Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
บทที่ 1 วิวัฒนาการ ประเด็น และแนวโน้มทางการพยาบาลจิตเวช - Coggle Diagram
บทที่ 1 วิวัฒนาการ ประเด็น
และแนวโน้มทางการพยาบาลจิตเวช
ยุคของการพยาบาลสุขภาพจิตเวช
1.ยุคก่อนประวัติศาสตร์
(Prehistoric Period)
คนเชื่อในสิ่งศักดิ์สิทธิ์ อำนาจลึกลับ ผีสางนางไม้
เทวดา เจ้าป่าเจ้าเขา คนเจ็บป่วยทางจิตจึงถูกกล่าวหาว่าถูกวิญญาณ
เนื่องจากไม่เคารพ ทำผิดกฎเกณฑ์
ใช้วิธีรดน้ำ มนต์ ปัดเป่า กักขัง เฆี่ยนตี
2.ยุคกรีกและโรมัน
(Greko-Roman Period)
ระยะที่กรีกเจริญรุ่งเรือง ความเชื่อในเรื่องการเจ็บป่วยทางจิต
เปลี่ยนแปลงไปหันไปยึดหลักธรรมชาติ ( naturalism )
บุคคลสำคัญ
Hippocrates (460-377 BC ) แพทย์ชาวกรีก
เป็นบิดาแห่งการแพทย์เชื่อว่าความเจ็บป่วยทางกายและจิต
เป็นผลมาจากธรรมชาติของเหลวในร่างกายไม่สมดุล
Plato( 427-348 BC) นักปราชญ์ชาวกรีก
เชื่อว่าคนเจ็บป่วยทางจิตไม่ควรให้อยู่ปะปนกับคนในเมือง
ญาติต้องรับผิดชอบ การขับร้องเห่กล่อมและพิธีต่างๆ
3.ยุคกลาง/ยุคมืด
(Middle ages or Dark ages)
ประมาณ 500-1500 ปีหลังคริสตศักราช
ระยะเริ่มแรกของยุคคริสเตียนความเชื่อด้านจิตเวช
กลับมาเชื่อเรื่องไสยศาสตร์
มีการทรมานผู้ป่วยด้วยวิธีต่างๆ เชื่อเรื่องแม่มดเวทมนต์คาถา
คศ.1247 เกิดสถานดูแลผู้ป่วยจิตเวช
เป็นแห่งแรกเรียกว่า Bathlehum Asylum หรือบ้านบ้าคลั่ง
ผู้ป่วยถูกล่ามโซ่ นอนกับพื้นทราย
ยุคก่อนจิตเวชสมัยใหม่ ( Prodromes of Modern Psychiatry)
ศตวรรษที่ 17-18 เป็นหัวเลี้ยวหัวต่อของการแพทย์ปัจจุบัน
เริ่มมีโรงพยาบาลจิตเวช แต่วิธีการรักษายังใช้การกักขัง
ยุคต้นของจิตเวชสมัยใหม่ ( Early modern psychiatry)
บุคคลสำคัญ
เบนจามิน รัช (Benjamin Rush) ปี 1745-181
บิดาแห่งจิตเวชของสหรัฐอเมริกา
เขียนหนังสือเกี่ยวกับความผิดปกติทางจิตเป็นเล่มแรก
ปฏิบัติต่อผู้ป่วยอย่างมีมนุษยธรรม
Philippe Pinel แพทย์สถานรักษาโรคจิต
ที่ Bicetre Asylumg เป็นผู้ปลดโซ่ตรวนให้ผู้ป่วย
เป็นสัญลักษณ์ของจิตเวชสมัยใหม่
William Tuke ปี 1732-1822 พ่อค้าชาวอังกฤษ
เริ่มเป็นปากเสียงให้ผู้ป่วยจิตเวช
จัดหาทุนเพื่อการรักษา
ก่อตั้งสถานรักษาโรคจิตชื่อ York Retreat
ยกเลิกการกักขัง จัดสิ่งแวดล้อมที่อบอุ่น
Dorothea Lynde Dix ปี 1802-1887 ครูสตรีสหรัฐอเมริกา
ร้องต่อรัฐสภาถึงสภาพที่ผู้ป่วยถูกกักขัง
เป็นผลให้มีกฎหมายคุ้มครองดูแลผู้ป่วยจิตเวช
สร้างโรงพยาบาลจิตเวชของรัฐ
ช่วงปลายศตวรรษที่ 18-19 วิทยาศาสตร์และการแพทย์เจริญก้าวหน้า
จิตเวชสมัยใหม่ ( Modern Psychiatry)
ปลายศตวรรษที่ 19-20 มีการแสวงหาความรู้ด้วยระเบียบวิธีทางวิทยาศาสตร์
พัฒนาแนวคิดทฤษฎีทางจิตสังคม
บุคคลสำคัญ
ปี 1825-1895 Jean Charcot
จิตแพทย์ชาวฝรั่งเศส
ใช้วิธีการสะกดจิตในการรักษาทางจิต
ปี 1856-1939 Sigmund Freud
แพทย์ชาวออสเตรีย รักษาโดยการสะกดจิต
คิดค้น และพัฒนาทฤษฏีจิตวิเคราะห์
ปลายศตวรรษที่ 20 ที่สหรัฐอเมริกา
ได้มีการเรียกร้องสิทธิในเรื่องต่างๆ
ผู้พิการให้มีสิทธิ์เท่าเทียมกัน
มีการออก พรบ.
ให้ทุนการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับประสาทวิทยาและสมอง
วิวัฒนาการของการพยาบาลสุขภาพจิต
และจิตเวชในต่างประเทศ
เริ่มตั้งแต่สมัย Florence Nightingale ปี1939
มีการมองผู้ป่วยอย่างเป็นองค์รวมประกอบด้วยร่างกาย
และจิตวิญญาณไม่สามารถแยกออกจากกันได้
ผู้ป่วยเป็นสมาชิกคนหนึ่งของครอบครัวและชุมชน
ถือว่าเป็นศูนย์กลางของการพยาบาล
มีปฏิสัมพันธ์ระหว่างพยาบาลและผู้ป่วย
ปัจจุบันเรียกว่า การสื่อสารเพื่อการบำบัด
( Therapeutic communication)
ปี 1913 Effie Taylor
บรรจุวิชาการพยาบาลจิตเวชไว้ในหลักสูตรการพยาบาล
มหาวิทยาลัย John Hopkins
โดยการบูรณาการมโนทัศน์การพยาบาลทั่วไป
และการพยาบาลสุขภาพจิตเข้าด้วยกัน
ปี 1952 Hidegard Peplau
เผยแพร่ตำราและแนวคิด
เรื่องการใช้สัมพันธภาพระหว่างบุคคล
โดยพัฒนาจากทฤษฎีสัมพันธภาพระหว่างบุคคลของ Sullivan
วิวัฒนาการของจิตเวชศาสตร์ในประเทศไทย
ยุคดั้งเดิม ปี พ.ศ. 2432 -2467
สร้างโรงพยาบาลคนเสียจริตแห่งแรกที่ปากคลองสาน
ปัจจุบันคือสถาบันจิตเวชศาสตร์สมเด็จเจ้าพระยา
ให้การรักษาอย่างมีเมตตา กรุณา สิ่งแวดล้อมสวยงาม ร่มรื่น
ไม่ทอดทิ้งผู้ป่วยให้อยู่ในชุมชนดูแลตามยถากรรม
ผู้ดูแลพูดจาดีกับผู้ป่วยถ้าทำร้ายผู้ป่วยจะได้รับโทษ
ถูกไล่ออกและลงโทษตามกฏหมาย
ยุคโรงพยาบาลจิตเวชแผนใหม่ ปีพ.ศ. 2468-2484
หลวงวิเชียรแพทยาคม
เป็นผู้อำนวยการคนแรก
เปลี่ยนชื่อโรงพยาบาลเป็นโรงพยาบาลโรคจิตธนบุรี
นายแพทย์ฝน แสงสิงแก้ว
ผู้อำนวยการลำดับต่อมาได้รับสมญานามเป็น
บิดาแห่งจิตเวชศาสตร์ไทย
เปลี่ยนชื่อโรงพยาบาลเป็นโรงพยาบาลสมเด็จเจ้าพระยา
สร้างโรงพยาบาลจิตเวชตามภาคต่างๆ เช่น
โรงพยาบาลศรีธัญญา
โรงพยาบาลสวนปรุง
โรงพยาบาลสวนสราญรมย์
ยุคของงานสุขภาพจิต ปี พ.ศ.2485-2503
ริเริ่มงานส่งเสริมป้องกันปัญหาสุขภาพจิต
เพื่อลดจำนวนผู้ป่วย เปิดคลินิกศูนย์สุขวิทยาจิต
ใช้วิธีการรักษาใหม่ๆแบบตะวันตก เช่น
ทำจิตบำบัด
พฤติกรรมบำบัด
บำบัดด้วยยากล่อมประสาท
ดำเนินงานโดยทีมงานสุขภาพจิตประกอบด้วย
จิตแพทย์
นักจิตวิทยาคลินิก
พยาบาลจิตเวช
นักสังคมสงเคราะห์
4.ยุคแรกเริ่มงานสุขภาพจิตชุมชน ปี พ.ศ. 2504-2514
ดำเนินงานตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจ
และสังคมแห่งชาติ ปี2507
จัดให้มีการรักษาแบบ Milieu therapy
มีบ้านกึ่งวิถี Half - way house
มีโรงพยาบาลกลางวัน ( Day hospital)
ยุคของการผสมผสานงานสุขภาพจิตเข้ากับระบบบริการสาธารณสุข ปี พศ.2515-2524
ให้ความสำคัญกับงานด้านสุขภาพจิตและจิตเวชชุมชน
ผสมผสานงานสุขภาพจิตเข้ากับระบบบริกาสาธารณสุขทั่วไป เช่น
รพ.สต และฝ่ายจิตเวชในโรงพยาบาลทั่วไป
ช่วยคัดกรองผู้ป่วยหรือส่งต่อผู้ป่วยไปยังศูนย์สุขภาพจิตชุมชน
และโรงพยาบาลจิตเวชตลอดจนการให้บริการครบวงจร
ยุคของการสาธารณสุขมูลฐาน ปี พศ. 2525-2534
ตามแผนพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 5,6
เป้าหมายให้ประชากรทั่วโลกมีสุขภาพดีถ้วนหน้าปี 2543
ยุคของงานส่งเสริมป้องกัน ปีพศ. 2535-ปัจจุบัน
ตามแผนพัฒนาฯฉบับที่ 7 สนับสนุนให้ประชาชนมีส่วนร่วม
เน้นการส่งเสริมและป้องกันปัญหาสุขภาพจิตเชิงรุก
ตามแผนพัฒนาฯฉบับที่ 8 ลดการเกิดปัญหาสุขภาพจิต
ตามแผนพัฒนาฯฉบับที่ 9 และ 10 ยึดคนเป็นศูนย์กลางของการพัฒนา