Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ต่อมลูกหมากโต Benign prostatic hypertrophy - Coggle Diagram
ต่อมลูกหมากโต Benign prostatic hypertrophy
อาการ
รู้สึกปวดขณะถ่ายปัสสาวะ
ปัสสาวะหลายครั้งในตอนกลางคืน
ปัสสาวะนาน ปัสสาวะอ่อน ปัสสาวะสะดุด (ขัดเบา) ปัสสาวะเป็นหยดๆ
มีเลือดปนออกมาในปัสสาวะ
ปัสสาวะบ่อยหรือต้องการปัสสาวะทันที
สาเหตุ
ยังไม่มีหลักฐานยืนยันถึงสาเหตุที่แน่ชัด
อาจสัมพันธ์กับระดับฮอร์โมนเพศชาย
มีการสันนิษฐานว่าสาเหตุของต่อมลูกหมากโตเกิดขึ้นจากความเสื่อมของร่างกายตามวัยในผู้ชาย และเกิดจากความเปลี่ยนแปลงของสมดุลฮอร์โมน นอกจากนี้ยังสันนิษฐานว่าอาจเกิดจากพันธุกรรม โดยเฉพาะคนที่มีอาการค่อนข้างรุนแรงในกลุ่มคนที่มีอายุน้อยกว่า 60 ปี ซึ่งต้องรับการรักษาโดยผ่าตัด
การรักษา
รักษาด้วยความร้อน (การใช้ความร้อนกับเนื้อเยื่อของต่อมลูกหมาก) สามารถใช้เพื่อลดอาการของต่อมลูกหมากโตได้ ข้อดีของการรักษานี้ก็คือสามารถดำเนินการรักษาในขณะที่เป็นผู้ป่วยนอกได้ โดยจะมีการใช้พลังงานจากคลื่นไมโครเวฟหรือคลื่นความถี่วิทยุจำนวนเล็กน้อยในการรักษา
รักษาด้วยการผ่าตัดด้วยการส่องกล้อง เพื่อตัดเอาชิ้นเนื้อส่วนที่เกินออกมาจากต่อมลูกหมาก (TURP) วิธีนี้ถือว่าเป็นวิธีผ่าตัดที่ใช้กันเป็นส่วนใหญ่ แพทย์ผ่าตัดจะส่งท่อที่มีกล้องขนาดเล็กผ่านเข้าสู่ท่อปัสสาวะ ตรงปลายท่อจะมีเครื่องมือผ่าตัดขนาดเล็กใช้สำหรับตัดเนื้อเยื่อต่อมลูกหมากส่วนที่กดทับท่อปัสสาวะไว้
แพทย์อาจะสั่งยาบางชนิดให้ เช่น Proscar (finasteride) ซึ่งช่วยให้ต่อมลูกหมากมีขนาดเล็กลง หรือยาคลายกล้ามเนื้อเรียบในต่อมลูกหมากให้อ่อนตัวลง (alpha-blockers)
ในกรณีที่ต่อมลูกหมากมีขนาดใหญ่มากผิดปกติ แพทย์อาจจำเป็นต้องใช้วิธีการผ่าตัดแบบเปิดหน้าท้องเพื่อนำเอาเนื้อเยื่อส่วนเกินออกมา
ควรงดดื่มของเหลวหรือแอลกอฮอล์ในปริมาณมากเกินไปโดยเฉพาะในเวลากลางคืน
หากมีอาการเพียงเล็กน้อย ก็ไม่จำเป็นต้องรักษา
การพยาบาล
การพยาบาลก่อนผ่าตัด
คือ การเตรียมความสะอาดร่างกาย บริเวณผ่าตัด และอธิบายให้ผู้ป่วยเข้าใจเกี่ยวกับโรคที่เป็นและแนวทางรักษาที่ผู้ป่วยได้รับ และอธิบายให้ผู้ป่วยเข้าใจถึงสภาพหลังการผ่าตัดและแนะนำการปฏิบัติตัวหลังการผ่าตัดการพยาบาลหลังการผ่าตัด
การพยาบาลหลังผ่าตัด
สังเกตภาวะเสียเลือด โดยหลังผ่าตัดอาจมีภาวะเสียเลือดง่ายเนื่องจากบริเวณต่อมลุกหมากเป็นบริเวณที่มีหลออดเลือดมาเลี้ยงมากพยาบาลจึงควรสังเกตลักษณะและสีของปัสสาวะรวมถึงบริเวณปลายอวัยวะสืบพันธุ์ไม่มีเลือดออก
ดูแลการล้างกระเพาะปัสสาวะอย่างต่อเนื่อง ไม่มีการหักพับงอหรืออุดตันจากสิ่งต่าง ๆ และต้องแนะนำผู้ป่วยให้ดูแลสายปัสสาวะด้วยทางหนึ่ง ประเมินภาวะสมดุลของสารน้ำที่เข้าออกจากร่างกาย
ให้ยาแก้ปวดตามแผนการรักษาของแพทย์เพื่อบรรเทาอาการเจ็บปวดที่เกิดจากการเจ็บปวดบริเวณที่ผ่าตัดและเจ็บปวดจากการคั่งของปัสสาวะที่เกิดจากสาเหตุต่างๆ เช่น ลิ่มเลือดอุดตัน สายหัก พับ งอ ป้องกันภาวะแืรกซ้อนอื่นๆ
พยาธิสภาพ
คือภาวะที่ต่อมลูกหมากมีขนาดโตขึ้น เป็นภาวะที่เกิดขึ้นทั่วไปกับผู้ชายที่มีอายุมากขึ้น ภาวะต่อมลูกหมากโตอาจทำให้เกิดอาการปัสสาวะติดขัด ปัสสาวะไหลออกมาจากกระเพาะปัสสาวะไม่ได้ ซึ่งทำให้เกิดโรคในกระเพาะปัสสาวะ ทางเดินปัสสาวะหรือไต ปัจจุบัน มีการรักษาภาวะต่อมลูกหมากโตหลายหลายวิธี รวมทั้งการรักษาด้วยยา การบำบัดและการผ่าตัดส่องกล้อง
การป้องกัน
ขณะนี้ยังไม่มีการป้องกัน เพราะสาเหตุของต่อมลูกหมากโตยังไม่แน่ชัด และเป็นการเปลี่ยนแปลงตามวัย ฮอร์โมนที่มีส่วนทำให้ต่อมลูกหมากโตได้แก่ฮอร์โมนเพศชายสร้างจากอัณฑะ ถ้าผู้ชายที่ตัดอัณฑะออกก่อนวัยรุ่นก็จะไม่มีต่อมลูกหมากโต แต่ไม่สามารถทำได้เนื่องจากอาจเกิดผลเสียจากการขาดฮอร์โมนมากกว่า การทำหมันชายไม่มีส่วนกับการเกิดอาการต่อมลูกหมากโต ดังนั้นปัจจุบันคำแนะนำคือ เฝ้าระวังการเกิดมะเร็งต่อมลูกหมากโดยไปปรึกษาแพทย์อย่างน้อยปีละครั้ง
การวินิจฉัยโรค
ทำการทดสอบเพื่อวัดอัตราการไหลของปัสสาวะ
ตรวจเพาะเชื้อจากปัสสาวะ
การตรวจสอบร่างกายและซักประวัติคนไข้โดยละเอียด ซึ่งรวมไปถึงการตรวจต่อมลูกหมากทางทวารหนัก(Digital Rectal Examination) ซึ่งแพทย์จะใช้นิ้วสวมถุงมือสอดเข้าไปในทวารหนักและกดลงบนต่อมลูกหมากเพื่อตรวจและประเมินขนาดของต่อมลูกหมากว่าผิดปกติหรือไม่
วัดปริมาณปัสสาวะที่เก็บอยู่ในกระเพาะปัสสาวะ