Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
บทที่ 5 การพยาบาลมารดาที่มีโรคติดเชื้อร่วมกับการตั้งครรภ์ - Coggle Diagram
บทที่ 5 การพยาบาลมารดาที่มีโรคติดเชื้อร่วมกับการตั้งครรภ์
โรคตับอักเสบ (Hepatitis B in pregnancy)
การติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบี ก่อให้เกิดการอักเสบเรื้อรังของตับ
นำไปสู่การเป็นโรคตับแข็งและมะเร็งตับ
การติดต่อของเชื้อเกิดจาก “การแพร่เชื้อจากแม่ไปสู่ลูก”
การดำเนินโรค
การติดเชื้อเฉียบพลัน คือ การติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบีในระยะแรก ถือที่การติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบีเป็นระยะเวลาน้อยกว่า 6 เดือน
การติดเชื้อเรื้อรัง คือ การติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบีเป็นระยะเวลามากกว่า 6 เดือน แบ่งได้เป็น
-พาหะ คือ ผู้ป่วยที่มีเชื้อไวรัสตับอักเสบบีในร่างกาย ผู้ป่วยจะไม่มีอาการ แต่ยังสามารถแพร่เชื้อไปสู่ผู้อื่นได้
-ตับอักเสบเรื้อรัง คือ ผู้ป่วยที่มีเชื้อไวรัสตับอักเสบบีในร่างกาย และตรวจเลือดพบค่าการทำงานของตับผิดปกติ
ตับแข็งระยะต้น หมายถึง ตับแข็งที่ยังไม่แสดงอาการทางคลินิก
ตับแข็งระยะท้าย หมายถึง ตับแข็งที่แสดงอาการทางคลินิก เช่น ท้องมานน้ำ ตัวเหลือง ตาเหลือง เป็นต้น
การแพร่เชื้อไวรัสตับอักเสบบีจากมารดาไปสู่ทารก
ขณะทารกอยู่ในครรภ์มารดาโดยผ่านรก พบน้อยมาก เพราะการพบ HBsAg ในเลือดจากสายสะดือไม่สามารถยืนยันได้
ขณะคลอด ส่วนใหญ่มักติดเชื้อขณะคลอด
การติดเชื้อหลังคลอด ทารกอาจได้รับเชื้อจากมารดาระหว่างการเลี้ยงดู ซึ่งจะมี HBsAg ปะปนในนํ้าลายและสารคัดหลั่งต่าง ๆ ของมารดา
ผลของโรคต่อการตั้งครรภ์
ผลต่อมารดา
-มารดาที่ติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบีชนิดเฉียบพลันในช่วงไตรมาสแรกมีโอกาสแพร่เชื้อสู่ทารกประมาณ 10% ถ้าเป็นช่วงไตรมาสที่ 3 ของการตั้งครรภ์ แพร่เชื้อสู่ทารก ประมาณ 80-90 %
-มารดาสามารถตั้งครรภ์ต่อไปจนครบกำหนดโดยไม่มีภาวะแทรกซ้อน
ผลต่อทารก
-การติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบีมักไม่มีผลต่อทารกในครรภ์โดยตรง
-มีผลต่อทารกโดยตรง หากทำให้ติดเชื้อไวรัสตั้งแต่กำเนิด กลายเป็นพาหะ
-อาจทำให้เป็นตับอักเสบเรื้อรัง ตับแข็ง ตลอดจนมะเร็งตับในระยะ 10-25 ปีต่อมา
โรคสุกใส
เกิดในผู้ติดเชื้อ varicella-zoster virus เป็นครั้งแรกมักพบ ในเด็กหรือผู้ที่ไม่มีภูมิด้านทานต่อเชื้อ varicella-zoster virus จัดเป็นโรคติดเชื้อที่ติดต่อกันได้ง่ายมาก
อาการและอาการแสดง
เริ่มด้วยไข้ตํ่า ๆ อ่อนเพลีย และผื่น ในเด็กเล็กอาการเหล่านี้มักเกิดชื้นพร้อม ๆ กันในเด็กและผู้ใหญ่ ปวดศีรษะ เบื่ออาหาร 1-2 วันก่อนผื่นชื้น ลักษณะผื่นเริ่มแบนราบ (macules) ต่อมา เปลี่ยนเป็นผื่นนูน (papules) ถุงนํ้า (vesicles) และแห้ง เป็นสะเก็ดอย่างรวดเร็ว ลักษณะเฉพาะคือ เป็นตุ่มนํ้าตื้น ๆ ผนังบางแตกง่าย
การติดต่อจากมารดาสู่ทารก
สตรีตั้งครรภ์ที่เป็นโรคสุกใสระหว่างการตั้งครรภ์ระยะแรกอาจทำให้ทารกพิการแต่กำเนิดได้
การวินิจฉัย
การตรวจทางห้องปฏิบัติการเพื่อ
การทำ Tzanck smear เป็นการตรวจเบื้องด้น
การแยกเชื้อไวรัสจากน้ำในตุ่มใส
การตรวจแอนติบอดี โดยทั่วไปไม่จำเป็นต้องตรวจ
การรักษา
-ให้การรักษาด้วยยาลดไข้ ถ้ามีอาการคันอาจให้ยากลุ่มแอนติฮิสตามีน หรือทายาคาลาไมน์ หลีกเลี่ยงการเกา
-กรณีมีการติดเชื้อแบคทีเรียร่วมด้วยมักต้องให้ยาปฏิชีวนะ
-มีบางรายงานแนะนำให้ varicella-zoster immunoglobulin (VZIG)
หัดเยอรมัน
พยาธิสรีรภาพ
มารดาติดเชื้อหัดเยอรมันเป็นครั้งแรก ขณะตั้งครรภ์เชื้อไวรัสจะเข้าสู่กระแสเลือด เชื้อจะติดต่อสู่ทารกในครรภ์ผ่านรก
ความพิการโดยกำเนิดจะเกิดได้มากที่สุด ในกรณีที่มีการติดเชื้อในช่วงไตรมาสแรกของการตั้งครรภ์
การติดต่อสู่มารดา
เกิดชื้นโดยการสัมผัสโดยตรงต่อสารคัดหลั่งจากโพรงจมูกและปากของผู้ติดเชื้อ
การแพร่เชื้อสู่ทารก
ขณะตั้งครรภ์ติดต่อผ่านรกสู่ทารกในครรภ์ได้
ผลของการติดเชื้อหัดเยอรมันขณะตั้งครรภ์อาจทำให้เกิดการแท้ง ทารกเลียชีวิตในครรภ์ ผลของการติดเชื้อหัดเยอรมันขณะตั้งครรภ์อาจทำให้เกิดการแท้ง ทารกเลียชีวิตในครรภ์
ผลของการตั้งครรภ์ต่อโรค
-แท้งในไตรมาสแรก
-ทารกเจริญเติบโตช้าในครรภ์
-ตายคลอด
-ทารกติดเชื้อหัดเยอรมันพิการแต่กำเนิด กลุ่มความพิการแต่กำเนิดของหัดเยอรมัน เช่น พยาธิสภาพของตา ได้แก่ ต้อกระจก ต้อหิน กระบอกตาเล็ก
-ทารกไม่มีอาการแต่แสดงการติดเชื้อภายหลัง