Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
หน่วยที่ 5 การพยาบาลมารดาที่มีโรคติดเชื้อร่วมกับการตั้งครรภ์, : - Coggle…
หน่วยที่ 5 การพยาบาลมารดาที่มีโรคติดเชื้อร่วมกับการตั้งครรภ์
Hepatitis B in pregnancy :
การติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบี ก่อให้เกิดการอักเสบเรื้อรังของตับ
นำไปสู่การเป็นโรคตับแข็งและมะเร็งตับ
“การแพร่เชื้อจากแม่ไปสู่ลูก” (maternal to child transmission)
การติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบีถึงร้อยละ 8 ในหญิงตั้งครรภ์
เพื่อลดอัตราการแพร่เชื้อจากแม่ไปสู่ลูกเป็นบทบาทสำคัญของพยาบาล การประเมิน/ คัดกรอง/ ดูสตรีตั้งครรภ์ที่ติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบี
การแพร่เชื้อไวรัสตับอักเสบบีจากมารดาไปสู่ทารก (perinatal transmission)
ขณะทารกอยู่ในครรภ์มารดาโดยผ่านรก พบน้อยมาก เพราะการพบ HBsAg ในเลือดจากสายสะดือไม่สามารถยืนยันได้ เพราะอาจเกิดจากการเก็บเลือดไม่ดี มีเลือดมารดาปนอยู่ หรือระหว่างคลอดมี เลือดมารดาไหลเข้าสู่รก (maternal-fetal transfusion) ทางการฉีกขาดที่รกเพียงเล็กน้อยก็ได้
ขณะคลอด ส่วนใหญ่มักติดเชื้อขณะคลอด ทารกจะกลืนหรือสำลักน้ำครํ่า และนํ้าในช่องคลอดที่มี เลือดของมารดาปนอยู่มากพอสมควร
การติดเชื้อหลังคลอด ทารกอาจได้รับเชื้อจากมารดาระหว่างการเลี้ยงดู ซึ่งจะมี HBsAg ปะปน
ผลของโรคต่อการตั้งครรภ์
ผลต่อมารดา
มารดาที่ติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบีชนิดเฉียบพลันในช่วงไตรมาสแรกมีโอกาสแพร่เชื้อสู่ทารกประมาณ 10% ถ้าเป็นช่วงไตรมาสที่ 3 ของการตั้งครรภ์ แพร่เชื้อสู่ทารก ประมาณ 80-90 %
มารดาสามารถตั้งครรภ์ต่อไปจนครบกำหนดโดยไม่มีภาวะแทรกซ้อน
การติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบีมักไม่มีผลต่อทารกในครรภ์โดยตรง
มีผลต่อทารกโดยตรง หากทำให้ติดเชื้อไวรัสตั้งแต่กำเนิด กลายเป็นพาหะ
อาจทำให้เป็นตับอักเสบเรื้อรัง ตับแข็ง ตลอดจนมะเร็งตับในระยะ 10-25 ปีต่อมา
หัดเยอรมัน, โรคสุกใส
การพยาบาลสตรีตั้งครรภ์ที่ติดเชื้อหัดเยอรมัน (Rubella German measles
การติดเชื้อหัดเยอรมันไม่ค่อยมีความสำคัญในคนปกติ เมื่อติดเชื้อแล้วสามารถหายเองได้ แต่เป็นปัญหาที่รุนแรงในสตรีตั้งครรภ์ ได้แก่ ภาวะทารกพิการแต่กำเนิดจากการติดเชื้อหัดเยอรมัน (congenital rubella syndrome; CRS)
เชื้อหัดเยอรมันเป็น RNA ไวรัสสายเดี่ยวกลุ่ม Togavirus ทำให้เกิดการติดเชื้อเฉพาะในคนเท่านั้น
ระยะฟักตัวประมาณ 14-21 วันหลังสัมผัสโรค
โดยระยะแพร่กระจายเชื้อคือ 7 วันก่อนผื่นชื้น จนถึง 7 วันหลัง ผื่นชื้น
โรคสุกใส (varicella หรือ chicken pox)
เกิดในผู้ติดเชื้อ varicella-zoster virus เป็นครั้งแรกมักพบ ในเด็กหรือผู้ที่ไม่มีภูมิด้านทานต่อเชื้อ varicella-zoster virus จัดเป็นโรคติดเชื้อที่ติดต่อกันได้ง่ายมาก
หลังจากติดเชื้อ ครั้งแรกจะยังคงแฝงตัวอยู่ที่ปมประสาท ซึ่งอาจถูกกระตุ้นในหลายปีต่อมาทำให้เกิดงูสวัดชื้นมาได้ ผู้ใหญ่ส่วนใหญ่ เคยเป็นโรคสุกใสตั้งแต่อยู่ในวัยเด็ก และร้อยละ 95 มีภูมิคุ้มกันสำหรับโรคนี้ การติดเชื้อโรคสุกใสในผู้ใหญ่มักมีความรุนแรงมากกว่าในเด็กและการติดเชื้อขณะตั้งครรภ์จะมีความรุนแรงมาก
ระยะฟักตัวประมาณ 10-20 วัน
อาการและอาการแสดง
เริ่มด้วยไข้ตํ่า ๆ อ่อนเพลีย และผื่น ในเด็กเล็กอาการเหล่านี้มักเกิดชื้นพร้อม ๆ กันในเด็กและผู้ใหญ่
อาจมีอาการไข้ อ่อนเพลีย ปวดศีรษะ เบื่ออาหาร 1-2 วันก่อนผื่นชื้น ลักษณะผื่นเริ่ม
แบนราบ (macules) ต่อมา เปลี่ยนเป็นผื่นนูน (papules) ถุงนํ้า (vesicles) และแห้ง
เป็นสะเก็ดอย่างรวดเร็ว ลักษณะเฉพาะคือ เป็นตุ่มนํ้าตื้น ๆ ผนังบางแตกง่าย
ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 2-3 มิลลิเมตร ลักษณะคล้ายหยดนํ้าค้าง มีฐานสืแดงล้อมรอบตุ่มใส
ภายใน 24 ชั่วโมงนํ้าภายในตุ่มใสจะขุ่น
ตุ่มมีขนาดใหญ่ขึ้นแตกง่าย และกลายเป็นสะเก็ดหรือฝ่อหายไป สะเก็ดจะ หลุดหายไปภายใน 5-20 วัน โดยไม่เป็นแผล ยกเว้นในรายที่ติดเชื้อแบคทีเรียแทรกซ้อน มักมีอาการคันโดยเฉพาะ อย่างยิ่งในระยะตุ่มใส (vesicles)
การแพร่เชื้อสู่ผู้อื่น โรคสุกใสเป็นโรคติดต่อที่ดิดได้ง่ายมาก ร้อยละ 80-90
การรักษา
ให้การรักษาด้วยยาลดไข้ ถ้ามีอาการคันอาจให้ยากลุ่มแอนติฮิสตามีน หรือทายาคาลาไมน์
หลีกเลี่ยงการเกา
กรณีมีการติดเชื้อแบคทีเรียร่วมด้วยมักต้องให้ยาปฏิชีวนะ
มีบางรายงานแนะนำให้ varicella-zoster immunoglobulin (VZIG)
ในสตรีตั้งครรภ์ที่ได้รับเชื้อ และตรวจพบว่ายังไม่มีภูมิด้านทานต่อเชื้อโรคสุกใส
ควรให้ ภายใน 24-96 ชั่วโมง VZIG เพียงช่วยลดความรุนแรงและระยะเวลาของอาการแสดงของโรค
ไม่ช่วยป้องกันการ ติดเชื้อสู่ทารกในครรภ์
นอกจากนี้ยังมีรายงานถึงการให้ยา acyclovir ในมารดาที่ดติดเชื้อและมีอาการแสดงของ อีสุกอีใส เพื่อลดความรุนแรงและระยะเวลาของอาการแสดงของโรครวมทั้งลดปริมาณเชื้อไวรัสในเลือดมารดา
: