Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
PIH มารดา อายุ 19 ปี G1P1A0 - Coggle Diagram
PIH
มารดา อายุ 19 ปี G1P1A0
กิจกรรมการพยาบาล
ก่อนผ่าตัด
1.ผู้ป่วยมีโอกาสเสี่ยงต่อการชักและเส้นโลหิตในสมองแตก เนื่องจากความดันโลหิตสูง
วัดสัญญาณชีพและประเมินระดับความรู้สึกตัวอย่างใกล้ชิด โดยเฉพาะความดันโลหิต ชีพจร การหายใจ ทุก 1 ชั่วโมง เพื่อประเมินสภาพผู้ป่วย
จัดให้ผู้ป่วยพักผ่อน จัดสิ่งแวดล้อมให้สงบลดสิ่งกระตุ้น เช่น แสง เสียงและความร้อน เพื่อให้ผู้ป่วย พักผ่อน และหลับได้ จัดให้ผู้ป่วยนอนในท่าที่สบาย เพื่อให้การไหลเวียนโลหิตช้าลง ทำให้ความดันโลหิตลดลง
ดูแลให้ผู้ป่วยได้รับออกซิเจนชนิดสอดทางจมูก 5 ลิตรต่อนาที
ดูแลให้ผู้ป่วยได้รับยากันชัก แมกนีเซียมซัลเฟตและสารทางหลอดเลือดดำ สังเกตอาการข้างเคียงของยา เช่น ง่วงหลับ กล้ามเนื้ออ่อนแรง กระสับกระส่าย ให้รายงานแพทย์
สังเกตอาการเปลี่ยนแปลงของผู้ป่วย เช่น อาการปวดศีรษะ ตาพร่ามัว หายใจแน่นลิ้นปี ซึ่งอาจเป็นอาการนำของการชัก
ใส่สายสวนคาปัสสาวะตามแผนการรักษาเพื่อทําให้กระเพาะปัสสาวะว่าง
การประเมินผล : ปัญหานี้ได้รับการแก้ไขในการเยี่ยมครั้งที่ 3 วันที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2552 เวลา 08.00 น
2.มีความวิตกกังวลเกี่ยวกับการผ่าตัด และผลกระทบต่อทารกในครรภ์ เนื่องจากมีภาวะความดันโลหิตสูง
สร้างสัมพันธภาพกับผู้ป่วย เปิดโอกาสให้ผู้ป่วยได้ระบายความวิตกกังวล
อธิบายให้ผู้ป่วยทราบรายละเอียดเกี่ยวกับโรค เหตุผลของการผ่าตัดและสุขภาพของทารกในครรภ์
ให้กำลังใจและสร้างความมั่นใจแก่ผู้ป่วย และส่งเสริมให้ญาติได้มีส่วนร่วมในการดูแลผู้ป่วย
อธิบายและเตรียมผู้ป่วยด้วยความอบอุ่นและนุ่มนวลในการเตรียมร่างกายก่อนผ่าตัด
สาธิต และอธิบายเกี่ยวกับการปฏิบัติตนหลังผ่าตัด อธิบายให้ผู้ป่วยทราบว่าหลังผ่าตัด ผู้ป่วยจะต้องประสบเกี่ยวกับอาการ และเครื่องมือบางอย่าง เช่น กระหายน้ำ อาเจียน ปวดแผล การใช้เครื่องช่วยหายใจ เป็นต้น
อธิบายเกี่ยวกับความเจ็บปวดแผลผ่าตัดภายหลังผ่าตัด
วันแรกของการผ่าตัดจะปวดแผลมาก ให้ยาแก้ปวดได้
แนะนำให้เคลื่อนไหวร่างกายหลังผ่าตัด เพื่อลดความตึงของแผลและลดอาการปวด
การประเมินผล : ปัญหานี้ได้รับการแก้ไขในการเยี่ยมครั้งที่ 2 วันที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2552 เวลา 20.00 น
หลังผ่าตัด
3.มีโอกาสเกิดการตกเลือดหลังผ่าตัด เนื่องจากมดลูกหดรัดตัวไม่ดี
วัดสัญญาณชีพ และประเมินระดับความรู้สึกตัวอย่างใกล้ชิด
จัดให้ผู้ป่วยนอนราบไม่หนุนหมอน ไขเตียงให้ปลายเท้าสูง 30 องศา เพื่อให้เลือดไปเลี้ยงหัวใจ และสมองได้ดี
ดูแลให้ผู้ป่วยได้รับออกซิเจนชนิดสอดทางจมูก 5 ลิตรต่อนาที
ดูแลให้ผู้ป่วยได้รับสารน้ำทางหลอดเลือดดำตามแผนการรักษา คือ ให้ Oxytocin 30 ยูนิต ซึ่งเป็นยาที่ทำให้มดลูกหดรัดตัว ผสมในสารน้ำ 5% D/N/2 1000 มิลลิลิตร ทางหลอดเลือดดำในอัตรา 80 มิลลิลิตรต่อชั่วโมง
บันทึกสี ลักษณะ และจำนวนปัสสาวะทุก 4 ชั่วโมง
บันทึก และสังเกตสี ลักษณะ จำนวนเลือดที่ออกจากแผลผ่าตัด และเลือดที่ออกทางช่องคลอด
แนะนำให้กดกริ่งเมื่อต้องการความช่วยเหลือ ยกราวกั้นเตียงขึ้น เพื่อป้องกันการตกเตียง
เตรียมเครื่องมือ เครื่องใช้ และยาที่จำเป็นสำหรับการช่วยชีวิตให้อยู่ในสภาพที่จะใช้ได้ทันที
การประเมินผล : ปัญหานี้ได้รับการแก้ไขในการเยี่ยมครั้งที่ 3 วันที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2552 เวลา 08.00 น
4.มีโอกาสเกิดการไม่สมดุลของสารน้ำและเกลือแร่ เนื่องจากงดน้ำทางปาก
ดูแลให้ผู้ป่วยได้รับสารทางหลอดเลือดดำตามแผนการรักษา
บันทึกปริมาณน้ำที่ผู้ป่วยได้รับและปริมาณปัสสาวะที่ออกจากร่างกาย เพื่อประเมินการเสียสมดุลของสารน้ำในร่างกาย
ดูแลให้ผู้ป่วยบ้วนปากหรือแปรงฟันอย่างน้อยวันละ 2 ครั้ง และสังเกตริมฝีปากของผู้ป่วยว่าแห้งหรือไม่ ดูแลเช็ดตัวทําความสะอาดร่างกายของผู้ป่วย เพื่อระบายความร้อนและลดการสูญเสียน้ำ
ดูแลให้ผู้ป่วยพักผ่อนทั้งทางด้านร่างกายและจิตใจ
การประเมินผล : ปัญหานี้ได้รับการแก้ไขในการเยี่ยมครั้งที่ 3 วันที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2552 เวลา 08.00 น
5.ปวดแผล เนื่องจากเกิดจากการผ่าตัด
ประเมินอาการปวดแผลและพิจารณาให้ยาแก้ปวดตามแผนการรักษาของแพทย์ เพื่อบรรเทาอาการปวด พร้อมทั้งสังเกตอาการข้างเคียงของยาที่อาจเกิดขึ้นได้
จัดให้ผู้ป่วยนอนในท่ายกศีรษะสูง 45 องศา งอเข่า 30 องศา
แนะนำให้ผู้ป่วยหายใจเข้าลึกๆ ช้าๆ ทางจมูก แล้วผ่อนลมหายใจออกทางปากช้าๆ
แนะนำเรื่องการไอที่ถูกวิธีและช่วยพลิกตะแคง เปลี่ยนท่าให้สุขสบาย กระตุ้นให้ผู้ป่วยมีการลุกจากเตียงเร็วภายหลังผ่าตัดประมาณ 24 ชั่วโมง
ใช้ผ้าพันหน้าท้องพันทับบริเวณแผลผ่าตัด โดยพันให้กระชับ ไม่รัดแน่นเกินไป
จัดสิ่งแวดล้อมให้สะอาดและไม่มีเสียงรบกวน เพื่อให้ผู้ป่วยสามารถพักผ่อนได้
ให้กําลังใจผู้ป่วยและให้การพยาบาลด้วยท่าทีที่นุ่มนวล เบี่ยงเบนความสนใจ โดยจัดกิจกรรมที่เหมาะสม ได้แก่ อ่านหนังสือ ดูโทรทัศน์เพื่อผ่อนคลายความตึงเครียดของผู้ป่วย
การประเมินผล : ปัญหานี้ได้รับการแก้ไขในการเยี่ยมครั้งที่ 3 วันที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2552 เวลา 08.00 น
6.มีโอกาสเกิดการติดเชื้อที่แผลผ่าตัดหน้าท้อง เนื่องจากขาดความรู้ในการดูแลตนเอง
วัดสัญญาณชีพทุก 4 ชั่วโมง เพื่อติดตามการเปลี่ยนแปลงของร่างกาย
เช็ดตัวและทำความสะอาดผิวหนังบริเวณรอบๆแผลผ่าตัด ระวังไม่ให้ถูกน้ำ
อธิบายให้ผู้ป่วยทราบถึงความสำคัญของการป้องกันการติดเชื้อแผลผ่าตัด
สังเกตและบันทึกลักษณะของสิงคัดหลั่งที่ออกมาจากแผลผ่าตัด
สังเกตผิวหนังรอบแผลผ่าตัด ถ้ามีอาการปวด บวม แดง ร้อน แสดงว่ามีการติดเชื้อ พร้อมกับรายงานแพทย์ให้ทราบทันที
ดูแลสภาพแวดล้อมของผู้ป่วยให้สะอาด เพื่อไม่ให้เป็นแหล่งสะสมของเชื้อโรค
ดูแลให้ยาปฏิชีวนะตามแผนการรักษา พร้อมทั้งสังเกตอาการข้างเคียงของยาที่อาจเกิดขึ้นได้
การประเมินผล : ปัญหานี้ได้รับการแก้ไขในการเยี่ยมครั้งที่ 4 วันที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2552 เวลา 10.00 น
7.ผู้ป่วยขาดความรู้เกี่ยวกับการดูแลบุตร
ประเมินสภาพความพร้อมของผู้ป่วย ทั้งทางร่างกายและจิตใจ
ส่งเสริมให้เลี้ยงทารกด้วยนมแม่ แนะนำวิธีการเลี้ยงดูทารกแรกเกิดด้วยนมแม่ และการให้อาหารเสริมหลัง 6 เดือน
สาธิต และช่วยเหลือมารดาในการอาบน้ำทารกด้วยน้ำอุ่นอย่างน้อยวันละ 2 ครั้ง ใช้สำลีสะอาดชุบแอลกอฮอล์ 70 เปอร์เซ็นต์ ทำความสะอาดสะดือ
แนะนำให้คอยสังเกตอาการเปลี่ยนแปลงของทารก เช่น การหายใจ มีอาการหายใจเร็ว เหนื่อยหอบหรือไม่ อาการเขียว อาการสำลัก อาการท้องเสีย มีไข้ เป็นต้น
คอยเอาใจใส่ดูแลช่วยเหลือ ไม่ปล่อยให้เป็นภาระของผู้ป่วยแต่เพียงผู้เดียว
แนะนำให้พาทารกมาตรวจตามนัด และการตรวจสุขภาพเด็กดี
เปิดโอกาสให้ผู้ป่วย และญาติได้ซักถามหรือแสดงความรู้สึกต่างๆ เพื่อให้คลายความวิตกกังวล
การประเมินผล : ปัญหานี้ได้รับการแก้ไขในการเยี่ยมครั้งที่ 4 วันที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2552 เวลา 10.00
PP
การประเมินสุขภาพในระยะหลังคลอด
-25/9/52
รู้สึกตัวดี นั่งบนเตียง แผลผ่าตัดหน้าท้องแห้งดี ปวดแผลผ่าตดหน้าท้องน้อยลง เริ่มให้อาหารอ่อนตอนเช้า และเปลี่ยนเป็นอาหารธรรมดาตอนเย็น
V/S: BP140/90mmHg BT37.2องศาเซลเซียส PR=84bpm RR20bpm
ไม่มีอาการจุกแน่นลิ้นปี่ ตาพร่ามัว
และผู้ป่วยรู้สึกกังวลเกี่ยวกับให้นมบุตรเนื่องจากให้นมบุตรวันแรก น้ำนมไหลดี
หลังจากนั้นได้รับคำแนะนำวิธีการเลี้ยงชูกด้วยนมบุตร ผู้ป่วยจึงมีสีหน้าที่สดชื่นและมั่นใจขึ้น สามารถให้นมบุตรได้
-วันที่28/9/52
รู้สึกตัวดี ช่วยเหลือตนเองได้ดี แผลผ่าตัดหน้าท้องแห้งดี ไม่ต้องตัดไหม ไม่มีเต้านมคัดตึง ให้นมบุตรได้ถูกต้อง ความดันโลหิต 130/90mmHg แพทย์อนุญาติให้กลับบ้านวันที่28/9/52
นัดตรวจความดันโลหิตอีก2สัปดาห์ในวันที่12/10/52 ตรวจหลังคลอดและติดตามอาการหลังได้รับการผ่าตัด6สัปดาห์ในวันที่2/11/52
-23/10/52(20.00น.)
ผู้ป่วยรู้สึกตัวพอสมควรนอนราบอยู่บนเตียง ยังอ่อนเพลีย ไม่มีเล็บมือเล็บเท้าเขียว หายใจสม่ำเสมอ ไม่มีคลื่นไส้อาเจียนหรืออาการเจ็บแน่นจุกลิ้นปี่ ตาพล่ามัว ไม่มีอาการปวดศีรษะ
ได้รับยา50%MgSO4 20g ผสมใน5%D/W 1000ml อัตรา50ml/hr และ5%D/N/2 1000ml ผสม Syntocinon 30u อัตรา80ml/hr ทางIV คาสายสวนปัสสาวะไว้ ปัสสาวะสีเหลืองใสจำนวน300ml
แผลผ่าตัดหน้าท้องไม่มีเลือดซึม มีเลือดออกทางช่องคลอดเล็กน้อย งดอาหาร น้ำ ทางปากทุกชนิด
V/S:BP=161/90mmHg BT=37.1องศาเซลเซียส PR=103bpm RR=20bpm
pain score=6หลังให้ยาแก้ปวดลดลงเหลือpain score=3 สามารถพลิกตะแคงเปลี่ยนท่าได้
LR
เยี่ยมครั้งที่ 1
ก่อนผ่าตัด 23 ก.ย. 52 เวลา 13.00 น.สีหน้าอ่อนเพลีย ไม่มีอาการจุกแน่นลิ้นปี่ ตาพร่ามัว BT 36.6•C PR 80 bpm RR 20 bpm BP 140/100 mmHg ปฏิกิริยาตอบสนอง1+ แพทย์ให้ 10%MgSO4 4 g IV ดูแลให้รับสารน้ำทางหลอดเลือดดำ 50%MgSO4 20g ผสมใน5%D/W 1000ml อัตรา50ml/hr แพทย์ตัดสินใจผ่าตัดคลอดทางหน้าท้องเนื่องจากมีภาวะความดันโลหิตสูง
ทารกคลอดเวลา 17.15 น. น้ำหนัก 2580g ยาว 47 cm Apgar score 9 9 10
ANC
ประวัติฝากครรภ์สม่ำเสมอ
-ตรวจตามนัดวันที่ 23 ก.ย.52 พบว่ามีไข่ขาวในปัสสาวะ 3+ BP130/90mmHg ไม่มีมูกเลือด ไม่มีน้ำเดิน เด็กดิ้นดี
-ตรวจภายในพบปากมดลูกเปิด 1 cm ความบาง 20% ส่วนนำ-3 ส่วนนำเป็นศีรษะ ถุงน้ำคร่ำยังไม่แตก
-รับไว้ในรพ.11.20 น. รายงานแพทย์ประจำวันทราบ