Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
Muscle injury - Coggle Diagram
Muscle injury
STRAINS
การบาดเจ็บของกล้ามเนื้อหรือเอ็นที่ยึดระหว่างกระดูกกับกล้ามเนื้อ อาจเกิดจากการหดตัวอย่างรุนแรงและทันที จนทำให้หลอดเลือดฝอยบริเวณใยกล้ามเนื้อฉีกขาดมักเป็นผลจากการใช้งานมากเกินไป ทำให้เกิดการล้า ส่วนใหญ่เกิดบริเวณต้นขาและน่อง
-
อาการแสดงและตรวจร่างกาย
เจ็บหรือปวดกล้ามเนื้อมัดนั้นอย่างรุนแรง โดยเฉพาะเวลาออกแรงหรือใช้งานกล้ามเนื้อมัดนั้น อาจเจ็บมากขึ้น เคลื่อนไหวไม่ได้ เมื่อเวลาผ่านไปกล้ามเนื้อส่วนนั้นจะบวม สีคล้ำขึ้น เกิดรอยฟกช้ำ
-กดเจ็บบริเวณกล้ามเนื้อ
-การเคลื่อนไหวลดลงและกล้ามเนื้อส่วนที่ได้รับบาดเจ็บอ่อนกำลังลง
-Ecchymosis
-คลำพบก้อนของกล้ามเนื้อที่ฉีกขาด
ระดับความรุนแรง
-
-
Severe strain
มีการบาดเจ็บรุนแรง มีการฉีกขาดของเอ็นและกล้ามเนื้ออย่างรุนแรง มักมีอาการปวดมาก บวมและมีรอยฟกช้ำจากเลือดออก
-
SPRAIN
การบาดเจ็บของเอ็นยึดข้อและเยื่อหุ้มข้อ หรือเอ็นที่ยึดระหว่างกระดูกกับกระดูก สาเหตุมาจากข้อบิด หรือเมื่อข้อเท้าและเอ็นยึดข้อ ถูกใช้งานมากกว่าปกติ มักเกิดบริเวณข้อเท้า เข่า ข้อมือและไหล่
ระดับความรุนแรง
Mild sprain
เป็นการบาดเจ็บเพียงเล็กน้อย คือเอ็นบางเส้นยืดแต่ไม่เสียความมั่นคง อาจมีอาการปวด ตึง บวมเล็กน้อย
Moderate sprain
การบาดเจ็บปานกลาง คือเอ็นบางส่วนฉีกขาดทำให้สูญเสียความมั่นคงเล็กน้อย ผู้ป่วยจะมีอาการปวดตึงมากขึ้น บวม ขยับส่วนที่บาดเจ็บไม่ได้
Severe sprain
การบาดเจ็บรุนแรง คือเอ็นที่ยึดข้ออย่างน้อย 1 เส้น ฉีกขาดอย่างสมบูรณ์ ทำให้ข้อเสียความมั่นคง มักเกิดร่วมกับข้อเลื่อนหลุด อาการปวดรุนแรงขึ้น ขยับส่วนที่เจ็บไม่ได้เลย
-
ภาวะแทรกซ้อน
Compartment syndrome
คือภาวะความดันในช่องปิดกล้ามเนื้อสูงขึ้น ช่องปิดของกล้ามเนื้อมีความดันสะสมในระดับที่เป็นอันตราย เนื่องจากพังผืดไม่ขยายตัว อันเป็นผลมาจากการบวมภายในช่องปิดของกล้ามเนื้อ ส่งผลให้เกิดอาการ ปวด บวม หรือแสบร้อน ความดันที่สูงขึ้นจะปิดกั้นการลำเลียงออกซิเจน สารอาการและการไหลเวียนของเลือด ซึ่งอาจทำให้เซลล์บริเวณนั้นตายและเกิดการขาดเลือดเฉพาะที่
Acute compartment syndrome
ภาวะความดันในช่องปิดของกล้ามเนื้อสูงแบบเฉียบพลัน พบได้บ่อยที่สุด ภาวะดังกล่าวอาจเกิดขึ้นในเวลาไม่กี่ชั่วโมงหรือไม่กี่วันหลังจากที่ได้รับการบาดเจ็บอย่างรุนแรง
Chronic compartment syndrome
ภาวะความดันในช่องปิดของกล้ามเนื้อสูงแบบเรื้อรัง โดยปกติแล้วมักไม่ส่งผลอันตราย มักเกิดขึ้นบริเวณก้น ต้นขา ขาส่วนล่าง ความหนักและความถี่ของการออกกำลังกายเป็นปัจจัยที่เพิ่มความเสี่ยงได้
การวินิจฉัย
2 Early signs
-pain อาการปวดแบบแสบร้อนรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ แม้ได้รับยาบรรเทาอาการปวดก็ตาม ประเมินได้จากการซักถามหรือสังเกต
-paresthesia อาการชา อ่อนแรง เกิดจากระบบประสาทส่วนปลายถูกกดหรือขาดเลือดไปเลี้ยง ประเมินได้จากการสัมผัสบริเวณส่วนต้นและส่วนปลายของอวัยวะที่ได้รับบาดเจ็บ
3 classic signs
-pallor การซีด เกิดจากการขาดเลือดไปเลี้ยงส่วนปลายลดลง ประเมินจากสีผิว ริมฝีปาก เปลือกตาและเล็บ
-paralysis อาการอัมพาตของกล้ามเนื้อ เกิดจากระบบประสาทและหลอดเลือดส่วนปลายขาดเลือดไปเลี้ยง ประเมินจากการเคลื่อนไหวหรือขยับนิ้ว
-pulseless ไม่มีชีพจร ประเมินจากการคลำชีพจรส่วนปลายของส่วนที่ผิดปกติ
การรักษา
1.การลดความดันภายในช่องกล้ามเนื้อ ได้แก่ การคลายผ้ายืด การคลายเฝือก
2.การจัดท่านอน โดยยกอวัยวะที่ได้รับบาดเจ็บให้สูงขึ้น
3.การเฝ้าระวังภาวะความดันในช่องกล้ามเนื้อที่สูงขึ้น การประเมินซ้ำของเส้นประสาทและหลอดเลือด ทุก30และ60 นาที
4.surgical consultation พิจารณาเข้ารับการผ่าตัดอย่างเร่งด่วน เพื่อระบายความดันในช่องกล้ามเนื้อ
-