Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การตั้งครรภ์เกินกำหนด (POST TERM PREGNANCY), นางสาววิภาดา ชื่นใจ เลขที่…
การตั้งครรภ์เกินกำหนด
(POST TERM PREGNANCY)
หมายถึง การตั้งครรภ์ที่มีอายุครรภ์ 42 สัปดาห์เต็ม (294 วัน) หรือมากกว่า โดยเริ่มนับจากวันแรกของประจ าเดือนครั้งสุดท้าย
ปัจจัยที่มีผลทำให้เกิดการตั้งครรภ์เกินกำหนด
ดัชนีมวลกายก่อนตั้งครรภ์ BMI ≥ 25 kg/m2
ครรภ์แรก (Nulliparity) พบได้มากกว่าครรภ์หลัง
มีประวัติเคยตั้งครรภ์เกินกำหนดมาก่อนสาเหตุ
ผลกระทบต่อทารก
Morbidity and Mortality ทารกมีความเสี่ยงต่อการเสียชีวิตในครรภ์เพิ่มขึ้น
การเจริญเติบโตของทารกในครรภ์ผิดปกติ
Postmaturity syndrome
ทารกที่เจริญเติบโตช้าในครรภ์
ทารกตัวโตกว่าปกติ (Macrosomia)
ขี้เทาปนในน้ำคร่ำและปัญหาการสำลักขี้เทา
เกิดภาวะแทรกซ้อน
มีภาวะผิดสัดส่วนระหว่างศีรษะทารกกับช่องเชิงกราน (CPD)
การคลอดไหล่ยาก
การดูแลรักษา
ระยะก่อนเจ็บครรภ์คลอด (antepartum period)
การตรวจติดตามสุขภาพทารกในครรภ์ก่อนคลอด
•Non stress test (NST)
•Biophysical profile (BPP) หรือ Modified BPP
•Contraction stress test (CST)
•การวัดปริมาณน้ำคร่ำด้วยการตรวจ Ultrasound
ถ้าตรวจพบว่า ปากมดลูกเหมาะสมต่อการก่อให้เกิดการเจ็บครรภ์คลอด (favorable cervix) ต้องรับไว้ในโรงพยาบาล
การทำให้การตั้งครรภ์สิ้นสุดลง
•การผ่าท้องทำคลอด
•การก่อให้เกิดการเจ็บครรภ์คลอด
ระยะเจ็บครรภ์คลอด (intrapartum period)
ภาวะคับขัน (fetal distress)
ต้องเฝ้าตรวจติดตามการเต้นของหัวใจทารกตลอดเวลาช่วยเหลือทารกขณะอยู่ในครรภ์และรีบผ่าท้องทำคลอดในทันที
ภาวะคลอดติดไหล่
(shoulder dystocia)
ถ้าคะเนน้ำหนักทารกขนาดตั้งแต่ 4,500 กรัมขึ้นไป ก็ควรผ่าท้องทำคลอด
ภาวะทารกสำลักขี้เทา
(meconium aspiration syndrome)
ควรพิจารณาผ่าท้องทำคลอด
ระยะหลังคลอด (postpartum period)
ต้องติดตามดูทารกหลังคลอด
ว่ามีภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ ภาวะสำลักขี้เทา
ส่วนมารดาต้องระวังภาวะตกเลือดหลังคลอดและภาวะติดเชื้อหลังคลอด
การประเมินสภาพ
การซักประวัติอายุครรภ์และตรวจสอบอายุครรภ์ อาการและอาการแสดงต่าง ๆ
การประเมินภาวะแทรกซ้อนที่มีต่อหญิงตั้งครรภ์และทารก
ซักประวัติการดิ้นของทารกในครรภ์
การฟังเสียงหัวใจทารก
ตรวจสอบน้ำหนักเมื่ออายุครรภ์ใกล้ครบคลอด ไม่ควรลดมากเกิน 1 กิโลกรัม/สัปดาห์
วัดความดันโลหิต
ภาวะจิตสังคมของหญิงตั้งครรภ์และการรับรู้ว่าตนเองตั้งครรภ์เกินกำหนดคลอด
การวินิจฉัยการพยาบาล
ทารกเสี่ยงต่อการเกิดภาวะคับขัน (fetal distress) ขาดออกซิเจน เนื่องจาก รกเสื่อมสภาพ หรือสายสะดือถูกกดและการสำลักน้ำคร่ำในระยะคลอด
วิตกกังวลเกี่ยวกับภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นกับตนเองและทารก
กลัวตนเองหรือบุตรเสียชีวิต
นางสาววิภาดา ชื่นใจ เลขที่ 37