Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
กรวยไตอักเสบ ( Pyelonephritis ) - Coggle Diagram
กรวยไตอักเสบ ( Pyelonephritis )
สาเหตุ
เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย ที่พบบ่อยได้แก่เชื้อ E.coli ซึ่งเป็นเชื้อที่พบในอุจจาระของคนทั่วไป คำว่าไตอักเสบหมายถึง มีการอักเสบของเนื้อเยื่อของไต อาจเกิดจากการมีเชื้อโรคเข้าไปก่อเหตุหรือเกิดเนื่องมาจากปฏิกิรียาของร่างกายที่สร้างภูมิต้านทานต่อเนื้อไตไปกระตุ้นให้เกิดการอักเสบโดยไม่มีเชื้อโรคเข้าไปเกี่ยวข้องก็ได้ โรคไตอักเสบเหล่านี้มีผลแทรกช้อนและวิธีการรักษาที่แตกต่างกัน ดังนั้นเมื่อพูดถึงไตอักเสบจะต้องแยกแยะให้ได้ว่าหมายถึงชนิดใดโดยเฉพาะ ซึ่งมีชื่อเรียกเฉพาะโรคต่างๆ กันไป เช่น กรวยไตอักเสบ หน่วยไตอักเสบ โรคไตเนโฟรติก เป็นต้น
อาการ
ผู้ป่วยจะมีอาการไข้สูง หนาวสั่นมาก ต้องห่มผ้าหนาๆ หรือหลายๆ ผืน ปวดศรีษะ อ่อนเพลีย เบื่ออาหาร อาจมีอาการคลื่นไส้อาเจียนร่วมด้วย มักมีอาการปวดท้อง ปวดบั้นเอวข้างใดข้างหนึ่ง และปัสสาวะขุ่น บางรายอาจมีอาการถ่ายปัสสาวะแสบขัด และออกกะปริดกะปรอยร่วมด้วย
จะมีอาการคล้ายของไข้มาลาเรีย แต่จะจับไข้ไม่เป็นเวลาแน่นอน และมีอาการหนาวสั่นได้วันละหลายครั้ง
มักมีอาการปวดบริเวณบั้นเอวหรือสีข้างเพียงข้างใดข้างหนึ่ง เมื่อใช้กำปั้นทุบเบาๆ ตรงบริเวณที่ปวดจะมีความรู้สึกเจ็บจนสะดุ้งโหยง
ปัสสาวะขุ่นขาว บางครั้งอาจข้นเป็นหนอง
พยาธิสภาพ
เมื่อมีการอักเสบไตจะขยายใหญ่ขึ้น เกิดมีการคั่งของเลือดและบวม มีการติดเชื้ออย่างรุนแรง ตาม ผนังของกรวยไตน้อย (calyces) กรวยไตจะบวม และมีลักษณะแดงจัด อาจมีเลือดออกด้วย ถ้าการติดเชื้อไม่ รุนแรงและถ้าได้รับการรักษาทันท่วงที่จะมีรอยแผลเป็นบ้างเล็กน้อย แต่ถ้าเป็นเรื้อรังทำให้เกิดแผลเป็น ( Fibrosis) จนทำให้ท่อไตต่่งๆอุดตัน เส้นเลือดฝอยของโกเทอรูไล (glomeruli )ตีบแคบทำให้ไตขาดโลหิต ขนาดของไตเล็กลง หน้สที่ของไตเลวลงจนในที่สุดเกิดภาวะไตวายได้ ( renal failure )
ภาวะแทรกซ้อน
1.ผู้ป่วยที่ไม่ได้รับการรักษา โดยเฉพาะในเด็กเล็ก ผู้สูงอายุ และในคนที่มีภูมิคุ้มกันต่ำ เชื้อโรคอาจลุกลามเข้ากระแสเลือดกลายเป็นภาวะโลหิตเป็นพิษ ซึ่งอาจเป็นอันตรายร้ายแรงจนเป็นเหตุให้เสียชีวิตได้
2.หากไม่ได้รับการรักษาอย่างถูกต้อง หรือรับการรักษาแบบครึ่ง ๆ กลาง ๆ ไม่เต็มที่ตามที่แพทย์นัด หรือไม่มีการรักษาที่สาเหตุร่วมด้วย ก็อาจกลายเป็นโรคกรวยไตอักเสบเรื้อรัง (มีอาการอักเสบแต่ไม่แสดงอาการ) ซึ่งหากปล่อยไว้นานปี ในที่สุดอาจกลายเป็นภาวะไตวายเรื้อรังได้
การรักษาและการพยาบาล
จัดสิ่งแวดล้อมให้สะอาดเรียบร้อย ดูแลให้นอนพักผ่อนได้มากพอ ช่วยจัดท่านอนให้เหมาะสมและสุขสบาย
ตรวจสอบสัญญาณชีพทุก 4 ชั่วโมง จนกว่าจะอยู่ในภาวะปกติและคงที่ ถ้ามีไข้เกิน 38.5°C เช็ดตัวเพื่อลดอาการไข้
ถ้ามีอาการหนาวสั่น ให้ความอบอุ่นแก่ร่างกายอย่างเพียงพอ ดูแลผู้ป่วยอย่างใกล้ชิด ตรวจสอบอาการผิดปกติต่างๆ ร่วมด้วย
กระตุ้นให้ดื่มน้ำอย่างน้อย 3,000 ซีซี./วัน ถ้าไม่ขัดต่อพยาธิสภาพของโรค ดูให้มีการถ่ายปัสสาวะตามปกติ ไม่ควรกลั้นปัสสาวะ
ให้ยาลดไข้ แก้ปวด หรือยาปฏิชีวนะตามแผนการรักษาอย่างครบถ้วน สังเกตอาการข้างเคียงของยาภายหลังให้
ถ้ามีอาการปวดให้พัก ถ้าปวดอย่างรุนแรงให้ยาบรรเทาอาการ ตามแผนการรักษาอย่างครบถ้วน
สังเกตลักษณะของน้ำปัสสาวะ ถ้าพบขุ่น มีหนอง หรือมีคาสท์ปน ต้องเก็บปัสสาวะตรวจเพื่อทำการเพาะเชื้อ และติดตามผลการตรวจทุกครั้ง
ดูแลให้ความสะดวกในการที่ต้องถ่ายปัสสาวะบ่อยๆ ชำระทุกครั้ง ภายหลังถ่ายปัสสาวะดูแลอย่าให้สกปรกและอับชื้น
ดูแลให้ได้รับสารอาหารอย่างเพียงพอ และเหมาะสมกับโรค โดยเฉพาะอย่างยิ่งอาหารที่มีคาร์โบไฮเดรท และวิตามินสูง ควรจำกัด อาหารโปรตีนเพื่อลดการทำงานของไต ซึ่งต้องศึกษาผลการตรวจเลือดและผลการตรวจปัสสาวะประกอบด้วยให้อาหารครั้งละน้อยๆ บ่อยครั้ง เท่าที่สามารถจะรับประทานได้ ถ้าไม่สามารถรับประทานได้มากพอเนื่องจากมีคลื่นไส้อาเจียน ดูให้ได้รับสารอาหารทางหลอดเลือดดำตามแผนการรักษาอย่างครบถ้วน
บันทึกจำนวนนํ้าที่ร่างกายได้รับและขับออก ชั่งนํ้าหนักตัว รวมทั้งติดตามผลการตรวจเลือด เพื่อประเมินภาวะของการได้รับสาร อาหารและนํ้าในร่างกาย ตลอดจนความสมดุลของนํ้า และอีเล็กโทไลท์