Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
Facial Bone Fracture การบาดเจ็บที่กระดูกบริเวณใบหน้า - Coggle Diagram
Facial Bone
Fracture
การบาดเจ็บที่กระดูกบริเวณใบหน้า
การบาดเจ็บเฉพาะที่
การบาดเจ็บที่เนื้อเยื่อที่หน้า (Soft tissue injuries)
การบาดเจ็บทีเนื้อเยื่อ ได้แก่ การบาดเจ็บต่อผิวหน้า เปลือกตา ใบหู จมูก ริมฝีปาก ลิน เยือบในช่องปาก ท่อน้ำตาและท่อน้ำลาย เนื่องจากผิวหน้ามีเลือดมาเลี้ยงจำนวนมาก การหายของแผลจึงเกิดขึ้นเร็ว
เป้าหมายของการดูแล คือ ให้ส่วนที่บาดเจ็บยังคงทำหน้าที่ได้และเพื่อความสวยงาม การดูแลขึ้นอยู่กับชนิด ของบาดแผล
แผลถลอก (Abrasion)
แผลจะมีลักษณะ ยุ่ย ถลอก
การดูแล:ล้างสิ่งแปลกปลอมออก ทำความสะอาดแผลด้วยสารนนอร์มอลซาไลน์ และป้ายครีม ขี้ผึ้งที่มีส่วนผสมของยาปฏิชีวนะ
แผลฟกช้ำ(Contusion)
การดูเเล:ประคบแผลด้วยความเย็นใน 24 ชั่วโมงแรกหลังได้รับบาดเจ็บเพื่อห้ามเลือด ลดบวม และลดปวด
แผลฉีกขาด และ มีกระดูกหัก
(Laceration and open wound)
การดูแล: -ล้างสิ่งสกปรกออกจากแผลหลังจากนั้นจึงจะผ่าตัดเอาเนื้อตายออกและจัดกระดูกให้เข้าที่
-แผลเย็บปิดผิวหนังที่หน้าถ้าไม่มีเลือดซึม หลังล้างแผลจะไม่ปิดก๊อซ จะตัดไหมประมาณ 5 วันหลังผ่าตัด
คิ้ว/หนังตาฉีกขาด ( Eye brows/ eyelid laceration)
การดูเเล:ห้ามโกนคิ้ว เพราะจะใช้คิ้วเป็นที่ระบุขอบเขต (Landmark) ของหนังตาบนและหน้าผาก และเย็บแผลก่อนที่เนื้อเยื่อบริเวณนั้นจะบวม
การบาดเจ็บในช่องปาก(Oral mucosa)
การดูแล:กระตุ้นให้ผู้ป่วยล้างปากด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อ (Oral mucosa) บ่อย ๆ กรณีลิ้นขาดต้องเย็บและให้ยาปฏิชีวนะ
ใบหู (Ear auricle/earlobe/pinna injuries
มีเลือดคั่ง( Hematoma)
การดูเเล:
ดูปริมาณการคั่งของเลือดว่ามีการคั่งมากหรือน้อย
-ในกรณีที่มีการคั่งของน้อย จะไม่ทำการรักษาเนื่องจากร่สงกายสามารถดูดซึมได้
-ในกรณีที่มีการคั่งของเลือดมากจะทำการ
รักษาโดยการผ่าตัดระบายเอาเลือดออกและทําแผล
หูฉีก (Laceration)
การดูแล:รักษาโดยการ ตัดเนื้อตายออกและเย็บปิดแผล
ใบหูขาด/แหว่งหาย( Avulsion)
การดูเเล:รักษาโดยการผ่าตัดเอาเนื้อตายออกและอาจผ่าตัด ปลูกผิวในส่วนที่ไม่มีผิวหนังปกคลุม
ท่อน้ำตา (Lacrimal injuries)
การดูเเล:ต้องรับการผ่าตัดภายใน 72 ชั่วโมง
แผลถูกกัดที่หน้า(Bites)
การดูแล:ไม่ว่าจะเป็น แมว สุนัข หรือคน ต้องล้างแผลให้สะอาดและอาจให้ (Bites) และอาจให้วัคซีนป้องกันพิษสุนัขบ้า(Rabies vaccine) ฉีด 3 เข็ม ภายใน 7 วันหลังจากฉีดเข็มแรก และ บาดทะยัก ฉีด 0 , 1 , 6 เดือน หากเคยฉีด 2 เข็ม แล้วสามารถฉีดต่อได้เลย กรณีที่เข็ม 3 เลย 6 เดือนสามารถฉีดทันที แต่ไม่เกิน 12 เดือน
แผลฉีกขาดที่แก้ม(Cheek laceration)
การดูเเล:ถ้าผิวหนังและกล้ามเนื้อหน้าแหว่งหาย แพทย์จะรักษาโดยการทําแผลชนิดแผลเปียก ตัดเนื้อตายออกและผ่าตัดปลูกผิวหนังเมื่อแผลหายดีแล้ว
ปกติแผลที่หน้าต้องเย็บปิดภายใน 8 ชั่วโมง เพื่อป้องกันการติดเชื้อ ยกเว้นแผลสกปรกมากต้องล้างแผลให้วัคซีนป้องกันบาดทะยักและให้ยาปฏิชีวนะ สำหรับคนที่เคยได้วัคซีนมาเกิน 5 ปี ต้องให้ซ้ำ
จมูกหัก (Nasal fracture)
กระดูกจมูก มี2ชิ้น ต้านบนเชื่อมกับกระดูกหน้าผาก
ด้านล่างเชื่อมกับขากรรไกรบน
การแบ่งชนิดของกระดูกหักทีสามารถนำมา
ใช้ในทางคลินิกได้ คือ
simple fracture nose
comminuted fracture nose
fracture nose with
frontal process of maxilla fracture
naso-orbitoethmoid fracture
มักโดนกระแทก เช่น ถูกชก หรือบาดเจ็บปาดเจ็บบน
ท้องถนน
อาการทางคลินิกที่ตรวจพบ ได้แก่ จมูกบวม
ดั้งจมูกยุบ เบี้ยวคดหรือผิดรูป คัดจมูก มีเลือด
กำเดาไหลและคลำได้กรอบแกรบ
-mobility and crepitus on palpation
-septal deviation
-tenderness over area of fracture
-hematoma over nose and extent into
periorbital area
การรักษา
การงัดจมูกให้เข้าที่ (Closed reduction) เป็นการงัดจมูกให้เข้าที่โดยแพทย์ ในรายที่จมูกบวมมากต้องรอให้จมูกยุบก่อน 1 สัปดาห์หลังการบาดเจ็บ แพทย์จะใส่วาสลีนก๊อซชนิดแถบยาวอุดในรูจมูกไว้ 24-42 ชม. เพื่อ ห้ามเลือด ค้ำยันกระดูกที่พึ่งงัด
ถ้ามีเลือดออกที่ผนังกั้นจมูก รักษาโดยการระบายเอาเลือดออก เพื่อ ป้องกันการอุดกั้นทางเดินหายใจและกระดูกอ่อนของผนังจมูกขาดเลือด และให้ยาฆ่าเชื้อ
ประคบเย็นที่บริเวณสันจมูก เพื่อ ลดบวมและห้ามเลือด
หากมีการบาดเจ็บที่ท่อน้ำตา ห้ามผู้ป่วยไอ จาม สั่งน้ำมูก เนื่องจากจะทำให้ความดันโลหิตในกระโหลกศีรษะ ทำให้ติดเชื้อเฉพาะที่หรือเยื่อหุ้มสมองอักเสบ
ในรายที่เลือดออกไม่หยุด โดยใช้แถบก๊อซยาว หรือวัสดุอื่นไว้ที่โพรงจมูกส่วนหน้าหรือโพรงจมูกส่วนหลัง
ใส่เฝือกดามจมูกเป็นรูปผีเสื้อ เพื่อ ให้จมูกอยู่ในตำแหน่งเหมาะสม
กระบอกตาแตก (Orbital blowout fracture)
กระดูกหักทีกระบอกตา มักพบร่วมกับกระดูกหักที่
บริวณข้างเคียงอยู่บ่อยๆ เช่น
zygoma,nasoethmoidal-orbital และ Le fort
fracture หรืออาจเกิดการหักที่กระดูกกระบอกตา
เพียงตำแหน่งเดียวก็ได้
มักทำให้เกิดภาวะ
แทรกซ้อนคือ การเห็นภาพซ้อน(diplopia) และ การเลื่อนไปด้านหลังของลูกตาในเบ้าตา(enophthalmos) ซึ่งมัก
เกิดจากการมีกระดูกหักที่บริเวณ floor ของกระดูก
กระบอกตา
Clinical examination
-diplopia ; เกิดจากการที่มี entrapment ของ
extraocular muscle ทำให้ไม่สามารถกลอกตา
ข้างนั้นได้อย่างเต็มที่
-edema, corneal abrasion, lacerations,
contusion or hematoma
-subconjunctival hemorrhage
and
periorbital hematoma
อาการ หนังตาตก การกรอกตาผิดปกติ
เห็นภาพ 2 ทั้งสองข้าง ปวดตา ลอกตาบวม มีเลือด
ออกในช่องหน้าลูกตา เลนส์ตาเลื่อนจอประสาทตา
ลอก รูม่านตา 2 ข้างไม่เท่ากัน ชาที่แก้มและริมฝีปากบน
การรักษาตามอาการ การผ่าตัดจะทำภายหลังจากที่
ยุบบวม
ประคบเย็นเพื่อลดปวดและลดบวม
ถ้ามีลมใต้ผิวหนังรอบตา แสดงว่ามีการแตกของ
ไชนัส แนะนำให้หลีกเลี่ยงการสั่งน้ำมูก ไอ จาม
หรือเบ่งเพราะจะทำให้ลมเข้าไปในไซนัสมากขึ้น
ถ้ามีการแตกของเบ้าตา ต้องครอบตา
(eye shield) เพื่อป้องกันไม่ให้มีแรงดันเพิ่ม
ให้ยาปฏิชีวนะ ยาละลายน้ำมูก ยา
หยอดตาและยาป้ายตาตามแผนการรักษา
ประเมินความสามารถในการมองเห็นและการก
ลอกตา
กระดูกโหนกแก้มหัก(Zygomatic fracture)
มีส่วนเชื่อมต่อกับกระดูกหลายชิ้น ได้แก่ ด้านบนเชื่อมกับกระดูกขมัน กระดูกหน้าผากและกระดูกสฟีนอยด์ ด้านล่างเชื่อมกับขากรรไกรบน
กระดูกโหนกแก้มหัก มี 2 ลักษณะ
1.หักที่ส่วนโค้งของโหนกแก้ม (zygomatic archi)
2.หักบริเวณสามเหลี่ยม (tripod fracture)ซึ่งอาจมีการหักของกระดูกกระบอกตาร่วมด้วย
อาการ
โหนกแก้ม 2 ข้างไม่เท่ากันแก้มยุบแบน
ลูกตาลึกบุ๋มลง (enophthalmos)
เลือดออกที่ตาและรอบตา ปวดมากขึ้นเมื่อขยับคาง คลำได้กระดูกกรอบแกรบ ขากรรไกรแข็ง อ้าปากได้น้อย
เส้นประสาทที่เลี้ยงตาเสีย ทําให้การกลอกตาผิดปกติ
อาจมีภาวะแทรกซ้อนทําให้ไซนัสอักเสบเรื้อรัง
ขากรรไกรบนหัก (Maxillary fracture)
ขากรรไกรบน เป็นกระดูกชิ้นใหญ่อยู่ตรงกลางของใบหน้า ยึดติดกับกระดูกหลายชิ้น มีช่องว่างอยู่ตรงกลาง เป็นช่องจมูกและมีโพรงอากาศขนาดใหญ่ นอกจากนี้ยังมีเป้าซึ่งเป็นที่ฝังตัวของรากฟันบน (alveolar process)
อาการเมื่อเกิดการบาดเจ็บ
ปวดมาก
ชาที่ริมฝีปากบน
การมองเห็นผิดปกติ
หน้าบวม
มีรอยฟกช้ำ
รอบตาเเละตาบวม
เลือดออกใต้ตาขาว (Subconjunctival hemorrhage)
หน้ายาวเเละไม่เท่ากัน
เลือดกำเดาไหล
ฟันไม่สบกัน(Malocclusion)
อาจมีน้ำไขสันหลังรั่วออกทางจมูก
ทางเดินหายใจอุดตัน
ระดับความรุนแรงของการบาดเจ็บที่ขากรรไกรบน
แบ่งออกได้เป็น 3 ระดับ เรียกว่า “Le Fort fracture”
Le Fort I
คือการหักตามแนวขวางทำให้ขากรรไกรบนแยกออกจากกะโหลก แต่ส่วนที่อยู่ใต้โหนกแก้มยังติดกัน
ทำให้ส่วนที่หักลอยไม่ยึดกับฟันบน
อาการ อาการแสดง:อาการปวด ชาที่ฟันบน หน้าบวม มีรอยฟกช้ำ เลือดออก ฟันไม่สบกัน ขากรรไกร ขาดที่ยึด ซึ่งอาจเป็นข้างเดียวหรือ 2 ข้าง
การรักษา
-การจัดฟัน เพื่อยึดขากรรไกร
-การดูแลช่องปาก (Oral care)
Le Fort II
คือ การหักบริเวณที่เป็นปิรามิด ประกอบด้วย ขากรรไกรบน จมูกและกระดูกแบ่งกั้น โพรงจมูก (ethmoid bone) ตำแหน่งนี้มีรูปร่างคล้ายสามเหลี่ยม (tripod shape) ซึ่งมีจมูกเป็นยอดแหลม
เมื่อมี การหักจะทำให้ระยะห่างระหว่างหัวตาทั้งสองข้างกว้างขึ้น (tele canthus) จมูกแบน
อาการ อาการแสดง:การตรวจร่างกายจะพบส่วน ที่หักเคลื่อนไหวได้อย่างอิสระ ฟันไม่สบกัน มีเลือดออกใต้ตา เลือดกำเดาไหล ปวดชาริมฝีปากบนและเปลือกตาล่าง บวม จมูก ปากและตา อาจมีน้ำไขสันหลังไหลออกทางจมูก ท่อน้ำตาอุดตัน การกลอกตาผิดปกติ เห็นภาพซ้อน
การรักษา
-โดยจัดกระดูกให้เข้าที่เเละยึดตรึงกระดูก
-ในกรณีที่มีกำเดาไหล จะใช้การรักษาโดยใช้
-nasal packing
-การใช้ยาอะดรีนาลีน (Adrenaline)
การประคบเย็นโดยเปลี่ยนทุก 1 ชั่วโมง
Le Fort III หมายถึง การหักของขากรรไกรบนร่วมกับกระดูกจมูก กระบอกตา โหนกแก้มแยกออกจากกระดูกหน้าผาก (Naso-orbital ethmoidal complex: NOE) ระยะห่างระหว่างหัวตากว้างขึ้น (tele canthus)หากมองจากด้านข้างจะพบรูปหน้าคล้ายช้อน (Spoon-like/donkey face)
อันตรายที่สุด
อาการ อาการแสดง: รอบตาและหน้าส่วนบน บวมมาก ฟกช้ำ เลือดกำเดาไหล หายใจลําบาก ฟันไม่สบกัน ใบหน้ายุบแถะยาวขึ้น จมูกสั้นลง ฟันเคลื่อนไหวโดยไม่สัมพันธ์กับกระดูกหน้าผาก มีอาการปวดมาก การมองเห็นผิดปกติ อาจมีน้ำไขสันหลังรั่วออกทางจมูก มีการติดเชื้อที่ท่อน้ำตา
ถ้าหลอดเลือดที่เยื่อหุ้มสมองฉีกขาดด้วยจะทำให้มีเลือดออกที่ชั้นดูรา
การรักษา
การแก้ไขการเอียงยื่นของฟันหน้าบนในผู้ป่วยที่ มีความผิดปกติเป็นแบบที่ ๓ สามารถทําได้โดยผ่าตัดแบบแยกช้ินส่วน ด้านหน้าของขากรรไกรบน หรือผ่าตัดแบบเลอฟอร์ตวัน แล้ว หมุนขากรรไกรบนตามเข็มนาฬิกาเพื่อปรับให้ฟันหน้าบนเอียง ยื่นลดลง
การรักษา
ทำทางเดินหายใจให้โล่ง อาจใส่ท่อทางเดินหายใจหรือเจาะคอทั้งนี้ขึ้นกับปัญหาของผู้ป่วย
ห้ามเลือด หากมีเลือดออกมากแพทย์อาจใส่วัสดุเข้าไปห้ามเลือดในโพรงจมูกส่วนหน้า หากเลือดยังไม่หยุด แพทย์จะใส่วัสดุไปห้ามเลือดในโพรงจมูกด้านหลัง ในรายที่หลอดเลือดฉีกขาดอาจฉีดสารเข้าไปอุดหลอดเลือดแดง หรือผูกหลอดเลือดหรือผ่าตัดแล้วแต่กรณีเพื่อป้องกัน
การสําลักเลือด
ผ่าตัดแก้ไขกระดูกที่หัก เพื่อยึดกระดูกให้เข้าที่โดยยึดด้วยลวดหรือแผ่นโลหะให้กระดูกอยู่ในตำแหน่งที่ฟัน สบกันได้พอดี แพทย์อาจมัดฟันไว้ประมาณ 4 สัปดาห์ และผ่าตัดเย็บซ่อมแซมในรายที่มีน้ำไขสันหลังรั่วและไม่หาย ภายใน 2 สัปดาห์
ขากรรไกรล่างหัก (Mandibular fracture)
เป็นกระดูกที่แข็งโดยบางส่วนของกระดูกจะหนามาก
โดยเฉพาะบริเวณปลายคาง (symphysis rami) กระดูก มีความโค้งงอเป็นรูปตัวยู (U shape) หรือ คล้ายเกือกม้า (horse shoes) ถ้าโค้งขาดตอนจะ ทําให้ขากรรไกรล่างขาดความแข็งแรงทางโครงสร้าง
อาการแสดง
ฟันไม่สบกัน (malocclusion)
ปวดกราม บวมถึง กดเจ็บ
คลำได้กระดูกอยู่ต่างระดับ (step off)
ขากรรไกรแข็ง อ้าปากไม่ได้เต็มที่ (trismus) ขยับคางไม่ค่อยได้
หน้าบวม คาง 2 ข้างไม่เท่ากัน มีรอยฟกช้ำ
ชาริมฝีปากล่างและคาง
ฟันอาจร่วง เหงือกฉีก มีแผล
และเลือดออกใต้ลิ้น
หากขากรรไกรล่างหักมากจะขาดที่ยึดทำให้ลิ้นตกไปข้างหลังและอุดทางเดินหายใจ
หากมีการหัก บริเวณข้อต่อกับกะโหลกศีรษะ (Condyle) จะปวดร้าวไปที่หู คลำได้กระดูกกรอบแกรบ น้ำลายมาก คางเบี้ยวไปด้านที่หัก
ปัญหาที่พบ
-เรื่องการรับประทานอาหารได้น้อย อ้าปากไม่ค่อยได้
*ต้องระวังการสำลัก
การวินิจฉัย ได้จากการตรวจร่างกาย อาการและอาการแสดง ถ่ายภาพรังสีหน้าตรง ด้านข้างและเอียง
กายวิภาคของหน้า
(Facial Anotomy)
กระดูกหน้า
(Facial bone)
กระดูกหน้ามีหลายชิ้นและแต่ละชิ้นจะมีรูปร่าง ขนาด ความบางแตกต่างกัน ซึ่งจะมีรูสำหรับให้หลอดเลือดและเส้นประสาททอดผ่าน และมีโพรงอากาศข้างจมูก(paranasal sinus) สามารถแบ่งกระดูกตามแนวดิ่งได้ 3 ส่วน
Upper third
-Frontal bone
กระดูกหน้า
Lower third
-Mandible กระดูกขากรรไกรล่าง
Middle third
-Orbital bone กระดูกเบ้าตา
-Zygomatic bone กระดูกโหนกแก้ม
-Nasal bone กระดูกจมูก
-Maxillary bone กระดูกขากรรไกรบน
-Sphenoid bone กระดูกสฟีนอยด์
-Ethmoidal bone กระดูกกั้นโพรงจมูก
-Temporal bone ขมับ
การประเมินการบาดเจ็บที่หน้า
ซักประวัติ
เกี่ยวกับสาเหตุและกลไกการบาดเจ็บบริเวณใบหน้าและศีรษะ ความรุนแรง การหมดสติ
บริเวณใบหน้าที่ได้รับแรงกระแทก
การตรวจร่างกาย
-การดู (Inspection) : สังเกตความสมมาตรของใบหน้า รอยฟกช้า รอยแผล
-การคลำ (Palpation) : บริเวณหน้าผาก กระบอกตา โหนกแก้ม ขากรรไกรบน-ล่าง พร้อมบันทึกสิ่งผิดปกติที่พบ
เช่น พบรอยช้ำ บวม กระดูกผิดรูป
-ตรวจหาจุดกดเจ็บบริเวณกระดูกต้นคอ เพื่อประเมินความบาดเจ็บของกระดูกต้นคอร่วม
-ตรวจเส้นประสาทสมองที่เลี้ยงบริเวณใบหน้า รวมถึงการมองเห็น การกลอกลูกตา การตอบสนองของรูม่านตา
-ตรวจการเคลื่อนไหวของกล้ามเนื้อบริเวณใบหน้า หการสบฟัน บาดแผลในช่องปาก เหงือก ฟันโยกคลอน
การตรวจพิเศษทางรังสีเพื่อวินิจฉัย
1.ภาพถ่ายรังสีทั่วไป
(Plain film/ Radiographs)
-Towne view
เป็นการถ่ายภาพรังสีกะโหลกศีรษะและ
กระดูกใบหน้าโดยแสงจากรังสีจะผ่านจาก
ด้านหน้าไปด้านหลัง
ท่านอนหงาย ซึ่งเห็นการแตก
ของกะโหลกบริเวณท้ายทอย และกระ
โหนกแก้มได้ชัดกว่าท่าอื่น
-Caldwell view
เป็นการถ่ายภาพรังสีกะโหลกศีรษะและ
กระดูกใบหน้าโดยแสงจากรังสีจะผ่านจาก
ด้านหลังไปด้านหน้า
ท่านอนคว่ำ ซึ่งจะเห็นการแตกของ
กะโหลก กระบอกตากระดูกหน้าผากและ
ขากรรไกรล่างด้านหน้าบริเวณคางและ
ด้านข้าง
-Lateral oblique view
เป็นการถ่ายด้านข้างของหน้า
เพื่อดูการหักของขากรรไกรล่างด้านข้าง
-Water view
เป็นการถ่ายภาพรังสีในท่าเงยหน้า
เพื่อดูกระดูกหน้าผาก จมูก ขากรรไกรและ
ช่องไซนัส
2.ภาพถ่ายแนวกว้าง
(Panoramic radiograph)
ภาพถ่ายรังสีช่วยเห็นกระดูกหน้าทั้งหมด
ข้อจำกัด ไม่สามารถเห็นข้อต่อของกระดูก
ขมับและขากรรไกรล่างได้ชัดเจน
3.การตรวจเอกซเรย์คอมพิวเตอร์
(CT facial scan)
เห็นกระดูกหักได้ละเอียด ภาพเป็น3มิติ
จะตรวจร่วมกับการเอกชเรย์คอมพิวเตอร์
กะโหลกศีรษะและสมอง
การดูแลผู้ที่ได้รับบาดเจ็บใบหน้าใน
ภาวะฉุกเฉิน
การทำทางเดินหายใจให้โล่ง เนื่องจาก
บาดเจ็บที่หน้าเป็นสาเหตุทำให้ทางเดินหายใจอุดกั้นได้
จากเนื้อเยื่อบวม เลือดออกมาก มีสารคัดหลั่งเพิ่มขึ้น
ฟันหักหรือหลุด หรือลิ้นตกจากขากรรไกรล่างเคลื่อนผิดแนว
การป้องกันการอุดกั้นทางเดินหายใจ
กรณีที่กระดูกหน้าหักหลายชิ้น
ใส่ท่อช่วยหายใจลำบากแพทย์อาจตัดสิน
ใจใส่ท่อช่วยหายใจโดยการเจาะคอ
ดันหน้าผากและยกคางขึ้นให้
หน้าแหงน (head tilt-chin lift)
สำหรับรายที่สงสัยมีบาดเจ็บของกระดูกคอ
แพทย์จะเปิดทางเดินหายใจโดย
วิธีดึงขากรรไกรล่างทั้ง 2 ข้างขึ้นข้างบน
(jaw thrust maneuver) แทนเพื่อป้องกัน
กระดูกคอเคลื่อน
มีเลือดออกและเสมหะมาก
ต้องช่วยดูดออก
รายที่หายใจลำบาก เลือดออกมาก
และมีการบวมที่ปากและหน้า
แพทย์จะให้ออกชิเจนหรือใส่เครื่องช่วยหายใจ
ระวังในรายที่แผ่นกระดูกที่วางตาม
แนวนอน (cribriform plate) หักเพราะจะมี
ความเสี่ยงสูงที่จะมีรูทะลุเข้าไปถึงสมองได้
การห้ามเลือด
การบาดเจ็บใบหน้าในผู้ใหญ่
อาจทำให้ช็อกจากการเสียเลือดได้
เนื่องจากที่หน้ามีเลือดมาเลี้ยงจำนวนมาก
กดโดยตรงแผลหรือปิดแผลให้มีแรงกด
(pressure dressing)
อาจใช้สำลีอุดตรงตำแหน่งที่เลือดออก
ประคบด้วยความเย็น หรือกดจมูก
รายที่บาดเจ็บรุนแรง แพทย์จะจัดกระดูก
ให้เข้าที่เพื่อห้ามเลือด
ใช้ผ้าชับเลือดในจมูก (nasal tampon) ใส่
เข้าไปห้ามเลือดที่ออกด้านหน้าของจมูก
หรือใช้สายยางจมูก(nasal catheter) ใส่
เข้าไปห้ามเลือดที่ออกด้านหลังจมูก
การจัดการกับความปวด
โดยให้ยาระงับปวดและประคบด้วยความเย็น
เพื่อลดปวดและลดบวม
ให้สารน้ำกรณีเสียเลือดมากอาจให้เลือดหรือ
ส่วนประกอบของเลือดทดแทน
5.การจัดกระดูกโดยไม่ผ่าตัด
-การยึดฟันด้วยเส้นลวด
การผ่าตัดจัดกระดูก
การรักษากระดูกใบหน้าหัก
เป้าหมาย คือ การกลับมาทำหน้าที่ได้และคงรูปลักษณ์ความสวยงาม
การจัดให้กระดูกเข้าที่ (Reduction)
1.การจัดให้กระดูกเข้าที่โดยไม่ผ่าตัด
(Closed reduction) วิธีนี้สามารถทำได้กับกระดูกบางชิ้นเท่านั้น เช่น กระดูกดั้งจมูกและขากรรไกรล่าง
2.การจัดให้กระดูกเข้าที่โดยการผ่าตัด (Open reduction) หลักการคือต้องตรึงยึดภายในด้วยแผ่น เหล็กหรือลวดเพื่อให้กระดูกเข้าที่
การจัดทำให้กระดูกอยู่นิ่งและมั่นคง (Immobilization/stabilization)
กระดูกใบหน้ามีข้อที่ทำให้ เคลื่อนไหวได้ 2 ตำแหน่ง คือ บริเวณขมับ (temporomandibular joint) ทั้ง 2 ข้าง ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของกระดูกขา กรรไกรล่าง ดังนั้นถ้าขากรรไกรล่างหัก หลังผ่าตัดแพทย์จะให้กระดูกอยู่นิ่งโดยจะใส่ลวดมัดฟันและใช้หนังยางขนาด เล็ก (elastic band) ยึดฟันบนและฟันล่างไว้ผู้ป่วยจะอ้าปากไม่ได้