Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การช่วยคลอดด้วยคีม (Forceps Extraction), หน่วยที่ 8 วิธีการช่วยเหลือและการ…
การช่วยคลอดด้วยคีม (Forceps Extraction)
ข้อบ่งชี้
ด้านทารก
ทารกขาดออกซิเจน (fetal distress)
ทารกอยู่ในท่าผิดปกติ (abnormal position)
ส่วนนำของทารกเป็นก้น (after coming head)
การหมุนเวียนของศีรษะผิดปกติ (arrest of rotation of head)
ด้านมารดา
ระยะที่สองของการคลอดยาวนานกว่าปกติ
ไม่มีความก้าวหน้าของการคลอดในระยะที่ 2
มารดาไม่ให้ความร่วมมือในการคลอด
การหดรัดตัวของมดลูกไม่ดี
โรคแทรกซ้อนอื่นๆ
การเตรียมความพร้อม
ทารกในครรภ์ยังมีชีวิตอยู่
เชิงกรานของแม่ต้องมีรูปร่างปกติและกว้างพอ (ไม่มีภาวะ CPD)
ปากมดลูกบางและเปิดหมด
ถุงน้ำคร่ำแตกแล้ว
ต้องรู้ท่าและระดับของศีรษะอย่างถูกต้อง
ต้องใช้ยาชาหรือยาแก้ปวดที่เหมาะสมและพอเพียง
กระเพาะปัสสาวะและทวารหนักควรว่าง
ภาวะแทรกซ้อน
ต่อมารดา
การฉีกขาดของช่องคลอด
อันตรายต่อกระเพาะปัสสาวะ ท่อปัสสาวะ
เกิดการหย่อนของกล้ามเนื้ออุ้งเชิงกราน พังผืด
เกิดการแยกของกระดูกหัวหน่าว (symphysis pubis) และ sacroiliac joint ทำให้ปวดหัวหน่าวหรือปวดหลังส่วนล่าง
การตกเลือดหลังคลอดจากการฉีกขาดของช่องทางคลอดหรือมดลูกไม่หดรัดตัว
การติดเชื้อ
ต่อทารก
อันตรายต่อกระโหลกศีรษะทารก
บาดเจ็บบริเวณหนังศีรษะ
อันตรายต่อเส้นประสาท
หูหนวก
กระบอกตาถูกบีบ ทำให้มีเลือดออก (retrobulba hematoma)
บาดเจ็บต่อผิวหนัง
บทบาทของพยาบาล
การเตรียมเครื่องมือ
ก่อนทำ
การเตรียมทางด้านจิตใจ
การเตรียมร่างกาย
กั้นม่าน
จัดให้ผู้คลอดนอนในท่า lithotomy
ทำความสะอาดอวัยวะสืบพันธุ์ภายนอก
ดูแลการให้สารน้ำทางหลอดเลือดดำ
ในกรณีที่ทารกอยู่ในภาวะอันตราย (fetal distress) ควรตามกุมารแพทย์ไว้สำหรับทารก
สวนปัสสาวะ
ขณะทำ
ก่อนแพทย์ใส่คีม ตรวจสัญญาณชีพ และฟังเสียงหัวใจทารก หากมีผิดปกติให้รีบรายงานแพทย์
พยาบาลอยู่เป็นเพื่อนผู้คลอด สอนวิธีหายใจเพื่อให้กล้ามเนื้อหน้าท้องหย่อนขณะใส่คีม
หลังแพทย์ใส่คีม ขณะมดลูกหดรัดตัวแพทย์แนะนำให้ผู้คลอดผ่อนลมหายใจ
เมื่อทารกเกิด ถ้าทารกมี asphyxia พยาบาลช่วยฟื้นคืนชีพ
ภายหลังทำ
บันทึกสัญญาณชีพจนกว่าจะปกติ
สังเกตการหดรัดตัวของมดลูก
สังเกตการเกิดก้อนเลือดคั่ง สังเกตเลือดที่ออกจากช่องคลอด
ในรายที่มารดาได้รับยาสลบดูแลเหมือนคนไข้ไม่รู้สึกตัว
ดูแลความสุขสบายทั่วไป
ส่งเสริมสัมพันธภาพระหว่างมารดาทารก
เปิดโอกาสให้มารดาซักถามเกี่ยวกับประสบการณ์คลอด
การดูแลทารก
ดูแลเหมือนทารกคลอดปกติ
ข้อวินิจฉัยทางการพยาบาล
ข้อวินิจฉัยการพยาบาลที่ 1 ผู้คลอดขาดความรู้เกี่ยวกับการคลอดโดยใช้คีมและการปฏิบัติตัวขณะคลอด
ข้อวินิจฉัยการพยาบาลที่ 2 ทารกในครรภ์มีโอกาสเกิดภาวะได้รับออกซิเจนไม่เพียงพอ
ข้อวินิจฉัยการพยาบาลที่ 3 ผู้คลอดมีโอกาสเกิดการตกเลือดหลังคลอด เนื่องจากช่องทางคลอดฉีกขาด
ข้อวินิจฉัยการพยาบาลที่4 ผู้คลอดปวดแผลฝีเย็บ (ไม่สุขสบายจากปวดแผล)
ข้อวินิจฉัยการพยาบาลที่ 5 ผู้คลอดมีโอกาสสร้างสัมพันธภาพที่ไม่เหมาะสมหรือล่าช้ากับบุตร
ข้อวินิจฉัยการพยาบาลที่ 6 ผู้คลอดวิตกกังวลเกี่ยวกับภาวะแทรกซ้อนที่เกิดกับบุตร
หน่วยที่ 8 วิธีการช่วยเหลือและการพยาบาลผู้คลอดที่ทำสูติศาสตร์หัตถการ
นางสาววิภาดา ชื่นใจ เลขที่ 37