Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
หน่วยไตอักเสบเฉียบพลัน (Acute glomerulonephritis/AGN) - Coggle Diagram
หน่วยไตอักเสบเฉียบพลัน (Acute glomerulonephritis/AGN)
พยาธิสภาพ
หน่วยไตทำหน้าที่กรองของเสียและน้ำออกมาเป็นปัสสาวะ เมื่อหน่วยไตอักเสบจึงทำให้มีปัสสาวะออกน้อย มีของเสียคั่งอยู่ในเลือดมากกว่าปกติ รวมทั้งมีเม็ดเลือดเเดงและสารไข่ขาวรั่วออกมาในปัสสาวะ ทำให้เกิดอาการบวม และปัสสาวะออกมาเป็นสีแดง
สาเหตุ
-มักพบหลังการติดเชื้อแบคทีเรียเบตาสเตรปโตค็อกคัส กลุ่มเอ เช่น ต่อมทอนซิลอักเสบ แผลอักเสบ พุพองตามผิวหนัง ประมาณ 1-4 สัปดาห์
-โรคหน่วยไตอักเสบอาจพบร่วมกับโรคเอสเเอลอี ซิฟิลิส แพ้สารเคมี เป็นต้น
อาการ
ปัสสาวะสีแดงเหมือนน้ำล้างเนื้อ หรือน้ำหมาก
ปัสสาวะออกน้อยผิดปกติ
บวมที่หน้า หนังตา เท้า และท้อง
มักมีอาการปวดศีรษะ มีไข้ อ่อนเพลีย เบื่ออาหาร คลื่นไส้ อาเจียน
หากอาการรุนแรง อาจมีอาการหอบเหนื่อย หรือชัก
อาการแทรกซ้อน
อาจมีความดันโลหิตสูงมากจนระดับความรู้สึกตัวเปลี่ยนแปลง
ปอดบวมน้ำ ฟังปอดมีเสียงกรอบแกรบ หอบเหนื่อย หัวใจวาย
ไตวายรุนแรง อาจถึงขั้นเสียชีวิตได้
การวินิจฉัยไตอักเสบ
การตรวจปัสสาวะ แพทย์จะนำผลตรวจของผู้ป่วยซึ่งแสดงจำนวนเซลล์เม็ดเลือดแดงที่ปะปนมากับน้ำปัสสาวะมาหาความผิดปกติของหน่วยไต ในขณะเดียวกัน อาจพบเซลล์เม็ดเลือดขาวในผลตรวจได้เช่นกัน
การตรวจเลือด เป็นการตรวจระดับของเสียที่ปะปนมากับเลือด เช่น การตรวจหาค่าระดับครีเอตินิน (Creatinine) หรือการตรวจหาค่าระดับยูเรียไนโตรเจนในเลือด (Blood Urea Nitrogen: BUN) โดยผลเลือดของผู้ป่วยสามารถระบุได้ว่าเกิดการคั่งของของเสียในร่างกายหรือไม่ นอกจากนี้ แพทย์อาจตรวจเลือดเพื่อหาสาเหตุของไตอักเสบชนิดต่าง ๆเช่น ตรวจดูร่องรอยการติดเชื้อในร่างกาย หรือตรวจเกี่ยวกับภูมิคุ้มกัน เป็นต้น
การวินิจฉัยผ่านการเจาะเก็บเนื้อเยื่อไต (Kidney Biopsy) แพทย์จะใช้เครื่องมือเข็มตัดเอาชิ้นเนื้อเยื่อไตมาส่องตรวจผ่านกล้องจุลทรรศน์ เพื่อหาสาเหตุของการอักเสบที่แน่ชัด ทั้งนี้วิธีการวินิจฉัยด้วยการเจาะเนื้อเยื่อนี้ใช้ยืนยันผลการตรวจได้อย่างชัดเจนมากที่สุด
การรักษาไตอักเสบ
การรักษาดูแลรักษาตนเองเบื้องต้น
ผู้ป่วยอาจได้รับคำแนะนำให้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการกินอาหาร ซึ่งช่วยในการควบคุมความดันโลหิตให้อยู่ในระดับปกติ งดอาหารรสเค็ม หรืองดเครื่องดื่มที่มีส่วนประกอบของโพแทสเซียมจำนวนมาก
ในขณะเดียวกันผู้ที่สูบบุหรี่ควรงดหรือเลิกบุหรี่ เพราะว่าการงดสูบบุหรี่ช่วยชะลอการเติบโตของโรคที่เกิดจากการอักเสบของไตได้ อีกทั้งยังลดความเสี่ยงในการเกิดภาวะแทรกซ้อนอย่างโรคหัวใจด้วย
1.ให้ยาปฏิชีวนะในรายที่ตรวจพบเชื้อที่คอหรือผิวหนัง โดยให้เพนนิซิลลินเป็นเวลา 10 วัน
2.ให้ยาขับปัสสาวะ เพื่อลดการคั่งของของเหลวในร่างกาย
3.ให้ยาลดความดันโลหิต ในรายที่มีความดันสูง
4.จำกัดน้ำและเกลือในรายที่มีปัสสาวะลดลง หรือมีภาวะปอดบวมน้ำ
5.จำกัดกิจกรรมจนกว่าอาการต่างๆหายไป
6.ป้องกันการเกิดโรคซ้ำด้วยการให้รับประทานยาปฏิชีวนะรักษาการติดเชื้อ เบต้าฮีโมไลติก สเตร็บโตค็อกคัส
คืออะไร
คือภาวะการอักเสบของกลุ่มเลือดฝอยของไต (Glomeruli) ซึ่งปกติจะทำหน้าที่กรองของเหลวส่วนเกินหรือของเสียที่ปะปนมาในกระแสเลือดให้กลายเป็นปัสสาวะ ไตอักเสบอาจเป็นภาวะโรคที่เกิดขึ้นเอง แต่ในบางกรณีอาจเป็นผลพวงมาจากโรคชนิดอื่น อาทิ โรคพุ่มพวง โรคเบาหวาน ซึ่งไตอักเสบแบ่งเป็น 2 ชนิด คือ ไตอักเสบเฉียบพลัน (Acute Glomerulonephritis) และไตอักเสบเรื้อรัง (Chronic Glomerulonephritis) ไตอักเสบบางชนิดก่อให้เกิดโรคไตวายได้ในที่สุด ทั้งนี้กระบวนการรักษาขึ้นอยู่กับสาเหตุและอาการควบคู่ไปพร้อม ๆ กัน
การพยาบาล
1.บันทึกปริมาณน้ำเข้า-ออก ชั่งน้ำหนักทุกวัน
2.ตรวจปัสสาวะหา Specific gravity
3.บันทึกสัญญาณชีพโดยเฉพาะอุณหภูมิเพื่อป้องกันการติดเชื้อ
4.ดูแลผิวหนังเพื่อป้องกันผิวแตกจากอาการบวม
5.สังเกตภาวะแทรกซ้อน ได้แก่ ภาวะไตวาย หัวใจล้มเหลว และมีอาการทางสมองเนื่องจากความดันเลือดสูง
6.ติดตามผลการตรวจปัสสาวะเพื่อดูระดับ Blood urea nitrogen (BUN) Creatinine (Cr)
7.กระตุ้นการรักษาด้วยยาอย่างต่อเนื่อง