Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
หน้าที่ระบบทางเดินปัสสาวะและหน้าที่ของไต - Coggle Diagram
หน้าที่ระบบทางเดินปัสสาวะและหน้าที่ของไต
ระบบทางเดินปัสสาวะประกอบด้วยอวัยวะต่างๆ ได้แก่
ไต
มีลักษณะคล้ายเม็ดถั่วแดงอยู่สองข้างของเอว เป็นส่วนที่มีเส้นเลือดดำและเส้นเลือดแดงใหญ่ที่นำเลือดของร่างกายทั้งหมดมาคัดกรองเอาส่วนที่ต้องใช้เก็บไว้ และเอาส่วนเกิน หรือส่วนที่ไม่ใช้ออกจากร่างกาย
เนฟรอน
ทำหน้าที่แยกน้ำ เกลือแร่ และสารที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกายกลับเข้าไปในร่างกาย การดูดซึมกลับของสารโซเดียมยังเป็นตัวควบคุมความดันโลหิตในร่างกายอีกด้วย ส่วนน้ำสารที่เป็นของเสีย และสารต่างๆ ที่เกินจากที่ร่างกายต้องการใช้จะถูกขับออกมาในรูปของปัสสาวะ รวบรวมเข้าสู่กรวยไต ซึ่งอยู่ในเนื้อไตเช่นกัน
กรวยไต
มีลักษณะเป็นสามเหลี่ยม ภายในประกอบด้วยหน่วยกรองภายในไต หรือเนฟรอน จำนวนข้างละประมาณ 1 ล้านหน่วย น้ำปัสสาวะที่ผ่านจากเนฟรอนมาที่กรวยไตนี้ จะไหลลงสู่ท่อไตที่อยู่สองข้างของเอว ไปเก็บไว้ที่กระเพาะปัสสาวะ ซึ่งตั้งอยู่บริเวณท้องน้อย
กระเพาะปัสสาวะ
จะสามารถเก็บน้ำปัสสาวะได้ประมาณ 1 ลิตร เมื่อกระเพาะปัสสาวะเต็มก็จะกระตุ้นให้ถ่ายปัสสาวะผ่านทางท่อปัสสาวะออกสู่ภายนอกร่างกาย
ระบบทางเดินปัสสาวะ
มีหน้าที่รักษาสมดุล ปริมาณน้ำ เกลือแร่ ของเสียต่างๆในร่างกาย รวมไปถึงสมดุลของความดันเลือด และยังมีหน้าที่ๆคิดไม่ถึงคือ หลั่งฮอร์โมน เพื่อเพิ่มความเข้มข้นของเม็ดเลือดแดงในกระแสเลือด ระบบทางเดินปัสสาวะนี้ทำงานคู่กับ ระบบหัวใจและหลอดเลือดอย่างสอดคล้องกัน
“หน่วยไต”
ทำหน้าที่ในการกรองเลือด ปล่อยสารต่างๆจากเซลล์ รวมไปถึงการดูดกลับสารที่สำคัญมากมาย โดยกลไกนี้ควบคุมโดยฮอร์โมน และ ระบบประสาทอัตโนมัติ จนได้ของเหลวในขั้นตอนสุดท้ายที่มีสีเหลืองขึ้นมา
ของเหลวนี้ไหลผ่าน ท่อไตเล็กๆในไตทั้งสองข้าง มาที่กรวยไต ผ่านท่อไตในแต่ละข้าง จนสุดท้ายมารวมกันที่ กระเพาะปัสสาวะ ซึ่งมีระบบประสาทที่ควบคุมอยู่ ซึ่งเราสามารถสั่งการให้เกิดการปัสสาวะได้ตามต้องการ
หน้าที่เพิ่มเติมของไต
ควบคุมความดันเลือด ผ่านระบบ ฮอร์โมน โดยมีเซลล์หลัก
เซลล์ที่อยู่รอบๆ เส้นเลือดแดงขาเข้าที่หน่วยไต(Afferent arteriole) ชื่อว่า Juxtaglomerular (JG Cell) ที่จะคอยรับความดันที่เปลี่ยนแปลงและคอยสร้างฮอร์โมนที่มีผลต่อระดับความดัน โดยออกฤทธิ์ผ่านตัวไตเอง และ ระบบอื่นๆร่วมกัน ซึ่งในระบบนี้เรียกโดยรวมว่า RAAS (Renin Angiotensin Aldosterone System)
ควบคุมความเข้มข้นของเม็ดเลือดแดง
โดยในไตเอง มีเซลล์ที่จับความเข้มข้นของระดับออกซิเจนในเลือด หากมีระดับออกซิเจนในเลือดต่ำ จะมีการหลั่งสารตั้งต้นของฮอร์โมน Erythropoietin(EPO) ร่วมกันกับตับ โดย Erythropoietin นี้จะไปกระตุ้นไขกระดูกให้สร้างเม็ดเลือดแดงเพิ่มขึ้น เป็นเหตุผลว่าคนไข้ไตวายบางคนได้รับ ฮอร์โมนตัวนี้ทดแทน เพราะโลหิตจาง
การวินิจฉัยโรค
Blood Chemistry ตรวจเลือด
เพื่อดูสารสัมพันธ์กับไต การทำงานของไต ระดับเกลือแร่ ความเข้มข้นเลือดและอื่นๆอีกมากมาย
Urinary analysis ตรวจปัสสาวะ
เป็นการตรวจการทำงานโดยตรงของทางเดินปัสสาวะ ดูการขับสารต่างๆออกมาทางปัสสาวะ รวมไปถึงการแปลผล ร่วมกับผลเลือด
Imaging การตรวจทางรังสีวิทยา X-ray, Ultrasound, IVP, CT-scan, MRI, PET, SPECT
พื่อดูลักษณะทางกายภาพและการทำงาน
Endoscopic การส่องกล้อง
เพื่อดูทางเดินปัสสาวะ