Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ภาวะถุงน้ำคร่ำแตกรั่วก่อนเจ็บครรภ์ PROM (Premature rupture of membrane) -…
ภาวะถุงน้ำคร่ำแตกรั่วก่อนเจ็บครรภ์ PROM (Premature rupture of membrane)
ความหมาย
ภาวะที่ถุงน้ำคร่ำรั่วหรือแตกก่อนที่จะเริ่มมีอาการเจ็บครรภ์ แบ่งเป็น 2ชนิด
PRETERM PREMATURE RUPTURE OF MEMBRANES
ภาวะที่มีการแตกหรือรั่วของถุงน้ำคร่ำก่อนอายุครรภ์ 37 สัปดาห์
TERM PREMATURE RUPTURE OF MEMBRANES
ภาวะถุงน้ำคร่ำแตกหรือรั่วที่อายุครรภ์ 37 สัปดาห์ขึ้นไป
อุบัติการณ์
PPROM พบได้ร้อยละ 3ของการตั้งครรภ์ นับเป็น 1 ใน 3 ของการคลอดก่อนกำหนด
สาเหตุและปัจจัยเสี่ยง
ประวัติ PPROM ในครรภ์ก่อน โอกาสเป็นซ้ำเพิ่มขึ้น 20 เท่า
การอักเสบติดเชื้อในถุงน้ำคร่ำที่มีอยู่ก่อนแล้ว
มีการอักเสบติดเชื้อที่ปากมดลูกหรือช่องคลอด เช่น Group B Streptococcus
การเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนด
การมีเลือดออกทางช่องคลอด
การสูบบุหรี่
ถุงน้ำคร่ำขาดความทนต่อแรงดึง (tensile strength) เนื่องมาจากพันธุกรรม
การร่วมเพศอาจเป็นสาเหตุเพราะใน semen มี prostaglandins อยู่
มีการฉีกขาดหรือบาดเจ็บที่ปากมดลูก (cervical incompetence)
การตั้งครรภ์แฝด
การตั้งครรภ์แฝดน้ำ
ภาวะรกลอกตัวก่อนกำหนดและรกเกาะต่ำ
ผลกระทบต่อการตั้งครรภ์
ผลต่อมารดา
ติดเชื้อในโพรงมดลูก/ในถุงน้ำคร่ำ (chorioamnionitis) มารดาถึงแก่กรรมได้
คลอดก่อนกำหนด (preterm labour) จากถุงน้ำคร่ำแตกกระตุ้นให้เกิดการเจ็บครรภ์คลอด
ผลต่อทารก
1.เสียชีวิตจากกลุ่มอาการหายใจลำบาก (respiratory distress syndrome)
ติดเชื้อ เกิดภาวะปอดบวม (pneumonia) ติดเชื้อเข้าสู่กระแสเลือด (septicemia)ติดเชื้อที่สะดือ (omphalitis)
3.ขาดออกซิเจน (fetal distress) จากสายสะดือพลัดต่ำ (prolapsed of cord)
เจริญเติบโตช้า หรือมีความผิดปกติแต่กำเนิด เนื่องจากน้ำคร่ำมีปริมาณน้อยลง
หลักการพยาบาล
การพยาบาลระยะคลอด
แนะนำให้เข้าใจภาวะผิดปกติที่เกิดขึ้น แนวทางการ Rx การพยาบาลที่จะได้รับเพื่อให้รับทราบข้อมูลและให้ความร่วมมือ
จัดให้นอนพักผ่อนบนเตียง ไม่ควรลุกนั่งหรือเดิน
ให้ได้รับอาหารตามแผนการรักษา ได้แก่ อาหารอ่อน อาหารเหลว น้ำหวาน NPO บ้วนปากหรืออมน้ำแข็ง
กระตุ้นให้ถ่ายปัสสาวะทุก 2-4 ชั่วโมง หรือสวนทิ้งเมื่อถ่ายไม่ได้
ให้Rest เท่าที่จะสามารถทำได้ ช่วยทำความสะอาดของร่างกายจัดสิ่งแวดล้อมให้เหมาะสม
ช่วยบรรเทาความเจ็บปวด ด้วยการผ่อนคลาย การหายใจ การนวด ถ้าเจ็บปวดมากปรึกษาแพทย์พิจารณาให้ยาบรรเทาปวด เพื่อช่วยให้ผู้คลอดพักผ่อนได้มากขึ้นและลดความอ่อนล้าเมื่อเข้าสู่ระยะที่ 2ของการคลอด
แนะนำเกี่ยวกับการคลอดอาการเปลี่ยนแปลงและพยาบาล
จะมีวิธีการช่วยเหลืออย่างไร แนะนำในขณะมดลูกหดรัดตัวไม่รุนแรง ยังมีสมาธิในการรับฟังและเข้าใจได้
ให้ได้รับยากระตุ้นการหดรัดตัวของมดลูกตามแผนการรักษา
เช่น Oxytocin
ตรวจความก้าวหน้าของการคลอดทางช่องคลอด ในรายที่ไม่
มีข้อห้าม โดยต้องใช้วิธีท าอย่างปราศจากเชื้อ ให้มากที่สุด
รายงานแพทย์เพื่อพิจารณาตรวจรักษา
รับฟังสิ่งที่ผู้คลอดพูดคุยด้วยท่าทีที่สนใจ ให้กำลังใจและให้
ความมั่นใจตอบข้อซักถามที่ผู้คลอดสงสัยด้วยข้อมูลที่
ถูกต้อง เพื่อลดความวิตกกังวล
การพยาบาลระยะตัง้ครรภ
จัดให้นอนพักผ่อน ไม่ควรลุกเดินโดยไม่จำเป็น
งดการตรวจภายในทางช่องคลอดหรือทางทวารหนัก
ประเมิน VS ทุก 4ชั่วโมง หากผิดปกติ รายงานแพทย์เพื่อการรักษา
ประเมิน FHR ทุก 1 ชั่วโมง FHS > 160 ครั้ง/นาที หรือ< 120 ครั้ง/นาที หรือจังหวะไม่สม่ำเสมอ รายงาน แพทย์เพื่อรักษา ให้ให้ O25 ลิตร/นาที เพื่อช่วยเพิ่ม O2 ให้ทารกในครรภ์
ให้ใส่ PAD เพื่อสังเกตจำนวน สี กลิ่นของน้ำคร่ำ ถ้ามีการไหลของน้ำคร่ำมากขึ้น หรือมีสีเขียว เหลือง (meconium stained) หรือพบว่าไม่มีน้ำคร่ำไหลออกอีก รายงานแพทย์เพื่อตรวจรักษา
รักษาความสะอาดบริเวณอวัยวะสืบพันธุ์ โดยเปลี่ยน
ผ้าอนามัยทุกครั้งที่ชุ่มหรือทุก 8ชั่วโมง ทำความ
สะอาดหลังการขับถ่ายเพื่อป้องกันการติดเชื้อ
ให้ได้รับยากลุ่มคอร์ติโคสเตรียรอยด์ตามแผนการ
รักษา เพื่อส่งเสริมให้ปอดทารกมีความสมบูรณ์ขึ้น
ให้ได้รับยาปฏิชีวนะตามRx เช่น Ampicillin
เพื่อป้องกันการติดเชื้อในถุงน้ำคร่ำ
การพยาบาลระยะหลังคลอด
สังเกตลักษณะสีและกลิ่นของน้ำคาวปลา และวัดระดับความสูงของยอดมดลูกวันละ 1 ครั้งถ้าผิดปกติ เช่น น้ำคาวปลามีกลิ่นเหม็นเน่า ยอดมดลูกไม่ลดลง ประเมินหาสาเหตุ รายงานแพทย์เพื่อตรวจรักษาเพราะปกติน้ำคาวปลาจะไม่มีกลิ่น ลดจำนวนลงทุกวัน ยอดมดลูกปกติลดวันละ 1⁄2 -1 นิ้ว
วัดสัญญาณชีพทุก 4 ชั่วโมง ติดต่อกันอย่างน้อย 3 วัน หรือจนกว่าจะกลับบ้าน เพื่อเป็นการประเมินอาการแสดงของการติดเชื้อ ถ้าพบอาการแสดงของการติดเชื้อ รายงานแพทย์เพื่อตรวจรักษาและให้การพยาบาลบรรเทาอาการของการติดเชื้อ ถ้าพบอาการแสดงของการติดเชื้อ รายงานแพทย์เพื่อตรวจรักษาและให้การพยาบาลบรรเทาอาการป้องกันการติดเชื้อเพิ่ม
ช่วยเหลือให้มีการปรับตัวที่เหมาะสม โดยเฉพาะกรณีที่ทารกมีการติดเชื้อหรือคลอดก่อนกำหนด เพื่อลดความเครียด และความวิตกกังวล
แนวทางการรักษา
PPROM ต่ำกว่า 24 สัปดาห์ ให้พิจารณาเป็นราย ๆ ไปอาจเลือกยุติการตั้งครรภ์
PPROM 24-34 สัปดาห์
รับไว้ในโรงพยาบาล เฝ้าสังเกต
ประเมินน้ำคร่ำประเมินสุขภาพทารก (NST หรือ BPP สัปดาห์ละ 2-3ครั้ง)
ใช้ corticosteroid 1 คอร์ส คือ dexamethasone 6 มก. ฉีดเข้ากล้าม 4 ครั้งห่างกันทุก 12 ชม. เพื่อกระตุ้นความสมบูรณ์ของปอดทารกซึ่งต้องการเวลา 24 ชม
ระวังการติดเชื้ออย่างใกล้ชิด (fetal tachycardia มีไข้ น้ำคร่ำมีกลิ่น มดลูกกดเจ็บ การตรวจ CBC, CRP)
หลีกเลี่ยงการตรวจภายใน
ยับยั้งการเจ็บครรภ์คลอด โดยยา tocolytic agents เพื่อรอให้ corticosteroid ออกฤทธิ์ไดเ้ต็มที่
ให้ยาปฏิชีวนะป้องกัน group B streptococcus (GBS) ในระยะคลอด คือ ampicillin (2 กรัม iv ทุก 6ชม.) ใน 48ชั่วโมงแรกและตามด้วยการรับประทาน amoxicillin (500 มก. วันละ 3 ครั้ง) อีกเป็นเวลา 5วัน หรือ amoxicillin ร่วมกับerythromycin ทางเส้นเลือดด า ในมารดา PPROM ที่อยู่ในช่วงอายุครรภ์ระหว่าง 24-32 สัปดาห์
พิจารณาให้คลอดทันทีถ้ามีหลักฐานการติดเชื้อ รกลอกตัวก่อนก าหนด fetal distress หรือ lung maturity ผลบวก
PPROM 34-36 สัปดาห์
1.อาจพิจารณาส่งเสริมให้ยุติการตั้งครรภ์ โดยเฉพาะกรณีที่ไม่แน่ใจการติดเชื้อ หรือ
2.พิจารณาเหมือนอายุครรภ์ 24-34 สัปดาห์ แต่ไม่ให้คอร์ติโคสเตียรอยด์
TERM PROM
1.แนะน าให้ชักน าการคลอด ถ้าปากมดลูกพร้อมให้ Oxytocin
ถ้าปากมดลูกไม่พร้อมให้ พรอสตาแกลนดินส์ (Prostaglandins)
2.เฝ้ารอการเจ็บครรภ์คลอดเองภายใน 24ชั่วโมง ถ้าไม่เจ็บครรภ์เองให้ชักน าการคลอด