Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
บทที่ 1 วิวัฒนาการประเด็น และแนวโน้มทางการพยาบาลจิตเวช - Coggle Diagram
บทที่ 1
วิวัฒนาการประเด็น และแนวโน้มทางการพยาบาลจิตเวช
ยุคของการพยาบาลสุขภาพจิตเวช
1.ยุคก่อนประวัติศาสตร์ (Prehistoric Period)
คนเชื่อในสิ่งศักดิ์สิทธิ์ อำนาจลึกลับ ผีสางนางไม้
เทวดา เจ้าป่าเจ้าเขา คนเจ็บป่วยทางจิตจึงถูกกล่าวหาว่าถูกวิญญาณ
เนื่องจากไม่เคารพ ทำผิดกฎเกณฑ์
ใช้วิธีรดน้ำมนต์ ปัดเป่า กักขัง หรือเฆี่ยนตี
2.ยุคกรีกและโรมัน (Greek-Roman Period)
ระยะที่กรีกเจริญรุ่งเรือง ความเชื่อในเรื่องการเจ็บป่วยทางจิต
เปลี่ยนแปลงไปโดยหันไปยึดหลักธรรมชาติ (naturalism)
บุคคลสำคัญ
Hippocrates (460-377 BC)
เป็นบิดาแห่งการแพทย์เชื่อกันว่าความเจ็บป่วยทางกายและทางจิต
เป็นผลมาจากธรรมชาติ ของเหลวในร่างกายไม่สมดุล
Plato (427-348 BC) นักปราชญ์ชาวกรีก
เชื่อว่าคนเจ็บป่วยทางจิตไม่ควรให้อยู่ปะปนกับคนในเมือง
ญาติต้องรับผิดชอบ การขับร้องเห่กล่อมและพิธีต่างๆ
3.ยุคกลาง/ยุคมืด (Middle ages or Dark ages)
ประมาณ 500-1500 ปี หลังคริสตศักราช
ระยะเริ่มแรกของยุคคริสเตียน ความเชื่อด้านจิตเวช
กลับมาเชื่อเรื่องไสยศาสตร์
มีการทรมานผู้ป่วยด้วยวิธีต่างๆ เชื่อเรื่องแม่มดเวทมนตร์คาถา
ค.ศ.1247 เกิดสถานดูแลผู้ป่วยจิตเวช
เป็นแห่งแรกเรียกว่า Bathlehum Asylum หรือที่เรียกกันว่าบ้านบ้าคลั่ง
ผู้ป่วยถูกล่ามโซ่ และนอนกับพื้นทราย
4.ยุคก่อนจิตเวชสมัยใหม่ (Prodromes of Modern Psychiatry)
ศตวรรษที่ 17-18 เป็นหัวเลี้ยวหัวต่อของการแพทย์ปัจจุบัน
เริ่มมีโรงพยาบาลจิตเวช แต่วิธีการรักาายังใช้การกักขัง
5.ยุคต้นของจิตเวชสมัยใหม่ (Early modern psychiatry)
ช่วงปลายศตวรรษที่ 18-19 วิทยาศาสตร์และการแพทย์เจริญก้าวหน้า
บุคคลสำคัญ
เบนจามิน รัช (Benjamin Rush) ปี 1745-1818
บิดาแห่งจิตเวชของสหรัฐอเมริกา
เขียนหนังสือเกี่ยวกับความผิดปกติทางจิตเป็นเล่มแรก
ปฎิบัติต่อผู้ป่วยอย่างมีมนุษยธรรม
Philippe Pinel แพทย์สถานรักษาโรคจิต
ที่ Bicetre Asylumg เป็นผู้ที่ปลดโซ่ตรวนให้กับผู้ป่วย
เป็นสัญลักษณ์ของจิตเวชสมัยใหม่
William Tuke ปี 1732-1822 พ่อค้าชาวอังกฤษ
เริ่มเป็นปากเสียงให้ผู้ป่วยจิตเวช
จัดหาทุนเพื่อการรักษา
ก่อตั้งสถานรักษาโรคจิตชื่อ York Retreat
ยกเลิกการกักขัง จัดสิ่งแวดล้อมที่อบอุ่น
Dorothea Lynde Dix ปี 1802-1887 ครูสตรีสหรัฐอเมริกา
ร้องต่อรัฐสภาถึงสภาพี่ผู้ป่วยถูกกักขัง
เป็นผลให้มีกฎหมายคุ้มครองดูแลผู้ป่วยจิตเวช
สร้างโรงพยาบาลจิตเวชของรัฐ
6.จิตเวชสมัยใหม่ (Modern Psychiatry)
ปลายศตวรรษที่ 19-20 มีการแสวงหาความรู้ด้วยระเบียบวิธีทางวิทยาศาสตร์
พัฒนาแนวคิดทฤษฎีทางจิตสังคม
บุคคลสำคัญ
ปี 1825-1895 Jean Charcot
จิตแพทย์ชาวฝรั่งเศส
ใช้วิธีการสะกดจิตใจในการรักษาทางจิต
ปี 1856-1939 Sigmund Freud
แพทย์ชาวออสเตรีย รักษาโดยการสะกดจิต
คิดค้น และพัฒนาทฤษฎีจิตวิเคราะห์
ปลายศตวรรษที่ 20 ที่สหรัฐอเมริกา
ได้มีการเรียกร้องสิทธิในเรื่องต่างๆ
ผู้พิการจะให้สิทธิ์เท่าเทียมกัน
มีการออก พรบ.
ได้ให้ทุนการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับประสาทวิทยาและสมอง
วิวัฒนาการของการพยาบาลสุขภาพจิต และจิตเวชในต่างประเทศ
เริ่มตั้งแต่สมัย Florence Nightingale ปี 1939
มีการมองผู้ป่วยอย่างเป็นองค์รวมประกอบด้วยร่างกาย
และจิตวิญญาณไม่สามารถแยกออกจากกันได้
ผู้ป่วยเป็นสมาชิกคนหนึ่งของครอบครัวและชุมชน
ถือว่าเป็นศูนย์กลางของการพยาบาล
มีปฏิสัมพันธ์ระหว่างพยาบาลและผู้ป่วย
ปัจจุบันเรียกว่า การสื่อสารเพื่อการบำบัด
(Therapeutic communication)
ปี 1913 Effie Taylor
บรรจุวิชาการพยาบาลจิตเวชไว้ในหลักสูตรการพยาบาล
มหาวิทยาลัย John Hopkins
โดยการบูรณาการมโนทัศน์การพยาบาลทั่วไป
และการพยาบาลสุขภาพจิตเข้าด้วยกัน
ปี 1952 Hidegard Peplau
เผยแพร่ตำราและแนวคิด
เรื่องการใช้สัมพันธภาพระหว่างบุคคล
โดยพัฒนาจากทฤษฎีสัมพันธภาพระหว่างบุคคลของ Sullivan
วิวัฒนาการของจิตเวชศาสตร์ในประเทศไทย
1.ยุคดั้งเดิม ปี พ.ศ. 2432-2467
สร้างโรงพยาบาลคนเสียจริตแห่งแรกที่ปากคลองสาน
ปัจจุบันคือสถาบันจิตเวชศาสตร์สมเด็จเจ้าพระยา
ให้การรักษาอย่างมีเมตตา กรุณา สิ่งแวดล้อมสวยงาม และร่มรื่น
ไม่ทอดทิ้งผู้ป่วยให้อยู่ในชุมชนดูแลตามยถากรรม
ผู้ดูแลพูดจาดีกับผู้ป่วยถ้าทำร้ายผู้ป่วยจะได้รับโทษ
ถูกไล่ออกและลงโทษตามกฎหมาย
2.ยุคโรงพยาบาลจิตเวชแผนใหม่ ปี พ.ศ. 2468-2484
หลวงวิเชียรแพทยาคม
เป็นผู้อำนวยการคนแรก
เปลี่ยนชื่อโรงพยาบาลเป็นโรงพยาบาลโรคจิตธนบุรี
นายแพทย์ฝน แสงสิงแก้ว
ผู้อำนวยการลำดับต่อมาได้รับสมญานามเป็น
บิดาแห่งจิตเวชศาสตร์ไทย
เปลี่ยนชื่อโรงพยาบาลเป็นโรงพยาบาลสมเด็จเจ้าพระยา
สร้างโรงพยาบาลจิตเวชตามภาคต่างๆ เช่น
โรงพยาบาลศรีธัญญา
โรงพยาบาลสวนปรุง
โรงพยาบาลสวนสราญรมย์
3.ยุคของงานสุขภาพจิต ปี พ.ศ.2485-2503
ริเริ่มงานส่งเสริมป้องกันปัญหาสุขภาพจิต
เพื่อลดจำนวนผู้ป่วย เปิดคลินิกศูนย์สุขวิทยาจิต
ใช้วิธีการรักษาใหม่ๆแบบตะวันตก เช่น
ทำจิตบำบัด
พฤติกรรมบำบัด
บำบัดด้วยยากล่อมประสาท
ดำเนินงานโดยทีมงานสุขภาพจิตประกอบด้วย
จิตเเพทย์
นักจิตวิทยาคลินิก
พยาบาลจิตเวช
นักสังคมสงเคราะห์
4.ยุคแรกเริ่มงานสุขภาพจิตชุมชน ปี พ.ศ.2504-2514
ดำเนินงานตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจ
และสังคมแห่งชาติ ปี 2507
จัดให้มีการรักษาแบบ Milieu therapy
มีบ้านกึ่งวิถี Half-way house
มีโรงพยาบาลกลางวัน (Day hospital)
5.ยุคของการผสมผสานงานสุขภาพจิตเข้ากับระบบบริการสาธารณสุข ปี พ.ศ.2515-2524
ให้ความสำคัญกับงานด้านสุขภาพจิตและจิตเวชชุมชน
ผสมผสานสุขภาพจิตเข้ากับระบบบริการสาธารณสุขทั่วไป เช่น
รพ.สต.และฝ่ายจิตเวชในโรงพยาบาลทั่วไป
ช่วยคัดกรองผู้ป่วยหรือส่งต่อผู้ป่วยไปยังศูนย์สุขภาพจิตชุมชน
และโรงพยาบาลจิตเวชตลอดจนการให้บริการครบวงจร
6.ยุคของการสาธารณสัขมูลฐาน ปี พ.ศ.2525-2534
ตามแผนพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 5และ6
เป้าหมายให้ประชากรทั่วโลกมีสุขภาพดีถ้วนหน้าปี 2543
7.ยุคของงานส่งเสริมป้องกันปี พ.ศ.2535-ปัจจุบัน
ตามแผนพัฒนาฯฉบับที่ 7 สนับสนุนให้ประชาชนมีส่วนร่วม
เน้นการส่งเสริมและป้องกันปัญหาสุขภาพจิตเชิงรุก
ตามแผนพัฒนาฯฉบับที่ 8 ลดการเกิดปัญหาสุขภาพจิต
ตามแผนพัฒนาฯฉบับที่ 9และ10 ยึดคนเป็นศูนย์กลางของการพัฒนา