Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
รูปแบบการจัดการเรียนการสอน - Coggle Diagram
รูปแบบการจัดการเรียนการสอน
การจัดการเรียนการสอนแบบห้องเรียนกลับทาง (Flipped classroom)
ความหมาย
ห้องเรียนกลับทาง (Flipped Classroom) หมายถึง การกลับทางการเรียนรู้โดยไม่ได้เน้นเนื้อหามากแต่เน้นการพัฒนาทักษะและการปฏิบัติ ครูผู้สอนเปลี่ยนบทบาทจากผู้ถ่ายทอดความรู้มาเป็นผู้คอยให้คำแนะนำและให้คำปรึกษา อำนวยการเรียนรู้ตามความชื่นชอบและความสนใจของผู้เรียน นำสิ่งที่แต่เดิมทำในชั้นเรียนให้ไปทำที่บ้านนำสิ่งที่เคยให้ไปทำที่บ้านกลับมาทำในชั้นเรียน และจากเดิมที่ครูผู้สอนจะมีปฏิสัมพันธ์กับผู้เรียนทั้งชั้นเรียนมาเป็นกับผู้เรียนรายบุคคล
ข้อดีและข้อเสีย
ผู้เรียนสามารถกลับไปทบทวนได้ จัดเวลาในการเรียนรู้ได้ และมีปฏิสัมพันธ์กับเพื่อนแ
ผู้เรียนต้องมีความพร้อมในด้านสื่อในการเรียนรู้ และมีความรับผิดชอบในการเรียน
ขั้นตอนการสอน
ขั้นที่ 2 ทำความเข้าใจปัญหา ให้ผู้เรียนได้ทำความเข้าใจกับปัญหาที่ต้องเรียนรู้ จากวีดีทัศน์แล้วตั้งคำถามเพื่อกลับมาถามครูผู้สอน รวมทั้งสามารถตอบคำถามครูผู้สอนและเพื่อนได้
ขั้นที่ 3 ดำเนินการศึกษาค้นคว้า ให้ผู้เรียนกำหนดสิ่งที่ต้องการเรียน ศึกษาค้นคว้าด้วยตนเองโดยใช้วิธีการที่หลากหลาย ในเรื่องที่ตนเองสงสัย ซึ่งครูจะเป็นผู้คอยแนะนำให้คำปรึกษา
ขั้นที่ 1 กำหนดปัญหา ให้ครูผู้สอนจัดสถานการณ์ปัญหา เพื่อกระตุ้นผู้เรียนให้เกิดความสนใจและมองเห็นปัญหา โดยให้ผู้เรียนชมวีดีทัศนที่ครูผู้สอนได้นำไปแขวนบนอินเทอร์เน็ตหรือได้แจกเป็นดีวีดีให้ล่วงหน้า
ขั้นที่ 4 สังเคราะห์ความรู้ให้นักเรียนนำความรู้ที่ได้จากการศึกษาค้นคว้ามาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน อภิปราย และสังเคราะห์ความรู้ ที่ได้มาว่ามีความเหมาะสมเพียงใด
ขั้นที่ 5 ขั้นสรุปและประเมินค่าของคำตอบ ให้ผู้เรียนแต่ละกลุ่มสรุปผลงงานของตนและประเมินว่าข้อมูลจากการศึกษาค้นคว้ามีความเหมาะสมหรือไม่ โดนตรวจสอบแนวคิดภายในกลุ่มอย่างอิสระ แล้วผู้เรียนทุกคนช่วยกันสรุปองค์ความรู้ในภาพรวมของปัญหาอีกครั้ง
ขั้นที่ 6 นำเสนอและประเมินผลงาน ให้ผู้เรียนนำข้อมูลต่างๆ มาจัดระบบองค์ความรู้ และนำเสนอผลงานในรูปแบบที่หลากหลาย โดยผู้เรียนและครูผู้สอนร่วมกันประเมินผลงาน
การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดทฤษฎีรังสรรคนิยม (Constructivism)
ความหมาย
เกี่ยวกับความรู้และการเรียนรู้ โดยมีรากฐานมากจากปรัชญา จิตวิทยา ที่เชื่อว่า ความรู้และการเรียนรู้เป็นสิ่งที่ผู้เรียนสร้างขึ้นด้วยตนเองจากความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งที่พบกับความรู้เดิมโดยใช้กระบวนการทางปัญญา ผ่านการมีปฏิสัมพันธ์แลกเปลี่ยนกับผู้อื่น ซึ่งครูผู้สอนไม่สามารถปรับเปลี่ยนโครงสร้างทางปัญญาของผู้เรียนได้ แต่จะช่วยให้ผู้เรียนปรับเปลี่ยนโครงสร้างทางปัญญาโดยจัดสภาวะการณ์ที่ไม่สมดุลแก่ผู้เรียน แล้วใช้หระบวนการ Assimilation และ Accommodation ผ่านกิจกรรมการเรียนการสอน ทำให้ผู้เรียนกลับสู่สภาวะสมดุลในโครงสร้างทางปัญญา เรียกได้ว่า ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้สิ่งใหม่ สามารถสร้างความรู้ใหม่ด้วยตนเองในโครงสร้างทางปัญญา
ขั้นตอนการสอน
2.2.1 ขั้นเตรียมการในขั้นนี้ให้ผู้เรียนได้เริ่มปรับตัวกับเนื้อหาการเรียน โดยครูผู้สอนกระตุ้นให้ผู้เรียนระลึกถึงประสบการณ์เดิม และเพิ่มความรู้ใหม่ เพื่อให้เกิดกระบวนการคิดเชื่อมโยงระหว่างความรู้เก่าและความรู้ใหม่ตามทฤษฎี Constructivism โดยการซักถาม แจ้งวัตถุประสงค์ และการเตรียมความพร้อม
2.2.2. ขั้นเลือกกิจกรรมและหัวข้อในขั้นนี้ให้ผู้เรียนได้เกิดปฏิสัมพันธ์ระหว่างเพื่อนร่วมกลุ่มและครูผู้สอน โดยร่วมกันระดมความคิด แสดงความเห็น เพื่อให้เกิดการวิเคราะห์และสังเคราะห์จากการรับความรู้ใหม่ โดยการแบ่งกลุ่มค้นคว้า แล้วนำเสนองาน
2.2.3. ขั้นสร้างผลงาน ในขั้นนี้ให้ผู้เรียนได้เผชิญกับสถานการณ์จริง ได้ฝึกลงมือปฏิบัติด้วยตนเอง เกิดการสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง โดยใหผู้เรียนเผชิญหน้ากับแหล่งเรียนรู้ มีปฏิสัมพันธ์ ครูคอยแนะนำ
2.2.4. ขั้นประเมินผล ทำการประเมินผู้เรียนด้วยแบบทดสอบหลังเรียน
ข้อดีและข้อเสีย
ผู้สอนรู้ความรู้พื้นฐานของผู้เรียน ผู้เรียนมีทักษะการคิดเชื่อมโยง จากการได้ลงมือปฏิบัติจริง
การเรียนเหมาะกับผู้เรียนที่มีทักษะการคิดเบื้องต้นแล้ว ไม่ควรใช้กับกลุ่มเรียนขนาดใหญ่ และเป็นกระบวนการสอนที่ไม่ตายตัว
การจัดการเรียนการสอนรูปแบบ CIPPA (CIPPA Model)
ความหมาย
P มาจากคำว่าPhysical participation/Involvement หลักการมีส่วนร่วมทางร่างกาย หมายถึง
การให้ผู้เรียนมีโอกาสได้เคลื่อนไหวร่างกาย
P มาจากคำว่าProcess Learning หลักการเรียนรู้กระบวนการ หมายถึง การเรียนรู้กระบวนการต่างๆ เพราะทักษะกระบวนการเป็นเครื่องมือสำคัญในการเรียนรู้
I มาจากคำว่า Interaction หลักการปฏิสัมพันธ์หมายถึง การให้ผู้เรียนมีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น
หรือสิ่งแวดล้อมรอบตัว
A มาจากคำว่า Application หลักการประยุกต์ใช้ความรู้หมายถึง การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้
C มาจากคำว่า Construction of knowledge หลักการสร้างความรู้หมายถึง การให้ผู้เรียนสร้าง
ความรู้ตามแนวคิดของ Constructivism
ขั้นตอนการสอน
ขั้น ที่ 2 การแสวงหาความรู้ใหม่เป็นการแสวงหาข้อมูลความรู้ใหม่ของผู้เรียนจากแหล่งข้อมูลหรือแหล่งความรู้ต่างๆ
ขั้นที่ 3 การศึกษาทำความเข้าใจข้อมูล/ความรู้ใหม่ และเชื่อมโยงความรู้ใหม่กับความเดิมเป็นขั้นที่ผู้เรียนจะต้องศึกษาและทำความเข้าใจกับข้อมูล/ความรู้ที่หามาได้
ขั้นที่ 1 การทบทวนความรู้เดิมเป็นการดึงความรู้เดิมของผู้เรียนในเรื่องที่จะเรียน
ขั้นที่ 4 การแลกเปลี่ยนความรู้ความเข้าใจกับกลุ่มเป็นขั้นที่ผู้เรียนอาศยักลุ่มเป็นเครื่องมือในการตรวจสอบความรู้ความเข้าใจของตน
ขั้นที่ 5 การสรุปและจัดระเบียบความรู้ เป็นขั้นของการสรุปความรู้ที่ได้รับทั้งหมด ทั้งความรู้เดิมและความรู้ใหม่และสิ่งที่เรียนให้เป็นระบบระเบียบเพื่อช่วยให้ผู้เรียนจดจำสิ่งที่เรียนรู้ได้ง่าย
ขั้น ที่ 6 การปฏิบัติและ/หรือการแสดงผลงานเป็นขั้นที่ช่วยให้ผู้เรียนได้มีโอกาสแสดงผลงานการสร้างความรู้ของตนเองให้ผู้อื่นรับรู้ช่วยให้ผู้เรียนได้ตอกย้ำ
ขั้นที่ 7 การประยุกต์ใช้ความรู้เป็นขั้นของการส่งเสริมให้ผู้เรียนได้ฝึกฝนการนำความรู้ความเข้าใจของตนไปใช้ในสถานการณ์ต่างๆ
การวัดและการประเมินผล
เครื่องมือการวัด อาทิ แบบฝึกหัด แบบทดสอบ แบบสังเกตการทำงานและการตอบคำถาม เพื่อวัดผลการจัดกิจกรรม โดยต้องเป็นไปตามวัตถุประสงค์กรเรียนรู้และเกณฑ์การประเมินที่ตั้งไว้