Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
Head and Spine injury - Coggle Diagram
Head and Spine injury
Head injury
การบาดเจ็บใดๆที่มีต่อหนังศีรษะ กะโหลกศีรษะ สมอง เส้นประสาทสมอง และเนื้อเยื่อที่เป็นส่วนประกอบภายในกะโหลกศีรษะ ซึ่งอาจทำให้มีหรือไม่มีการเปลี่ยนแปลงระดับความรู้สึกตัว
กลไกการบาดเจ็บที่ศีรษะ
-
Indirect injury บาดเจ็บโดยอ้อม
การบาดเจ็บที่เกิดขึ้นกับส่วนอื่นของร่างกายแล้วมีผลกระทบ
ทำให้เกิดการบาดเจ็บที่ศีรษะ เช่น ตกจากที่สูงก้นกระแทกพื้น
ทำให้ศีรษะกระแทกลงมาที่กระดูกคอส่วนบน
-
-
-
การวินิจฉัย
การซักประวัติ
1.กลไกการบาดเจ็บ
2.การหมดสติ
3.โรคประจำตัวและยาที่ใช้
4.การได้ยาต้านการแข็งตัวของเลือด
5.อาการชักหลังได้รับบาดเจ็บ
6.อาการปวดที่คอและหลัง
การตรวจทางห้องปฏิบัติการ
- CBC, ABG, Electrolyte, BUN, Cr
การตรวจพิเศษ
1.CT scan brain
2.Cervical spine film
3.Plain skull x-ray
4.MRI, Biopsy
5.Cerebral angiography
6.CSF analysis
-
Spine injury
Mechanism of Injury
-
-
-
- Vertical Compression/Axial loading
-
Vertebral Injury
Jefferson's fracture (C1) C1 หักอย่างน้อย 2 ตำแหน่ง หรือแตกเป็นชิ้นเล้กๆ 3-4 ชิ้น ภาพถ่ายรังสีในท่าอ้าปากจะพบกระดูก C1 ห่างจาก C2 1 มากกว่า 6.9 mm.
Atlanto occipital dislocation (C1) การแยกของข้อต่อระหว่างกระดูกท้ายทอยกับกระดูกคอชิ้นที่ 1 โดผูั้ป่วยส่วนใหญ่จะเสียชีวิต ถ้ารอดจะเป็นอัมพาตทั้ง 4 รยางค์
Odontoid fracture (C2) Type 1: มีการแตกร้าวที่ปลาย dens
Type 2 : หักที่ฐานของ dens พบบ่อยไม่ค่อยติดเนื่องจากเลือดไปเลี้ยงน้อยลง Type 3 : หักส่วนหน้าของกระดูกการติดดีเนื่องจากเลือดไปเลี้ยงมาก
Hangman's fracture หรือเรียกว่า Traumatic spondylolisthesis of axis เกิดจากการหักของกระดูกและเอ็นระหว่าง C2 และ C3 แบบ Hyperextension
Fracture and dislocation of C3-C7 , Dislocation of spine ,Teardrop fracture
Hyperflexion dislocation of C3-T1 เป็นสาเหตุสำคัญของการเป็นอัมพาต บางรายมีอาการแค่ปวดคอและไม่มีอาการทางระบบประสาท
-
Hyperextension fracture of C3-T1 ปกติจะมีผลต่อเอ็นและกล้ามเนื้อ ซึ่งอาจเกิดร่วมกับ central cord syndromes
Compression fracture of C3-T1 ทำให้กระดูกยุบ เป็นผลมาจากการก้มคอหรือบาดเจ็บในแนวดิ่ง ทำให้กระดูกสันหลังด้านหน้าแตกชิ้นเดียวหรือหลายชิ้น
Thoracic and lumbar segments injury, Burst fracture อาจทำลายไขสันหลังระดับอกและเอว อาจทำลายไขสันหลังและเส้นประสาทไขสันหลัง ทำให้อัมพาตตั้งแต่ลำตัวถึงขา
Sacral segment injury เกิดจากการได้รับแรงกระแทกโดยตรงในแนวดิ่ง ทำให้เส้นประสาทบริเวณนี้ถูกทำลายทำให้กระเพาะปัสสาวะ ลำไส้ อวัยวะสืบพันธุ์ อัมพาต และมีอาการชาที่ก้นหรือรอบทวารหนัก (saddle anesthesia)
Spinal Cord Injury
Complete cord injury: การบาดเจ็บที่ทำให้ไขสันหลังสูญเสียหน้าที่ทั้งหมด ไม่สามารถเคลื่อนไหวกล้ามเนื้อและรับความรู้สึกในส่วนที่ต่ำกว่าพยาธิสภาพ สูญเสียความสามารถในการควบคุมกล้ามเนื้อหูรูดรอบทวารหนัก
Tetraplegia (Guadriplegia) : การเป็นอัมพาตของแขนขาทั้ง 4 รยางค์ เกิดเนื่องจากมีการบาดเจ็บที่กระดูกสันหลังระดับคอ
C1-C3 : อัมพาตทั้งตัว สูญเสียการรับความรู้สึกตั้งแต่ระดับคอลงมาหายใจเองไม่ได้พูดลำบาก ท้องผูก ปัสสาวะไม่ได้
-
-
-
-
-
Incomplete spinal cord injury: ไขสันหลังถูกทำลายบางส่วนทำให้สามารถเคลื่อนไหวกล้ามเนื้อหรือรับความรู้สึกที่ผิวหนังได้ในส่วนที่ถูกควบคุมด้วยไขสันหลังที่อยู่ต่ำกว่าระดับที่ได้รับบาดเจ็บ สามารถขมิบทวารหนักได้
Incomplete cord syndrome
1.Central cord syndrome: การบาดเจ็บเฉพาะบริเวณกลางของไขสันหลัง ซึ่งมีเซลล์ประสาทที่ควบคุมกล้ามเนื้อมือ เป็นกลุ่มอาการที่พบบ่อยที่สุด โดยเกิดจาก Hyperextension ร่วมกับช่องไขสันหลังแคบ ( narrow cervical canal) เนื่องจากกระดูกคอเสื่อมในผู้สูงอายุ ผู้ป่วยจะมีอาการแขนอ่อนแรงมากกว่าขา เสียความรู้สึกปวด ร้อน เย็นและมีอาการปวดแสบปวดร้อนที่แขนและมือ รักษาโดยการผ่าตัด บางรายอาจมีการเกร็งกระตุก(spasticity) ส่วนใหญ่กล้ามเนื้อมัดเล็กจะไม่ค่อยฟืนตัว
- Anterior cord syndrome: การบาดเจ็บบริเวณส่วนหน้าของไขสันหลัง เกิดจากการบาดเจ็บในลักษณะก้มคอ (flexion injury) ทำให้ไขสันหลังซ้ำ เศษกระดูกหักหรือหลุดออกจากตำแหน่งเดิม หรือหมอนรองกระดูกเลื่อนเข้าไปในช่องไขสันหลัง หลอดเลือดแดงที่เลี้ยงไขสันหลังด้านหน้าฉีกขาดหรืออุดตัน ทำให้ร่างกายในระดับที่ต่ำกว่ารอยโรคเป็นอัมพาตและสูญเสียการรับรู้ความเจ็บปวดและความรู้สึกร้อนเย็น เนื่องจากมีพยาธิสภาพที่ทางผ่านของประสาทสั่งการ (corticospinal tract) และทางผ่านของสัญญาณประสาทรับความรู้สึก (spinothalamic tract) แต่การรับรู้การเคลื่อนไหวของข้อ (proprioception) การสั่นและการสัมผัสปกติ รักษาโดยการผ่าตัด มีโอกาสฟื้นหายร้อยละ 10
- Brow-Sequard syndrome: การบาดเจ็บบริเวณซีกใดซีกหนึ่งของไขสันหลัง (lateral half) สาเหตุส่วนใหญ่มาจากการบาดเจ็บที่มีแผลทะลุทะลวง ทำให้แขนขาซีกเดียวกับด้านที่ได้รับบาดเจ็บเป็นอัมพาตและเสียการรับรู้การเคลื่อนไหวของข้อ ส่วนร่างกายด้านตรงข้ามเสียความรู้สึกเจ็บปวดและความรู้สึกร้อน เย็น รักษาโดยการผ่าตัด การบาดเจ็บชนิดนี้ผู้ป่วยสามารถควบคุมการขับถ่ายอุจจาระ ปีสสาวะและฟื้นตัวดีจนสามารถเดินได้ การบาดเจ็บไขสันหลังครึ่งซีกอย่างเดียวพบได้น้อย ส่วนใหญ่มักเกิดร่วมกับ central cord syndrome
- Posterior cord syndrome: การบาดเจ็บบริเวณส่วนหลังของไขสันหลัง ทำให้สูญเสียการรับความรู้สึกการเคลื่อนไหวของข้อ (proprioception and vibration) บาดเจ็บชนิดนี้พบได้น้อย
- Conus medullaris syndromes (Sacral cord injury): การบาดเจ็บของไขสันหลังและรากประสาทระดับเอวถึงกระเบนเหน็บ (L3-S2) ทำให้กระเพาะปัสสาวะและลำไส้เป็นอัมพาตชนิดอ่อนปวกเปียก ขณะที่กล้ามเนื้อขาอ่อนแรงเล็กน้อย
- Cauda equina syndromes (Peripheral syndromes):กลุ่มอาการที่เกิดจากรากประสาทระดับเอวและกระเบนเหน็บถูกทำลาย โดยที่ไม่มีการทำลายของไขสันหลัง ทำให้กล้ามเนื้อขากระเพาะปัสสาวะ หูรูดและลำไส้ใหญ่เป็นอัมพาตชนิดอ่อนปวกเปียกรีเฟล็กซ์ลดลงหรือหายไป
ระดับความรุนแรงของการบาดเจ็บที่ไขสันหลัง
-
Spinal Shock
Neurogenic shock
เป็นภาวะแทรกข้อนเฉียบพลันที่เกิดภายหลังบาดเจ็บไขสันหลังเนื่องจากประสาทซิมพาเทติกไม่ทำงานชั่วคราว แต่ประสาทพาราชิมพาเทติกยังทำหน้าที่ได้ตามปกติ อาจแสดงอาการเป็นชั่วโมงหรือเป็นวันและใช้เวลาประมาณ 1-3 สัปดาห์ จึงจะกลับมาปกติ ผู้ป่วยจะมีความผิดปกติของหัวใจและหลอดเลือด ได้แก่ ความดันเลือดต่ำ (hypotension) และชีพจรจ้า (bradycardia) แต่รีเฟล็กซ์ปกติ รักษาโดยการให้สารน้ำ ให้ยาช่วยเพิ่มความดันเลือด (vasopressor) และยากระตุ้นการต้นของหัวใจ ระหว่างนี้ต้องเฝ้าระวังอาการความดันเลือดต่ำ เมื่อเปลี่ยนท่า (orthostatic hypotension)เนื่องจากหลอดเลือดขยาย (vasodilation)
Spinal shock
ภาวะที่ไขสันหลังหยุดทำงานโดยสิ้นชิงหลังได้รับบาดเจ็บ เนื่องจากไขสันหลังที่ได้รับบาดเจ็บใหม่ ๆ จะบวมมาก ใยประสาทจึงหยุดทำงานชั่วคราว เมื่อยุบบวมใยประสาทจึงกลับมาทำงานปกติ มักเกิดกับการบาดเจ็บตั้งแต่กระดูกอกชิ้นที่ 6 (T6) ขึ้นไปหรือสูงกว่าระดับทางออกของประสาทชิมพาเทติกที่ เลี้ยงช่องท้องและขา เนื่องจากทางผ่านของระบบประสาทติมพาเทติกถูกตัดขาดทำให้เสียการควบคุมประสาทเวกัส (vasomotor tone) เป็นผลให้หลอดเลือดขยายตัวและความตีงตัวของหัวใจลดลง
- อวัยวะที่อยู่ต่ำว่าระดับที่ไขสันหลังได้รับบาดเจ็บลงมารวมถึงอวัยวะภายในช่องท้องเป็นอัมพาตแบบอ่อนปวกเปียก (flaccid paralysis) ทำให้ท้องอืดจากลำไส้ไม่เคลื่อนไหว และปัสสาวะคั่งจากกระเพาะปัสสาวะไม่ทำงาน(neurogenic bladder) สำหรับอาการท้องอืดอาจเกิดจากการบาดเจ็บในช่องท้องได้ แต่ช็อกจากการบาดเจ็บที่ไขสันหลังไม่ทำให้ปวดท้อง ส่วนการบาเจ็บในช่องท้องจะมีอาการปวดท้องร่วมกับฮีมาโตคริตต่ำ ปัสสาวะออกน้อย
- ความดันเลือดต่ำ (Hypotension) เนื่องจากหลอดเลือดของอวัยวะส่วนที่เป็นอัมพาตขยายตัวและชีพจรช้าเนื่องจากหัวใจบีบตัวลดลง
- ไม่มีรีเฟล็กซ์ (Areflexia) โดยเฉพาะ Bulbocarvernosus reflex และ anal reflex 3.1 Bulbocarvernosus reflex เป็นปฏิกิริยาตอบสนองของไขสันหลังระดับกระเบนเหน็บชิ้นที่ 2-4ตรวจโดยใส่ถุงมือข้างหนึ่งแล้วสอดนิ้วเข้าไปที่ทวารหนักของผู้บาดเจ็บ หลังจากนั้นกระตุกสายสวนปีสสาวะเบา ๆ เพื่อกระตุ้นกระเพาะปัสสาวะทำให้กล้ามเนื้อ bulbocavernosus และ puborectalis หดตัว ถ้ายังมีรีเฟล็กซ์นี้อยู่ (ให้ผลบวก) ผู้ตรวจจะรู้สึกว่ากล้ามเนื้อหูรูดรอบทวารหนักรัดนิ้วมือระหว่างกระตุกสายสวน ในผู้ชายอาจตรวจโดยการบีบที่อวัยวะเพศ (glans penis) ซึ่งจะให้ผลการตรวจเช่นเดียวกัน3.2 Anal reflex เป็นปฏิกิริยาตอบสนองปกติของไขสันหลังระดับกระดูกกระเบนเหน็บชิ้นที่ 4-5ประเมินโดยการใช้วัตถุปลายขู่ขี่ยรอบรูทวาร ถ้าเห็นกล้ามเนื้อรอบทวารหนักหดตัวแสดงว่าการตรวจให้บวกในทางปฏิบัติการประเมินรีเฟล็กซ์นี้อาจทำใด้โดยการสอบถามความรู้สึกของผู้บาดเจ็บขณะสวนอุจจาระหรือสวนปีสสาวะ ซึ่งจะเป็นตัวบ่งชี้ว่าผู้บาดเจ็บมีความรู้สึกในระดับกระเบนเหน็บหรือไม่
- การเปลี่ยนแปลงของผิวหนัง ผิวหนังบริเวณเหนือต่อตำแหน่งที่ได้รับบาดเจ็บจะเย็นและชื้น เนื่องจากสัญญาณระหว่างต่อมไฮโปธาลามัส (hypothalamus) และระบบประสาทชิมพาเทติกถูกตัดขาด ร่างกายจึงมีการตอบสนองต่อภาวะความดันเลือดต่ำ ส่วนผิวหนังที่ต่ำกว่าบริเวณที่ได้รับบาดเจ็บจะอุ่นแดง แห้งเนื่องจากหลอดเลือดขยายและประสาทที่เลี้ยงต่อมเหงื่อถูกตัดขาดทำให้ไม่มีเหงื่อออก
- อวัยวะเพศชายขยายและเจ็บปวด (Priapism) เนื่องจากหลอดเลือดขยายมีเลือดไหลเวียนเข้าสู่บริเวณนี้มาก แต่มีการไหลออกน้อย ทำให้มีเลือดคั่งบริเวณอวัยวะเพศ
- คัดจมูก เนื่องจากหลอดเลือดในโพรงจมูกขยายตัว (Guttmann's sign)
-
-
-