Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ทารกโตช้าในครรภ์ Intrauterine growth retardation (IUGR) - Coggle Diagram
ทารกโตช้าในครรภ์ Intrauterine growth retardation (IUGR)
ลักษณะของทารกที่น้ำหนักน้อยกว่าอายุครรภ์
ส่วนสัด น้ำหนักน้อยเมื่อเทียบกับอายุครรภ์เท่ากัน เช่น ถ้าใช้ Ballard scoring system น้ำหนักตัวหรือทั้งน้ำหนักรอบศีรษะและความยาว < เปอร์เซ็นต์ไตล์ที่ 10
ลักษณะทั่วไป ดู alert ผอม แห้ง ตัวยาว ท้องแฟบ ผิวหนังแห้งลอก ไขมันใต้ผิวหนังน้อย สายสะดือเหี่ยวเล็ก
ศีรษะอาจโตปกติ หรือเล็กกว่าปกติ ผมบาง ถ้าคลอดครบกำหนด
suture กว้าง กระหม่อมหน้าจะกว้าง
กล้ามเนื้อน้อยแต่กำลังดี ยกเว้นกรณีทารกที่คลอดก่อนกำหนดมาก ๆ
นิยาม
ภาวะทารกโตช้าในครรภ์ Intrauterine growth retardation (IUGR) หมายถึง ภาวะน้ำหนักตัวทารกที่น้อยกว่าเปอร์เซ็นต์ไตล์ที่ 10 เมื่อเทียบกับอายุครรภ์นั้น ๆ
คำจำกัดความ โดยเน้นถึงภาวะทุพโภชนาการเป็นหลัก ไม่สามารถเจริญเติบโตได้ตามศักยภาพที่ได้กำหนดไว้แล้วในทางพันธุกรรม
ความสำคัญ หรือปัญหาและผลกระทบต่อมารดา ทารก
ผลต่อมารดา
เพิ่มโอกาสในการผ่าตัดคลอดบุตร, ส่งผลกระทบด้านจิตใจ รวมไปถึงภาระค่าใช้จ่ายในการเลี้ยงดู
ผลต่อทารก
➢hypoglycemia, hypocalcemia, polycythemia, hyperbilirubinemia,
➢meconium aspiration syndrome
➢infection
➢brain and behavioral development
➢preterm birth, fetal distress และ fetal death
รวมไปถึงผลกระทบระยะยาว เช่น delay development of cognition
หรือโรคต่าง ๆ เช่น ภาวะอ้วน โรคเบาหวานชนิดที่ 2 โรคหลอดเลือดหัวใจ และโรคหลอดเลือดสมอง
สาเหตุและปัจจัยเสี่ยง
สาเหตุจากมารดา
น้ำหนักก่อนตั้งครรภ์(constitutionally small) < 45 kg ระหว่างการตั้งครรภ์(poor maternal weight gain) ในช่วงไตรมาสที่ 2,BMI, ปัญหาเกี่ยวกับการรับประทานอาหาร, ภาวะโภชนาการ
การใช้สารเสพติดต่าง ๆ สูบบุหรี่ตั้งแต่ 20 มวน/วัน
โรคของมารดา เช่น โรคที่เกี่ยวข้องกับเส้นเลือด เช่น preeclampsia, heart disease , โรคที่เกี่ยวข้องกับการผิดปกติของไต,โรคเบาหวาน, การใช้ยาบางอย่างประจำ โรคที่เกิด chronic hypoxia เช่น chronic hypertension, asthma
การติดเชื้อในมารดา ( Infection : rubella, cytomegalovirus, Syphilis, HIV)
สิ่งแวดล้อมของมารดา มารดาที่อยู่ในพื้นที่สูง
สาเหตุจากทารก multiple fetuses, chromosome abnormalities เช่น Trisomy13, 18 structural disorder เช่น Congenital heart disease, gastroschisis
สาเหตุจากรกและสายสะดือ รก เช่น poor placental perfusion, placental disorder (เช่น abruption, infarction)สายสะดือ เช่น velamentous or marginal cord insertion, single umbilical artery
การดูแลรักษา
การค้นหาและลดปัจจัยเสี่ยง ที่ทำให้สุขภาพทารกในครรภ์เลวลง และการเสริมสร้างการเจริญเติบโตของทารกในครรภ์
การตรวจเฝ้าระวังสุขภาพของทารกในครรภ์อย่างใกล้ชิด การนับ FM, U/S, การใช้วิธีการประเมินความเป็นอยู่ที่ดีของทารกในครรภ์ (Biophysical Profile: BPP) และการทดสอบ (non-stress test: NST)ช่วงตั้งครรภ์เกิน 28 สัปดาห์ เป็นวิธีมาตรฐานที่ นิยมใช้เฝ้า ระวังสุขภาพทารกในครรภ์ ในทารกที่ภาวะโตช้ารุนแรง อาจต้องตรวจสัปดาห์ละ 2 ครั้ง
การดูแลโภชนาการ
การพักผ่อน
การก าหนดเวลาคลอดที่เหมาะสม เป็นเรื่องที่มีความสำคัญมาก ต้องประเมินความเสี่ยงของภาวะแทรกซ้อนของทารกเทียบกับความเสี่ยงของการเกิดทารกตายในครรภ์ รวมถึงผลกระทบระยะยาวจากการพร่องออกซิเจนและสารอาหาร ในรายที่พิจารณาให้คลอดก่อนอายุครรภ์ 34 สัปดาห์ควรได้รับการให้ Corticosteroid ก่อน
วิธีการคลอด
1.ทารกที่มีขนาดตัวเล็กตามพันธุกรรม ควรพิจารณาการคลอดตามปกติ
2.ทารกโตช้าที่มีความผิดปกติทางร่างกายหรือโครโมโซมที่ไม่สามารถมีชีวิตได้หลังคลอด ควรพิจารณาให้คลอดทางช่องคลอด
3.ทารกโตช้าในครรภ์ที่มีการทำงานของรกเสื่อมลง เช่น พบภาวะน้ำคร่ำน้อย อาจพิจารณาผ่าท้องทำคลอด ควรติดเครื่องตรวจหัวใจทารกขณะเจ็บครรภ์คลอดตลอดเวลา ในกรณีที่พบว่ามีขี้เทาในน้ำคร่ำควรให้ทางเลือกในการผ่าท้องทำคลอดเพื่อลดความเสี่ยงที่ทารกจะเกิดภาวะ asphyxiaและการสำลักขี้เทา (meconium aspiration syndrome)
4.ทารกที่มีความผิดปกติทางร่างกายหรือโครโมโซม แต่อาจมีชีวิตได้หลังคลอด วิธีการคลอดขึ้นอยู่กับข้อบ่งชี้ทางสูติศาสตร์
การพยาบาล
การค้นหาและลดปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้สุขภาพทารกในครรภ์เลวลง และการเสริมสร้างการเจริญเติบโตของทารกในครรภ์ ทำได้โดยการซักประวัติของมารดาอย่างละเอียด การทำงานและการพักผ่อนของมารดา ขนาดของบิดามารดา การใช้สารเสพติด การสูบบุหรี่ แล้วพยายามลดและเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงลงเท่าที่จะท าได้
การแนะนำให้มารดาเฝ้าระวังสุขภาพของทารกในครรภ์อย่างใกล้ชิด ด้วยวิธีการนับจำนวนครั้งการดิ้นของทารกปกติควรดิ้น 10 ครั้งขึ้นไปในเวลา 12 ชั่วโมง/วัน
การอธิบายให้มารดาทราบถึงการตรวจและประเมินอื่นๆ
การดูแลโภชนาการ การได้รับสารอาหารที่ครบถ้วนและเหมาะสม อาจช่วยเพิ่มน้ำหนักครรภ์และช่วยส่งเสริมการเจริญเติบโตของทารกให้ดีขึ้น ช่วยวางแผนและแนะนำให้มารดารับประทานอาหารที่มีประโยชน์และมีคุณค่าทางโภชนาการสูง รวมทั้งอาจเสริมวิตามินที่จำเป็นสำหรับมารดาตามแผนการรักษาด้วย
การพักผ่อน การพักผ่อนอย่างเพียงพออาจช่วยบรรเทาอาการเจ็บป่วยต่าง ๆ และยังส่งผลดีต่อสุขภาพ ในบางกรณี อาจแนะนำให้มารดานอนตะแคงซ้ายเพื่อหวังผล
ให้เลือดไปเลี้ยงมดลูกและรกมากที่สุด
การแจ้งกำหนดเวลาคลอดที่เหมาะสมตามแผนการรักษา เป็นเรื่องที่มีความสำคัญมาก สำหรับทารกที่อายุครรภ์น้อยกว่า 34 สัปดาห์
หากตัวบ่งชี้สุขภาพของทารกในครรภ์ยังดีอยู่ แพทย์คงต้องพยายามประคับประคองให้ทารกอยู่ในครรภ์จนกว่าจะพิสูจน์ได้ว่าปอดของทารกทำงานได้ดีแล้ว