Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
หน่วยที่ 8 วิธีการช่วยเหลือการพยาบาลมารดาที่ทำสูติศาสตร์หัตถการ 6-7,…
หน่วยที่ 8 วิธีการช่วยเหลือการพยาบาลมารดาที่ทำสูติศาสตร์หัตถการ 6-7
การล้วงรก (Manual removal of placenta)
สาเหตุรกและเยื่อหุ้มรกค้าง
รกปกติแต่มดลูกหดรัดตัวไม่ดีทำให้รกไม่สามารถลอกตัวได้สมบูรณ์
รกผิดปกติเช่น มีรกน้อย ฝังตัวลึกผิดปกติแม้มดลูกหดรัดตัวดีแต่รกไม่สามารถลอกตัวได้
รกลอกตัวไม่ถูกต้อง ส่วนใหญ่เกิดจากการที่คลึงมดลูกก่อนที่รกจะลอกตัวสมบูรณ
ข้อบ่งชี้ของการล้วงรก
รกค้างเกิน 30 นาที หลังเด็กคลอด
มีเลือดออกมากหลังเด็กคลอดเกิน 500 มิลลิลิตร ไม่ต้องคำนึงถึงระยะเวลา
สายสะดือขาดและหดกลับเข้าไปในช่องคลอด โดยไม่สามารถตามเข้าไปแคลมป์ (cramp) สายสะดือตรงจุดที่ขาดได้
รกคลอดออกมาแล้วแต่ตรวจรกพบมีการขาดหายไปของรกบางส่วน
ภาวะแทรกซ้อน
ตกเลือดทั้งในระยะแรกและระยะหลังของการคลอด
การฉีกขาดของช่องทางคลอด
การติดเชื้อ
ภาวะแทรกซ้อนจากการได้รับยาระงับความรู้สึก
การพยาบาลผู้คลอดที่ได้หลังได้รับการล้วงรก
ตรวจสัญญาณชีพเป็นระยะ ๆ ทุก 15-30 นาที ในช่วง 1-2 ชั่วโมงแรก
คลึงมดลูกเพื่อกระตุ้นให้มดลูกหดรัดตัว
สังเกตปริมาณเลือดที่ออกทางช่องคลอด
ดูแลการให้ยาช่วยในการหดรัดตัวของมดลูกตามแผนการรักษา
คาสายสวนปัสสาวะไว้ เพื่อป้องกันไม่ให้กระเพาะปัสสาวะเต็ม
ติดตามและป้องกันภาวะติดเชื้อหลังคลอ
การคลอดภาวะฉุกเฉิน (Precipitate labor)
สาเหตุ
เนื้อเยื่อของช่องทางคลอดมีแรงเสียดทานต่ำ
การหดรัดตัวของกล้ามเนื้อมดลูก และกล้ามเนื้อหน้าท้องแรงผิดปกติ
การตั้งครรภ์หลัง
สภาพเชิงกรานกว้าง
มีประวัติการคลอดเฉียบพลัน
มารดาไม่มีความรู้สึกเจ็บปวดจากการคลอด
ทารกตัวเล็ก
การได้รับยากระตุ้นการหดรัดตัวของมดลูกมากเกินไป
ผลกระทบของการคลอดเฉียบพลันต่อมารดา
เกิดการฉีกขาดของช่องทางคลอด และปากมดลูกมาก
เกิดการตกเลือดหลังคลอด
การหดรัดตัวของมดลูกที่รุนแรง ร่วมกับมีการแตกของถุงน้ำคร่ำ อาจทำให้เกิดภาวะน้ำคร่ำ
อุดกั้นหลอดเลือดในปอด (amniotic fluid embolism) ได้
ผลกระทบของการคลอดเฉียบพลันต่อทารก
การหดรัดตัวของมดลูกอย่างรุนแรง ทำให้การไหลเวียนเลือดในมดลูกไม่ดี ทำให้ทารกเกิดการขาดออกซิเจน (asphyxia)ได้
ศีรษะทารกที่ผ่านเข้าในช่องทางคลอดอย่างรวดเร็ว ขาดการปรับตัวอาจทำให้ทารกเกิดการบาดเจ็บได้
ศีรษะทารกได้รับอันตรายจากการรับไม่ทัน ทำให้ทารกตกลงบนพื้น
ทารกไม่ได้รับการดูดเสมหะหรือน้ำคร่ำในปากและจมูก ทำให้ทารกสำลักน้ำคร่ำเกิด
ทารกมีเลือดออกในสมอง เนื่องจากศีรษะได้รับการกระทบกระเทือนจากการผ่านเข้าในช่องทางคลอดอย่างรวดเร็ว โดยไม่มีการปรับศีรษะให้สัมพันธ์กับช่องทางคลอดตามกลไกการคลอด
อาจเกิดการติดเชื้อ เนื่องจากไม่ได้รับการเตรียมทำความสะอาดก่อนคลอด
ทารกเสียเลือด เนื่องจากสายสะดือขาด
การรักษา
ให้ยาสลบ เช่น อีเธอร์ (ether) โครโรฟอร์ม (chloroform) ฮาโลเธน (halothane) หรือทำให้
สูญเสียความรู้สึกถึงระดับทีซิก (regional anesthesia T6) อาจใช้ยาในกลุ่มโทโคไลติก (tocolytic agent)
ลดการกระตุ้นฝีเย็บ (perineal reflex) ด้วยการระงับความรู้สึกบริเวณเส้นประสาทของอวัยวะสืบพันธุ์ภายนอก (local pudendal nerve block)
หลังคลอดควรตรวจสภาพการฉีกขาด หรือการบาดเจ็บของช่องทางคลอด
การให้ยา
ให้ methergin หลังคลอด เพื่อป้องกันการตกเลือด
ให้ยาฆ่าเชื้อ (antibiotic) หลังคลอด เพื่อป้องกันการติดเชื้อ
นางสาวสุธีมา เครือเครา รหัสนักศึกษา 621001401486 เลขที่ 19