Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การคลอดภาวะฉุกเฉิน (Precipitate labor), หน่วยที่ 8 วิธีการช่วยเหลือและการพ…
การคลอดภาวะฉุกเฉิน (Precipitate labor)
สาเหตุ
เนื้อเยื่อของช่องทางคลอดมีแรงเสียดทานต่ำ
การหดรัดตัวของกล้ามเนื้อมดลูก และกล้ามเนื้อหน้าท้องแรงผิดปกติ
การตั้งครรภ์หลัง
สภาพเชิงกรานกว้าง
มีประวัติการคลอดเฉียบพลัน
มารดาไม่มีความรู้สึกเจ็บปวดจากการคลอด
ทารกตัวเล็ก
การได้รับยากระตุ้นการหดรัดตัวของมดลูกมากเกินไป
ผลกระทบของการคลอดเฉียบพลัน
มารดา
เกิดการฉีกขาดของช่องทางคลอด และปากมดลูกมาก
เกิดการตกเลือดหลังคลอด
การหดรัดตัวของมดลูกที่รุนแรง ร่วมกับมีการแตกของถุงน้ำคร่ำ อาจทำให้เกิดภาวะน้ำคร่ำอุดกั้นหลอดเลือดในปอด (amniotic fluid embolism) ได้
ทารก
การหดรัดตัวของมดลูกอย่างรุนแรง ทำให้การไหลเวียนเลือดในมดลูกไม่ดี ทำให้ทารกเกิดการขาดออกซิเจน (asphyxia)ได้
ศีรษะทารกที่ผ่านเข้าในช่องทางคลอดอย่างรวดเร็ว ขาดการปรับตัวอาจทำให้ทารกเกิดการบาดเจ็บได้
ศีรษะทารกได้รับอันตรายจากการรับไม่ทัน ทำให้ทารกตกลงบนพื้น
ทารกไม่ได้รับการดูดเสมหะหรือน้ำคร่ำในปากและจมูก ทำให้ทารกสำลักน้ำคร่ำเกิด
ภาวะแทรกซ้อนในระบบทางเดินหายใจได้
ทารกมีเลือดออกในสมอง
อาจเกิดการติดเชื้อ
ทารกเสียเลือด เนื่องจากสายสะดือขาด
การรักษา
ให้ยาสลบ
ลดการกระตุ้นฝีเย็บ (perineal reflex) ด้วยการระงับความรู้สึกบริเวณเส้นประสาทของอวัยวะสืบพันธุ์ภายนอก (local pudendal nerve block)
หลังคลอดควรตรวจสภาพการฉีกขาด หรือการบาดเจ็บของช่องทางคลอด
การให้ยา
ให้ methergin หลังคลอด เพื่อป้องกันการตกเลือด
ให้ methergin หลังคลอด เพื่อป้องกันการตกเลือด
การพยาบาล
มารดาที่มีประวัติการคลอดเร็ว ต้องระมัดระวังในการให้การพยาบาล เพื่อการป้องกันการคลอดเฉียบพลัน
ประเมินและบันทึกการหดรัดตัวของมดลูก และฟังเสียงหัวใจของทารกในครรภ์ ทุก 30 นาที เพื่อประเมินสภาพของมารดาและทารกในครรภ
ประเมินการเปิดขยาย และความบางของปากมดลูกเมื่อมารดาอยากเบ่ง เพื่อประเมินความก้าวหน้าของการคลอด
ให้การดูแลตามอาการ กรณีที่จะมีภาวะคลอดเฉียบพลัน
กระตุ้นให้มารดาใช้เทคนิคการหายใจแบบตื้นๆ เร็วๆ เบา ๆ เข้าออกทางปากและจมูกเพื่อควบคุมไม่ให้มารดาเบ่งเร็ว
ใช้ผ้าสะอาดกดบริเวณฝีเย็บ พร้อมทั้งใช้มืออีกข้างกดศีรษะทารกให้ก้มลงก่อนที่ศีรษะทารกจะคลอด เพื่อป้องกันการฉีกขาดของฝีเย็บและอวัยวะสืบพันธุ์ภายนอก
ในกรณีที่มารดาไม่สามารถหยุดเบ่ง และศีรษะทารกคลอดออกมาแล้ว ให้กางขามารดาออก เพื่อป้องกันศีรษะทารกถูกหนีบ
จับให้ทารกนอนศีรษะต่ำ ตะแคงหน้าไปด้านใดด้านหนึ่ง และดูดน้ำคร่ำในปากและจมูกทารกออก เพื่อป้องกันทารกสำลักน้ำคร่ำ
ระยะหลังคลอดให้การดูและอย่างใกล้ชิด ในกรณีที่มีการฉีกขาดของช่องทางคลอด และมดลูกหดรัดตัวไม่ดี เพื่อป้องกันการตกเลือดหลังคลอด
แนะนำการรักษาความสะอาดอวัยวะสืบพันธุ์ และดูแลให้ได้รับยาปฏิชีวนะตามแผนการรักษา เพื่อป้องกันการติดเชื้อหลังคลอด
ข้อวินิจฉัยทางการพยาบาล
เจ็บครรภ์มาก เนื่องจากมดลูกหดรัดตัวแรงและถี่มาก
ช่องทางคลอดอ่อนมีโอกาสฉีกขาดมากผิดปกติ เนื่องจากการคลอดเฉียบพลัน
เสี่ยงต่อการตกเลือดหลังคลอด เนื่องจากการคลอดเฉียบพลัน
วิตกกังวล/กลัวอันตรายที่จะเกิดขึ้น เนื่องจากการคลอดเฉียบพลัน
ทารกอาจได้รับบาดเจ็บ /สำลักน้ำคร่ำ/เกิดการติดเชื้อ เนื่องจากการคลอดเฉียบพลัน
หน่วยที่ 8 วิธีการช่วยเหลือและการพยาบาลผู้คลอดที่ทำสูติศาสตร์หัตถการ
นางสาววิภาดา ชื่นใจ เลขที่ 37