Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การพยาบาลสุขภาพจิตและจิตเวช, นางสาว เจนจิรา สุขประโคน รหัสนักศึกษา…
การพยาบาลสุขภาพจิตและจิตเวช
วิวัฒนาการ ประเด็นและแนวโน้มทางการพยาบาลจิตเวช
วิวัฒนาการของจิตเวชศาสตร์ในต่างประเทศ
เป็นสิ่งที่ช่วยให้เกิดความเข้าใจถึงการเปลี่ยนแปลงและพัฒนาการทางด้านจิตเวช ได้แก่ แนวความคิด ทฤษฎี ความเชื่อ การศึกษาค้นคว้า ตลอดจนการปฎิบัติของประชาชนทั่วไปต่อความเชื่อทางจิตเวชตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน
เริ่มตั้งแต่สมัย Florence Nightingale ปี1939 มีการ
มองผู้ป่วยอย่างเป็นองค์รวมประกอบด้วยร่างกาย และจิตวิญญาณไม่สามารถแยกออกจากกันได้ ผู้ป่วยเป็นสมาชิกคนหนึ่งของครอบครัวและชุมชน ซึ่งถือว่าเป็นศูนย์กลางของการพยาบาล ส่งเสริมการมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างพยาบาลและผู้ป่วย ปัจจุบันเรียกว่า การสื่อสารเพื่อการบำบัด ( Therapeutic communication) ส่งเสริมสุขภาพและพัฒนาการพึ่งพาตนเองซึ่งจะลดความวิตกกังวลของผู้ป่วยจากการเผชิญกับความเจ็บป่วย
ปี 1913 Effie Taylor บรรจุวิชาการพยาบาลจิตเวชไว้ใน
หลักสูตรการพยาบาล มหาวิทยาลัย John Hopkins โดยการบูรณาการมโนทัศน์การพยาบาลทั่วไปและการพยาบาลสุขภาพจิตเข้าด้วยกันไม่สามารถแยกจากกันได้
ปี 1952 Hidegard Peplau เผยแพร่ตำราและ
แนวคิดเรื่องการใช้สัมพันธภาพระหว่างบุคคล โดยพัฒนาจากทฤษฎีสัมพันธภาพระหว่างบุคคลของ Sullivan
วิวัฒนาการความเป็นมาของจิตเวชศาสตร์ จำแนกได้เป็น 6 ยุค
1.ยุคก่อนประวัติศาสตร์หรือยุคดึกดำบรรพ์
เชื่อในสิ่งศักดิ์สิทธิ์ อำนาจลึกลับ ผีสางนางไม้ เทวดา เจ้าป่า
เจ้าเขา
การรักษาทำโดยพระหรือหมอผี ใช้วิธีรดน้ำมนต์ ปัดเป่า กักขัง
เฆี่ยนตี ลงโทษ ทรมาน ขับไล่ผี
ยุควัฒนธรรมกรีกและโรมัน
ความเชื่อในเรื่องการเจ็บป่วยทางจิตและ
การดูแลรักษาผู้ป่วยจิตเวชเปลี่ยนแปลงไปหันไปยึดหลักธรรมชาติ
Hippocrates (460-377 BC ) แพทย์ชาวกรีก เป็นบิดาแห่งการแพทย์เชื่อว่าความเจ็บป่วยทางกายและจิตเป็นผลมาจากธรรมชาติ ของเหลวในร่างกายไม่สมดุล การรักษาใช้ยาระบาย การชำระล้าง การใช้ไอน้ำ การนวด การออกกำลังกาย
Plato( 427-348 BC) เป็นนักปราชญ์ชาวกรีก
เชื่อว่าคนเจ็บป่วยทางจิตไม่ควรให้อยู่ปะปนกับคนในเมือง ญาติต้องรับผิดชอบ การขับร้องเห่กล่อมและพิธีต่างๆจะช่วยในการรักษา เพราะทำให้ผู้ป่วยได้พัก จิตใจสงบ
ฝ่ายโรมันยังเชื่อถืออำนาจเหนือธรรมชาติ เชื่อว่าความฝันเป็นลาง
บอกเหตุ ผู้ป่วยจิตยังถูกกักขังและไม่มีสิทธ์ที่จะปกครองสมบัติของตนเอง
วิวัฒนาการของจิตเวชศาสตร์ในประเทศไทย
ยุคดั้งเดิม ปี พศ. 2432 -2467 สร้างโรงพยาบาลคนเสียจริตแห่งแรกที่ปากคลองสาน ปัจจุบันคือสถาบันจิตเวชศาสตร์สมเด็จเจ้าพระยา ให้การรักษาอย่างมีเมตตา กรุณา สิ่งแวดล้อมสวยงาม ร่มรื่น ไม่ทอดทิ้งผู้ป่วยให้อยู่ในชุมชนดูแลตามยถากรรม
ยุคโรงพยาบาลจิตเวชแผนใหม่ ปีพศ. 2468-2484
หลวงวิเชียรแพทยาคมเป็นผู้อำนวยการคนแรก
เปลี่ยนชื่อโรงพยาบาลเป็น โรงพยาบาลโรคจิตธนบุรี
นายแพทย์ฝน แสงสิงแก้ว ผู้อำนวยการลำดับต่อมา
ได้รับสมญานามเป็น บิดาแห่งจิตเวชศาสตร์ไทย เปลี่ยนชื่อโรงพยาบาลเป็น โรงพยาบาลสมเด็จเจ้าพระยา
สร้างโรงพยาบาลจิตเวชตามภาคต่างๆ เช่น รพ. ศรีธัญญา
สวนปรุง สวนสราญรมย์
ยุคของงานสุขภาพจิต ปี พศ.2485-2503
ริเริ่มงานส่งเสริมป้องกันปัญหาสุขภาพจิต เพื่อลดจำนวน
ผู้ป่วย เปิดคลินิกศูนย์สุขวิทยาจิต
ใช้วิธีการรักษาใหม่ๆแบบตะวันตก เช่นทำจิตบำบัด
พฤติกรรมบำบัด บำบัดด้วยยากล่อมประสาท
4.ยุคแรกเริ่มงานสุขภาพจิตชุมชน ปี พศ. 2504-2514
ดำเนินงานตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ปี2507
จัดให้มีการรักษาแบบ Milieu therapy
มีบ้านกึ่งวิถี Half - way house
มีโรงพยาบาลกลางวัน ( Day hospital)
ยุคของการผสมผสานงานสุขภาพจิตเข้ากับระบบบริการ
สาธารณสุข ปี พศ.2515-2524
ให้ความสำคัญกับงานด้านสุขภาพจิตและจิตเวชชุมชน
ผสมผสานงานสุขภาพจิตเข้ากับระบบบริกาสาธารณสุขทั่วไป
ยุคของการสาธารณสุขมูลฐาน ปี พศ. 2525-2534
ตามแผนพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 5,6
เป้าหมายให้ประชากรทั่วโลกมีสุขภาพดีถ้วนหน้าปี 2543
ยุคของงานส่งเสริมป้องกัน ปีพศ. 2535-ปัจจุบัน
ตามแผนพัฒนาฯฉบับที่ 7 สนับสนุนให้ประชาชนมีส่วนร่วม
เน้นการส่งเสริมและป้องกันปัญหาสุขภาพจิตเชิงรุก
ตามแผนพัฒนาฯฉบับที่ 8 ลดการเกิดปัญหาสุขภาพจิต
พัฒนาคุณภาพบริการ ให้ประชาชนพึ่งพาตนเอง
ตามแผนพัฒนาฯฉบับที่ 9 และ 10 ยึดคนเป็นศูนย์กลางของ
การพัฒนา ใช้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
ยุคกลางหรือยุคมืด
ประมาณ 500-1500 ปีหลังคริสตศักราช
เป็นระยะเริ่มแรกของยุคคริสเตียน ความเชื่อด้านจิตเวชกลับมาเชื่อ
เรื่องไสยศาสตร์เหมือนยุคดึกดำบรรพ์
คศ.1247 เกิดสถานดูแลผู้ป่วยจิตเวชเป็นแห่งแรกเรียกว่า
Bathlehum Asylum หรือบ้านบ้าคลั่ง ( Mad house) ผู้ป่วยถูกล่ามโซ่ นอนกับพื้นทราย ให้ผู้ป่วยออกไปขอทานเพื่อหารายได้
ยุคก่อนจิตเวชสมัยใหม่
ศตวรรษที่ 17-18 เป็นหัวเลี้ยวหัวต่อของการแพทย์ปัจจุบันและ
พัฒนาการทางวิทยาศาสตร์ เริ่มมีโรงพยาบาลจิตเวช แต่วิธีการรักษายังใช้การกักขังไม่ให้ติดต่อกับใคร ผู้ป่วยส่วนมากเป็นที่รังเกียจและถูกทอดทิ้ง ดูถูกเหยียดหยาม
ยุคต้นของจิตเวชสมัยใหม่
ช่วงปลายศตวรรษที่ 18-19 วิทยาศาสตร์และการแพทย์
เจริญก้าวหน้า
เบนจามิน รัช (Benjamin Rush) ปี 1745-181
บิดาแห่งจิตเวชของสหรัฐอเมริกา เขียนหนังสือเกี่ยวกับความผิดปกติทางจิตเป็นเล่มแรกเริ่มรับผู้ป่วยไว้รักษาในโรงพยาบาล ปฏิบัติต่อผู้ป่วยอย่างมีมนุษยธรรม ให้ผู้ป่วยทำงานเพื่อการรักษา
ประเทศฝรั่งเศส Philippe Pinel แพทย์สถานรักษาโรค
จิตที่ Bicetre Asylumg เป็นผู้ปลดโซ่ตรวนให้ผู้ป่วยที่ถูกกักขัง ถือว่าเป็นสัญลักษณ์ของจิตเวชสมัยใหม่
William Tuke ปี 1732-1822 พ่อค้าชาวอังกฤษ เริ่ม
เป็นปากเสียงให้ผู้ป่วยจิตเวช จัดหาทุนเพื่อการรักษา ก่อตั้งสถานรักษาโรคจิตชื่อ York Retreat ดูแลผู้ป่วยอย่างเข้าอกเข้าใจ ยกเลิกการกักขัง จัดสิ่งแวดล้อมที่อบอุ่น ปลอดภัย บรรยากาศสวยงาม
จิตเวชสมัยใหม่
ประมาณปลายศตวรรษที่ 19-20 มีการแสวงหาความรู้ด้วยระเบียบวิธีทาง
วิทยาศาสตร์ พัฒนาแนวคิดทฤษฎีทางจิตสังคม
ปี 1825-1895 Jean Charcot จิตแพทย์ชาวฝรั่งเศสใช้วิธีการ
สะกดจิตในการรักษาทางจิต
ปี 1856-1939 Sigmund Freud แพทย์ชาวออสเตรีย รักษา
โดยการสะกดจิต คิดค้น และพัฒนาทฤษฏีจิตวิเคราะห์
ปลายศตวรรษที่ 20 ที่สหรัฐอเมริกา ได้มีการเรียกร้องสิทธิในเรื่องต่างๆ เช่นผู้พิการ ให้มีสิทธิ์เท่าเทียมกัน
มีการออก พรบ. และให้ทุนการศึกษา วิจัยเกี่ยวกับประสาทวิทยาและสมอง
วิวัฒนาการของการพยาบาลจิตเวชในประเทศไทย
ปี พศ.2487 มีการสอนวิชาจิตเวชในโรงเรียนพยาบาล
ปี พศ.2497 มีการฝึกปฏิบัติวิชาจิตเวชในโรงพยาบาลจิตเวช
ปี พศ.2508 เปิดหลักสูตรวิชาการพยาบาลจิตเวชสำหรับครูพยาบาล
ปี พศ.2509 อบรมหลักสูตรวิชาการพยาบาลจิตเวช 1ปี ปัจจุบัน
อบรม 4 เดือน
ปี พศ.2533 หลักสูตรปริญญาโทสาขาการพยาบาลสุขภาพจิต
และจิตเวช
ปี พศ.2520 ตั้งชมรมพยาบาลจิตเวช
ปี พศ.2529 ตั้งสมาคมพยาบาลจิตเวชแห่งประเทศไทย
การพยาบาลสุขภาพจิตและจิตเวชในปัจจุบัน
มีการพัฒนาทั้งด้านการศึกษาและการบริการ
มีหลักสูตรเฉพาะทางสาขาการพยาบาลจิตเวชและสุขภาพจิต
มีหลักสูตรมหาบัณฑิตสาขาการพยาบาลจิตเวชและสุขภาพจิต
หลักสูตร 2 ปี
หลักสูตรวุฒิบัตรสาขาการพยาบาลจิตเวช ( เทียบเท่า
ปริญญาเอก) เรียกว่า APN ต่อยอดจากหลักสูตรมหาบัณฑิต
งานบริการเน้น Holistic care การดูแลต่อเนื่องในชุมชน
ประเด็นที่เกี่ยวข้องการพยาบาลสุขภาพจิตและจิตเวชในประเทศไทย
โครงสร้างประชากรมีผู้สูงอายุมากขึ้น และครอบครัวมีขนาด
เล็กลง แนวโน้มต่อไปจะเป็นครอบครัวเดี่ยวหรืออยู่คนเดียว
ความผิดปกติทางจิตเป็นสาเหตุของการสูญเสียปีสุขภาวะใน
ระดับต้นๆ เช่นเพศชายก็จากแอลกอฮอล์ เพศหญิงก็อาการซึมเศร้า วิตกกังวล
บุคลากรด้านสุขภาพจิตมีน้อย เช่นจิตแพทย์ 0.86 ต่อแสนประชากร พยาบาลจิตเวช 3.74 ต่อแสนประชากร
ปัญหาสุภาพจิตเด็กมีมากขึ้น
การเปลี่ยนแปลงด้านเทคโนโลยี สังคม สิ่งแวดล้อม เศรษฐกิจ
และการเมือง
แนวโน้มการพยาบาลจิตเวชในประเทศไทย
การนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้
ผู้รับบริการมาจากหลากหลายวัฒนธรรม หลายศาสนา ต้อง
พัฒนาความรู้ในการให้บริการข้ามวัฒนธรรม
ประชากรสูงอายุมากขึ้น
ปัญหาสุขภาพจิตและจิตเวชเด็กเพิ่มขึ้น
ประเด็นการเพิ่มคุณภาพการดูแลความปลอดภัยของผู้ป่วย
การขาดแคลนบุคลากรทางการพยาบาลสุขภาพจิตและจิตเวช
นางสาว เจนจิรา สุขประโคน
รหัสนักศึกษา 6301110801010