Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
Lithiasis (Urinary obstruction), ระยะชดเชย (Compensatory),…
Lithiasis (Urinary obstruction)
พยาธิภาพ
นิ่วที่เกิดการอุดตันขึ้นในแต่ละตำแหน่ง
ถ้าการอุดตันนี้ยังไม่ได้รับการแก้ไข
กล้ามเนื้อไตและกล้ามเนื้อกรวยไตจะอ่อนแรง
บางลงและพอกออก
เริ่มจากผนังกรวยไต ยืดขยาย
บางลง พอกออกและมีน้ำขังอยู่
ผนังของเนื้อไตถูกเบียดจนบางลง
และพอกออกเต็มไปด้วยน้ำ
เนื้อไตถูกเบียดทำให้บางลง
มีเลือดมาเลี้ยงไตน้อยลง
เมื่อมีอาการรุนแรงมากขึ้น ไตเสียหน้าที่
เกิดภาวะไตวาย ภาวะยูรีเมีย
1 more item...
ทำให้เกิดการขัดของปัสสาวะ
เหนือตำแหน่งที่อุดตัน
ทำให้มีแรงดันเพิ่มขึ้นเหนือไตและกรวยไต
กล้ามเนื้อไตและกรวยไตจะมีการบีบตัวแรงขึ้น
ผลักดันน้ำปัสสาวะให้ผ่านลงมายังท่อไตได้ตามปกติ
กล้ามเนื้อไตและกรวยไตจะโตและหนาขึ้น
ไตยังคงทำงานได้ปกติ
สาเหตุ
มีการตีบแคบของระบบทางเดินปัสสาวะ
ทำให้น้ำปัสสาวะคั่งค้าง การตีบแคบนี้อาจมีมาแต่กำเนิด หรือเกิดขึ้นภายหลัง
ความเข้มข้นของน้ำปัสสาวะ
เกิดจากมีสารต่างๆ ถูกขับออกมาในน้ำปัสสาวะมากกว่า
ปกติ หรือเกิดจากการที่ผู้ป่วยดื่มน้ำน้อยกว่าปกติ หรือสูญเสียน้ำจากร่างกายทางด้านอื่นมาก เมื่อปัสสาวะเข้มข้นสูง โอกาสที่สารละลายในปัสสาวะจะตกผลึก ก็มีมากขึ้น
การอักเสบการติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะ
ยา
บางอย่าง ทำให้เกิดนิ่วได้ ยาลดกรดที่กินอยู่เป็นเวลานานๆทำให้ปัสสาวะมีฤทธิ์เป็นด่าง จะเกิดนิ่วพวกphosphate ได้ง่าย
ความผิดปกติในการทำงานของต่อมพาราทัยรอยด์
ซึ่งหลั่ง hormoneที่ควบคุมสาร calcium ออกมามากกว่าปกติ
อาหารที่รับประทาน
เช่น ชอบทานอาหารจำพวกเครื่องในสัตว์ ยอดผักสาหร่าย จะทำให้เกิดกรดยูริคได้ และการกินอาหารจำพวกผักที่มีสารออกซาเลต สูง เช่น ผักโขม หน่อไม้ ชะพลู เป็นต้น
อายุและเพศ
นิ่วในไต พบได้ในชายมากกว่าหญิง ถึง 2 ต่อ 1 พบในผู้ใหญ่มากกว่าเด็ก
กรรมพันธุ์
ผู้ป่วยที่มีพ่อแม่เป็นโรคนิ่วในทางเดินปัสสาวะก็จะมีโอกาสที่จะเป็นโรคนิ่วเช่นเดียวกันได้
อาการ
ปวดบริเวณบั้นเอวหรือปวดท้องซึ่งขึ้นอยู่กับตำแหน่งของนิ่ว
มีปัสสาวะเป็นเลือด
มีปัสสาวะแสบ ขัด ปัสสาวะลำบาก
ไม่มีน้ำปัสสาวะกรณีที่มีภาวะอุดตันรุนแรงทั้ง2ข้าง
มีไข้
ปัสสาวะไม่ออก กรณีเป็นนิ่วบริเวณท่อปัสสาวะ
มีอาการคลื่นไส้ อาเจียน
การรักษา
การรักษาทางยา
เหมาะในรายที่เป็นนิ่วขนาดเล็กในไตหรือท่อไต ลักษณะกลม เรียบ มีอาการปวดไตน้อย ไม่อักเสบรุนแรง
การเจาะเพื่อดูดเอานิ่วอออกหรือการสลายนิ่ว
ด้วยเครื่อง Shockwave ซึ่งเป็นวิธีรักษาที่ไม่ต้องผ่าตัดสำหรับผู้ป่วยที่มีนิ่วขนาดไม่เกิด 2 ซม.เหมาะสำหรับนิ่วในไต หรือ ท่อไตขนาดปานกลาง
การรักษาตามอาการ
กรณีนิ่วมีขนาดเล็ก กว่า 4 มม. โดยจะแนะนำให้คนไข้ดื่มน้ำมากๆ เพื่อให้นิ่วหลุดออกเองและตามผลอย่างสม่ำเสมอ
การผ่าตัด
การผ่าตัดแบบเปิดแผล หรือการผ่าตัดโดยวิธีการส่องกล้อง วิธีการเหมาะสำหรับนิ่วที่มีขนาดใหญ่
เช่น นิ่วในท่อไตที่ติดแน่น นิ่วเขากวางในไต รวมไปถึงผู้ป่วยที่มีอาการ
อักเสบรุนแรง
ซึ่งต้องรีบขจัดนิ่วออก ผู้ป่วยที่มีไตเสื่อมมากแล้ว เป็นต้น
ส่องกล้อง
เข้าไปคีบ ขบ กรอนิ่ว เหมาะสำหรับ
นิ่วในกระเพาะปัสสาวะ และท่อไต
โดยแพทย์จะสอดกล้องเข้าไปตามท่อปัสสาวะเพื่อทำการรักษา
การพยาบาล
การดูแลให้ปลอดภัยจากการเป็นซ้ำ
สอนผู้ป่วยเกี่ยวกับอาการ และอาการแสดงของการติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ ซึ่งเกิดจากก้อนนิ่วอุดกั้น เพื่อรีบมารับการรักษา เช่น ปวดท้องหรือปวดหลัง ปัสสาวะบ่อย แสบ ขัด ปัสสาวะมีเลือดปน มีไข้สูง
การควบคุมอาหารบางประเภทเป็นสิ่งจำเป็น เช่น ผู้ป่วยที่เป็นนิ่วกรดยูริก ควรหลีกเลี่ยงอาหารที่มียูริกสูง เช่น เครื่องในสัตว์ ผู้ป่วยทราบถึงความสำคัญขงอาหาร และแนะนำให้ผู้ป่วยรับประทานอาหารให้ครบทั้ง 5 หมู่
บอกให้ทราบถึงโอกาสที่กิดโรคนิ่วซ้ำได้อีก ซึ่งต้องดื่มน้ำให้เพียงพอทุกวัน (วันละ 3,000 ซีซี) เพื่อให้มีปัสสาวะออกมาก ! ป้องกันระดับของสารก่อนิ่วในปัสสาวะสูงเกินไปหรือถ้าเป็นก้อนเล็ก ๆ ก็จะหลุดออกมาได้เอง
แนะนำถึงวิธีการใช้ยาบางประเภท เพื่อขับปัสสาวะและลดระดับสารก่อนิ่วในปัสสาวะ อธิบายให้ผู้ป่วยเห็นความจำเป็นที่ต้องรับประทานยาปฏิชีวนะ ตามแผนการรักษา
7.อธิบายให้ผู้ป่วยทราบถึงความจำเป็นที่ต้องสังเกตอาการผิดปกติต้องมาพบแพทย์ก่อนวันนัด เช่น อาการปวดบริเวณแผลผ่าตัด แผลเป็นหนองหรือมีกลิ่นเหม็น
แนะนำผู้ป่วยให้มีการออกกำลังกายตามความเหมาะสม เพื่อป้องกันการตกตะกอนจับตัวเป็นก้อนนิ่ว โดยเฉพาะผู้ป่วยโรคเรื้อรังที่ต้องนอนกับเตียงนาน ๆ ต้องพยายามเปลี่ยนท่าบ่อย
เมื่อกลับไปอยู่บ้านแนะนำผู้ป่วยไม่ควรทำงานหนักหรือยกของหนัก อย่างน้อย 6 สัปดาห์
อธิบายให้ผู้ป่วยเห็นความสำคัญของการมาพบแพทตามนัด เพื่อตรวจสุขภาพและแผลผ่าตัด
ระยะชดเชย (Compensatory)
ระยะชดเชยไม่ได้(Decompensatory)