Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ทารกโตช้าในครรภ์ Intrauterine growth retardation (IUGR), นางสาววิภาดา…
ทารกโตช้าในครรภ์
Intrauterine growth retardation (IUGR)
หมายถึง ภาวะน้ำหนักตัวทารกที่น้อยกว่า เปอร์เซ็นไตล์ที่ 10 เมื่อเทียบกับอายุครรภ์นั้นๆ
พยาธิสรีรวิทยา
Symmetrical IUGR
ทารกในกลุ่มนี้จะมีการเจริญเติบโตช้าในทุกระบบอวัยวะ
Asymmetrical IUGR
ทารกในกลุ่มนี้จะมีลักษณะการเจริญเติบโตช้า โดยจะมีขนาดของเส้นรอบท้องที่เล็กกว่าปกติ
ลักษณะของทารก
ส่วนสัด น้ำหนักน้อยเมื่อเทียบกับอายุครรภ์เท่ากัน
ลักษณะทั่วไป ดู alert ผอม แห้ง ตัวยาว ท้องแฟบ ผิวหนังแห้งลอกไขมันใต้ผิวหนังน้อย สายสะดือเหี่ยวเล็ก
ศีรษะอาจโตปกติ หรือเล็กกว่าปกติ ผมบาง ถ้าคลอดครบกำหนดsuture กว้าง กระหม่อมหน้าจะกว้าง
กล้ามเนื้อน้อยแต่กำลังดี ยกเว้นกรณีทารกที่คลอดก่อนกำหนดมาก ๆ
ผลกระทบ
มารดา
เพิ่มโอกาสในการผ่าตัดคลอดบุตร
ส่งผลกระทบด้านจิตใจ รวมไปถึงภาระค่าใช้จ่ายในการเลี้ยงดู
ผลต่อทารก
➢hypoglycemia,hypocalcemia, polycythemia, hyperbilirubinemia,
➢meconium aspiration syndrome
➢infection
➢brain and behavioral development
➢preterm birth, fetal distress และ fetal death
ผลกระทบระยะยาว
delay development of cognition
ภาวะอ้วน โรคเบาหวานชนิดที่ 2 โรคหลอดเลือดหัวใจ และโรคหลอดเลือดสมอง
สาเหตุ
จากมารดา
น้ำหนักก่อนตั้งครรภ์(constitutionally small) < 45 kg
การใช้สารเสพติดต่าง ๆ สูบบุหรี่ตั้งแต่ 20 มวน/วัน
โรคของมารดา
การติดเชื้อในมารดา
สิ่งแวดล้อมของมารดา มารดาที่อยู่ในพื้นที่สูง
จากทารก
multiple fetuses, chromosome abnormalities
structural disorder
สาเหตุจากรกและสายสะดือ
รก
poor placental perfusion, placental disorder
สายสะดือ
velamentous or marginal cord insertion, single umbilical artery
การวินิจฉัย
ประวัติการฝากครรภ์
การคัดกรองกลุ่มเสี่ยง
การตรวจร่างกาย
มารดาที่มีน้ำหนักตัวน้อย และน้ำหนักไม่เป็นไปตามเกณฑ์
ตรวจความสูงของยอดมดลูก
การตรวจและประเมินอื่น ๆ
เจาะน้ำคร่ำ
ตรวจด้วย Fetal Monitoring
การตรวจด้วยคลื่นเสียงความถี่สูง
การประเมินขนาดของทารก
BPD, HC, AC
การดูแลรักษา
การค้นหาและลดปัจจัยเสี่ยง
การตรวจเฝ้าระวังสุขภาพของทารกในครรภ์อย่างใกล้ชิด
การใช้วิธีการประเมินความเป็นอยู่ที่ดีของทารกในครรภ์(Biophysical Profile: BPP) และการทดสอบ (non-stress test:NST)
ช่วงตั้งครรภ์เกิน 28 สัปดาห์
การดูแลโภชนาการ
การพักผ่อน
การกำหนดเวลาคลอดที่เหมาะสม
การพยาบาล
การค้นหาและลดปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้สุขภาพทารกในครรภ์เลวลง
การแนะนำให้มารดาเฝ้าระวังสุขภาพของทารกในครรภ์อย่างใกล้ชิด
การอธิบายให้มารดาทราบถึงการตรวจและประเมินอื่น ๆ
การดูแลโภชนาการ การได้รับสารอาหารที่ครบถ้วนและเหมาะสม
การพักผ่อน การพักผ่อนอย่างเพียงพออาจช่วยบรรเทาอาการเจ็บป่วยต่าง ๆ
การแจ้งกำหนดเวลาคลอดที่เหมาะสมตามแผนการรักษา
การป้องกัน
•รักษาสุขภาพครรภ์ให้แข็งแรงรับประทานอาหารที่มีประโยชน์และให้พลังงานที่เพียงพอต่อทารกในครรภ์
•นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพออย่างน้อยวันละ 8ชั่วโมง
•ควบคุมน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ
•ไม่สูบบุหรี่ ไม่ดื่มแอลกอฮอล์ และไม่ใช้สารเสพติดทุกชนิด
•ระมัดระวังการเกิดอุบัติเหตุต่าง ๆ ที่อาจทำให้ติดเชื้อได้
•เฝ้าสังเกตการเคลื่อนไหวของทารกในครรภ์ หากทารกไม่ดิ้นหรือดิ้นน้อย ควรรีบไปพบแพทย์ทันที
•หากมีโรคประจำตัว ควรปรึกษาแพทย์เพื่อรับคำแนะนำในการดูแลตัวเองอย่างเหมาะสม
•เข้ารับการตรวจตามนัดหมายแต่ละครั้งให้ครบถ้วนสม่ำเสมอ เพื่อดูแลสุขภาพครรภ์
•ปรึกษาแพทย์ก่อนใช้ยารักษาโรคใด ๆ
นางสาววิภาดา ชื่นใจ เลขที่ 37