Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
กระเพาะปัสlาวะอักเสบ Cystitis - Coggle Diagram
กระเพาะปัสlาวะอักเสบ Cystitis
สาเหตุ
ติดเชื้อเเบคทีเรียในระบบทางเดินปัสสาวะ
เคล็บซิลลา (Klebsiella)
สูโดโมแนส (Pseudomonas)
เอสเชอริเชีย โคไล หรือ อีโคไล (Escherichia coli : E. coli)
เอนเทอโรแบกเตอร์ (Enterobacter)
อาการ
มีอาการขัดเบา คือ ถ่ายปัสสาวะกะปริดกะปรอย(ปัสสาวะทีละน้อยๆ แต่บ่อยครั้ง) มีอาการคล้ายถ่ายปัสสาวะไม่สุด
ปัสสาวะขุ่น บางครั้งมีกลิ่นผิดปกติ ในรายที่เป็นมากอาจปัสสาวะมีเลือดปน มักไม่มีไข้(ยกเว้นถ้ามีกรวยไตอักเสบร่วมด้วย ผู้ป่วยจะมีไข้สูง หนาวสั่น ปัสสาวะสีขุ่น และมีอาการปวดเอวร่วมด้วย) ในเด็กเล็กอาจมีอาการปัสสาวะ รดที่นอน และอาจมีไข้เบื่ออาหาร อาเจียนร่วมด้วย
รู้สึกปวดบริเวณท้องน้อยหรือหัวหน่าว ปวดแสบ ขัด ขณะปัสสาวะโดยเฉพาะตอนปัสสาวะสุด
พยาธิสภาพ
กระเพาะปัสสาวะอักเสบ (cystitis) เป็นการอักเสบของกระเพาะปัสสาวะซึ่งใช้ในการอธิบายทาง พยาธิวิทยา จุลชีววิทยา หรือจากการส่องกล้องตรวจกระเพาะปัสสาวะ หรือกลุ่มอาการที่ประกอบด้วย ปัสสาวะขัดที่เกิดทันที ปัสสาวะบ่อย ปวดปัสสาวะต้องรีบปัสสาวะ (urgency) และปวดบริเวณท้องน้อย (suprapubic pain)
การรักษา
แพทย์ทำการรักษาโดยใช้ยาปฏิชีวนะยาลดการบีบเกร็ง รวมถึงการปรับพฤติกรรม คือ ไม่กลั้นปัสสาวะ และระมัดระวังการทำความสะอาดหลังเข้าห้องน้ำให้ถูกวิธี
ปัจจุบัน โรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบพบได้บ่อยมาก โดยเฉพาะผู้หญิงวัยทำงาน ซึ่งอาจเกิดได้หลายปัจจัย เช่น รู้สึกไม่อยากเข้าห้องน้ำตามสถานที่สาธารณะต่างๆ การชำระล้างทำความสะอาดที่ไม่ถูกวิธี หรือการใช้ชีวิตอยู่บนท้องถนนเป็นเวลานาน รวมถึงการดื่มน้ำน้อย ดังนั้น โรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบจึงเป็นโรคที่เรียกว่า โรคที่สัมพันธ์กับพฤติกรรม ซึ่งหากเป็นซ้ำๆหลายครั้ง ก็มีโอกาสพบเชื้อโรคที่ดื้อยามากขึ้นเรื่อยๆ และอาจจำเป็นต้องใช้ยาฆ่าเชื้อทีมีความรุนแรงมากขึ้น ทั้งนี้ ยังสามารถพัฒนากลายเป็นโรคกรวยไตอักเสบได้อีกด้วย
การพยาบาล
ป้องกันและตรวจค้นภาวะช็อคจากการติดเชื้อ บันทึกสัญญาณชีพผูป่วยที่รับไว้รักษาในโรงพยาบาล
ดูแลให้ผู้ป่วยได้รับน้ำและสารอาหารเพียงพอ แนะนำผู้ป่วยดื่มน้ำวันละ 2-3 ลิตร ซึ่งเป็นปริมาณน้ำที่เพียงพอสำหรับการขับปัสสาวะแต่ไม่ทำให้ปัสสาวะเจือจางจนมีผลต่อยาปฏิชีวนะในกระแสโลหิตให้อยู่ในระดับคงที่พอจะฆ่าเชื้อโรคได้
การบรรเทาความเจ็บปวดดูแลความไม่สุขสบายของผู้ป่วย ผู้ป่วยที่มีการอักเสบของกระเพาะปัสสาวะ มักมีอาการปัสสาวะบ่อย แสบขัด และปวดบริเวณเหนือหัวหน่าวอาการดังกล่าวสามารถบรรเทาได้ด้วยการให้ยาลดเกร็งตัวของกระเพาะปัสสาวะตามแผนการรักษา
ปัจจัยเสี่ยงการเกิดโรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบ
การติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์
การเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนในเพศหญิงวัยหมดประจำเดือน เมื่อฮอร์โมนเพศหญิงลดลง ทำให้ความชุ่มชื้นบริเวณเยื่อบุช่องคลอดและเยื่อบุท่อปัสสาวะซึ่งช่วยป้องกันการติดเชื้อลดลงตามไปด้วย
การสวนล้างช่องคลอดด้วยยาปฎิชีวนะ ทำให้แบคทีเรียชนิดดีที่ทำหน้าที่ป้องกันเชื้อโรคถูกกำจัดออกไป จึงเกิดการติดเชื้อง่ายขึ้น
ผู้ป่วยโรคเบาหวาน หากควบคุมโรคได้ไม่ดีก็มีโอกาสติดเชื้อได้ง่ายเนื่องจากร่างกายมีภูมิต้านทานโรคต่ำอยู่แล้ว
การดูแลรักษาสุขอนามัยบริเวณอวัยวะเพศไม่ดี โดยเฉพาะผู้หญิง หากทำความสะอาดไม่ถูกวิธี เช่น เช็ดทำความสะอาดจากด้านหลังมาด้านหน้า ก็จะทำให้มีโอกาสติดเชื้อจากช่องคลอดและทวารหนักได้
ผู้ป่วยต้องรับประทานยากดภูมิต้านทาน
การกลั้นปัสสาวะเป็นเวลานาน ทำให้เชื้อโรคในปัสสาวะเจริญเติบโตได้ดี
การใส่สายสวนปัสสาวะเป็นเวลานาน
การวินิจฉัย
การตรวจปัสสาวะ เพื่อดูวามีเม็ดเลือดแดง หรือเม็ดเลือดขาวปะปนออกมาหรือไม่ รวมถึงการดูสี และความเข้มข้นของปัสสาวะ
การตรวจร่างกาย โดยการคลำกระเพาะปัสสาวะ พบว่า กระเพาะปัสสาวะโตผิดปกติ เนื่องจากมีปัสสาวะค้างอยู่หรือไม่ตำแหน่งการปวด
การป้องกัน
ทำความสะอาดอวัยวะเพศก่อน จึงค่อยทำความสะอาดทวารหนัก เพื่อป้องกันการติดเชื้อเชื้อแบคทีเรียจากทวารหนักแพร่กระจายไปยังอวัยวะเพศ
ใช้ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดอวัยวะเพศสูตรอ่อนโยน แทนผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมของสารเคมี และน้ำหอม
ไม่กลั้นปัสสาวะ
การใช้ฝักบัวอาบน้ำแทนการอาบในอ่าง ช่วยลดความเสี่ยงที่เชื้อโรคเข้าสู่ร่างกาย
ดื่มน้ำสะอาดในแต่ละวันให้เพียงพอ โดยเฉพาะหลังจากการมีเพศสัมพันธ์ จะช่วยกำจัดเชื้อแบคทีเรียในกระเพาะปัสสาวะ
เลือกใช้ชุดนั้นในที่มีเนื้อผ้าระบายได้ดี ลดความอับชื้นบริเวณอวัยวะเพศ