช
ปีพุทธศักราช 2529 ตั้งสมาคมพยาบาลจิตเวชแห่งประเทศไทย
การพยาบาลสุขภาพจิตและจิตเวชในปัจจุบัน
มีการพัฒนาทั้งด้านการศึกษาและการบริการ
มีหลักสูตรเฉพาะทางสาขาการพยาบาลจิตเวชและสุขภาพจิต
มีหลักสูตรมหาบัณฑิตสาขาการพยาบาลจิตเวชและสุขภาพจิต หลักสูตร 2 ปี
หลักสูตรวุฒิบัตรสาขาการพยาบาลจิตเวช ( เทียบเท่าปริญญาเอก) เรียกว่า APN ต่อยอดจากหลักสูตรมหาบัณฑิต
งานบริการเน้น Holistic care การดูแลต่อเนื่องในชุมชน
ประเด็นที่เกี่ยวข้องการพยาบาลสุขภาพจิต
และจิตเวชในประเทศไทย
โครงสร้างประชากรมีผู้สูงอายุมากขึ้น และครอบครัวมีขนาด
เล็กลง แนวโน้มต่อไปจะเป็นครอบครัวเดี่ยวหรืออยู่คนเดียว
ความผิดปกติทางจิตเป็นสาเหตุของการสูญเสียปีสุขภาวะในระดับต้นๆ เช่น เพศชายก็จากแอลกอฮอล์ เพศหญิงก็อาการซึมเศร้า วิตกกังวล
บุคลากรด้านสุขภาพจิตมีน้อย เช่นจิตแพทย์ 0.86 ต่อแสนประชากร พยาบาลจิตเวช 3.74 ต่อแสนประชากร
ปัญหาสุภาพจิตเด็กมีมากขึ้น
การเปลี่ยนแปลงด้านเทคโนโลยี สังคม สิ่งแวดล้อม เศรษฐกิจ
และการเมือง
การบริการสุขภาพเน้นคุณภาพการดูแลและความปลอดภัยของ
ผู้ป่วยมากขึ้น
แผนพัฒนาเศรษฐกิจฯฉบับที่ 11 มุ่งสู่สังคมอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข
การก้าวเข้าสู่ประชาคมอาเซียนปีพุทธศักราช 2558
แนวโน้มการพยาบาลจิตเวช
ในประเทศไทย
การนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้
ผู้รับบริการมาจากหลากหลายวัฒนธรรม หลายศาสนา
ต้องพัฒนาความรู้ในการให้บริการข้ามวัฒนธรรม
ประชากรสูงอายุมากขึ้น
ปัญหาสุขภาพจิตและจิตเวชเด็กเพิ่มขึ้น
ประเด็นการเพิ่มคุณภาพการดูแลความปลอดภัยของผู้ป่วย
การขาดแคลนบุคลากรทางการพยาบาลสุขภาพจิตและจิตเวช
นางสาวกัณนิภา นักร้อง
รหัสนักษา 6301110801001